ประสบการณ์งานละครเวทีของเด็กสื่อใหม่

ประสบการณ์งานละครเวทีของเด็กสื่อใหม่

วันที่ 7 มีนาคม 2566 นิสิตสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาการสอบปลายภาครายวิชาการสร้างเสียงประกอบสำหรับสื่อดิจิทัล สำหรับนิสิตปี 2 กับงานละครเวที ที่ไม่ใช่แค่การแสดง แต่ใช้เทคนิคการสร้างเสียงต่างๆขึ้นมาเพื่อให้ดูสมจริงมากขึ้น

ภาพการซ้อมละครเวทีเรื่อง “ไข(Who)”

ในการทำละครเวทีต้องมีการกำหนดโครงเรื่องและปรับแก้บทใหม่เพื่อให้มันเป็นละครเวทีมากขึ้น ในส่วนของการสอบวิชาการสร้างเสียงประกอบที่เน้นเรื่องการทำเสียงเป็นหลัก ทำให้เราได้สร้างเสียงประกอบและพากย์เสียงกันแบบสดๆ

ในการทำละครเวทีมีด้วยกันหลายหน้าที่ หลักๆคือ ฝ่ายเสียง ประกอบไปด้วย เสียงพากย์, Foley, เสียงAmbient/SFX ,ทีมควบคุมเสียง ฝ่ายนักแสดง ฝ่าย Prop หรือ Art director 

ภาพการฝึกซ้อมนอกสถานที่
ภาพอุปกรณ์ทำเสียงของ Foley ละครเวทีเรื่อง “ส้มตำกลับใจ”

พวกเราฝึกซ้อมกันอยู่หลายวัน ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมใหญ่ ซ้อมกับอาจารย์หรือรุ่นพี่ หรือนัดซ้อมกันเองเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ส่วนหน้าที่ที่เรารับผิดชอบคือการทำเสียง Foley เป็นการเลือกใช้อุปกรณ์ในการสร้างเสียงประกอบที่เข้ากับการแสดงในแต่ละซีน ฝึกซ้อมการแสดงกับนักแสดงจนเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ยาก เพราะเราต้องเล่นกันสดๆ จะผิดพลาดไม่ได้ ตอนซ้อมเกิดเสียงไม่ตรงบ้าง เสียงไม่ได้ยินบ้าง ต้องปรับแก้ไขกันใหม่ หาอุปกรณ์สร้างเสียงมาเพิ่ม

ทีมงานทุกคนเต็มที่กันมาก ตั้งแต่เริ่มการเขียนบทใหม่ให้ดูเป็นละครเวทีมากขึ้น ทีมนักแสดง ทีมเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็น Art director ที่สร้างฉากในแต่ล่ะซีนให้เข้ากับบท สร้างอุปกรณ์หรือหาอุปกรณ์ให้เข้ากับเนื้อหาในบท ทีมงานเสียงที่เป็นส่วนสำคัญของวิชาการสร้างเสียงประกอบฯ ทั้งแต่งเพลงและร้องเพลงประกอบขึ้นมาใหม่ ทำให้เรื่องราวมีความน่าสนใจและสนุกมากขึ้น ทั้งยังมีการสร้างเสียง Ambient/SFX ประกอบเพื่อทำให้คนดูเข้าใจว่าอยู่ในฉากหรือซีนแบบไหน ฝ่าย Foley ที่ทำเสียงประกอบให้ตรงตามจังหวะกับการกระทำของนักแสดง ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การตำส้มตำหรือ Action ของนักแสดง ฝ่ายพากย์เสียงที่ต้องพากย์กันสดๆและถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของตัวละครเหมือนเป็นคนคนเดียวกัน ฝ่ายนักแสดงที่ต้องเล่นใหญ่ แสดงให้สมจริงเพื่อให้คนดูเข้าใจ และฝ่ายควบคุมเสียงที่ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมการใช้เสียง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงหรือใช้เสียง SFX ในจังหวะไหนต้องเปิดให้ตรงตามบท

ทีม Production เป็นหน้าที่ของนิสิตชั้นปีที่ 3 ที่ทำการถ่ายทอดสด การจัดแสงไฟ มุมกล้องต่างๆ ทำโปสเตอร์โปรโมทละครเวที และ Live streaming ผ่าน Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ 

ภาพทีมละครเวทีเรื่อง “ส้มตำกลับใจ”

สุดท้ายนี้พวกเรานิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยารู้สึกดีใจและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ให้โอกาสพวกเราสร้างสรรค์งานละครเวทีขึ้นมา พวกเรารู้สึกภูมิใจและจะจดจำประสบการณ์ดีๆ ที่มีทั้งความเหนื่อย ความยาก และอุปสรรคมากมายที่เราได้พบเจอระหว่างการทำงาน

ในอนาคตนิสิตสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ อาจจะมีผลงานละเวทีใหม่ๆมาให้ได้ดูกันอีก ทั้งนี้สามารถติดตามผลงานและรับชมละครเวทีย้อนหลังได้ที่ Facebook:สาขา https://www.facebook.com/studyatNMCUP

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ