นักแสดง นักพากษ์ ฉาก แสง สี เสียง มาครบจัดเต็มในรูปแบบของสื่อใหม่
การจัดละครเวทีคร้้งนี้ไม่ธรรมดาแน่นอน
นิสิตสื่อใหม่ มพ.
ละครเวทีครั้งแรกของพวกเรา ที่ได้มีโอกาสแสดงและได้จัดขึ้นโดยอาจารย์และนิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการเปิดประสบการณ์การทำงานที่มาจากการสอบปลายภาคครั้งนี้ ซึ่งมีสองเรื่องด้วยกันเลยทีเดียว ก็คือ ส้มตำกลับใจ และ ไขWho ตอน “เดอะฉำฉา”
- เรื่องแรก ส้มตำกลับใจ ว่าด้วยเรื่องราวความแซบลูกแม่ค้าขายส้มตำ เฌอแตมหญิงสาวหัวรั้นไม่ฟังใคร พบกับจุดเปลี่ยนในชีวิตของเธอ
- เรื่องที่สอง ไขWho ตอน “เดอะฉำฉา” ชมรมของเหล่าเด็กนักเรียนที่รักการสืบสวนแต่ต้องแก้ไขปริศนาสุดท้ายก่อนที่ชมรมของพวกเขาจะถูกยุบ
ก่อนจะมาเป็นละครเวทีอย่างสมบูรณ์ที่จัดขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม 2566 พวกเราก็ได้เตรียมตัวและทำการฝึกซ้อมกันมาเป็นเดือนกันเลยทีเดียว
ละครเวทีครั้งนี้ที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่ามาครบจัดเต็มและไม่ธรรมดาแน่นอนนั่นก็เพราะพวกเรามีการพากย์เสียง ทำเสียงประกอบ(foley) และทำดนตรีเองทั้งหมด ซึ่งตัวเราอยู่ทีมละครเรื่อง ไขWho ตอน “เดอะฉำฉา” ในการจัดกิจกรรมขึ้นครั้งนี้แน่นอนว่าเราต้องแบ่งการทำงานออกเป็นฝ่ายเพื่อจะได้ทำงานกันสะดวก ตัวฉันได้ทำหน้าที่ พากย์เสียง เป็นครั้งแรกของเราที่ได้มาพากย์เสียงละครเวทีกันสดๆให้ทุกท่านได้ชมกัน
เราเริ่มจากการลองอ่านบทเพื่อให้เข้าใจในคาแรคเตอร์ของตัวละครที่ตัวเองจะต้องพากย์ จากนั้นก็ไปต่อบทกับเพื่อนๆที่พากย์เสียงเป็นตัวละครอื่น เมื่อเริ่มเข้าใจในคาแรคเตอร์ของตัวละครนั้นๆ เราก็ลองเริ่มซ้อมพากย์เสียงพร้อมกับแสดงไปด้วยกัน แต่ในช่วงแรกนักแสดงและทีมพากย์ยังปรับตัวพูดให้ตรงกันไม่ค่อยได้ ยังมีการพูดที่ผิดพลาดบ้าง นั่นอาจจะเป็นเพราะเราไม่มีประสบการณ์และยังไม่เข้าใจในการพูดการเข้าถึงอารมณ์ของการพากย์เสียงละครเวทีนั้นจริงๆ จึงมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษาช่วยสอนช่วยฝึก จึงทำให้เราเข้าใจและทำมันมากขึ้น
การพากย์เสียงละครเวทีครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ได้ลองในสิ่งที่ไม่เคยและคิดว่าตัวเองจะทำไม่ได้ในตำแหน่งนี้ แต่พอได้ลองทำจริงๆก็ทำให้รู้ว่าไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้หากฝึกฝนและตั้งใจทำมันจริงๆ
“ซ้อมน้อยเจ็บมาก ซ้อมมากเจ็บน้อย”
อาจารย์ณฐไนย กล่าวไว้
มาดูในส่วนอื่นๆกันบ้างว่ามีหน้าที่อะไร ต้องทำอะไรบ้าง
ผู้กำกับ ซึ่งเป็นคนทำความเข้าใจ ตีความบทละคร จัดตำแหน่งงานฝ่ายต่างๆ ให้คำแนะนำและรับฟังความเห็นของนักแสดงทุกฝ่าย ตรวจสอบความเรียบร้อย ฝึกซ้อมการแสดง รับผิดชอบในภาพรวมจนเสร็จสมบูรณ์
นักแสดง เป็นคนสวมบทบาทของตัวละครตัวหนึ่ง ต้องเข้าใจเรื่องราวและความคิดของตัวละครนั้นๆ เพื่อแสดงออกมาได้อย่างสมจริง แสดงตามบทเพื่อเผยแพร่ต่อผู้ชม
นักพากย์ จะต้องใช้เสียงถ่ายทอดอารมณ์ ให้ผู้ฟังหรือผู้ชมได้สัมผัสความรู้สึกผ่านเสียงนั้นๆร่วมกับนักแสดง
ทีมสร้างเสียงประกอบ(foley) อีกหนึ่งคนทำงานเบื้องหลัง มีหน้าที่สร้างสรรค์เสียงประกอบ เป็นเสียงจากจินตนาการถ่ายทอดผ่านการเคาะ เป่า เท สะบัด ที่ก่อให้เกิดเสียง โดยสร้างเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆ
ทีมพร็อพ เป็นคนทำและจัดพร็อพประกอบฉากที่ใช้แสดง
Production ทำหน้าที่ถ่ายทำวิดีโอ กำกับการแสดง กำกับเสียง และเผยแพร่ภาพการแสดงผ่าน Live ให้ทุกท่านได้ชม
สำหรับใครที่อยากจะเข้ามารับชมย้อนหลัง ก็สามารถเข้าไปดูไปชมกันได้ที่เพจ สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP ใน facebook
https://www.facebook.com/studyatNMCUP