ละครเวทีปกติกับละครเวทีของนิเทศศาสตร์สื่อใหม่ ม.พะเยา
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
การกลับมาของละครเวทีของเด็กนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อใหม่ ม.พะเยา แต่การกลับมาในครั้งนี้ไม่ใช่แค่ละครเวทีธรรมดาทั่วไปที่ใครหลายๆคนเคยได้รับชมกันมาก่อนหน้านี้ แต่เป็นละครเวทีมิติใหม่ที่มีรูปแบบการทำที่แตกต่างออกไปจากละครเวทีทั่วไปและมีความยากในการทำมากขึ้น จะเป็นมีขั้นตอนอะไรบ้าง? แล้วมันแตกต่างจากละครเวทีทั่วไปยังไง? มีความยากแค่ไหน?
ละครเวทีในครั้งนี้เป็นการสอบปลายภาคของนิสิตชั้นปีที่2และนิสิตชั้นปีที่3 คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา ในส่วนของนิสิตชั้นปีที่2 ก็จะเป็นการสอบปลายภาคในรายวิชการสร้างสรรค์เสียงประกอบ ในส่วนของนิสิตชั้นปีที่3 ก็จะทำหน้าที่ในส่วนของโปรดักชั่นและการโปรโมทต่างๆ
อันดับแรกเลยก็จะมีการแบ่งทีมออกเป็น2ทีม เพราะการทำละครเวทีในครั้งจะทำออกมา2เรื่อง หลังจากที่ทำการแบ่งทีมเสร็จแล้ว ก็จะมีการเลือกบทละครเวที ซึ่งจริงๆแล้วบทละครเวทีที่ทำนั้นเป็นบทละครวิทยุมาก่อน เลือกเรื่องเสร็จแล้วเราก็จะแบ่งหน้าทีกัน ก็จะแบ่งออกเป็น โปรดิวเซอร์ ทีมปรับบทละครวิทยุให้เป็นละครเวที ผู้กำกับเวที ทีมเสียง นักแสดง นักพากย์ ฝ่ายประสานงาน ทีมทำFoley Art director Acting Coach เมื่อแบ่งหน้าที่กันเสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตละครเวทีในรูปแบบใหม่
ฝ่ายปรับบทก็จะปรับบทจากบทละครวิทยุมาเป็นบทละครเวที มีการเพิ่มบางบทเข้ามาและตัดบางบทออก ในส่วนของการปรับบทมันยากตรงที่เคยเขียบแต่บทละครวิทยุ บทรายการโทรทัศน์ บทละครโทรทัศน์ บทโฆษณาแต่ยังไม่เคยได้ทำบทละครเวทีเลยต้องศึกษาการเขียนบทละครเวทีเอง แต่การเขียนบทละครเวทีนั้นง่ายกว่าบทละครวิทยุ เนื่องจากบทละครวิทยุเป็นบทละครที่ต้องใช้จินตนาการสูงมาก และต้องหาวิธีว่าจะทำยังไงให้คนแยกตัวละคร สถานที่ สถานการณ์ถูกต้อง แต่สิ่งที่บทละครเวทียากกว่าละครวิทยุเลยคือข้อจำกัดในการใช้สถานที่และฉาก ถ้าในบทมีฉากมากเกินไปอาจจะทำให้พื้นที่ในการแสดงไม่ค่อยมี พอได้บทมาแล้วก็ต้องให้ทุกฝ่ายมาตีบทละครตามหน้าที่ของตนเอง
Art director ต้องมาตีความในบทว่ามีกี่ฉาก และฉากไหนต้องใช้อะไรบ้าง ในส่วนของ Art director เรียกได้ว่าเป็นฝ่ายที่งานหนักมากๆ เพราะต้องทำฉากออกมาให้ครบ นอกจากการทำฉากแล้วยังต้องหาหรือทำพร็อพต่างที่มีในฉากและที่นักแสดงต้องใช้อีกด้วย แล้วแต่งละอย่างก็มีความยากและมีดีเทลที่ค่อนข้างเยอะ และที่สำคัญคือฉากนอกจากจะสวยงามแล้วยังต้องแข็งแรงอีกด้วย เพราะถ้าหากว่าฉากไม่แข็งแรงอาจจะสร้างความเสียหายหรือทำให้นักแสดงบาดเจ็บได้ และจะต้องคอยเช็คตลอดว่าทำพร็อพอะไรไปบ้าง แล้วขาดอะไรบ้างโดยเพราะพร็อพที่สำคัญ เพราะถ้าหากขาดพร็อพบางอย่างไปอาจจะทำให้เนื้อเรื่องไม่สมบูรณ์หรือเนื้อเรื่องเปลี่ยนไปเลยก็ได้
ฝ่ายเสียงก็ต้องมาตีบทละครว่าในบทมีกี่ฉาก เพื่อไปเก็บAmbientมาใช้ในแต่ละฉาก หลังจากนั้นก็มาหาว่าส่วนไหนควรจะใส่เพลงลงไป เพื่อที่จะได้ไปทำเพลงมาประกอบ ในส่วนของการทำเพลงละครเวทีก็ได้ นายอาทิตย์ บุญกว้าง มาช่วยทำเพลง ไม่ว่าจะเป็นทำนอง เนื้อร้องในบางส่วน เท่านั้นยังไม่พอฝ่ายเสียงยังต้องหาเสียงประกอบที่ทีมFoley ไม่สามารถทำขึ้นมาเองได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงรถลงพยาบาล เสียงคนตกน้ำ เสียงฝนตก ฟ้าร้อง เสียงนกร้อง พอได้เสียงมาครบแล้วฝ่ายเสียงก็ต้องคุมเสียงในช่วงเวลาแสดงด้วยว่าต้องเปิดเสียงอะไรในช่วงไหน เพราะถ้าหากมีการเปิดที่ช้าหรือไวเกินไป อาจจะขัดอารมณ์ของนักแสดงและกระชากอารมณ์ความรู้สึกผู้ชมได้ นอกจากจะควบคุมเสียงแล้วยังต้องควบคุมไมค์ของทีมทำFoley และทีมนักพากย์อีกด้วยว่าต้องดังช่วงไหน ช่วงไหนต้องปิดไมค์ใครฝ่ายไหน
ทีมทำFoley จะต้องวิเคราะห์บทละครเวทีว่าในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตัวละครกำลังทำอะไร แล้วการกระทำของตัวละครนั้นจะทำให้เกิดเสียงแบบไหนออกมา หลังจากวิเคราะห์เสร็จแล้วว่าจะต้องทำเสียงอะไรบ้างก็จะต้องมาวิเคราะห์ต่ออีกว่าเสียงที่ต้องทำมีเสียงประมาณไหน พอได้รูปแบบเสียงที่ต้องทำตามหาอุปกรณ์ในการทำเสียงแล้วนำมาทดลองว่าเสียงที่ได้ใกล้เคียงกับเสียงที่วิเคราะห์ไว้ไหม แล้วต้องทำแบบไหนถึงจะได้เสียงตามที่วิเคราะห์ไว้ สิ่งที่สำคัญของทีมทำFoley คือจะต้องคอยดูการกระทำของนักแสดงแล้วทำให้ตรงจังหวะ ตัวคนทำเสียงFoley จะต้องใช้ทั้งสัญชาตญาณและจิตวิญญาณ ตัวคนทำเสียงFoley จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกับนักแสดง เพื่อที่เวลาทำออกมาแล้วจะได้สัมพันธ์กับการกระทำของตัวนักแสดง
นักแสดงต้องมีการหาคาแรคเตอร์ตัวละครให้เจอ หลังจากได้คาแรคเตอร์ตัวละครมาแล้ว ก็จะมีการปรับบุคลิกให้เข้ากับตัวละครและละลายพฤติกรรมให้เข้ากันและสนิทกันยิ่งขึ้น โดยจะมี Acting Coach คอยช่วยดึงเอาคาแรคเตอร์ตัวละครในตัวนักแสดงออกมา นอกจากจะหาคาแรคเตอร์เจอแล้ว นักแสดงจะต้องฝึกทำซีนอารมณ์ ต้องจำบล็อคกิ้งของตนเองให้ได้ด้วย เพื่อที่จะได้รู้ตำแหน่งของตนเองว่าควรอยู่ตรงไหน เดินไปทางไหนไม่ให้โดนบัง ไม่ให้ชนกัน และที่สำคัญคือละครเวทีต้องแสดงให้ใหญ่กว่าละครโทรทัศน์ เพื่อที่ผู้ชมจะได้เห็นได้ชัดว่าตัวละครไหนเป็นใคร คาแรคเตอร์ยังไง มีอารมณ์ความรู้สึกยังไงณ ตอนนั้น และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือกาต้องจำบทและงับคำให้ตรงกับนักพากย์ เพราะเป็นละครเวทีที่พากย์สด ไม่ใช่การพูดบทตนเอง เพราะฉะนั้นจะเพิ่มหรือลดคำไม่ได้ ต้อกะจังหวะให้ตรงกับคนพากย์ด้วย เพราะงั้นนักแสดงกับคนพากย์จะต้องมีจิตวิญญาณที่เชื่อมหากัน ต้องเชื่อมันในอีกฝ่ายและต้องทำข้อตกลงอย่างชัดเจนว่าจะพูดว่าอะไรบ้าง จะตัดจะเพิ่มคำตรงไหนบ้าง
นักพากย์ต้องมีการคัดตัวเพื่อให้น้ำเสียงสอดคล้องกับคาแรคเตอร์ตัวละคร และนักพากย์เป็นอีกฝ่ายที่ต้องทำความเข้าใจตัวละครและสวมบทเป็นตัวละครนั้น ต่อให้ไม่ได้แสดงแต่ก็ต้องดึงเอาคาแรคเตอร์ตังละครออกมาและต้องฝึกในเรื่องของอารมณ์เช่นกัน เพราะถึงจะเป็นแค่นักพากย์ก็ต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครและจะต้องแสดงอินเนอร์ผ่านออกมาเสียง นักพาหย์จะต้องใช้จิตวิญญาณให้เชื่อมต่อกับนักแสดง เพื่อที่วันทำการแสดงอารมณ์อินเนอร์คนพากย์กับนักแสดงจะได้สัมพันธ์กันและไม่ขัดตาผู้ชม ที่สำคัญเลยต้องเชื่อมันในนักแสดง จับจังหวะนักแสดงว่าควรจะพูดช่วงไหนให้มันราบรื่นและที่สำคัญอีกอย่างคือการเปล่งเสียงออกมาให้เท่ากัน เพื่อที่จะได้ไม่มีใครโดดออกมามากเกิน นั่นหมายความว่านักพากย์นอกจากจะต้องมีจิตวิญญาณที่เชื่อมหานักแสเงแล้ว ยังต้องมีจิตวิญญาณที่เชื่อมหานักพากย์ด้วยกันอีกด้วย
ละครเวทีที่ได้จัดทำจะเป็นละครเวที่ที่มีการพากย์สดๆและทำเสียงประกอบสดๆให้ได้ชมกันผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่ง ในการซ้อมการแสดงย่อยในวันแรกจะเป็นวันที่ผู้กำกับเวทีดูบล็อกกิ้งนักแสดง นักแสดงเริ่มจัดบริบทเริ่มจับจุดอารมณ์ของตนเอง นักพากย์จับจังหวะการพูดว่าจะต้องเริ่มพูดช่วงไหน เสียงหนักเบาตรงไหน เว้นช่วงการพูดนานแค่ไหน ทีมทำFoley จับจังหวะการกระทำของนักแสดงว่าควรจะทำเสียงช่วงไหนและหยุดทำช่วงไหน ทีมคุมเสียงก็จับจังหวะการปล่อยเสียงและดูว่าเสียงเข้ากับการแสดงไหม ถ้าไม่เข้าก็ต้องปรับแก้ไขทำนองหรือเนื้อร้องให้เข้ามากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงของการละลายพฤติกรรมของทุกฝ่ายให้มีจิตวิญญาณที่เชื่อมหากันและเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ช่วยกันหาปัญหาและแก้ไขมันไปด้วยกัน ซึ่งในวันซ้อมย่อยวันแรกอาจจะมีทุลักทุเลไปบ้าง เนื่องจากเป็นครั้งแรกของทุกๆฝ่าย
เนื่องจากเป็นละครเวทีที่มีการเผยแพร่ผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่ง โดยมีรุ่นพี่ปี3เป็นคนโปรดักชั่นและโปรโมท ดังนั้นพี่ปี3 ก็จะเริ่มจากการเข้ามาดูละครเวทีจากการซ้อมย่อย เพื่อเข้ามาดูบล็อกกิ่งและหามุมกล้องว่าให้เข้ากับแต่ละชาวงแต่ละสถานการณ์ หลังจากนั้นก็มีการนัดถ่ายรูปเพื่อนที่จะนำไปโปรโมท สำหรับการถ่ายรูปจะเป็นพี่ปี3 ที่ดูแลเรื่องนี้ ส่วนนักแสดงก็มีหน้าที่แต่งตัวตามที่คาแรคเตอร์ตัวละครและเป็นชุดที่จะใช้ในวันแสดงจริงด้วย ก็จะมีทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม แบบเดี่ยวก็จะมีการถ่ายตามคาแรคเตอร์ตัวละคร ถ่ายกับพร็อพประจำตัว ในส่วนของแบบกลุ่มก็จะมีการถ่ายตามบทบาทว่าตัวละครที่ถ่ายแบบกลุ่มมีความสัมพันธ์แบบไหนก้ถ่ายทอดออกมาแบบนั้น
หลังจากที่รุ่นพี่ปี3 มีการถ่ายภาพเพื่อโปรโมทแล้ว ก็จะนำภาพไปทำกราฟฟิค เพื่อทำออกมาในรุปแบบของโปสเตอร์ นำไปแปะตามที่ต่างในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเชิญชวนให้คนที่ยังไม่ได้กลับบ้านสามารถมารับชมสดได้ เท่านั้นไม่พอยังมีการโปรโมทผ่านทางเพจต่างๆอีกด้วย โดยการโปรโมทผ่านทางเพจของรุ่นพี่ปี3 ก็จะมีการเขียนแคปชั่นเชิยชวนอธิบายรายละเอียดต่างๆไว้ เป็นการโปรโมทแบบสื่อใหม่และเป็นการเชิญชวนคนที่เดินทางกลับบ้านแล้ว แต่อยากจะรับชมละครเวที แต่ถ้าหากใครที่ติดธุระก็จะสามารถรับชมย้อนหลังได้ ถ้าหากใครที่มีประงสงค์จะรับชมย้อนหลังก็สามารถเข้าไปรับชมได้ที่ เพจ Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP ได้เลย
พอถึงวันซ้อมใหญ่และแสดงจริงเราก็จะซ้อมและแสดงที่อาคาร 99 ปี อุบาลี ห้อง UB002 โดยวันซ้อมใหญ่คือวันก่อนแสดงจริงหนึ่งวัน เป็นการซ้อมร่วมกับพร็อพและฉากครบทุกอย่าง เป็นการรันคิวแบบวันจริงว่าเรื่องไหนแสดงก่อน ระยะเวลาเก็บพร็อพและจัดพร็อพจัดจากฉากใช้เวลาประมาณไหน ช่วงนั้นจะใช้รันดาวน์แบบไหนคั่นเวลา จัดแสงแบบไหน ใช้ไฟกี่ตัว ไฟตั้งตรงไหน กล้องกี่ตัว ตั้งตรงไหนบ้าง แล้วนักพากย์กับFoley จะต้องวางมุมกล้องแบบไหนให้ถ่ายได้ครบทุกคน มุมไหนไม่มืดเกินไป ควรขยับกล้องแบบไหน มุมภาพในแต่ลัช่วงแต่ละเหตุการณ์ควรใช้แบบไหนในไลฟ์สตรีมมิ่ง ในส่วนของโปรดักชั่นตรงนี้จะเป็นหน้าที่ของรุ่นพี่ปี3
ในวันแสดงจริงมีทั้งผู้ชมที่มารับชมสดที่ห้อง UB002 และผู้ชมที่รับชมผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะรับชมผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งกัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่หลายๆคนสอบเสร็จและเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัดกันแล้ว ในวันแสดงจริงก็มีข้อผิดพลากเกินขึ้นบ้างไม่ว่าจะเป็นการที่พร็อพไม่ตกลงมา แต่ว่าก็มีการแก้สถานการณ์หน้างานได้ และที่เป็นปัญเลยคงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของข้อจำกัดของพื้นที่ในการพักตัวนักแสดง เนื่องจากไม่มีที่พักตัวนักแสดงระหว่างที่มีนักแสดงคนอื่นกำลังแสดงอยู่ แต่ฝนวันแสดงจริงก็ได้เห็นพัฒนาการของหลายๆคนๆหลายๆทีม ซึ่งแต่ละคนถือว่าพัฒนาขึ้นไปแบบมากๆเลยทีเดียว
ประสบการณ์การทำละครเวทีมิติใหม่ ในแบบฉบับของเด็กนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อใหม่ของ ม.พะเยา เป็นการแสดงละครเวทีที่ต่างไปจากละครเวทีทั่วไปตรงที่มีการพากย์สดและทำเสียงประกอบกันแบบสดๆให้ได้ชม ซึ่งไม่ค่อยมีละครเวทีที่ไหนทำ เป็นการเพิ่มความท้าทายในการทำละครเวทีมากยิ่งขึ้น แม้ว่าในระหว่างการซ้อมการแสดงอาจจะมีข้อผิดพลาดไปบางส่วน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ และเป็นการกลับมาทำละครเวทีอีกครั้งของสาขาสื่อใหม่หลังจากที่ทิ้งหายการทำละครเวทีไปนาน ถือเป็นประการณ์ที่ดีในการทำละครเวทีและเป็นประสบการณืที่ดีของเด็กนิเทศศาสตร์เลยทีเดียว
ละครเวทีแบบใหม่
ที่มีเด็กสื่อใหม่เป็นผู้ผลิต