เชียงของ เมืองชายเเดน ความเปลี่ยนแปลง

เชียงของ เมืองชายเเดน ความเปลี่ยนแปลง

เชียงราย เชียงของและชายแดน @ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง

ชายแดนหรือเส้นเขตใช้เพื่อแบ่งประเทศต่างๆ ก่อนที่จะมารวมกันเป็นประชาคมอาเซียน เส้นเขตแดนยังคงมีอำนาจอยู่ ซึ่งจะทำให้ทุกคนกลัวมาก ว่าจะข้ามเมื่อไหร่ก็ต้องกลัวกฎหมาย รัฐเองก็พยายามที่จะควบคุม ถ้าหากจะข้ามไปก็ต้องมีขั้นตอนต่างๆ พูดอีกอย่างก็คือ เส้นเขตแดนมีความศักดิ์สิทธิมากเปรียบเสมือนศาสนาที่ทุกคนเคารพ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เส้นเขตแดนที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศที่เกิดเป็นประชาคม เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาสเปเรีย แต่ก็ไม่ได้มีอำนาจมากเหมือนกับบ้านเรา และที่สำคัญบริษัทต่างๆ เริ่มที่จะมีอำนาจหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น ที่อำเภอเชียงของก็มีบริษัทนาคราช ที่เชียงแสนก็จะมีบริษัทลิ้วคำ จะมีการสัมปทานพื้นที่ในบริเวณนี้ในระยะยาว จึงทำให้เกิดคำที่ว่าเชียงราย “จะมั่งคั่ง หรือมั่นคง” และจากการสัมปทานพื้นที่จากนายทุนต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่นที่ประเทศลาว มีนายทุนจากประเทศจีนเข้ามาสัมปทานพื้นที่ ทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างประเทศลาวและประเทศจีน เช่นการแต่งตัว และในพื้นที่สัมปทานนั้นเองก็มีวัฒนธรรมจีนเกิดขึ้น เช่นศิลปะ บ้านจีนเป็นต้น และเมื่อนายทุนเหล่านี้เอง เข้ามาสัมปทานในพื้นที่ก็เกิดระบบการบริหารจัดการเงินด้วยการส่งเงินกลับไปในประเทศตนเองแต่ไม่ส่งเงินกลับมาในประเทศ ที่ตนเองสัมปทานอยู่ ในประเทศไทย และประเทศอาเซียนกลัวในเรื่องของเส้นเขตแดนแต่ในประเทศทางฝั่งยุโรปเส้นเขตแดนไม่ได้มีความสำคัญ และในด้านของการท่องเที่ยวนั้น จากวัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่ เช่นรูปปั้นของพระเจ้าไชยเชษฐา ที่เป็นปฐมกษัตริย์ของล้านช้างและล้านนา ก็เป็นที่น่าสนใจ ว่าเป็นกษัตริย์ทั้งสองประเทศทั้งล้านนาและล้านช้างด้วย ถ้าเกิดเราดูเส้นเขตแดนระหว่างแคนาดาและสหรัฐฯ เส้นเขตแดนก็กลายเป็นเรื่องขบขันไประหว่าง 2 ประเทศนี้ เพราะว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเส้นเขตแดนมากนัก จะเห็นได้ว่าทั้งสองประเทศนั้นมีกิจกรรมกับเส้นเขตแดน เช่นการใช้เส้นเขตแดนเป็นเขตกันระหว่างสนามวอลเล่ย์บอล

พูดจริงๆเชียงของตอนนี้เริ่มมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ การพัฒนาในภูมิภาคทำให้ในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่นที่เชียงของเกิดถนน R3A และสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 เกิดขึ้น และตอนนี้เองเราอยู่ในกระแสจีนวิวัฒน์ เป็นนโยบายของจีนที่ทำให้ผู้ลงทุนมุ่งลงใต้ เนื่องจากรัฐทางใต้ของ ประเทศจีนนั้น ไม่ได้มีเขตแดนติดกับทะเลเลย จึงจะต้องหาทางออกทะเลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพราะฉะนั้นอำเภอเชียงของก็เป็นอีกหนึ่งจุดมุ่งหมายของนักลงทุนชาวจีน ที่จะต้องบุกมาให้ได้ และในทุกวันนี้คือจีนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ย้อนกลับไปในช่วงล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ประเทศอื่นๆในประชาคมอาเซียนตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศส และเกิดเป็นประเทศต่างๆขึ้น ยกเว้นประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ที่มีได้เป็นเมืองขึ้นของใคร จึงทำให้ประเทศไทยไม่ได้เหมือนประเทศอื่นๆ หลังจากยุคล่าอาณานิคมก็มาถึงยุคสงครามเย็น ทำให้หลายประเทศ กลัวในระบบคอมมิวนิสต์ และถ้าหากมองย้อนไปในอดีต จะพบว่าเมืองเชียงของและห้วยทรายของประเทศลาวเป็นเมืองพี่เมืองน้องกัน ไปมาหาสู่กันอยู่ตลอดเวลา และหลังจากเกิดเส้นเขตแดนขึ้น ทำให้วิถีชีวิตแบบนี้หายไป และในยุคสงครามเย็นนี่เอง กลายมาเป็นยุคสงครามเศรษฐกิจ หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สะพานมิตรภาพลาวแห่งที่ 4 ถือว่าเป็น จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่นำมาสู่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย คือการปรับพื้นที่ของภูมิภาคนี้ ทำให้เขตชายแดนและการขนส่งเปลี่ยนแปลงไป แต่สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 นี้ ใช้สำหรับรถวิ่งอย่างเดียวใครจะไปเดินไม่ได้ ซึ่งทำให้น่าแปลกใจว่าสะพานมิตรภาพแห่งนี้ เป็นสะพานของใครกันแน่ เพราะว่าสะพานนี้มันวิ่งได้เฉพาะแค่รถยนต์เท่านั้น และสุดท้ายเคยมีคนพูดว่า “มีอะไรดีที่เชียงของหลายๆคนเห็น หลายๆคนไม่เห็น แต่ผมเห็น ที่หลายคนมองไม่เห็น”

 

“ความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เชียงของและการปรับตัวของคนในพื้นที่เชียงของ” (ครูตี๋ นิวัตต์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มคนรักเชียงของ)

ปัญหาของเชียงของคือยุคใหม่ในพื้นที่ไม่มีใครรู้จักรากเหง้าของตนเอง ไม่รู้จักวัฒนธรรมของตนเอง เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของคนบ้านเราที่ไม่ค่อยจะมีใครให้ความสำคัญ เรื่องวัฒนธรรมมันเป็นเรื่องของการระบุตัวตน ว่าเป็นใครมาจากไหนและทำอะไร และนี่มันก็คือสิ่งที่มันเกิดขึ้น แล้วเราเห็นมันอย่างชัดเจน แต่ทำไมเราจะต้องรู้จักเชียงของเมืองที่เล็กๆ ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร เมืองเชียงของชื่อมันคล้องจองกับแม่น้ำของหรือแม่น้ำโขงที่ทุกคนพูดกัน เมืองเชียงของถึงจะเป็นเมืองขนาดเล็กแต่ก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เชียงของมีแม่น้ำอิงที่ไหลมาจากพะเยาไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่บ้านปากอิง

เมืองเชียงของถือเป็นอีก หนึ่งเมืองที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเข้ามาในพื้นที่ เกิดการแย่งอาชีพ และเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ที่เราห่วงที่สุดคือการประกาศพื้นที่ เพื่อทำเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งในบางพื้นที่ที่สำรวจ บางพื้นที่ก็ไปทับซ้อนกับพื้นที่เดิมของชาวบ้าน ที่เค้าใช้ทำมาหากินอยู่ซึ่งเป็นที่สปก. ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย ตำบลบุญเรือง ตำบลครึ่ง ตำบลห้วยซ้อ ซึ่งใน 3 ตำบลนี้ ปลูกข้าว ทีนี้พื้นที่ 3 ตำบลนี้ถูกเพิกถอนและรัฐชดเชยให้สร้างเป็นนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้น และนี่เป็นสิ่งที่ชาวบ้านไม่ค่อยจะรับรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเร็วมาก อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือเรื่องของสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 ก่อนจะเกิดขึ้นนั้นชาวบ้านก็คุยกันว่า เขาจะได้ผลประโยชน์จากสะพานแห่งนี้ มีการค้า และเศรษฐกิจในพื้นที่จะดีขึ้น แต่เมื่อสะพานแห่งนี้เกิดขึ้น มันกลับตรงกันข้ามจากที่ชาวบ้านหวังไว้ เพราะว่าจากที่ไม่ได้อะไรเลยจากสะพานชาวบ้านต้องมาเสียไปอีก จะเห็นได้ชัดในบริเวณตัวเมืองเก่าของอำเภอเชียงของ หรือตัวเมืองเชียงของ สังเกตได้ง่ายๆ หลังจากที่มีสะพานทำให้รายได้ของคนในพื้นที่ลดลง ทั้งคนขี้สามล้อ คนขับเรือ และเจ้าของร้านอาหาร โรงแรมที่พักต่างๆ เพราะว่าการทำพาสปอร์ตข้ามแดน จากจุดเดิมที่ท่าเรือบั๊ค ย้ายไปที่สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 และที่ท่าเรือบั๊คใช้ได้แต่ “บอเดอร์พาส” หรือหนังสือข้ามแดนชั่วคราว นักท่องเที่ยวก็ไม่เข้ามา เพราะค่าใช้จ่ายมันก็เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งปัญหานี้ทำให้คนเชียงของคิดไปอีกว่า เดิมนั้นเชียงของมีต้นทุนอยู่ ทั้งทุนทางด้านสังคมและทุนทางประวัติศาสตร์ และชาวบ้านก็ได้พูดคุยกันว่าจะใช้ทุนเหล่านี้ยังไง เพื่อทำให้เกิดอาชีพและมีรายได้ในพื้นที่ “รัฐอยู่ได้คนท้องถิ่นก็อยู่ได้” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “หนึ่งเมืองสองแบบ” บริบทของการพัฒนาคือ ใช้บริบทพื้นที่เป็นตัวตั้ง ว่าพื้นที่ไหนเป็นอย่างไรในเชิงนิเวศประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่นเมืองเก่า เราบริหารจัดการอย่างไร และตอนนี้อย่างน้อยก็ถือว่าเข้าสู่กระบวนการของการขับขับเคลื่อน เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เมืองเชียงของ อย่างน้อยเราก็มีรากเหง้า และรู้ว่าแม่น้ำของหรือแม่น้ำโขงมีความสำคัญต่อเมืองเชียงของอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไรในอดีต เราก็พยายามที่จะพาเมืองเชียงของ ออกไปสู่โลกที่มันเกิดการเปลี่ยนแปลง และยังคงรักษารากเหง้าและวัฒนธรรมเดิมเก็บไว้ อย่างน้อยให้ได้ซัก 30 – 50% ก็ยังดี เพราะว่าที่ผ่านมา มันได้เพียงแค่ 5% เท่านั้นเอง ตอนนี้ เป็นครั้งสำคัญที่สุด ว่าถ้าหากคนเชียงของยังไม่ลุกขึ้นมาดูแลตัวเอง มันคงจะไม่มีอะไรเหลือแล้ว จะเกิดการทะเลาะกันอีก ก็จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ในปัจจุบันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจการค้า และเป็นจุดที่ชัดเจนอีกด้วย

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ