เยี่ยมยามเทศกาลหนัง หลวงพระบาง คนอาเซียนอยากบอกอะไร

เยี่ยมยามเทศกาลหนัง หลวงพระบาง คนอาเซียนอยากบอกอะไร

เทศกาลหนัง พลังsoft power แบบรวมหมู่
มาร่วมงานเทศกาลหนังของแปดประเทศ  ที่หลวงพระบาง   ถือเป็นการสร้างพลัง  ให้กับสินค้าด้านความบันเทิง ที่เราเรียกว่า พลังอำนาจของความบันเทิงหรือ soft power ที่ไทยกำลังฮิต 
งานเทศกาลบุญมโหฬารฮูปเงา หลวงพระบาง ที่จัดขึ้นเกือบทุกปี ยกเว้นช่วงโรคระบาด เป็นปฎิบัติการการสื่อสารที่สร้างพลังให้กับเสียงของกลุ่มผู้ผลิตหนังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แบบรวมหมู่  ที่ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นหนังนอกกระแส ในกระแส หนังทุนต่ำ หนังทุนใหญ่  หนังให้ทุนทำ  หนังดูยากและหนังกระแสนิยม  ซึ่งเป็นการจัดงานในเมืองเล็ก ๆ แต่ยังมีเสน่ห์เต็มล้น ที่โครตมีความเป็นสากล  และการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชนทั้งระดับชาติ และสากล ที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสนับสนุนหน่วยงานและสำนักงานที่รับผิดชอบอยู่ที่หลวงพระบางอย่างน่าอิจฉา…   ประเทศไทยเองก็มีการฉายหนังกระจายตามเมืองเล็ก ๆ อย่างจังหวัดพะเยา ก็มีความพยายามของคนกลุ่มเล็ก ๆ แต่หัวใจใหญ่จัดอยู่ แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนและความสนใจน้อยอยู่  หรือระดับใหญ่อย่างที่จังหวัดขอนแก่นที่ตั้งเป้าจะเป็นเมืองหนัง ก็มีเทศกาลเมืองแคน เช่นกัน

สารที่ส่งผ่านหนัง

สำรวจหนังที่มาฉายในครั้งนี้ จาก 8 ประเทศ
มีหนังประมาณ 28 เรื่อง  เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความสัมพันธ์ พิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา มิตรภาพและการต่อสู้ทางจิตใจและการใช้ชีวิตให้รอดของผู้คนที่ติดอยู่ระหว่างกลาง ของการเปลี่ยนแปลงของประเทศกับการรักษาสภาพเดิม (โลกเก่าและโลกใหม่) เอาไว้  การตั้งคำถามกับอนาคตของคนรุ่นใหม่  ส่วน plot ที่ใช้เท่าที่ได้ดูคือ ความขัดแย้งของคู่ตรงข้าม การข้ามมิติไปโลกอนาคตที่พวกเขากังขา และย้อนเวลากลับไปในอดีต  ซึ่งวิธีการเล่าเรื่องแตกต่างกันตามบริบทของประเทศ
นอกจากนั้นยังมีการฉายภาพของคนตัวเล็กตัวน้อยที่อยู่ในพื้นที่การพัฒนาต่าง ๆ  เช่น Soul River จากประเทศ กัมพูชา หรือ Forgotten Voices of the Mekong จากประเทศเมียนมา ระหว่างชมภาพยนตร์ ก็จะมึการจัดวงเสวนาแลกเปลี่ยน หัวข้อก็น่าสนใจ และเป็นประเด็นร่วม ของผู้กำกับ แหล่งทุน นักแสดงเพื่อขยายประเด็นให้เป็นประเด็นทางสังคมในโลกของความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นอนาคตผู้ผลิตหนังรุ่นใหม่ในลาว ทำอย่างไรจะเป็นการผลิตที่สามารถ trannational ได้ และ อนาคตน้ำโขงที่ต้องเผชิญ
เสียดายที่เราไม่สามารถชมภาพยนตร์ที่มาฉายในเทศกาลหนังได้ครบ อ่อ… ไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ ก็เป็นอันว่า ลงรายละเอียดเรื่องเนื้อหาได้ไม่มาก

ข้อท้าทายที่ผู้จัดงานคุยกันก็คือ ทำอย่างไรที่จะให้คนเข้าถึงหนังหรือได้ดูสารที่ส่งผ่านหนัง  แพลตฟอร์มออนไลน์จะช่วยได้อย่างไร  รวมถึงยังไม่มีการเรียนด้านสื่อการทำหนังในลาวอย่างชัดเจน แม้ว่าความสนใจของคนรุ่นใหม่ วัยรุ่นที่นี่สนใจเกี่ยวกับเรื่องหนังและสื่อออนไลน์มากขึ้น

เรามีโอกาสแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่สอนสื่อสารมวลชนและหนังสั้น น้อง ๆ มหาวิทยาลัย ที่มีความชื่นชอบ และทำหนังของตัวเองออกมาแม้จะไม่ได้ร่ำเรียนทางนี้โดยตรง ส่วนสาขาที่เขาสอนทางนี้ อาจารย์และลูกศิษย์ เขาก็ส่งเสริมเต็มที่ เด็ก ๆ ก็มีผลงาน ได้รางวัลระดับประเทศและระดับอาเซียนมาอย่างน่าประทับใจ  “การทำข่าวหรือสารคดี เราอาจมีการควบคุม แต่การทำหนังมันมีอิสระมากกว่า คนก็เลยชอบทำหนัง” อาจารย์ด้านสื่อของลาว เล่าให้เราฟัง ซึ่งน่าสนใจเพราะทำให้เราเห็นว่าแม้ปัจจัยด้านโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมจะควบคุมกดทับอย่างไง คนก็ยังแสวงหาช่องทางการแสดงออกได้เสมอ

กลับไป เราคงไปคิดต่อเพื่อสานต่อความสัมพันธ์ ทางวิชาการ วิจัยและการพัฒนาคนทางด้านสื่อร่วมกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ อาจประเดิมด้วยกับทำค่ายนักเล่าเรื่องและคนทำสื่อให้กับนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัยได้พบปะกันก่อน

ยิ่งสำรวจโลกเท่าไหร่ เรายิ่งต้องถ่อมตัวมากเท่านั้น

ขอบคุณสำหรับน้ำใจจากทุกท่านที่ต้อนรับและผ่านมาพบกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ