โดยการสอบทั่วไปของนิสิตก็จะเป็นการสอบแบบอัตนัยหรือแบบปรนัย แต่การสอบของเด็กสื่อใหม่ที่ว่าไม่ธรรมดา นั่นก็คือการทำละครเวที การทำละครเวทีในครั้งนี้นิสิตจะต้องทำเองทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการทำฉาก การสร้างเพลงขึ้นมาเอง การแสดง การสร้างวางโครงเรื่อง การพากย์เสียงตัวละคร การทำเสียงFoley ซึ่งการทำเพลง การพากย์เสียง การทำเสียงFoley เป็นสิ่งสำคัญในการทำละครเวทีอย่างมากเพราะการทำละครเวทีเป็นการสอบ Final ของรายวิชา การสร้างเสียงประกอบสำหรับสื่อดิจิทัล เพื่อเป็นการโชว์ศักยภาพหรือความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมาในรายวิชาดังกล่าว
การทำละครเวทีในครั้งนี้ได้เห็นถึงศักยภาพของนิสิตทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักแสดง ฝ่ายArt Director ฝ่ายProducer ฝ่ายสร้างเสียงFoley เสียงเพลงและนักพากย์ นิสิตทุกคน ทุกฝ่ายทำเต็มที่ทุ่มสุดตัวกันสุดๆ จึงทำให้ผลงานออกมาดีมากๆ
เสียงFoley คือเสียงประกอบที่ทำให้ในแต่ละฉากแต่ละตอนดูสมจริงมากยิ่งขึ้น
การทำละครเวทีในครั้งนี้ได้มีการ Live Streaming ผ่านเพจ Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP การละครเวทีมีถึง 2 เรื่อง แต่ละเรื่องมีทั้งดราม่า โลแมนติก ตื่นเต้น ในแต่ละเรื่องมีการสอดแทรกคุณธรรมในเรื่องของแต่ละกลุ่มอีกด้วย
- ไขWho
เรื่องไขWho จะเล่าถึงชมรมของนักเรียนที่กำลังจะถูกยุบแต่ได้มีคดีปริศนาเข้าจึงทำให้นักเรียนในชมได้ ตามสืบคดีปริศนานี้ เหล่านักเรียนจะไขปริศนาได้หรือไม่และชมรมจะถูกยุบอยู่อีกหรือเปล่า
- ส้มตำกลับใจ
เรื่องส้มตำกลับใจจะเล่าถึงเด็กสาวที่ไปเป็นสาวเมืองกรุงและมีแม่ที่ขายส้มตำ เด็กสาวที่ไม่เคยช่วยแม่ขายส้มตำเลยแต่และแล้วก็มีเรื่องมีราวที่ทำให้เด็กสาวกลับใจมาขายส้มตำได้
ทั้งสองเรื่องมีเนื้อเรื่องที่น่าสนใจ ตื่นเต้น เศร้า โรแมนติก ครบรสถ้าใครสนใจรับชมละครเวทีทั้งสองเรื่องก็สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ Live Streaming จากเพจ Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP
ซึ่งกว่าจะมาเป็นละครเวทีที่สมบูรณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่พวกเราก็สามารถทำออกมาได้ดีเพราะพวกเราได้มีการสามัคคีกันเป็นอย่างมากทั้งการทำฉาก ฝึกฝนการแสดง ฝึกฝนการพากย์เสียงการทำเสียงFoley
การพากย์เสียงสดๆ การสร้างเสียงFoley แบบสดๆเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ท้าทายสำหรับพวกเรามากๆ เพราะจะต้องงัดทุกสกิลออกมาให้หมด ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาใน 1 เทอมให้มากที่สุด ซึ่งพวกเราก็ทำอย่างสุดความสามารถและอีกฝ่ายก็คือ ฝ่ายทำฉากถึงฉากจะไม่ใส่จุดประสงค์หลักในการให้คะแนนแต่ฉากก็เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ละครเวทีดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้พวกเราภูมิใจมากๆ ที่ได้สร้างละครเวทีนี้ขึ้นมาเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้ทำร่วมกับเพื่อนในสาขากับอาจารย์ นอกจากประสบการณ์ที่ดีแล้วเราก็ยังมีมิตรภาพที่ดีอีกด้วย และได้มีความทรงจำดีๆกลับมากอย่างชื้นใจ สุดท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณอาจารย์ที่เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งสอนทำเพลง สอนเรื่องการแสดง และสอนเรื่องการทำฉากขอบคุณมากๆครับ
ขอบคุณภาพจาก Live Streaming จากเพจ Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP