Sound Director ในงาน final ละครเวทีสุดท้าทาย ต้องทำอะไรบ้าง ?

Sound Director ในงาน final ละครเวทีสุดท้าทาย ต้องทำอะไรบ้าง ?

ละครเวทีเป็นงาน final ของวิชา การสร้างเสียงประกอบ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาสำคัญที่นิสิตสาขาวิชา นิเทศศาสตร์การสื่อสารสื่อใหม่ต้องได้เรียน และทำให้ผมรู้สึกถึงความ professional มากขึ้นในการสร้างเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างเสียงประกอบภาพยนตร์ การอัดและบันทึกเสียง การทำละครวิทยุ การวิเคราะห์เสียงในภาพยนตร์ต่างๆ การใช้โปรแกรม Cubase รวมถึงเทคนิคการทำเพลงและสร้างเสียงประกอบทางด้านดนตรี การแยกองค์ประกอบเสียงว่าเสียงนี้คืออะไร ทำให้เวลาไปดูภาพยนตร์ในบางครั้งก็จะวิเคราะห์เสียงต่างๆ ในภาพยนตร์เรื่องนั้นโดยอัตโนมัติเหมือนเป็นสกิลติดตัวไปเลยฮ่าๆๆ

โดยงานของผมจะเป็นการแสดงละครเวที ถ่ายทอดสดโดยการนำเทคนิคที่ได้เรียนนำมาประกอบในละครให้มีความสมจริงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงประกอบ (Foly) เสียงบรรยากาศ (Ambient) เสียงพากย์ เอฟเฟคต่างๆ (SFX) เพื่อให้ละครนั้นออกมาสมบูรณ์แบบ และได้ทำงานร่วมกับรุ่นพี่ปี 3 ครั้งแรก โดยจะทำหน้าที่ Production ควบคุมการเผยแพร่ มุมกล้องและมุมแสงต่างๆ ส่วนของปี 2 จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงทั้งหมดไม่ว่าจะทำเสียงประกอบแบบสดๆ แสดงแบบสดๆ พากย์เสียงแบบสดๆ แบบติดขอบเวทีกันเลยทีเดียวเชียว

  • ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

โดยตัวผมได้ทำหน้าที่เป็น ผู้กำกับเสียง (Sound Director) ถือว่าเป็นตำเเหน่งที่มีความสำคัญมากๆ เพราะต้องควบคุมเกี่ยวกับการสร้างเสียงทุกอย่างในละคร เอาซะผมรู้สึกกดดันและตื่นเต้นมากๆ อีกทั้งเมื่อถึงวันแสดงผมต้องเป็นคนคอยนั่งควบคุมเสียงผ่านตัวMixerเสียง ให้เสียงมีความดังเบาให้เหมาะสมและการปล่อยคิวเพลงให้ตรงจังหวะกับนักแสดง โดยใช้อุปกรณ์ในการควบคุมเสียง รุ่น Rodecasterpro 2 และ Zoom Livetrak L-20 ในการMixerเสียงรวมถึงการควบคุมการผลิตเพลงประกอบละคร การคิดเเละออกแบบทำนองเพลงใหม่ โดยใช้โปรเเกรม Cubase ในการสร้างเสียงดนตรี เช่น คีย์บอร์ด กลอง เครื่องเป่า เครื่องดนตรีต่างๆ ตามเพลงตัวอย่างที่ได้รับมอบหมายขึ้นมาใหม่ การควบคุมนักพากย์ในการร้องเพลงและบันทึกเสียงในการทำเพลง การแจกจ่ายงานให้ทีมงานในฝ่ายเสียงต่างๆ

  • และคนนี้ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ นายอาทิตย์ บุญกว้าง แกคอยสอนการทำเพลงตั้งแต่พื้นฐานยันเสร็จงาน คอยสอนเรื่องการใช้โปรเเกรม การเเยกแยะเสียงเครื่องดนตรีตาม reference และนำมาเเต่งเป็นของเราเอง การเเต่งเพลงให้เหมาะสมกับละครเวที เป็นคนคอยให้คำเเนะนำทุกอย่างเกี่ยวกับเสียง พี่ตี้ใจดีมากๆคอยสอนแบบไม่กั๊ก ไม่หวงความรู้กันเลย โดยผมได้นั่งทำเพลงกับพี่ตี้ในระยะเวลา 3-4 อาทิตย์ติดกันเอาว่าเป็นเห็นหน้ากันทุกวันจนเบื่อเลย เพลงที่เราทำทั้งหมดมี 10 เพลง และวันเเสดงพี่ตี้ก็คอยช่วยเหลือในการเซ็ทอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อเกิดปัญหาพี่ตี้ก็จะรีบเข้ามาเเก้ปัญหาทันที ผมนับถือพี่ตี้เหมือนพี่ชายคนหนึ่งเลย
  • ทีมงานฝ่ายเสียงและการทำเพลง

โดยทีมงานเสียงก็จะมีหลักๆเลยคือ เสียงประกอบ เสียงพากย์เพลงประกอบและเสียงบรรยากาศ โดยผมเเบ่งงานให้ ณัฐพล ยามา (หนุ่ย) เป็นหัวหน้าของฝ่ายเสียงประกอบ (Foly) และ วชิรวิทย์ ธิปละ (เซฟ) รับหน้าที่เป็นหัวหน้าของฝ่ายนักพากย์เสียง ส่วนผมกับเพื่อนชื่อว่านาย จักรพงศ์ ลวนคำ (ปอนด์) ก็ได้เป็นตัวหลักทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงและเเต่งเนื้อเพลงหาคิดทำนองเพลง การวางเเผนในการหาเสียงบรรยากาศ(Ambient) เสียงเอฟเฟค(SFX) การกำกับเพลงและพี่ตี้ก็มาช่วยอีกแรงในการMixerเสียง และยังมี จักรภัทร ไหวยะ (โบ๊ท) มาช่วยในการทำเสียงประกอบ เพื่อให้ละครมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

เเต่เพลงทั้งหมด 10 เพลงที่เเต่งมาและชื่นชอบที่สุดก็คือเพลง อย่านะเเม่ ที่มี reference มาจากเพลงอย่านะคะ ของพิมรี่พาย ผมกับปอนด์นั่งเเต่งเนื้อเพลงภายในเวลา 2 ชั่วโมงคือคิดแบบสดๆ และได้นำแนวเพลง Hip Hop ที่ผมกับปอนด์ชอบฟังนำมาผสมผสานกับงานละครเวทีในครั้งนี้ด้วยเพื่อให้มีความทันสมัย และเป็นเพลงที่เพื่อนๆทุกคนชอบมากๆ ถึงขั้นแบบเปิดเพลงนี้ทีไรต้องมีคนเต้นหรือออกท่าทางตลอด

10 เพลงละคร ส้มตำกลับใจ

1. Open show ( พี่ตี้ นายอาทิตย์ บุญกว้าง)

2. สาวส้มตำ (ร้องโดย ฟิว นิษาชล แอ๊ดสกุล)

3. อย่านะเเม่ (ร้องโดย เซฟ วชิรวิทย์ ธิปละ)

4. บางเรื่องก็ต้องเปลี่ยน (ร้องโดย บี วิริยา จันทะคูณและครีม จิตพิสุทธิ์ ธรรมใจกูล)

5. Sad 1 ( พี่ตี้ นายอาทิตย์ บุญกว้าง)

6. Sad 2 (โบ๊ท จักรภัทร ไหวยะ)

7. เปิดตัวหมอบึ้ม (คอม กฤษณพงศ์ แบบแผน)

8. จะทำได้ไหมนะ ( ร้องโดย เซฟ วชิรวิทย์ ธิปละและเมเบล วราภรณ์ สุวรรณเสงี่ยม)

9. นี่เป็นครั้งเเรก (ร้องโดย บี วิริยา จันทะคูณและครีม จิตพิสุทธิ์ ธรรมใจกูล)

10. End show (ปอนด์ จักรพงศ์ ลวนคำ)

  • สุดท้ายแล้ว พวกผมก็ได้เพลงที่เสร็จสมบูรณ์ออกมาทั้งหมด 10 เพลง ภายใน 1 เดือน บอกเลยว่าทีมงานเราทำได้ดีและเต็มที่กันมากๆ ในวันซ้อมของทุกวันก็ได้ลองเปิดเพลงที่ทำมาฟังและได้รู้ว่าเกิดข้อผิดพลาดตรงไหนแล้วมานั่งพูดคุยกับโปรดิวเซอร์ และรีบไปแก้ไขแบบวันต่อวันที่ห้องสตูโดยใช้โปรแกรม Cubase ที่คุ้นเคยกันมานาน แก้ไขปัญหาโดยการ Mixerเสียงให้มีความเหมาะสมกับการไลฟ์สดและดูสมบูรณ์แบบมากขึ้น ทำให้เสียงของละครนั้นมีการพัฒนาขึ้นทุกวัน ให้สมกับเป็นเด็กสื่อใหม่ที่ต้องพัฒนาตัวเองให้รู้เท่าทันสื่ออยู่ตลอดเวลา
  • ความรู้สึและบรรยากาศในวันจริง

ในวันจริงก็มาถึงเป็นวันที่ผมกดดันมากที่สุดในการทำงานในมหาวิทยาลัยพะเยา หากผมกดปล่อยคิวเพลงพลาดแม้แต่นิดเดียว เพื่อนๆที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาก็จะได้ผลกระทบไปด้วย รวมถึงการทำงานของพี่ปี 3 ด้วย ผมจึงตั้งใจและทำงานให้เต็มที่ที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้

สุดท้ายละครเวทีที่เราร่วมทำกันมาเป็นเดือนก็เสร็จสิ้น ผมนั้นได้นั่งน้ำตาคอลและรู้สึกว่างานนี้เป็นงานที่ผมเต็มที่ ทั้งหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจ ของทีมงานทุกฝ่ายทำให้มีความสุขในการทำงานมากและเพื่อนๆ ก็มีความสุข ดีใจเมื่องานละครเวทีนั้นได้แสดงเสร็จสิ้นลง

หากใครได้มาอ่านเรื่องราวเหล่านี้ ก็อยากจะบอกว่า นิเทศศาสตร์ไม่ใช่เป็นวิชาที่ภายนอกอาจจะดูง่ายๆ ถ่ายแต่คลิป คุณต้องลองมาสัมผัสคำว่านิเทศสาตร์ดูว่ามัน มีความเข้มงวด การทำงานร่วมกันเป็นทีม ความสามัคคีของแต่ละฝ่าย มีความสนุกสนานได้ความรู้ใหม่ๆ และอาชีพที่หลายๆคนใฝ่ฝันก็มีพื้นฐานหรือจบมาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์เช่นกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ