โดย : นักสื่อสารแรงงาน
นายจ้าง ลูกจ้างเห็นพ้อง ปลดล็อคประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และตัวแทนต้องมาจากการเลือกตั้งโดยผู้ประกันตน
วันที่ 26 มิถุนายน 2558 ได้มีการจัดสัมมนา เรื่อง ความเป็นองค์กรอิสระกองทุนประกันสังคม : ยุทธศาสตร์ ทิศทางและความเป็นไปได้จัดโดยเครือขีายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ที่ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์
นายมนัส โกศล เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) กล่าวว่า การขับเคลื่อนประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระนั้นเกิดการเคลื่อนไหวผลักดันมาเป็นเวลานาน แม้ว่าการพระราชบัญญัติประกันสังคมปั 2558 ผ่านออกมาแต่ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องขององค์กรอิสระ กฎหมายฉบับนี้ยังคงให้สำนักงานประกันสังคมอยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน และกำหนดเพียงที่มาจองคณะกรรมการฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้างในมาตรา 8 วรรค 3 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายลูกที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเลือกตั้งในลักษณะใด โดยเสนอต้องการให้ผู้ประกันตนทุกคนมีสิทธิเลือกตัั้งตัวแทนโดยตรงไม่ใช่เลือกตัังผ่านสหภาพแรงงาน โดยกำหนดเขตเลือกตัังโดยตรงจากบัญชีรายชื่อ และจัดหน่วยเลือกตัังให้เป็นสำนักงานประกันสังคมเขต เพื่อให้องค์กรประกันสังคมเป็นอิสระทำให้เครือข่ายแรงงานยังต้องขับเคลื่อนต่อไป จึงได้ระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการแรงงานและภาครัฐ เพื่อกดดันให้เกิดความเป็นอิสระกับกองทุนประกันสังคม ซึ่งอาจเสนอให้มี พ.ร.บ.ตั้งหน่วยงานหรือองค์กรประกันสังคมในรูปแบบมหาชน ที่แยกการบริหารจัดการออกจากหน่วยงานราชการ ซึ่งข้อสรุปในเวทีประชุมจะนำเสนอต่อรัฐบาลและจะมีการบริหารจัดการขับเคลื่อนต่อไป เพื่อให้องค์กรประกันสังคมมีความเป็นอิสระตามเป้าหมาย
นายแพทย์วิชัย โชควิวัตน์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพคนที่สอง (สสส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่เกิดขึ้นนั้นทั้งรูปแบบการบริหารแบบไตรภาคี มีฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และรัฐ จริงแล้วคือ ต้องการความเป็นอิสระ เป็นสำนักงานแทนการตั้งเป็นกรมประกันสังคม มีกลไกคณะกรรมการแพทย์ ซึ่งตนเองได้รับการแต่งตั้งอยู่ในกรรมการแพทย์ชุดแรกทำหน้าที่เพื่อให้สิทธิประโยชน์ที่สูงสุดในการบริการแก่ผู้ประกันตน
จะกล่าวไปประเทศไทยมีระบบสวัสดิการข้าราชการ คือระบบราชการเมื่อเจ็บป่วยไปรักษาตามโรงพยาบาลโดยจ่ายเงินก่อน ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ใช้วิธีการเรียกเก็บเงินตามใจชอบ หากระบบประกันสังคมใช้ระบบเดียวกันในช่วงนั้น ทางสปส.มองว่าเงินจะหมดกองทุนล้มละลายแน่ ซึ่งก็มีผู้เชียวชาญมาร่วมกันคิดตั้งแต่การจัดเก็บเงินสมทบประกันสังคมฝ่ายละ 1.5 % รับสิทธิประโยชน์ช่วงแรก 4 กรณีเจ็บป่วยทุพพลภาพ ตาย สงเคราะบุตร หากบริหารแบบข้าราชการเงินที่สมทบจะให้สิทธิผู้ประกันตนได้เฉพาะการรักษาผู้ป่วยในเท่านั้น เจ็บป่วยนอกใช้ไม่ได้ เงินไม่พอ ช่วงนั้นศาสตราจารย์นิคม จันทรวิทุร ได้เชิญนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ มาร่วมคิดวิธีการให้สิทธิประโยชน์ และสรรหากรรมการแพทย์ เสนอให้ใช้ระบบเหมารายหัวผู้ประกันตนแก่สถานพยาบาลใช้ระบบเดียวกัน เพื่อการบริการทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน ด้วยเข้าใจอยู่แล้วว่าการรักษาพยาบาลผู้ใช้แรงงานไม่ค่อยมีเงิน หากให้จ่ายเงินก่อนแล้วมาเบิกกองทุน ก็จะไม่มีเงิน และระบบการตรวจสอบต้องเข้มข้นในการจ่ายคืนเงินกลับเป็นผลกระทบต่อรายจ่ายของผู้ประกันตน และภาระต่อสำนักงานฯ ซึ่งใช้การจ่ายเงินเหมาเป็นรายหัวให้แก่โรงพยาบาลหัวละ 700 บาท ในช่วงนั้นคิดว่าดีที่สุด ผลคือเงินกองทุนจึงมีบริหารไม่ล้มอย่างที่คิดตอนต้นจนถึงปัจจุบัน
ประเด็นปัญหาคณะกรรมการแพทย์ชุดต่อมาที่เข้าไปเป็นกรรมการส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของโรงพยาบาล เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในกองทุนประกันสังคม จึงเชื่อว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยมีการลงมติเพิ่มวงเงินค่าหัวผู้ประกันตนจากเดิมจำนวนมากแต่ว่าการบริการไม่ได้ดีขึ้นตามที่มีการเพิ่มวงเงิน และยังด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง หรือระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย ผู้ประกันตนสูญเสียเงิน โดยไม่ได้ประโยชน์กับการบริการที่มีคุณภาพขึ้นเลย
จากการที่ระบบประกันสังคมนั้นมีเพียงกลุ่มแรงงานในระบบเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ ยังมีแรงงานนอกระบบจำนวนมากที่ไม่ได้รับประโยนช์ ทำให้นายแพทย์สงวน ไปศึกษาระบบประกันสุขภาพสำหรับคนส่วนใหญ่ที่อยู่นอกระบบ จากการศึกษาวิจัยแรงงานนอกระบบมีค่าแรงที่น้อยกว่าแรงงานในระบบสามเท่า เมื่อศึกษาได้รูปแบบก็นำเสนอทุกการเมือง คุณทักษิน ชินวัตร เป็นนักการเมืองที่รับข้อเสนอและเสนอเป็นนโยบายจนเกิดเป็นระบบบัตรทอง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ถือที่เป็นองค์กรอิสระจากระบบราชการ ซึ่งในประเทศไทยก็มีอยู่หลายองค์กร แต่สปสช.ที่เกิดขึ้นมีลักษณะพิเศษ ที่เป็นการต่อยอดจากระบบประกันสังคม ทั้งด้านการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน การดูแลประชาชนด้านการบริการ ส่วนการให้บริการเป็นส่วนของสาธารณสุข จัดการเพิ่มสิทธิดูแลให้ประชาชนได้รับการรักษาที่ดีมีคุณภาพ หากการรักษาที่ผิดพลาด สปสช.จะเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน สปสช.ทำให้ประชาชนที่ไปรับบริการเข้าถึงสิทธิของตนเอง การบริการทางการแพทย์ที่ได้รับไม่ใช่ระบบสงเคราะห์ สถานพยาบาลมีหน้าที่ต้องดูแลประชาชนที่มาใช้สิทธิอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ใช่มาแบบให้สงเคราะห์ช่วยรักษาพยาบาล ช่วยดูแลเท่าที่ได้ื ซึ่งผิดกับระบบของประกันสังคม ที่เป็นแบบแล้วแต่จะจัดการรักษาพยาบาลให้ เช่นการรักษามะเร็งก้อนเล็กๆไม่รักษาให้บอกไม่อันตรายไม่ดูแลและพยายามผลักภาระให้ไปรักษาที่่อื่น เมื่อเป็นคดีความร้องคณะกรรมการแพทย์ สู้คดีผู้ประกันตนส่วนใหญ่แพ้คดีอีก ระบบประกันสังคมกลายเป็นระบบแล้วแต่จะกรุณารักษาให้ทั้งที่เป็นคนจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อการบริการที่ดี แต่ได้บริการแบบสงเคราะห์ รักษาแบบใช้ยาราคาถูกดูแล ด้านสปสช.มีการพัฒนาระบบฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการเส้นเลือดในสมองแตกโทรสายด่วน 1660 เรียกรถพยาบาลด่วนอุปกรณ์พร้อมแพทย์มารับ นี่ก็เป็นคุณูปราการจากระบบหลักประกันสุขภาพ จึงเสนอว่า ผูัประกันตนเข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลเดียวกันเพื่อให้สิทธิที่มีในสปสช.เกิดขึ้นทันที และสามารถเลือกสถานพยาบาลได้เหมือนเดิม เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียเงินไปโดยไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่ม
การเป็นองค์การอิสระที่เป็นประโยชน์และทำได้จริง ต้องมีการทำด้วยหัวใจ ต้องสร้างความรู้สร้างความเข้าใจ ผู้ใช้แรงงานต้องสามัคคีกัน ต้องรวมกันผนึกกำลังกันผลักดัน ให้เกิดองค์กรประกันสังคมที่เป็นอิสระ บริหารงานที่ไม่ใช่ระบบราชการ อิสระจริงๆ ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง เป็นการบริหารจัดการตัวเองได้ทั้งระบบ
นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวช่วงหลังจากเกิดกฎหมายประกันสังคมใหม่นั้น เป็นการเกิดองค์กรใหม่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐ มีความจะเป็นในหลายประเด็นที่สำนักงานประกันสังคมจะเป็นองค์กรอิสระ ประเด็นแรกกองทุนสปส.มีขนาดที่ใหญ่กว่า 1.2 ล้านล้านบาท และเป็นเงินที่มาจากผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน นายจ้างอีกราว 4 แสนคน ร่วมกันสอมทบ และร้อยละ 70-80 ของเงินกองทุนเป็นเงินกองทุนชราภาพที่ต้องจ่ายให้กับผู้ประกันตนเมื่อเกษียณอายุ เงินจำนวนมากที่อยู่ในกองทุนกับมีเพียงฝ่ายราชการกระทรวงแรงงานที่เป็นผู้บริหารเงินเพียงฝ่ายเดียว
ส่วนภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของผู้ประกันตนที่ต้องการให้ครอบคลุมคนทุกกลุ่มมากขึ้น ทั้งการประกันสังคมมาตรา 40 ที่มีแรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคน ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการเข้าหาประชาชน ซึ่งอดีตมีปัญหาทำให้มีผู้สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 น้อย การปรับตัวเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานเชิงรุกในส่วนงานที่ขยายออกไปมาก การบริหารงานแบบเดิมของประกันสังคมเป็นระบบราชการ มีปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วม การบริหารแบบธรรมธิบาล และการตรวจสอบการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีคุณภาพ ที่ผ่านมายังถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง การใช้อำนาจรับมนตรี เลขาธิการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง
ส่วนพระราชบัญญัติประกันสังคม 2558 นั้นยังเป็นเนื้อหาที่ว่าด้วยการสรรหาตัวแทนนายจ้าง และลูกจ้างในการเข้าไปบริหารกองทุน แต่โดยภาพรวมแล้วยังไม่มีการระบุถึงการปรับโครงสร้างขององค์กร ยังคงเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงแรงงาน โดยการกำกับดูแลภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีคณะกรรมการการลงทุน และคณะกรรมการตรวจสอบ และที่น่าสนใจมีการวิจัยสำนักงานบริหารการลงทุน มีข้อเสนอที่น่าสนใจว่าไมได้เห็นชอบให้องค์กรที่เป็นอิสระ แต่ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นอิสระจากสำนักงานประกันสังคม เป็นข้อเสนอของสำนักงานประกันสังคมที่ไม่เป็นองค์กรอิสระ ด้วยเห็นว่าสปส. มีบุคคลากร 6,000 คน การแก้ไขเป็นองค์กรอิสระใช้เวลานาน จึงเห็นว่าควรเป็นองค์กรแบบเดิม
นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมเดิมเป็นตัวแทนสหภาพแรงงานที่มีเพียง 3 แสนคน ไม่สะท้อนความจริงที่มีผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน และการลงทุนก็ยังไม่สามารถตรวจสอบไดัว่าลงทุนแล้วได้ดอกผล ขาดทุนเท่าไรอย่างไร และการบริการทางการแพทย์ที่มีความแตกต่างจากสปสช.และมีข้อจำกัดในการบริการมาก จึงเห็นว่า ควรมีการปฏิรูปทั้งระบบ โดยเสนอให้เป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การกำกับดูแลของนายก และการเลือกตัั้งตัวแทนผู้ประกันตนเพื่อเป็นคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ด)จากตัวแทนขอผู้ประกันตนโดยตรง คุณสมบัติที่มาต้องให้ครบถ้วน ที่มาของบอร์ดประกันสังคมต้องมีการตรวจสอบด้วย และเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมต้องเป็นมืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญและมีคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการทางการแพทย์ที่มาทำหน้าที่ดูแลการบริการให้ถูกใจผู้ใช้บริการไม่ใช่ดูแลเพียงผลประโยชน์ของตัวเอง
เรื่องขององค์กรอิสระที่กฎหมายประกันสังคมฉบับที่2558 ผ่านออกมาแล้วไม่มีการกำหนดเรื่ององค์กรอิสระ แต่มีเรืีองของการเลือกตั้งตรงจากผู้ประกันตนโดยตรงก็น่าจะเดินไปได้ แต่สิ่งที่อยากเห็นของข้อเสนอทั้งหมดอาจยังไม่ได้ ด้วยระยะเวลาที่จำกัด ตอนนี้ก็ต้องช่วยกันคิดต่อว่าความเป็นอิสระตามที่ต้องการจะใช้เวลาอีกกี่ปีที่จะได้มาซึี่งองค์กรอิสระ ส่วนของเครือข่ายก็มีการเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูป (คปก.) และเสนอบรรจุในรัฐธรรมนูญด้วยก็ต้องช่วยกันผลักดันและติดตาม
สิ่งที่ยังต้องจับตาดูคือร่างอนุบัญญัติ ที่มีการร่างอยู่สิ่งที่บรรจุไว้ในการแก้ไข ไว้บ้างแต่หลักการใหญ่ที่ต้องการ คือองค์กรอิสระยังไม่ได้ แต่ก็ได้ในส่วนหลักอย่างการเลือกตั้งตรง หากให้คะแนนคิดว่าได้เพียงร้อยละ 40 เท่านั้นเพราะยังไม่ได้หัวใจความเป็นอิสระ
นายอนันตชัย คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตอนนี้ปัญหาของแรงงานกับนายจ้างไม่ต่างกัน คือขาดความเป็นเอกภาพในองค์กรนายจ้างเหมือนกัน ทำให้รัฐมีอำนาจเหนือกว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามารัฐประหารเพื่อล้างเก้าอี้ความทุจริตเท่านั้น ประเด็นการเงินที่มีจำนวนมากในกองงทุนประกันสังคมหากบริหารไม่เป็น ปัญหาการบริการสิทธิประโยชน์ส่วนผู้ประกันตนที่ต้องจัดด้านสวัสดิการให้ เงินสปส.ก้อนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ที่นายจ้างจ่ายสมทบส่วนหนึ่ง เพื่อลูกจ้างในการที่มีสวัสดิการที่ดีเพื่อการทำงานที่ดี และเมื่อรัฐเห็นเงินก้อนโตก็จะนำเงินไปใช้อย่างอื่นโดยไม่คำนึงถึงการจัดการสิทธิประโยชน์ตามประสงค์ของกองทุน เจ้าของเงิน รัฐบาลก็มาคิดว่าเงินประกันสังคมเป็นของรัฐ ดูเอาว่าจะเบิกจะรักษา หรือสิทธิต่างๆลำบากทั้งที่เป็นเงินของพวกเรา และตนขอสนับสนุนให้องค์กรประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ
วันนี้มีการเบียดบังผลประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเข้ามาคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐ ทั้งที่กองทุนเป็นเงินของนายจ้าง และลูกจ้างเพื่อจัดสวัสดิการ ภายใต้รัฐเองก็พยายามที่จะลดบทบาทการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน แต่กับแสดงตนเหมือนว่าเป็นเจ้าของกองทุน เข้ามาบริหารจัดการเองทั้งหมด
อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวถึง ปััญหาในการที่ไม่เป็นองค์กรอิสระของประกันสังคมทำให้การบริหารจัดการมีปัญหา แต่สปส.เป็นองค์กรอิสระแล้วเพื่ออะไร บอร์ดมีการตั้งโครงสร้างออกมา การบริการในรูปแบบนอกระบบราชการก็เป็นองค์กรอิสระ แต่ด้วยการบริหารโดยระบบราชการทำให้บอร์ดประกันสังคมไม่เป็นอิสระเพราะติดขัดตามระบบราชการ การไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ การทำงานที่ต้องฟังราชการรัฐ
ภายใต้การเปิดประชาคมอาเซี่ยน (AEC) ประกันสังคมจะคิดอย่างไรให้สอดคล้องกับคนที่มาทำงานในประเทศ การจัดสวัสดิการให้สอดคล้อง
ดร.วิจิตรตา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงรูปแบบการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมตามที่ได้มีการทำงานวิจัยนั้น การบริหารการลงทุนต้องเป็นองค์กรอิสระพิเศษโดยสังกัดสำนักงานประกันสังคม การเป็นองค์กรมหาชน ที่ตัองการให้มีการบริหารที่เป็นอิสระ
สำนักบริหารการลงทุน (สบร)มีบอร์ด มีผู้อำนวยการ มีอิสระโปร่งใส มีการตรวจสอบติดตามและคณะกรรมการอำนายการ มีตัวแทนของแต่ละฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม การอนุมัติแผนการลงทุน มีการดำเนินงานบริหารเงินลงทุนได้ สามารถควบคุมการบริหารการลงทุน คณะกรรมการประกันสังคมก็จะมีอำนาจในการออกความคิดเห็นออกระเบียบพิจารณาจัดสรรเงินให้กับสบร. มีการเสนอให้เป็นองค์กรอิสระ มีพ.ร.บ.องค์การมหาชนซึ่งออกเป็นพระราชกฤษฎีกาได้ แต่ก็ต้องผูกอยู่กับกฎหมายแม่ที่ว่าด้วยองค์การมหาชน ปี 2542 ลักษณะองค์กรมหาชนยังเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทที่ 3 ซึ่งคลายไปทางองค์กรเอกชน และเป็นลักษณที่ออกกฎหมายภายในองค์กรเอกชนและอาจออกในรูปของกฎหมายที่มีความเฉพาะ
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยกล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมต้องเป็นองค์กรอิสระ ปัญหาที่ควรเป็นองค์กรอิสระ เพราะว่าปัญหาการบริหารจัดการ การจะเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่ละครัั้วยากมาก มีเพียงอย่างเดียวที่มีการปรับแก้ กรณีคลอดบุตร โดยได้มาจากการที่ใช่อำนาจการเมือง เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์จาก 6,000 บาท เป็น 12,000 บาทช่วงนั้น
เงินกว่าแสนล้านที่เป็นเงินก้อนใหญ่ ที่สปส.หาที่ลงทุนไม่ได้ หากเงินที่ค้างท่ออยู่ ไม่มีการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มอนาคตค่าเงินก็ลดลงเมืรอจ้ายสิทธิประโยชน์ หากาปส.ยังอยู่ในระบบราชการบริหารแบบเดิม เงินกองทุนจะหมดภายใน 30 ปี จะแก้ได้ด้วยการยืดอายุการเกษียณของผู้ประกันตนออกไปก็แก้ได้บ้างแต่ไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุผลการบริหารจัดการที่มีปัญหา อย่างไรคิดว่าองค์กรประกันสังคมต้องเป็นองค์กรอิสระ
สมัยนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นนายก ได้มีการกล่าวถึงแนวการบริหารกองทุนว่า หากสปส.มีเงินและบริหารเงินไม่เป็นกองทุนประกันสังคมมีปัญหาแน่ หากยังอยู่ในระบบราชการประกันสังคมจะมีปัญหา จึงเห็นด้วยกับการที่จะเป็นองค์กรอิสระ เงินตอนนี้มี 1.2 ล้านล้านบาท การบริหารเงินภายใต้ระบบราชการนั้นยังไม่สามารถที่จะทำให้กองทุนเติบโต องค์กรที่ออกได้เลยเช่น อาจต้องเตรียมเพื่อความเป็นอิสระในการบริหารจัดการการลงทุน
ดร.ยงยุทธิ์ แฉล้มวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า เงินในกองทุนประกันสังคมร้อยละ 90 ที่เป็นเงินที่มาดูแลผู้ประกันตนกรณีชราภาพก็จะอยู่ได้เพียง 30 ปี หากมีการขยายอายุการเกษียณอายุก็คงจะมีอายุเพิ่มขึ้นอีก 10 ปี
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยนั้นมี 6,000 คน ที่เกี่ยวข้องกับระบบ การจะออกนอกระบบหรือไม่อยู่ที่ภายนอกแทรกแซงภายนอกด้วย คือการเมืองเพราะมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจด้วย และเป็นผู้บังคับบัญชา องค์กรมหาชน รัฐมนตรีมากกำกับดูแลเท่านัั้น เป็นการดูแลแบบห่างๆ จะมีระบบมาตรวจสอบและคัดต้านอำนาจได้ ซึ่งประกันสังคมยังขาดคนที่มาจัดการบริหารการลงทุน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิความเป็นตัวแทนจากทุกฝ่าย ภายใต้องค์กรมหาชนจะสามารถที่จะจัดจ้างบุคลากรได้ หากมีปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น แต่การจ้างปัจจุบันนี้สร้างขวัญกำลังใจหรือไม่
การจัดซื้อ จัดจ้างยังเป็นไปตามงบประมาณราชการที่กำหนดไว้ แต่องค์กรมหาชนสามารถที่จะจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องต่อการทำงานไดั และหากเป็นองค์กรอิสระต้องมีการให้มีการบริหารที่อิสระไม่ควรจำกัดด้านการบริหาร การจัดจ้างความก้าวหน้าความมั่นคงของพนักงานต้องมี ความเชียวชาญ ความเป็นมืออาชีพเข้ามาบริหารงาน มีการกำหนดอัตราการบริหารงานได้ องค์กรมหาชนจะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพได้
การจ้างงานที่แตกต่างกันของพนักงานที่แตกต่างกันทำให้ขาดกำลังใจในการทำงาน มีค่าตอบแทนที่จูงใจ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทำไมไม่กล้าออกจากระบบ เพราะววัสดิการต่างๆออกระเบียบใหม่ดูแลกันได้ ยังมีแรงงานนอกระบบทค่ต้องมาดูแล และต้องขยายการคุ้มครองออกไปดูแลอีก แต่ตอนนี้ต้องมาคำนึงถึงการดูแลแรงงาน 10 กว่าล้านคนให้ดีที่สุด