ละครเวทีแบบเด็กสื่อใหม่ โดยสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา มิติใหม่แห่งละครเวที ที่ผู้ชมไม่ได้ชมแค่การแสดงของนักแสดงบนเวที แต่ผู้ชมจะได้เห็นและสัมผัสเบื้องหลังในการสร้างเสียงประกอบละครเวที ทั้งพากย์สด ทำเสียงประกอบสดๆ อีกทั้งยังมีการLive Streamimg platfrom Facebook แฟนเพจสาขาการสื่อสารสื่อใหม่อีกด้วย และกว่าจะเป็นละครเวทีแบบเด็กสื่อใหม่ที่ทุกคนได้ดูกันนั้น จะต้องทำอะไรกันบ้าง มาดูกันเลย
ละครเวทีแบบเด็กสื่อใหม่ เป็นการสอบปลายภาคของพี่ๆปี 2 และ พี่ๆปี 3 หลังจากที่มีโควิด-19 เข้ามาทำให้สถานการณ์ทั่วประเทศ และสถาบันการศึกษาต่างๆต้องปิดให้นิสิตและนักศึกษาต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน จึงทำให้ไม่มีกิจกรรมให้นิสิตได้เข้าร่วม แต่ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ก็เริ่มดีขึ้น ทำให้ทางมหาวิทยาลัยได้กลับมาทำการเรียนการสอนได้เหมือนเดิม สาขาการสื่อสารสื่อใหม่เลยได้ถือโอกาสจัดทำละครเวทีมิติใหม่ให้ทุกคนได้รับชมและเปิดโอกาสให้นิสิตในสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ได้ลองลงมือทำ Productions การทำละครเวทีครั้งนี้เป็นครั้งแรกของพี่ๆปี 2 และพี่ๆปี 3 อีกด้วย
เบื่องหลังการทำละครเวทีนั้นได้แบ่งเป็นพี่ๆปี 2 และ พี่ๆปี 3 ในส่วนของพี่ๆปี 3 ได้รับทำหน้าที่ฝ่าย Production ทีมกล้อง ทีมไฟ มอนิเตอร์ และละครเวทีในครั้งนี้ยังมีการ Live Steaming ใน Platfrom แฟนเพจ Facebook สาขาการสื่อสารสื่อใหม่ อีกด้วย ส่วนในมุมของ น้องๆปี 2 ที่ได้มาเห็น พี่ๆปี 3 ในการทำงานในฝ่าย Production ก็ถือเป็นตัวอย่างในการทำงานให้กับน้องๆปี 2 ดูในปีหน้าอีกด้วย เช่น การจัดไฟ การตั้งกล้อง และการใช้มอนิเตอร์ อีกด้วย
ละครเวทีครั้งนี้เป็นการสอบปลายภาคของพี่ๆปี 2 เช่นกัน เป็นวิชาการสร้างสรรค์เสียงประกอบ SFX เพราะฉะนั้นทำให้ละครเวทีในครั้งนี้จึงมีการพากย์เสียงแบบสดๆและทำเสียงประกอบ ที่เด็กนิเทศเรียกว่า Foley ทำกันแบบสดๆ อีกทั้งละครเวทีในครั้งนี้ ไม่ได้มีแค่เรื่องเดียว จัดเต็มไปถึง 2 เรื่อง
ละครเวทีสาขาการสื่อสารสื่อใหม่
มีเรื่องอะไรกันบ้างนะ?
เรื่องแรกก็คือ สัมตำกลับใจ เรื่องราวของเฌอแตมที่ไปเรียนอยู่เมืองกรุง พอกลับมาบ้าน ก็ไม่คิดที่จะมาช่วยแม่ขายส้มตำกลัวกลิ่นจะติดตัวติดเสื้อผ้า ละครเวทีเรื่องนี้เป็นเรื่องของอีกกลุ่ม ซึ่งทำเนื้อเรื่องออกมาได้ดีมาก ดูไปก็ขำไป ตัวละครเณอแตม ที่มีคาแรคเตอร์สาวสอง จริตตัวแม่สุดๆ นักพากย์ตัวละครเฌอแตมก็พากย์ได้ดีมาก แต่ก็ก็ยังมีเรื่องของอารมณ์ของตัวละคร ที่นักพากย์ยังเข้าไม่ถึง และพากย์เร็วไปนิดนึง
ในส่วนตัวละครเจ๊ตุ๊ก แม่ของเฌอแตม ขายส้มตำที่อร่อยที่สุด นักแสดงเล่นได้ดี แต่ก็มีแข็งๆไปบ้างอาจจะเป็นครั้งแรกของตัวนักแสดง แต่โดยร่วมมันดีมากๆ นักพากย์ตัวละครของเจ๊ตุ๊ก ก็พากย์เสียงได้ดี แต่ก็มีพูดเร็วไป นักแสดงพูดไม่ทัน
ตัวละครคุณหมอ เปิดตัวมาได้แบบเริ่ดมาก เรียกเสียงขำได้สุดๆ ในส่วนของการแสดงเล่นได้ดีมาก นักพากย์ตัวละครคุณหมออาจจะพูดเร็วไปหน่อย ทำให้นักแสดงพูดไม่ทัน เว้นจังหวะไม่ค่อยถูก ทำให้นักแสดง พูดไม่ตรง และในส่วนตัวละครอื่นๆก็ประสบณ์ปัญหา แบบเดียวกัน คือพูดไม่ทัน แต่โดยรวมการแสดงและการพากย์ของกลุ่มนี้ก็ดีมากๆเลย
เสียงประกอบหรือเสียง Foley ของเรื่องส้มตำกลับใจ ก็อาจจะมีบ้าง ที่ทำไม่ตรงจังหวะ เช่น เสียงตำส้มตำมีเสียงครก เสียงตำ เสียงช้อนขูดกับครก แต่ไม่มีเสียงที่พวกเส้นส้มตำที่เจ๊ตุ๊กโยนใส่ครก มันเลยดูไม่สมจริงเท่าไหร่
ฉากของส้มตำกลับใจ ร้านส้มตำเจ๊ตุ๊ก เพื่อนๆกลุ่มนี้ลงทุนมาก ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ ร่ม ตู้ใส่ของหน้าร้าน ครก ขนกันมาแบบครบคัน ส่วนโรงพยาบาลก็ดูออกว่าเป็นฉากโรงพยาบาล
ละครเวที่เรื่องที่ 2 ชื่อเรื่องว่า ไขWho? ชมรมที่จะต้องถูกปิดตัวลง แต่ดันมีเรื่องราวปริศนาที่ต้องตามไขคดีว่าใครกันที่เป็นคนฆ่าผอ.!
ตัวแอดเองได้ทำงานอยู่เบื้องหลังของละครเวทีเรื่องนี้ เดี๋ยวแอดจะเอาเรื่องราวและการทำงานเบื้องหลังมาเมาท์ให้ทุกคนได้ฟัง ว่ากว่าจะมาเป็นละครเวทีที่ทุกคนได้ดูกันนั้นจะต้องทำอะไรกันบ้าง จะสนุกและเหนื่อยกันขนาดไหน ลองมาฟังกัน
เริ่มแรกเลย ทุกคนจะต้องทำการเลือกหน้าที่ ที่ตัวเองอยากทำกันก่อน ไม่ว่าจะเป็น Producer , นักแสดง , Art director , Foley , ฝ่ายประสานงาน , เขียนบท , พากย์เสียง , ผู้กำกับเสียง , ผู้ชายผู้กำกับเสียง , ผู้กำกับเวที , ผู้ช่วยผู้กำกับเวที , Acting Coach , เหรัญญิก คนดูแลเรื่องการเงินต้องมีเลยค่ะ จะใช้จ่ายเรื่องเงิน ต้องมีคนดูแล
พอเลือกหน้าที่กันได้แล้ว ก็ต้องแยกย้ายกันไปทำงานอ่านบทวางแผน ตัวแอดเองได้ทำงานฝ่ายArt Direction ทำpropต่างๆ ในช่วงแรกๆที่ได้รับงานมาก็ถือว่ายากมากเลย ได้รับผิดชอบในเรื่องของการทำต้นไม้ในป่าฉำฉ่า เพราะต้นฉำฉ่า มีขนาดใหญ่มาก ในตอนแรกเพื่อนๆในทีมอยากได้ 5 ต้น เพราะจะได้ดูใหญ่มากๆ แต่พอเราคำนวณวันและเวลาก่อนที่จะแสดงจริงอาจจะไม่ทัน เพราะมันมี 1 สัปดาห์ที่ฝ่าย Art ทุกคนจะต้องหยุด เพื่อให้พี่ๆบัณฑิตรับปริญญา สุดท้ายก็ได้ทำแค่ 3 ต้น เพราะเวลาไม่ทันจริงๆ
แต่พวกเราก็ไม่หวั่นรีบเร่งมือทำฉากต้นไม้ฉำฉ่า ทุกคนคือสู้ชีวิตกันมากๆ ต้องนั่งม้วนกล่องลังติดเทป พอม้วนเสร็จ ก็ต้องนำมาต่อกันให้สูงขึ้น ก็ต้องใช้ลวดยึด เพื่อให้แข็งแรง ไม่ล้ม บอกได้เลยว่าวันนั้นทุกคนกลับบ้านไปคือปวดข้อมือสุดๆ นั่งม้วนกระดาษลังทั้งวันเลยค่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ในส่วนของเพื่อนคนอื่นในฝ่ายก็เริ่มทำจอบ เสียม เผื่อเอาไว้ประกอบฉาก ขุดหากล่องปริศนา ชั้นวางของ
วันต่อมา ก็เริ่มทำใบไม้ คิดหาวิธีอยู่นานมาก จะทำยังไงดีให้สามารถแปะบนลังได้ ในส่วนหน้าที่นี้แอดก็ได้รับมอบหมายให้เจาะรู้ลำต้น เพื่อใส่กิ่งก้าน ตอนติดใบไม้จะได้มีที่ยึด พอทำต้นไม้ครบก็เริ่มแปะเปเปอร์มาเช่ เพื่อให้ลำต้นดูไม่เป็นข้อต่อจนเกินไป และเวลาทีสีก็จะง่ายขึ้นด้วย ในฝ่ายArt Direction ทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ของตัวเองดีมาก
บางทีเพื่อนๆฝ่ายพากย์เสียงก็มาช่วยทาสี เพราะเห็นว่าฝ่ายArt Direction งานเยอะแทบจะไม่ได้พัก บางเสาร์-อาทิตย์ยังต้องขึ้นมาทำงาน เหนื่อยมาก แต่ทุกคนก็สนุกกับมันมากๆ
ในส่วนพากย์เสียงก็เหนื่อยไม่ต่างกัน แต่พอได้ถามเพื่อนๆ เพื่อนๆก็บอกว่า “เหนื่อยนะ แต่ก็สนุก ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ”
ละครเวทีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยในละครเวที ก็คือบทเพลงต่างๆ พวกเราก็ต้องขอบคุณพี่ๆในห้องStudio สาขาเราพี่ตี้นั่นเอง ที่มาคอยช่วย คอยทำให้เพลงละครเวทีของเรา เพราะขนาดนี้จะชมแค่พี่ตี้ก็ไม่ได้ นักร้องของเราก็ร้องเพลงเพราะสุดๆไปเลยค่ะ ฝ่ายเสียงก็ทำงานหนักเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน อัดเสียงของนักพากย์เสร็จ ต้องคอยปล่อยเสียงตามจังหวะ ของบทละครอีก
ฝ่าย Foley ของเรื่องนี้ก็จะเหนื่อยนิดๆ เพราะเสียงเยอะแยะไปหมดเลย แต่พอได้ลองไปสอบถามเพื่อนๆที่ทำ Foley เพื่อนๆก็บอกว่า “มันก็ดูเยอะนะ ดูยาก แต่พอเข้าใจแล้ว ฝึกทำ ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่ปัญหาที่พบก็คงเป็นเสียงที่ไม่ตรงจังหวะกับนักแสดง” ทั้ง2กลุ่มเราพบปัญหาเดียวกันคือจังหวะที่ไม่ตรง ทั้งพากย์เสียงและการทำเสียงประกอบ
ปัญหาในเรื่องของการทำละครเวที
ปัญหาเรื่องที่1 คือเวลา นัด 9 โมง มา 10 โมง นัด 10 โมง มา 11 โมง กว่าจะได้ซ้อมก็กินเวลาไปนานอยู่พอสมควร บางคนก็ต้องมานั่งรอ ถึงเวลาที่จะต้องซ้อม ก็ไม่ได้ซ้อมสักที
ปัญหาเรื่องที่ 2 คือการประสานงานแต่ละฝ่าย Producer บางทีไม่ยอมแจ้งงานแบบโดยตรงกับผู้ที่ทำงาน และเป็นการฝากมาบอกแทน พอคนแจ้งคนละคนกันสารที่ส่งมามันก็เปลี่ยนไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความสับสน
ปัญหาเรื่องที่ 3 คือนักแสดงบางคน เล่นแข็งเกินไป เข้าไม่ถึงอารมณ์ พูดไม่ทันนักพากย์ เหมือนยังไม่เข้าถึงในตัวละคร
ปัญหาเรื่องที่ 4 คือนักพากย์บางคน พูดเบา ไม่มีอารมณ์ไปกับบริบท นักแสดงเล่นดีมาก แต่นักพากย์บางคนไม่มีอารมณ์ร่วมกับนักแสดง
ปัญหาเรื่องที่ 5 คือ Foley ไม่ถูกจังหวะบางทีเร็วไป บางที่ช้าไป นักแสดงใช้จอบขุดแล้ว แต่เสียงยังไม่มาเลย
ปัญหาเรื่องที่ 6 คือ ทีมไฟ หน้าเวที นักแสดงดูสว่างมากๆ แต่พอเข้าไปชมในLive นักแสดงหน้าดำ มืดมาก
ปัญหาต่างๆที่เจออาจเป็นเพราะทุกคนยังไม่มีประสบการณ์ในเรื่องพวกนี้ แต่ทุกคนก็ทำเต็มที่มากและอยากให้งานชิ้นนี้ออกมาดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่เราเคยทำ ครั้งหน้าถ้าได้ทำอีกจะได้ไม่เกิดปัญหาพวกนี้ซ้ำ
นักแสดง นักพากย์ และทีมงาน ละครเวทีเรื่อง ไขWho!
สุดท้ายนี้ละครเวทีทั้ง2เรื่อง พวกเราทุกคนตั้งใจทำมันอย่างเต็มที่เพื่อกักเก็บ สั่งสมผลงาน เผื่อจะเจอในสิ่งที่ตนเองชอบ สาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยาสนับสนุนให้นิสิตและนักศึกษาได้ลองลงมือปฏิบัติเผื่อเก็บประสบการณ์ในการทำงานของนิสิตในสาขาทุกคน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆทำให้นิสิตในสาขารู้ตนเองว่าชอบทำอะไร