อยู่ดีมีแฮง : เฮือนโบราณของชาวอีสาน

อยู่ดีมีแฮง : เฮือนโบราณของชาวอีสาน

ตัวบ้านยกสูง ชั้นล่างเป็นคอกควายหรือที่เก็บของ ชั้นบนมีซานแดดสมัยโบราณเอาไว้ตากของ เตาไฟต้องเผื่อพื้นที่ให้คนได้อยู่ไฟหลังคลอดได้ นั่นเขาเรียกว่า “บ้านเฮือนไทยโบราณ”

ที่จังหวัดขอนแก่น มีการประกวดการสร้างเฮือนโบราณในเทศกาลงานไหม ประจำปี พ.ศ.2565 โดยมีการชูวัฒนธรรมอีสาน ด้วยการสร้างเฮือนโบราณนั้นสามารถถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของคนอีสานให้กลุ่มคนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวได้มาชม

เฮือนโบราณจะเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ใต้ถุนโล่งที่คนสมัยก่อนเอาไว้ทำเป็นคอกควาย ชั้นบนจะมีห้องนอน ห้องโถง ห้องครัว และซานแดดเอาไว้ตากของอยู่ชั้นบนตัวบ้าน มุงหลังคาบ้านด้วยสังกะสีเก่า ๆ หรือแผ่นไม้เนื้อแข็งที่ทนทานแข็งแรงมาก ๆ พูดถึงความเก่ง ความสามารถของคนสมัยที่น่าทึ่งมาก ๆ เพราะการออกแบบสร้างสรรค์บ้านหลังหน่งให้ออกมาน่าอยู่และสวยทนได้นานมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ภูมิปัญญาสมัยก่อนบางทีไม่ได้มีตำรา แต่เกิดจากการถ่ายทอดผ่านระบบความเชื่อความจำ สัดส่วนของเฮือนที่สร้างจะต้องเป็นแบบไหน

สมัยก่อนไม่มีโทรทัศน์หรือสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ได้ดู เวลาพ่อแม่ทำอะไรสร้างอะไรก็จะกลายเป็นจุดสนใจของเขาขึ้นมา ได้ฝึกได้จับทำไปกับพ่อแม่ด้วย และเกิดการสืบทอดต่อรุ่นสู่รุ่นมาเรื่อย ๆ แต่ ในปัจจุบันการสร้างบ้านจะเห็นได้ว่า มีแต่รูปแบที่เป็น โมเดิร์นทันสมัยจนทำให้คนไม่ค่อยได้เห็นหรือไม่เคยเห็นเฮือนไทยโบราณสมัยก่อนเลยก็ว่าได้ ทางจังหวัดขอนแก่นได้มองเห็นและควรที่จะอนุรักษ์บ้านเฮือนไทยต่อไปสู่คนรุ่นใหม่ได้เห็น

เฮือนโบราณเป็นอีกหนึ่งอย่างที่อยู่กับสังคมปู่ย่าตายายชาวอีสานของเรามาแต่ยาวนาน

ถือเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นและได้ชมกันต่อไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ