รักนี้ สีชมพู
วาเลนไทน์นี้ใครยังไม่มีแผนไปที่ไหน ชวนทุกคนมาแสดงความรักด้วยการชวนคนที่เรารัก มาเที่ยว เล่นเรียนรู้อย่างสนุกในงาน “รักนี้…ที่สีชมพู” ปีที่ 2 เป็นเทศกาลแห่งความรัก ทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างบันดาลใจของผู้คนที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด ในวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ถึง 21.00 น. ณ บึงทามจั๊กจั่น อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น โดยความร่วมมือจากเทศบาลตำบลสีชมพู ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสีชมพู ,เที่ยววิถีสีชมพู, ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสีชมพู, ภาคีเครือข่าย, ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน
วีถีสีชมพูกับโอกาสพัฒนาชุมชน
“เราเห็นท่องถิ่นต่างคนต่างอยู่ ผมว่าถ้าเราเริ่มต้นเมื่อปีที่แล้วครั้งหนึ่งแล้ว ปีที่สองก็ต้องเติบโตขึ้น แต่การเติบโตของเราคือว่าท้องถิ่น อปท. อื่น มารับรู้เพื่อเห็นบรรยากาศ เห็นทิศทาง เป็นการจุดประกาย ปีนี้เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนอำเภอสีชมพูขับเคลื่อนไปอย่างไร” บุญยวัฒน์ อินทรเพชร รองนายกเทศมนตรีตําบลสีชมพู เล่าถึงการขับเคลื่อนงานรักนี้สีชมพูปีที่2
กิจกรรมภายในงาน
– ชมการแสดงโปงลาง , รำวงย้อนยุค จากโรงเรียนสีชมพูศึกษา
– กิจกรรมพาแลงพร้อมรับประทานอาหารและรับชมการแสดง
– ชมชุดการแสดงเพลงประวัติอำเภอสีชมพู โรงเรียนวรวิมลศึกษา
– ชมชุดการแสดงเพลงหมากหว้าสีชมพู โรงเรียนวรวิมลศึกษา
– ชมชุดการแสดงรำกุดย่าส่วย โรงเรียนวรวิมลศึกษา
– ชมการแสดงโฟล์คซอง
-วงอีสานโฟล์ค / ภักดี ไชยหัด / และวงรับเชิญต่างๆ
– ชมการแสดงดนตรีวงปูเป้ ศศิธร สมสุข
-กิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ / อีสานสร้างสรรค์ (Creative Economy) : Soft Power
– เวทีเสวนา “ความมั่นคงทางอาหาร” โดย พัฒนาชุมชนอำเภอสีชมพู
– ตลาดสีเขียว / สินค้าทางการเกษตร / ข้าวสาร ผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ
– อาหารสตรีทฟู้ด
– ชมงานศิลปะ / Workshop การวาดรูปจากหินสีธรรมชาติ / การจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานคราฟต์
– ชมนิทรรศการการท่องเที่ยว โดย “เที่ยววิถีสีขมพู”
– กิจกรรมของดีอำเภอสีขมพู / การจำหน่ายสินค้าจากกลุ่มอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสีชมพู / สินค้าโอทอปต่างๆของกลุ่มสตรี / ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของพี่น้องชาวอำเภอสีชมพู
– ชมการแสดงดนตรีพื้นบ้าน และความงดงามของผ้าไทย
– จำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก เที่ยววิถีสีชมพู และ มหา’ลัยไทบ้าน
รักนี้สีชมพูปี2 เป็นการเชื่อมร้อยเครือข่ายของนักพัฒนาบ้านเกิด ณ บึงทามจักจั่น พื้นที่ปล่อยของสำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้ร่วมกันออกแบบ เป็นโอกาสต่อยอดขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ ด้วยต้นทุนชุมชน และพลังของนักพัฒนาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักท้องถิ่นของตัวเอง