ภาคเหนือวิกฤติฝุ่นพีคสุดกระทบสุขภาพ หวังฟ้าฝนทิศทางลมลดความรุนแรงจากเผา

ภาคเหนือวิกฤติฝุ่นพีคสุดกระทบสุขภาพ หวังฟ้าฝนทิศทางลมลดความรุนแรงจากเผา

                จากการติดตามสถานการณ์ฝุ่น pm2.5 ของภาคเหนือ นับถือว่าเข้าขั้นวิกฤตทุกจังหวัดภาคเหนือ โดยมีบางพื้นที่มีค่าอากาศที่เป็นมลพิษสูงสุดทะลุ 600 มคก./ลบ.ม. เทียบเท่า Beyond AQI ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะภาพรวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ พุ่งขึ้นสูงอยู่ในระดับสีม่วงเข้ม อันดับ 1 มีจำนวนฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ถึง 260 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m³) นับว่าคุณภาพอากาศอันตราย! ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ควรงดกิจกรรมนอกอาคารทุกชนิด และใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เหมาะสมกับใบหน้าอย่างมิดชิด

                โดยภาคประชาชนในพื้นที่ได้เสนอให้พื้นที่ที่เกิดวิกฤติสูงมีการหยุดเรียน หรือจัดพื้นที่ที่มีเครื่องฟอกอากาศ Safe Zone เนื่องจากกระทบกับสุขภาพของเด็กโดยตรง โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ที่ค่าอากาศวิกฤติในระดับสูงสุด Beyond AQI ที่เกิดจากเหตุการณ์​ไฟไหม้ป่าอุทยานแห่งชาติ​ออบหลวง เมื่อช่วง 4-5 วันที่ผ่านมา ส่งผลต่อประชาชนอย่างรุนแรง

                โดยจากการรายงานแผนที่ไฟป่าภาคประชาสังคมภาพรวมของภาคเหนือพบว่ามีไฟป่าเกิดขึ้นหลายพื้นที่มากกว่า 30-40 แห่ง  ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและตะเข็บชายแดนตะวันตก  กับ จังหวัดน่าน โดยพบว่าระยะเวลา 3 วันที่ผ่านมา ไฟป่าในภาคเหนือพุ่งอย่างก้าวกระโดด ด้วยสองปัจจัย ได้แก่ 1.  ประกาศห้ามเผาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พร้อมกันหลายจังหวัด โดยจังหวัดเชียงใหม่มีการประกาศ ห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด 15 ก.พ. – 30 เม.ย. 66   2.  วัฒนธรรมการเผา  ที่ไม่รู้ไม่ทราบผลกระทบต่อสุขภาพ  และสิ่งแวดล้อม ที่มีมาอย่างยาวนานในภาคเหนือ  และ 3.  การเผาเพื่อมีการต่อต้านเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ควบคุมการเข้าพื้นที่ป่า  โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีการลุกไหม้ต่อเนื่องข้ามวันข้ามคืนเป็นสัญญาณของไฟป่า โดยคาดว่าหากมีฝนตกในช่วงวันที่ 15-16 กพ ที่ราว 10% ของพื้นที่และ วันที่   17-18 กุมภาพันธ์  20% ของพื้นที่ก็จะทำให้สถานการณ์ลดลงแต่หลังจากนั้นอาจจะมีการเผาอีกครั้ง

                สำหรับข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กุมภาพันธ์ 2566 มีจุดความร้อนสะสมรวม 19,844 จุด มากกว่าปี 2565 ในห้วงเดียวกันถึง 3,746 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.27  ซึ่งในพื้นที่มีการประเมินว่าเกิดจากการชิงเผาของภาครัฐ และมีการเผาติดตามกันก่อนที่จะมีประกาศห้ามเผาในกลางเดือนกุมภาพันธ์

#Northernbreathdiary#สภาลมหายใจภาคเหนือ#ฝุ่นควันภาคเหนือรายวัน#NAPAdatacenter#NTCAA

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ