อีโบลา ไวรัสอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อีโบลา ไวรัสอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

“อีโบลา” อยู่ในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ทำให้เกิดการป่วยรุนแรงในคนและมีอัตราตายสูงร้อยละ 50-90 ส่วนเรสตันพบในฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดรุนแรงในลิง แต่ในคนไม่ทำให้เกิดอาการ

 ชื่อของ อีโบลา มาจากชื่อลุ่มแม่น้ำขนาดเล็ก ในสาธารณะรัฐคองโก ทวีปอาฟริกา ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยคาดว่าพาหะนำโรคก็คือค้างคาวกินผลไม้ในอาฟริกา กอลิล่า ลิงซิมแปนซี  ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตระกูลแอนติโลบ และเม่น อีโบลามี 5 สายพันธุ์ย่อยที่สามารถติดต่อในคน ได้แก่

  • สายพันธุ์ย่อย Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
  • สายพันธุ์ย่อย Zaire ebolavirus (EBOV)
  • สายพันธุ์ย่อย Sudan ebolavirus (SUDV)
  • สายพันธุ์ย่อย Reston ebolavirus (RESTV)
  • สายพันธุ์ย่อย Tai Forest ebolavirus (TAFV)

 

ไวรัสอีโบลาสามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสของเหลวของร่ายกายของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำลาย แผล หรือแม้กระทั่งเหงื่อและลมหายใจ สารคัดหลั่ง อวัยวะหรือน้ำอสุจิ นอกจากนี้ การติดเชื้อในโรคพยาบาลก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มฉีดยาและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายจากเชื้ออิโบลาในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากญาติผู้เสียชีวิตอาจมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของศพ โดยเชื้อจะใช้เวลาฟักตัว 2-21 วัน จากนั้นเชื้อไวรัสที่เขาไปในร่างกายจะกระจายไปเกาะยังบริเวณเซลต่างๆทำให้เซลนั้นๆถูกทำลาย และแสดงออกตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก

ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะมีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและเจ็บคอ ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นแดงนูนตามตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต พบว่ามีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและนอกร่างกาย ซึ่งมักเกิดร่วมกับภาวะตับโดนทำลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อค และเสียชีวิตได้

แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันจะพัฒนา แต่ก็ยังไม่มีวิธีใดที่จะรักษาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้เลย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวนี้จึงมีอัตราการเสียชีวิตถึงอัตราร้อยละ 90  

สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะกำลังระบาดอย่างหนักในทวีปอาฟริกา ทั้งประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอ ซึ่งยอดผู้ป่วยพุ่งสูงถึง 1200 ราย เสียชีวิตไปกว่าครึ่ง ทั่วโลกกำลังกระหนักถึงสถานการณ์นี้และตื่นตัว จึงมีการคุมนักเดินทางที่มาจากประเทศเสี่ยง

ประเทศไทยยังไม่เคยมีการค้นพบผู้ติดเชื้อ และมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคระบาด แต่กระทรวงสาธารณะสุขก็ได้จัดให้มีการเฝ้าระวังป้องกัน 3 มาตรการหลัก ได้แก่

  1. ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์โรคจากองค์กรอนามัยโรคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนไทยที่เดินทางมา          จากพื้นที่ที่มีโรคระบาดของโรค หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที
  2. โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มมาตรการดูแลรักษาหากมีผู้ป่วยมีอาการข่ายสงสัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคชาร์ส
  3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ 

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำห้ามเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง อย่างไรก็ตาม การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งประชาชนทั่วไป และผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่การระบาด ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
  2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เนื่องจากเชื้ออาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพของผู้เสียชีวิต
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายและล้างมือบ่อยๆ

และหากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดโรคชนิดนี้ ขอให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง เพื่อให้การดูแล ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต

ข้อมูลจาก สำนักงานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ