ทุกคนรู้มั้ยคะว่า หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยพะเยา มีทั้งหมด 2 สาขาด้วยกัน ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารและการจัดการสื่อใหม่ ทุกคนสงสัยมั้ยคะว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ?
การจัดการการสื่อสาร Communication Management
ในส่วนของสาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร จะมีทั้งหมด 3 เอกในระดับชั้นปีที่ 3 ได้เลือกเรียนตามเหมาะสมกับตนเอง
1.เอกประชาสัมพันธ์
2.เอกบริหาร
3.เอกการตลาด
ทุกคนสงสัยกันมั้ยคะว่านิสิตสาขานี้จบไปแล้วทำงานอะไรกัน ?
นิสิตที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง สามารถทำธุรกิจส่วนตัว องค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสาธารณกุศล โดยสามารถทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวกับการสื่อสาร ได้ดังต่อไปนี้
- นักวางแผนการใช้สื่อ ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์
- นักประชาสัมพันธ์
- นักสื่อสารการตลาด
- ผู้ประกอบการบริษัทรับออกแบบการสื่อสารครบวงจร
- นักโฆษณา
- ที่ปรึกษาการสร้างตราสินค้า
- นักออกแบบการสื่อสาร
การจัดการสื่อใหม่ New Media Communication
สาขาวิชาการจัดการสื่อใหม่จะได้เรียนโดยรวมของนิเทศศาสตร์ทั้งการเขียนข่าว ทำข่าว สารคดี ทำหนังสั้น ทำเพลง เขียนบท การเรียนก็จะมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเลย
ปี 1 ก็จะได้เรียนทฤษฎีทั่วไปของนิเทศศาสตร์ พื้นฐานของนิเทศศาสตร์ทั่ว ๆ ไป
1. หลักนิเทศศาสตร์ ได้รู้ว่านิเทศศาสตร์คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร
2.จิตวิทยาเพื่อการสื่อสาร ให้เข้าถึงการสื่อสารได้อย่างถูกวิธี
3.การถ่ายภาพ สำหรับการเริ่มต้นการใช้กล้องต่างๆ (นิสิตที่ถ่ายรูปไม่เป็นก็จะได้เริ่มต้นเรียนรู้จากวิชานี้ไปเลย ส่วนคนที่พอมีทักษะอยู่บ้างแล้วก็จะได้ทริกเพิ่มเติมอีกมากมาย ถ่ายมุมไหนสวย มุมไหนเป๊ะ ต้องจัดแสงยังไงทำยังไง แบบปังๆ )
4.วิชามอ (ก็ได้เรียนเรียนวิชาเสริททักษะทั่วไปที่ทางมหาลัยเสริมเข้ามาให้ได้เรียนแบบกรุบๆ เก็บเกรดง่าย)
ปี 2 ก็จะเริ่มเรียนเจาะเข้าไปในการผลิต content สำหรับการทำสื่อมากขึ้นและได้ลงมือในการผลิตผลงานออกมาเป็นชิ้นๆ
1.การเขียนบทสำหรับสื่อ ให้ได้รู้วิธีการคิดและการสร้าง content
2.การออกแบบกราฟฟิก เพื่อให้นิสิตมีทักษะในด้านการออกแบบชิ้นงาน
3.การตัดต่อเบื้องต้น สำหรับการสร้างผลงานออกมาในรูปแบบวีดีโอ
4.การรู้เท่าทันสื่อ ให้นิสิตได้รู้จักการใช้สื่อในทางที่ถูกวิธีและเพื่อการป้องกันตัวเองจากการโพสต์ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ทุกคนสงสัยกันมั้ยคะว่านิสิตสาขานี้จบไปแล้วทำงานอะไรกัน ?
นิสิตสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวางสามารถทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และสาธารณกุศล โดยสามารถเลือกตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนและสื่อใหม่โดยตรง เช่น
- เจ้าหน้าที่พัฒนาและออกแบบข้อมูลสำหรับสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่
- ผู้สื่อข่าว ผู้ประกาศข่าว ผู้ผลิตรายการ ในองค์กรสื่อมวลชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นชุมชน
- นักสร้างสรรค์และผลิตสื่อ
- ผู้ประกอบการด้านสื่อ การผลิตสื่อ หรืองานอิสระที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์
- นักวิชาการด้านการสื่อสาร