อยู่ดีมีแฮง: โรงเรียนรักน้อง

อยู่ดีมีแฮง: โรงเรียนรักน้อง

“เริ่มจากความคิดของตัวเองที่เมื่อก่อนเคยอยู่ในเมือง เด็กที่อยู่ในเมืองจะพัฒนาความรู้และเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กที่อยู่ตามชนบท เลยมองเห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจุดนี้ เลยอยากให้รู้ว่าเด็กที่อยู่ตามชนบทก็มีศักยภาพเช่นกัน เราจะสามารถดึงศักยภาพของเด็กเหล่านี้ออกมาได้อย่างไร ให้สามารถทัดเทียมกับเด็กในเมืองได้ เลยเป็นจุดหนึ่งที่ให้ความสำคัญอยากให้เด็ก ๆ ได้มีความรู้วิชาการมากขึ้น”

เปา นนทชัย โคตรอ่อน ครูอาสาสอนคนรุ่นใหม่ในชุมชน ที่มีความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมที่อยากเห็นเด็ก ๆ ในชุมชนได้รับการศึกษาที่ทัดเทียมกับเด็กในเมืองจึงทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีความรู้โดยใช้พื้นที่ชุมชนเป็นห้องเรียนใหญ่ในการฝึกทักษะชีวิต และใช้ใต้ถุนบ้านเป็นห้องเรียนพิเศษในการเรียนรู้วิชาการ

“โรงเรียนรักน้อง” ชุมชนภูไทสายนาดง อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ โรงเรียนรักน้อง ก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจของ หญิง จิตต์ตรา ราชวงศ์ ครูอาสาสอนที่มีความตั้งใจที่จะปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กในชุมชนได้มีจิตสาธารณะ มีจิตใจช่วยเหลืองานชุมชน อาสา มีความรักต่อชุมชนท้องถิ่นและมีความตั้งใจที่จะอยากให้เด็กในชุมชนหันกลับไปเรียนรู้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บางอย่างอาจจะเรือนหายไปบ้างจึงอยากให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้รักษาเอาไว้ แต่ความตั้งใจเหล่านั้นก็ยังไปไม่ถึงฝั่ง  จิตต์ตรา ราชวงศ์ ป่วยและได้เสียชีวิตเมื่อช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา แม้จะขาดเสาหลักของโรงเรียนรักน้องไป แต่ด้วยความตั้งใจที่อยากจะสืบทอดแนวคิดดี ๆ เหล่านี้เอาไว้ จึงทำให้ เปา นนทชัย เข้ามารับไม้ต่อเพื่อพาโรงเรียนรังน้องไปให้ถึงฝั่งอย่างที่ตั้งใจ

“การเรียนการสอนจะเริ่มหลังจากเลิกงานช่วงเวลาประมาณ 16.30 น.-17.30 น.บางวันอาจจะใช้เวลาไปจนถึง 18.00 น. ส่วนมากจะเป็นการสอนการบ้าน สอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน และมีกิจกรรม Active Learning เป็นกิจกรรมที่สามารถตอบสนองการเรียนรู้ของผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นการนำความรู้ผ่านประสบการณ์จากในโรงเรียนนำมาปรับใช้กับเด็ก ๆ ในชุมชน

  • ใต้ถุนบ้านคือห้องเรียนพิเศษของเด็กที่นี่

แน่นอนว่าการเรียนในรั้วโรงเรียนเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่หากจะให้เด็ก ๆ ได้เรียนพิเศษเพื่อเพิ่มทักษะทางวิชาการโดยการเข้าห้องเรียนพิเศษ อย่างที่เด็ก ๆ ในเมืองทำกันก็คงไม่มีทุนเพียงพอที่จะทำอย่างนั้น เปา จึงเปิดพื้นที่บ้านของตัวเอง โดยใช้ใต้ถุนบ้านเป็นเสมือนห้องเรียนพิเศษที่เปิดสอนตั้งแต่วันจันทร์ไปจนถึงวันเสาร์ โดยใช้เวลาหลังเลิกงานตั้งแต่เวลา 16.30 น.-17.30 น. เพื่อเพิ่มเติมวิชาการให้กับเด็ก ๆ ที่มีความสนใจ

“เรื่องวิชาการที่จะต้องเพิ่มเติมมีหลายอย่าง เช่น พื้นฐานการเรียน การใช้ภาษา การออกเสียง และการเขียนเพราะบางครั้งเด็กที่อยู่ตามชนบทความใส่ใจในการเรียนจะไม่เท่ากับเด็กที่อยู่ในเมืองก็เลยมาเติ่มเต็มในจุดนี้ โดยใช้วิการให้คนที่เรียนเก่งหรือรุ่นพี่เข้ามาช่วยสอน เพราะบางครั้งที่สอนเด็กก็ไม่เข้าใจแต่ให้เพื่อนสอนกันเองจะเข้าใจมากขึ้น”

  • ดนตรีพื้นบ้าน อีกหนึ่งวิชาที่เด็กให้ความสนใจ

ไม่เพี่ยงเรียนแค่วิชาการเท่านั้น การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน การใช้ดนตรีเข้ามาไม่ใช่เพียงเพื่อสร้างความบันเทิงเท่านั้น แต่เป็นการดึงเอาคนในชุมชนให้มาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

“ช่วงหลัง ๆ มาได้มีกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านเข้ามาเพิ่ม เช่น การเรียนดนตรีพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี กลองกิ่ง กลองฮาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของชาวภูไท ก็จะมีผู้สูงอายุในชุมชนเข้ามาช่วยสอนในเรื่องการเล่นเครื่องดนตรี เพราะว่าเครื่องดนตรีบางประเภทไม่มีความชำนาญในการเล่น ซึ่งผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ก็ได้เชิญเข้ามาช่วยสอนในเรื่องของจังหวะ ทำนอง

เพิ่มทักษะทางการศึกษาพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด

โอกาสการเข้าถึงแหลงข้อมูลของเด็กที่อยู่ตามชนบท จะน้อยกว่าเด็กที่อยู่ในเมืองในเรื่องของเทคโนโลยี ในเรื่องการเรียนการสอนซึ่งยังไม่เท่ากับเด็กที่อยู่ในเมือง ก็เลยอยากเอื้อประโยชน์ในจุดนี้ว่าช่วยอะไรได้บ้าง และเติมเต็มในจุดนี้

สิ่งสำคัญนอกจากการเข้ามาเรียนวิชาการเพิ่มเติมของเด็ก ๆ คือการได้มีพื้นที่ในการเล่นด้วยกัน ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้เกิดการสร้างสังคมที่หลากหลายขึ้น ซึ่งบางเรื่องเด็ก ๆ อาจจะไม่กล้าพูดที่บ้าน แต่เมื่อมาทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เด็ก ๆ เหล่านี้กล้าที่จะเปิดใจ และช่วยกันหาทางออก และให้คำปรึกษากันได้ การเข้ามาสานงานต่อโรงเรียนรักน้องของ เปา นนทชัย ไม่เพี่ยงแต่เป็นการฝึกทักษะในการสอนของตัวเองเท่านั้น แต่เป็นการปลูกฝังโดยใช้ตัวเองเป็นแบบอย่าง เพื่อให้เด็กๆ ในชุมชนได้เห็น และเมื่อเติบโตก็จะเป็นกำลังหลักของชุมชนต่อไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ