ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่มีมากมายยังมองเห็นอนาคตที่ไม่ชัดเจน
ปัญหาย่อมมีทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และแน่นอนต้องมีกฎหมายเกี่ยวข้องด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ
หลักประกันสุขภาพ,การศึกษา,ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ,สิทธิชุมชน,ปัญหาสิ่งแวดล้อม,ฯลฯ
แค่นี้ก็ต้องเอามือปิดปากแล้วครับ
เช่น หลักประกันสุขภาพ เรามีปัญหาการบริการและความไม่เท่าเทียมกันในหลักประกันสุขภาพในแต่ละกองทุน การมีข้อเสนอจากภาคประชาสังคมให้รวมกองทุนเข้าด้วยกัน เรื่องแบบนี้จะพูดอย่างไร ถ้าไม่พูดถึงเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ
ผมขอยกตัวอย่างใกล้ตัวนะครับ
ช่วงนี้มีการคัดสรรเลขาธิการ สปสช. ท่านใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรดูแลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ ถ้ามีใครต้องการถามวิสัยทัศน์ว่าด้วยเรื่องนี้ควรจะมีการปรับปรุงกฎหมายอย่างไร จะมีใครกล้าตอบครับ ?
สังคมต้องอยู่ด้วยกันด้วยเหตุด้วยผลครับ ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะให้ทุกคนสามารถจะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันได้ แต่เราต้องสามารถอภิปรายถกกันได้ ทั้งในระดับวิชาการ นโยบายรัฐ และชุมชน
หลักเกณฑ์ที่แน่นอนไม่มี ปัญหาใหญ่
ก็ยอมรับได้ในระดับนึงนะครับในสถานการณ์ที่มีความเปราะบาง เรื่องนี้ผมเข้าใจดีครับ แต่ปัญหาคือการมีขอบเขตที่ไม่ชัดเจนว่าเราสามารถพูดถึงได้แค่ไหนอย่างไร ด้วยความไม่แน่นอนนั้นทุกคนย่อมกลัวจะโดนโทษหนักถึงจำคุกสูงสุด 10 ปี
เราก็พยายามอ่านเนื้อหา พรบ.ประชามติ และฟังผู้ใหญ่หลายๆท่านรวมไปถึง กกต. แต่ปรากฎว่าท่านพูดกับเราไปคนละทิศคนละทาง แล้วคนที่ต้องการพูดคุยปัญหาสังคมอย่างบริสุทธิ์ใจ จะมีความสบายใจในการพูดได้อย่างไรล่ะครับ ?
ข้อสำคัญคือมีความผิดในฐานบิดเบือน ถ้าหากไม่ได้บิดเบือนแต่ตีความผิดล่ะครับ ? เพราะไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจกฎหมาย และก็สามารถเข้าใจผิดกันได้
เมื่อเส้นแบ่งไม่ชัดเจนว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ มนุษย์ทุกคนย่อมต้องระวังตัวเอาไว้ก่อนด้วยการไม่พูดถึงเลยด้วยปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนตามที่ได้กล่าวมา
ทางออกของปัญหานี้อย่างน้อยก็อยากขอร้องให้มีการขีดเส้นแบ่งให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ให้ชัดเจนครับ
แล้วเราจะได้ไม่ต้องมาเอาความรู้ความาสามารถของมันสมองคนไทยทั้งประเทศไปดองไว้จนกว่าจะถึงวันลงประชามติครับ