ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ปัตตานี เป็นชุมชนที่ติดอ่าวปัตตานี มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เต็มไปด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด มีสิ่งที่ไม่มีชีวิตและสิ่งที่มีชีวิตสานสัมพันธ์ระหว่างกัน มีธาตุอาหาร มีสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง ปูและปลาต่างๆ ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่างที่มีเฉพาะตัวและมีความหลายทางชีวภาพสูง เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอีก อีกทั้งพื้นที่อ่าวบางปู ในอดีตยังเป็นเมืองท่าที่มีการติดต่อค้าขาย และเส้นทางการเดินเรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชุมชนบางปู ตั้งอยู่ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดปัตตานี มีเนื้อที่ประมาณ4.90 ตารางกิโลเมตร เป็นชุมชนมุสลิมเล็ก ๆ มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำและป่าชายเลน ที่เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวประมงชายฝั่ง70-80 % เเละชาวบ้านบางส่วนจะออกไปทำงานในประเทศมาเลเซียเพราะเศรษฐกิจไม่เเน่นอน เเต่ยังคงมีการทำงานที่สานต่อจากบรรพบุรุษ อาทิ ขนมพื้นบ้าน งานเเกะสลัก การทำกรงนกเเละอาชีพประมงพื้นบ้าน
เนื่องจากอ่าวปัตตานีเป็นแหล่งทรัพยากรและแหล่งอาหารสำคัญของชุมชนบางปูและชาวบ้านชุมชนในละแวกใกล้เคียง มาวันนี้อ่าวปัตตานีต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรร่อยหรอ ส่งผลกระทบต่อชาวประมงมีรายได้ลดลง
- จากข้อมูลงานวิจัยการบริหารเเบบมีส่วนร่วม เชิงกลยุทธ์ของการท่องเที่ยวชุมชนบางปู พบว่าปี2526 มีจ้อสังเกตว่าความสมบูรณ์ของอ่าวปัตตานีมีเเนวโน้มเสื่อมลงอย่างรวดเร็วนับตั้งเเต่มีการใช้อวนรุน อวนลาก เเละโรงงานอุตสาหกรรมรอบอ่าว เกิดการขยายของท่าเทียบเรือ เเละการขยายของนากุ้ง ทำให้อ่าวปัตตานีกลายเป็นเเหล่งรองรับน้ำ เเละบ่อบำบัดน้ำตามธรรมชาติ
แต่ด้วยพื้นที่ทะเลในบริเวณก้นอ่าวปัตตานี ยังมี“ป่าชายเลน”ยะหริ่ง ราว20,000ไร่ ที่มีความสมบูรณ์ที่เป็นเเเหล่งพักพิงของปลาน้อยใหญ่เเละ เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ที่สำคัญของชายเเดนใต้ ชาวบ้านเเละเยาวชนในพื้นที่เดินหน้าพัฒนาเเหล่งท่องเที่ยว เปิดบริการท่องเที่ยวให้กับผู้ที่ต้องการเดินทางมายังพื้นที่บางปู จนได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยใช้ทรัพยากรป่าชายเลนในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
ฟาเดล หะยีสือแม ประธานกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบางปูอเมซิ่ง เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในบ้านเกิดของตนเอง จึงคิดหาหนทางที่จะแก้ไขปัญหา และได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบางปูอเมซิ่งขึ้นมา เเล้วชวนเพื่อนๆเยาวชนในพื้นที่มาช่วยกันบริหารและจัดการ
ชุมชนบางปูมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้วซึ่งก็คือป่าชายเลนเพียงแต่เราขาดการบริหารและจัดการที่ดี เพียงแค่เรารู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
ซึ่ง ฟาเดล เองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านและคนชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนให้ดีขึ้น
- สำหรับพื้นที่ตำบลบางปูมีระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองปัตตานี เดินทางเพียง 12 กิโลเมตร มีถนนในการสัญจรหลายเส้นทางที่สามารถเข้าถึงชุมชนท่องเที่ยวบางปูได้
กระจายรายได้สู่ชุมชนเเบบมีส่วนร่วม
กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบางปูอเมซิ่ง มีการบริหารจัดการรายได้ที่น่าสนใจ คือ เงินที่ได้มา จะแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกจะทำการให้แก่คนที่ขับเรือ ส่วนที่สองให้แก่เยาวชนที่ทำหน้าที่ดูแลนักท่องเที่ยว และส่วนสุดท้ายจะเข้าสู่กองกลางเพื่อนำไปพัฒนาชุมชน ซึ่งในโครงการก็จะประกอบไปด้วยการล่องเรือชมป่าชายเลน ชมความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศในชุมชน ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ในการขับเรือนั้นก็เป็นชาวบ้านในชุมชนที่ก่อนหน้านี้พวกเขาประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน แต่เนื่องด้วยปัญหาต่างๆเช่น การจับสัตว์ทะเลได้น้อยลงเนื่องจากปัญหาความเค็มของน้ำลดลง ทำให้พวกเขามีรายได้ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัว ซึ่งเมื่อมีโครงการนี้เกิดขึ้นก็ทำให้พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม
ลุงมะซากี มามะ ชาวประมงเเละเป็นคนขับเรือ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีโครงการกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบางปูอเมซิ่ง เขาทำอาชีพประมง ซึ่งตอนนี้พบเจอปัญหาการจับสัตว์ได้น้อย รายได้ไม่พอต่อการเลี้ยงครอบครัว แต่พอมีโครงการนี้ขึ้นมา ขับเรือหน่งครั้งก็ได้รายได้ 300-400 บาท ต่อรอบทำให้เขารู้สึกดีใจ และใจชื้นขึ้นมามาก เนื่องจากไม่ต้องกังวลกับความไม่แน่นอนว่าวันนี้จะจับปลาได้หรือไม่ มากไปกว่านั้นยังสามารถจุนเจือครอบครัวได้เพียงพอต่อจำนวนสมาชิกภายในบ้าน
นอกจากการล่องเรือชมป่าชายเลนแล้ว หลังล่องเรือเสร็จแล้วยังมีแพคเกจดีๆเพื่อการสนับสนุนชาวบ้าน คือการรับบริการขนมพื้นบ้านที่เป็นขนมประจำถิ่นและหาทานได้เฉพาะที่บางปูเท่านั้น อย่างเช่น ขนมมาดูฆาตง
ก๊ะล๊ะ แม่ค้าขนมพื้นบ้านเล่าว่า ก๊ะ(พี่สาว)ขายขนมมา30กว่าปีแล้ว ขนมชนิดนี้ตอนนี้แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว มีเพียงเจ้าสองเจ้าเท่านั้น ที่สำคัญคือนอกจากจะเป็นขนมเฉพาะถิ่นแล้วนั้นก็ยังสามารถหากินได้เพียงในพื้นที่บางปูเท่านั้นอีกด้วย
มาดูฆาตง (มาดู แปลว่าผึ้ง ฆาตง แปลว่า การเกาะ) ซึ่งชื่อของขนมชนิดนี้ก็ได้มาจากลักษณะของขนมที่เหมือนกับผึ้งที่กำลังเกาะกันจนเหมือนรังผึ้งที่ห้อยอยู่บนกิ่งไม้ มาดูฆาตง เป็นขนมพื้นบ้านที่ทำมาจากแป้งและมะพร้าวนำมาผสมและหยำเข้าด้วยกันแล้วนำมาปั้นให้เกาะบนไม้ไผ่ที่ทำการเหลาจนได้รูป จากนั้นนำไปย่างไฟให้สุกและยกขึ้นราดน้ำกะทิที่มีรสชาดเค็มนิดๆหวานหน่อยๆ ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำตัวขนมไปคลุกกับน้ำตาลที่ผสมกับงา เป็นรสชาติที่กลมกล่อมชวนให้ลิ้มลอง นอกจากจะเป็นการอุดหนุนชาวบ้านแล้วยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการกินของคนที่
ปรับปรุงจัดการท่องเที่ยวสร้างแลนมาร์กใหม่
นอกจากนี้ทางกลุ่มได้จัดตั้งสำนักงานเพื่อบริการนักท่องเที่ยว โดยปรับพื้นที่พื้นที่ที่รกร้างหลังโรงเรียนบ้านบางปู และได้การสร้างแลนมาร์กใหม่เป็นพื้นที่สาธารณะ มีทั้ง สนามเด็กเล่น ร้านอาหารต่างๆ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้อยู่ภายใต้การร่วมมือร่วมใจกันบริหารงานของเยาวชนในพื้นที่ชุมชนบางปู
ซอลาฮุดดีน แวและห์ หัวหน้าเยาวชนในโครงการกลุ่มท่องเที่ยวบางปูอเมซิ่ง สะท้อนความรู้สึกว่า เขารู้สึกภูมิใจมาก ที่กิจกรรมนี้สามารถทำให้เยาวชนในพื้นที่สามารถเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนได้ และยังเป็นการสร้างงานให้กับเยาวชนเพื่อให้ได้กลับมาทำงานและสร้างประโยชน์ให้แก่บ้านเกิด มากไปกว่านั้นคือพวกเขาทุกคนเต็มใจ และรู้สึกสนุกกับการได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลทรัพยากรในบ้านของตัวเอง
ฟาเดล กล่าวทิ้งท้าย ตอนนี้ท่องเที่ยวบางปูอเมซิ่งได้รับผลตอบรับดีมาก ปีๆนึงสามารถสร้างรายได้เข้ามาสู่ชุมชนมากกว่าหนึ่งล้านบาท ไม่รวมกับรายได้หมุนเวียนแก่ชาวบ้านในชุมชนที่มีรายได้มาจากนักท่องเที่ยว ที่เมื่อเข้ามาเที่ยวในชุมชนแล้ว ก็จะทำการจับจ่ายใช้สอยอุดหนุนสินค้าต่างๆของชาวบ้าน คุณภาพชีวิตของคนที่นี่ก็ดีขึ้นไปด้วย
ปัจจุบัน พื้นที่ชุมชนบางปูเป็นที่รู้จักกันในนามของชุมชนแห่งการท่องเที่ยว ด้วยความร่วมมือร่วมใจของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจอยากพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง และพวกเขาก็จะยังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และหวังว่าผู้คนจะได้เข้ามาสัมผัสความสวยงามภายในชุมชนแห่งนี้ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมช่วยกันบริหารจัดการ ช่วยกันดูเเล …ที่นี่มนต์เสน่ห์บางปู