การปรับตัวและการสื่อสารของชุมชนเหนือล่าง ในสถานการณ์ภัยพิบัติ

การปรับตัวและการสื่อสารของชุมชนเหนือล่าง ในสถานการณ์ภัยพิบัติ

ภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใครบางคน ภัยพิบัติเป็นเรื่องของส่วนร่วม เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่คนเหนือ แต่เป็นของคนทั้งประเทศ คนทั้งโลก ที่ต้องรับรู้และปรับตัวร่วมกัน เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วงจรการหมุนเวียนของน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทวิความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นตามอุณหภูมิของโลกที่เปลี่ยนไป ซึ้งมี 2 ข้อหลัก ๆ 

1.ความรุนแรงของระยะเวลา ทั้งในหน้าแล้งและหน้าฝน ที่จะมีความยาวนานมากขึ้น เช่น ระดับน้ำในแต่ละพื้นที่ที่สูงขึ้นจากในอดีต มีระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น เป็นหนึ่งในความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น 

2.ความรุนแรงที่มีมากขึ้นในเรื่องของอุณหภูมิ ร้อนขึ้น หนาวขึ้น น้ำที่มากับพายุจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก 


ซึ่งจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ เรื่อง สำรวจมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมโดยรัฐบาล ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 10 จังหวัดในปี 2554 พบว่า ร้อยละ 76.3 ระบุว่าการช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ยังไม่ทั่วถึง ขณะที่ร้อยละ 68.6 ระบุว่าสิ่งของที่นำไปบริจาคตรงกับความต้องการของประชาชน แต่เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.4 กลับระบุว่ายังไม่ตรงกับความต้องการ

การถอดบทเรียน ฟื้นฟู และหาทางป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกประเด็นที่หลายพื้นที่ให้ความสนใจ และต่างหาทางรับมือร่วมกันอย่างจริงจัง เพราะนับวันยิ่งมีความถี่และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น หมุดนี้ คุณปริญญา แทนวงษ์ รายงานจาก ต.ทับผึ้ง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 

https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000027646

https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000027659

เล่าถึง ในพื้นที่มีเวทีให้ภาคส่วนต่าง ๆ จากลุ่มน้ำยม น้ำน่าน ได้ร่วมถอดบทเรียนการจัดการภัยพิบัติ การรับมือและการปรับตัวของเกษตรกร และสะท้อนข้อเสนอแนวทางนโยบายบริหารการจัดการน้ำ ซึ่งเฉพาะพื้นที่ในพื้นที่ตอนบน-ล่าง ลุ่มน้ำยม และน้ำน่าน ต่างเป็นพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่

ผศ.ดร.วรวิทย์ นพแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์ กล่าวว่านักวิชาการมีความพยายามในการวิเคราะห์ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังมีการปฏิวัติอุสาหกรรม ที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อวงจรของน้ำตามไปด้วย แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เราพยายยามปรับตัวกับน้ำ ไม่ว่าน้ำมากหรือน้ำน้อยเราต้องปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับน้ำ ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติและมนุษย์ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ ล้วนผูกพันและเชื่องโยงกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อถอดบทเรียนออกมาแล้วในสังคมโลกที่เกิด ภาวะเส้นกลาง เป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้แต่เรารู้ว่ามันมีอยู่ โลกเริ่มร้อนขึ้นเมื่อประมาณ 50 ที่แล้วจากวิถีการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป

นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้ทำลาย จากอุตสาหกรรม เกษตร และการพัฒนาที่บิดเบี้ยว สังคมที่พัฒนาจนหลงลืมวิถีทางนิเวศวิทยาของโลกใบนี้ การแย่งชิงและกอบโกยทรัพยากรต่าง ๆ ทำให้โลกของเรานั้นเสี่ยงต่อการพังทลาย 

ประเทศไทยเข้าสู่กระแสการพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ.2504 มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นฉบับแรก มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาอุตสาหกรรม จนหลงลืมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบเดิม ๆ เราอาจหลงลืมการดำรงชีพที่สัมพันธ์กับสายน้ำ ละเลยมิติทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม นำไปสู่การทำลาย 4 เรื่องหลัก ๆ 

  1. วิกฤตธรรมชาติ
  2. วิกฤตเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม
  3. วิกฤตเรื่องของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คน
  4. วิกฤตทางการเมือง        

การจัดการวิกฤตของประเทศไทยยังเป็นการจัดการแบ่งแยกส่วน

ทั้งที่ภัยพิบัติเหล่านี้เป็นภัยพิบัติร่วมกัน และสร้างจิตสำนึกร่วมกันในเรื่องภัยพิบัติ การจัดการน้ำที่ผ่านมาเป็นการจัดการภายใต้ 3 หน่วยงานหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ยังขาดการบูรณการณ์ร่วมกันและการเชื่อมโยงเครือข่ายเชิงภูมินิเวศและวัฒนธรรม ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมชาวบ้านยังขาดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายภูมินิเวศเชิงวัฒนธรรม หรือขาดการจัดการแบบมีส่วนร่วมแบบองค์รวม 

นำมาสู่เวทีสาธารณะ ผลกระทบ การปรับตัวของชุมชนและการสื่อสารในสถานการณ์ภัยพิบัติ ณ ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ถอดบทเรียนสถานการณ์ที่ผ่านมาและแนวทางการับมือของภัยพิบัติในอานาคต 

เสียงสะท้อนจากภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม

พื้นที่หนึ่งในนั้นคือ อ.บางระกำ คุณ มนัส เขียวลี เครือข่ายชุมชนคนบางระกำ จ.พิษณุโลก กล่าวถึงผลกระทบและสถานการณ์ที่ อ.บางระกำ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มเกิดน้ำท่วมทุกปี และเมื่อปี 54 ที่ผ่านมาได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัยนานถึง 4 เดือน เมื่อน้ำลดทิ้งความเสียหายไวอย่างมากมาย และเกิดภัยแล้ง จึงเกิดเป็นโครงการบางระกำโมเดล เพื่อเก็บน้ำใช้หน้าแล้ง  แต่โครงการดั้งกล่าวสร้างไว้ที่สูงกว่าระดับน้ำซึ่งไม่สามารถใช้ได้จริง และเกิดน้ำท่วมขึ้นทุกปี  ปี 60 เกิดการทำ MOU เพื่อกักเก็บน้ำ และชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่ชาวบ้านยังไม่ได้รับจากตรงนี้ และเมื่อจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติก็ไม่สามารถทำได้ เพราะติดเรื่องของโครงการบางระกำโมเดล ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเมื่อน้ำลดและไม่ได้รับการเยี่ยวยา ก็จะไปข้อมูลเพิ่มเพื่อนำมาฟื้นฟูพื้นที่ของตนเอง ก่อให้เกิดหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มชาวบ้าน

 “โมเดลที่สร้างไว้ ไม่ได้เอื้ออำนวยให้แก่ชาวบ้าน ไม่มีการชดเชย ต่อไปชาวบ้านก็จะไม่มีพื้นที่ทำกิน เป็นไปได้หรือไม่หากนำโครงการดังกล่าวออกไป ให้มีการช่วยเหลือและชดเชยหลังน้ำท่วมเพราะเป็นพื้นที่รับน้ำ”

การถอดบทเรียน ฟื้นฟู และหาทางป้องกันภัยพิบัติ ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/citizenthaipbs/videos/490468299775247

เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำท่วม ที่ จ.แพร่ พระยงยุทธ ทีปโก เครือข่ายตนต้นน้ำสรอย วัดปางงุ้น อ.วังชิ้น จ.แพร่ กล่าวว่า พื้นที่ อ.วังชิ้นเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ ที่มาจากแม่น้ำยม สิ่งที่ทางเราเรียกร้องมาโดยตลอดคือ แม่น้ำสรอย ลำห้วยสาขาของแม่น้ำยม เรียกร้องให้มีการสร้างฝายให้กับลำน้ำสาขาของแม่น้ำสรอยที่ชุมชนสามารถใช้งานได้แน่นอน ซึ่งสวนทางกับทางรัฐบาลที่จะสร้างเก่งเสื้อเต้น ที่ไม่ตอบโจทย์คนแพร่ การฝายหรืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็กจะสอดคล้องกับคนในพื้นที่ฝากกว่าโครงการขนาดใหญ่ และการจัดการน้ำในพื้นที่หลายหน่วยงานยังทับซ้อนกัน คนรุ่นใหม่ยังไม่เข้าใจบริบทเส้นทางของน้ำ และการสร้างสิ่งกีดขว้างทางน้ำในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ซึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้วน้ำไม่เคยท่วม และการหายไปของทุ่งรับน้ำเดิม

คุณ น้ำเงิน แสงใส เครือข่ายคนจนเมือง กล่าวถึง การจัดการในชุมชนเมื่อง ซึ่งมีทั้งหมดอยู่ 3 ระยะ 

1.ก่อนเกิดภัยพิบัติ ประเมินความเสี่ยงและการพยากร ที่ผ่านมาการประเมินไม่มีความแม่นยำ และไม่ถูกต้อง ทำให้ชาวบ้านคาดการและเตรียมตัวไม่ถูกเพราะไม่รู้ว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่ 

2.ระหว่างเกิดภัยพิบัติ แจ้งความต้องการไปยังหน่วยงานท้องถิ่น เช่น จุดเสี่ยงให้นำกระสอบทรายไปว่างไว้

3.หลังเกิดภัยพิบัติ การชดเชยและการเยี่ยวยา จากการประเมินของหน่วยงานที่เข้ามาประเมินในพื้นที่ ทำให้แต่ละหลังได้รับการเยี่ยวยาและการเข้าถึงสิทธิการเยี่ยวยาที่ไม่เท่ากัน ที่เกิดจากกฎระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ทางด้านภาณุภาศ กลัดพันธุ์ สำนักชลประทานที่ 4 จ.สุโขทัย กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคในลุ่มแม่น้ำยม จ.สุโขทัย ลำน้ำยมด้านบน มีลักษณะที่กว้างใหญ่สามารถรับน้ำได้ถึง 2000 ลูกบาตร์เมตร/วินาที แต่ อ.เมือง จ.สุโขทัย สามารถสูบน้ำได้แต่ 500 ลูกบาตร์เมตร/วินาที เท่ากับ 1 ใน 4 ของน้ำทั้งหมด ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญของ จ.สุโขทัย ในการบริการจัดการน้ำในพื้นที่ จ.สุโขทัย 

การบริหารจัดการน้ำของ จ.สุโขทัย โดยเริ่มจากการติดตามพยากรณ์อากาศ และภาพรวมของปริมาณฝนทั้งหมดที่จะตกมาของทั้งประเทศเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำและเตรียมการรับมือมวลน้ำตามประตูระบายน้ำต่าง ๆ เพื่อรับมือกับมวลน้ำที่จะเข้ามาในพื้นที่ การรับมือที่ผ่านมาเรามีการระบายน้ำก่อนเกิดเหตุแล้ว แต่ไม่ 

ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำยมได้ ทำให้เกิดผลกระทบน้ำเข้าท่วมในหลายพื้นที่  ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปีนี้ การบริหารจัดการ เครื่องมือที่ค่อยข้างที่จะมีจำกัด  ปีนี้เราผลัดน้ำไปยังแม่น้ำยม ทาง ปตร.คลองหกบาท 800 ลูกบาตร์เมตร/วินาที ซึ่งไม่สามารถลดการระบายน้ำลงได้ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องกันถึง 4 วันทำให้เกิดมวลน้ำมหาศาล ลงสู่สุโขทัยตอนล่าง การับมือของกรมชลประทาน มีการผสานข้อมูลและเช็คข้อมูลกันตลอด 24ชั่งโมงในช่วงประสบภัยที่ผ่านมา การสื่อสารต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ทางด้าน นายไพโรจน์ คชนิล เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่าช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา ทาง อบจ.ได้มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือศูนย์ใหญ่ของจังหวัดที่รวมหลายหน่อยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งการเข้าไปช่วยเหลือของอบจ.นั้น ย้ำว่าจะต้องให้ในพื้นที่ทำเรื่องแล้วก็เสนอขึ้นมา เพื่อที่ อบจ.จะได้เข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนเนื่องจากทาง อบจ.มีงบประมาณส่วนนี้อยู่แล้ว

คุณ สนอง อินทิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง กล่าวว่า ในส่วนท้องท้องถิ่น เราต้องเชื่อมโยงระบบของงบประมาณ ซึ่งอำนาจของอบต.ก็เป็นเหมือนเส้นเลือดฝอยที่ย่อยมาจาก อบจ. ซึ่งเราต้องมาหารือกันว่าส่วนไหนสามารถทำได้ เฉพาะ อบต.นั้นบางอย่างนั้นเกิดศักยภาพของเราไป เราจึงต้องเชื่อมไปยังหน่วยงานอื่น เช่น กลมชลประทาน ในเรื่องของงบประมาณ ในขณะเดียวกันการทำงานของท้องถิ่นที่มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอุปสรรคของการทำงานของท้องถิ่นมาก ที่มีระเบียบและการจัดการเยอะมาก ส่วนการจัดการน้ำในหน้าแล้ว การจัดทำคลองหรือที่กัดเก็บน้ำนั้นเราสามารถทำได้และมีงบประมาณในประเทศนี้มีค่อนข้างมาก เราจะทำอย่างไรในระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัดให้เห็นเป็นรูปธรรมขึ้นมาชัดเจนได้

เสียงจากชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้ามาร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้และข้อเสนอแนวทางการแก้ไข

  • ปัญหาเรื่องการระบายน้ำของกลมชลประทาน ซึ่งในอดีตลุ่มแม่น้ำยมมีน้ำท่วมทุกปี แต่ไม่มากเท่ากับหลายปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งอาจเกิดจากหลานสาดหตุที่ทำให้เกิดฝนตกมากขึ้น หากต้องแก้ต้องแก้ภาพรวมทั้งหมด และโครงการของรัฐ โครงการบางระกำโมเดลที่ขว้างน้ำอยู่ ซึ่งเราไม่สามารถเข้าไปรื้อถอนออกได้ แต่จะมีแนวทางอย่างไรให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับโครงการแล้วไม่เกิดความลำบากมากขึ้นไปกว่าเดิม
  • การบูรณาการแผนงานของหน่วยงานท้องถิ่นให้ทำงานร่วมกัน ในภาพรวมใหญ่ของจังหวัดทั้งหมด และการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยขอชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ
  • การกำหนดเส้นทางของน้ำให้ชัดเจนของกลมชลประทานและแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน
  • หมดยุคการจัดการภัยพิบัติที่ยึดกับกับเขตของการปกครอง และการนำข้อมูลนำเข้าจากภายนอกอย่างเดียว ทำอย่างไรจะมองทั้งหมดของภูมินิเวศ การเก็บข้อมมูลร่วมกันเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนร่วมกัน 
  • สมัยก่อนมีพื้นที่รับน้ำหลายแห่ง ทำให้หน้าแล้งมีพื้นที่หากิน ปัจจุบันหลังจากน้ำท่วม เราจะกักเก็บน้ำอย่างไรเพื่อใช้อุปโภคบริโภค และพื้นที่หากินในฤดูแล้ง ควรมีการจัดทำฝายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง 
  • การจัดการภัยพิบัติเราจะมองแย่งเป็นจังหวัดไม่ได้ เราต้องมองตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จะมีรูปแบบไหนที่จะสามารถผสานทั้งหมดไว้เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งต้องมีการบูรณการข้อมมูลร่วมกันและหาเจ้าภาพในการรับเรื่องนี้เป็นหลัก
  • สร้างกระบวนการตั้งรับระดับชุมชน ให้ชุมชนเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งอาจจะต้องมีพื้นที่นำร่องทำก่อนในแต่ละช่วงของลำน้ำ เพื่อสร้างให้เห็นรูปธรรมการแก้ไขปัญหาถึงแม้จะไม่ใช่ทั้งระบบ

การจัดการภัยพิบัติ ซึ่งไม่ใช่แค่ภัยพิบัติน้ำท่วมเพียงอย่างเดียว ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก นำไปสู่วิกฤติต่าง ๆ ทั่วโลก การจัดการภัยพิบัติในพื้นที่หน่วยงานในพื้นที่ได้มีการจัดการทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เชื่อมโยงเข้ากับงบประมาณหลายหน่วยงาน และสร้างระบบขึ้นมาใหม่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการหาทางออกรวมกันในเรื่องของการจัดการภัยพิบัติ

สามารถรับชมเวทีสาธารณะ ผลกระทบ การปรับตัวของชุมชนและการสื่อสารในสถานการณ์ภัยพิบัติ ย้อนหลังได้ทาง : https://fb.watch/grdoFY_OF9/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ