ขยายเวลารับสมัคร ! สถานีฝุ่น#2 เปิดรับอาสาสมัครนักศึกษาทุกสาขาวิชา ร่วมกันสื่อสารในสถานการณ์จริง

ขยายเวลารับสมัคร ! สถานีฝุ่น#2 เปิดรับอาสาสมัครนักศึกษาทุกสาขาวิชา ร่วมกันสื่อสารในสถานการณ์จริง

เปิดรับอาสาสมัครนักศึกษาทุกสาขาวิชา ที่สนใจพัฒนาทักษะการผลิตสื่อและบริหาร สถานีฝุ่นปี 2

ปฏิบัติการสื่อสู้ฝุ่น” การผนึกกำลังร่วมของเครือข่ายคนรุ่นใหม่ สถาบันการศึกษาภาคเหนือ สภาลมหายใจภาคเหนือ และไทยพีบีเอส

โครงการความร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการสื่อสารสาธารณะวาระภัยพิบัติภาคเหนือ (ฝุ่นควัน)

  • สถานการณ์ฝุ่นควันเป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพประชาชนเกิดขึ้นเป็นวงจรฤดูกาล โดยเฉพาะภาคเหนือและขยายข้ามพรมแดน
  • หลายภาคส่วนกำลังพยายามแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนนี้ และพบว่ามีความจำเป็นแก้ไขทั้งในระยะเผชิญเหตุและระยะยาวเพื่อผลักดัน แก้ไขเชิงนโยบาย 
  • “การสื่อสารสาธารณะ” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประชาชนสามารถรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นควันหนัก และขับเคลื่อนเนื้อหาเพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไข
  • สถานีฝุ่นปี 1 เริ่มกิดขึ้นเมื่อ ปี 2564 โดยทีม Wevo สื่ออาสา และสภาลมหายใจภาคเหนือ เป็นสื่อออนไลน์เผยแพร่ช่องทาง Website และ Social Media (Youtube Facebook) เผยแพร่ในช่วงฤดูฝุ่นหนัก (กุมภาพันธ์ – เมษายน) โดยจัดรายการสด เพื่อเกาะติดสถานการณ์ และเชื่อมประสานความช่วยเหลือ  
  • สถานีฝุ่นปี 2 /2565 – 2566 ขยายความร่วมมือกับ ไทยพีบีเอส  และสถาบันการศึกษา 5 แห่งในภาคเหนือ  โดยเกิดเป็นโครงการความร่วมมือ เครือข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการสื่อสารสาธารณะ วาระภัยพิบัติภาคเหนือ (ฝุ่นควัน) ที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสาร เชื่อมโยงกลไก การสื่อสารประเด็นเฉพาะของพื้นที่และปฏิบัติการสื่อสารจริงร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับคนเหนือเผชิญสถานการณ์ฝุ่น และสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันด้วย  

การเปิดรับ อาสาสมัครนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ ครั้งนี้ เปิดกว้างรับนักศึกษาทั้งในสาขาการสื่อสาร และสาขาอื่นที่สนใจ จำนวน 15 คน เพื่อมาร่วมกัน เรียนรู้ทักษะการผลิตสื่อและบริหารสถานีฝุ่นปี 2 ในสถานการณ์จริง ฐานะของเจ้าของปัญหาที่ลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพจัดการร่วม กับสื่อมือสมัครใจ และสื่อมืออาชีพ เพื่อสร้างกลไก “สื่อสาธารณะเพื่อท้องถิ่น” ที่เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนในพื้นที่    

ร่วมสื่อสารในสถานการณ์จริง

ระหว่าง 21 พฤศจิกายน 2565 – 30 เมษายน 2566

(รับจำนวนจำกัด  15 ท่านเท่านั้น)

คุณสมบัติผู้ร่วมโครงการ

1.เป็นนักศึกษาจากในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือที่ต้องการจะฝึกงานกับ สถานีฝุ่นปี 2   

2. สามารถร่วมฝึกอบรมลงมือปฏิบัติงานจริง ในช่วงเวลา 21 พฤศจิกายน  2565 – 30  เมษายน 2566   (นักศึกษาสามารถระบุ ช่วงเวลาของการร่วมเป็นอาสาสมัครตามระยะเวลาที่สามารถเข้าร่วมได้  เพื่อประกอบการพิจารณาจากคณะทำงาน)  

3.มีทักษะด้านการสื่อสารเบื้องต้นและสนใจเรียนรู้ต่อ  (จะมีการฝึกอบรม ผลิตงานจริง และออกแบบจัดการทีมระหว่างการปฏิบัติงาน)

4ห็นความสำคัญของปัญหาฝุ่นควันในภาคเหนือ มีหัวใจอาสา สนใจจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขและทำงานเป็นทีมได้ 

ลักษณะงานและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ

1.จะได้เข้าร่วมฝึกอบรมและพัฒนาทักษะด้านประเด็นฝุ่นควันและการผลิตสื่อ  

2.จะได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีมสตูดิโอกลางและทีมผลิตเนื้อหาสื่อด้านฝุ่นควัน เผยแพร่ทาง “สถานีฝุ่นปี 2”  โดยมีการออกแบบรายการเพื่อผลิตเอง 1 รายการ  และเชื่อมประสานการเผยแพร่รายการของเครือข่าย 2-3 รายการ

3.ลักษณะงานของทีม ที่นักศึกษาจะได้เป็นส่วนหนึ่งและได้พัฒนาทักษะ (ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทุกด้าน  จะมีการรวมทีมภายใต้ความสนใจและพื้นฐาน แม้จะไม่ได้เรียนสาขาการสื่อสาร)

3.1 ทีมสตูดิโอกลาง MCR  และกราฟิก
– ทำหน้าที่คุมเทคนิคสตูดิโอ /ถ่ายทอดสด / แบ็คออฟฟิศ /รับข่าว / เตรียม CG /ถ่ายภาพ/ตัดต่อ/บริหาร Social Media ฯลฯ

3.2 ทีม Content Creator /ทีม DATA (เปิดรับทุกสาขาวิชา)

– มอนิเตอร์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง จับประเด็น รายงานข่าว สัมภาษณ์ ไลฟ์สด เขียนข่าว สื่อสารเป็น text ใน Social Media  ถ่ายภาพ ตัดต่ออย่างง่าย  (ด้านเทคนิคจะมีการฝึกอบรมให้)

3.3 ทีม DATA และและประสานเครือข่าย

– สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เชื่อมประสานกับเครือข่าย แหล่งข่าว และผู้รับชม  เพื่อเขียนข่าวหรือรายงานที่เกี่ยวข้อง

– ติดตามการสื่อสารของสถานี ทำ Digital Marketing

สิ่งที่โครงการจะสนับสนุน

1.ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อ /การเจาะลึกประเด็นฝุ่นควัน /การบริหารสตูดิโอและการปฏิบัติงานจริง จากทีมสถานีฝุ่นปี 2 ทีม Wevo สื่ออาสา เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ และไทยพีบีเอส   

2 .นักศึกษาที่ร่วมโครงการจากต่างจังหวัด ได้รับการสนับสนุนที่พักภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. เกียรติบัตรทีมสื่ออาสา สถานีฝุ่นปี 2 จากโครงการความร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการสื่อสารสาธารณะวาระภัยพิบัติภาคเหนือ (ฝุ่นควัน)

สถานที่ดำเนินการ/ฝึกปฏิบัติ

– สตูดิโอสถานีฝุ่น  คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– ฝึกอบรมและบริหารจัดการแบบ Digital News room ทาง  OnSite /Online   

สิ่งที่คาดว่าจะเกิดการเรียนรู้

1.ผู้ร่วมเข้าใจสถานการณ์สำคัญด้านฝุ่นควันของพื้นที่ เข้าใจความสำคัญและบทบาทการสื่อสารเพื่อสาธารณะ

2.ทำงานจริงในสถานการณ์จริงเพื่อประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะการสื่อสาร ให้สามารถคิด วิเคราะห์ ค้นคว้า และปฏิบัติงานตอบสนองสถานการณ์ได้

3.เพิ่มพูนทักษะ Trans Media ผ่านการทำงาน Digital Newsroom หรือ ห้องข่าวออนไลน์แบบหลอมรวม และการบริหารงานแบบบริษัทจำลอง

4. การประสานเชื่อมโยงการทำงานเป็นทีมกับเพื่อนต่างสถาบัน และกับเครือข่ายภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน

5. ความรับผิดชอบ รู้จักการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และเข้าใจในงาน

6. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงานและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

Timeline การดำเนินงาน

Timelineตุลาคมพฤศจิกายนธันวาคมมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมเมษายน
เปิดรับอาสาสมัคร /และรับนักศึกษาฝึกงานถึง 11  พ.ย.     
เริ่มดำเนินกิจกรรม 21 พ.ย.     
ฝึกอบรม/เปิดกองบรรณาธิการ /ผลิตงาน และเตรียมสถานี ปลาย พ.ย. ฝีกอบรมครั้งที่ 1  ผลิตงาน /ลงพื้นที่ฝึกอบรมครั้งที่ 2 เตรียมสถานี   
เปิดสถานี /บริหารและสื่อสารจริง   เข้าสถานี/บริหารและ ปฏิบัติการจริงเข้าสถานี/บริหารและ ปฏิบัติการจริงเข้าสถานี/บริหารและ ปฏิบัติการจริงเข้าสถานี/บริหารและ ปฏิบัติการจริง
สรุปการปฏิบัติงาน      สรุปการปฏิบัติงาน

หมายเหตุ : Timeline อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

สนใจส่งใบสมัคร (พร้อมแนบประวัติและผลงาน) มาที่ saraban_mc@cmu.ac.th ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565

ลิงก์ใบสมัคร : 8. แบบฟอร์มร่วมกิจกรรมหรือฝึกงานสถานีฝุ่นปี 2

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม  นางสาว อักษรสิริ ต้อยปาน โทร. 065-0479777 ผู้ประสานโครงการความร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการสื่อสารสาธารณะวาระภัยพิบัติภาคเหนือ (ฝุ่นควัน)

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ