ควายน้ำกับอนาคตลุ่มน้ำทะเลน้อย

ควายน้ำกับอนาคตลุ่มน้ำทะเลน้อย

พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของของทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นทะเลแบบลากูนทำหน้าที่ในการเชื่อมลุ่มน้ำปากพนังเเละลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเข้าด้วยกัน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของไทย และพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่บริการหล่อเลี้ยงชุมชนท้องถิ่นมายาวนาน โดยเฉพาะผู้คนจาก 9 ตำบล 5 อำเภอ 3 จังหวัด ไม่น้อยกว่า 50,000 คน ที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง เช่น การทำหัตถกรรมกระจูด การประมงพื้นบ้าน ยอยักษ์ การทำนาริมทะเลและวิถีการเลี้ยงควายปลัก

เมื่อพูดถึง“วิถีการเลี้ยงควายปลัก”ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย หลายคนคงเคยเห็นเเละได้ยินมาบ้างเพราะนี่คือภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมากว่า200ปี มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว ระบบการปล่อยเลี้ยงจะปล่อยให้ควายหากินอย่างอิสระในพื้นที่ชุ่มน้ำ ปรับตัวอยู่พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งทำหน้าที่ในระบบนิเวศแทนที่ ช้างซึ่งหายไปจากพื้นที่เมื่อ 75 ปีที่แล้ว

ทำหน้าที่สำคัญของควายน้ำ การสร้างทางน้ำ การควบคุมระบบนิเวศทุ่งหญ้า ควบคุมปริมาณพืชน้ำ และช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์เพื่อเร่งการฟื้นตัวของป่าพรุซึ่งเป็น แหล่งเก็บน้ำและแหล่งดูดซับคาร์บอนที่สำคัญของโลก

ถือได้ว่า ควายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยช่วยสร้างสมดุลระหว่าง “วิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศ”  และตอนนี้อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกเกษตรโลก กลายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำให้ทีมงานรายการฟังเสียงประเทศไทยต้องออกเดินทาง ไปฟังเสียงชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์ในลุ่มน้ำทะเลน้อย ไม่ว่าจะเป็นชาวประมง ชาวบ้านที่สานกระจูด ผู้ประกอบการ หน่วยงานท้องถิ่น เยาวชนเเละเกษตรกรเลี้ยงควายปลัก ถึงสถานการณ์ปัจจุบันเเละทิศทางทิศทางอนาคตของพื้นที่ชุ่มน้ำนี้อย่างไร  

ประพันธ์ จงบุรี หรือลุงพันธ์  เป็นเกษตรกรเลี้ยงควายในล่มน้ำทะเลน้อย มา 67 ปีเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนทะเลน้อยไม่ได้เป็นแบบนี้ ทะเลน้อย (Thale Noi) หรืออุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีพื้นที่ประมาณ 17,500 ไร่  ตอนนี้ที่เป็นพื้นน้ำจริงๆมีแค่ 7,000 ไร่ที่เหลือเป็นวัชพืชที่ใช้การไม่ได้ ในระยะ3ปีที่ผ่านมานี้ก็เกิดจอกแหน จอกหูหนู ขึ้นเยอะมากโซนป่าพรุ ก็จะทับหญ้าหรือพืชที่เป็นอาหารของควายเน่าหมด เมื่อทะเลน้อยมีวัชพืชมากก็จะเกิดผลกระทบมายังชาวบ้านที่หากินและใช้ประโยชน์ในลุ่มน้ำทะเลน้อย  และมองว่าถ้ายังเป็นแบบนี้อีกประมาณ10 ปี ทะเลน้อยนี้คงหมดพื้นน้ำ และที่สำคัญทะเลน้อยจะพบเจอกับช่วงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งและท่วมยาวนาน สิ่งที่อยากให้หน่วยงานช่วยที่สุด คือ ศูนย์ตั้งอาหารสัตว์ เพราะว่าเราไม่มีโรงเรือนในการเก็บอาหารของเกษตรกร พอเกิดอุถกภัยควายก็จะมีอาหารกิน

เช่นเดียวโชคชัย ซุ่นเซ่ง ชาวบ้านในพื้นที่ละเลน้อย เล่าว่า หากอนาคตควายน้ำมันเป็นมรดกเกษตรโลก เราต้องหันกลับมามองว่า ตอนนี้สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันไม่เหมือนกับในอดีต เมื่อเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ทะเลน้อย ระยะน้ำท่วมกินเวลานานเพราะเป็นที่พักน้ำ ก่อนที่จะลงสู่อ่าวไทย แน่นอนว่าเกษตกรเกิดความลำบาก สัตว์เองก็ลำบาก ถนนเฉลิมพระเกียรติเต็มไปด้วยควายที่อพยพไปอยู่บนถนน ไม่มีที่พักพิงของควาย อาหารไม่พอ ทำให้ควายตายแต่ละปี หลายร้อย คนเลี้ยงควายก็เกิดอาการท้อ

รุ่งทิพย์ ศรีสวัสดิ์ หรือพีเอ๋ เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกมาใช้ชีวิตในพื้นที่ทะเลน้อย สะท้อนว่า ตอนนี้ควายน้ำเป็นเงินออมของเกษตกร ที่จะขายปีละครั้ง 1 ครั้ง หากเรามีจุดพักพิงควาย ก็จะเป็นจุดที่ให้นักท่องเที่ยวเเละเด็กๆได้มาเรียนรู้ เมื่อเกิดการเรียนรู้ ก็ทำให้เกิดการกระจายรายได้มาหมุนเวียนในชุมชนโดยไม่ต้องรอสิ้นปี  ผู้ประกอบการที่พัก ร้านค้าชุมชน ร้านอาหาร ก็จะมีรายได้กระจายและหมุนเวียน และทำให้ทะเลน้อยเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

รุ่งทิพย์ ทิ้งท้ายว่าแม้ว่าเราเป็นต่างจังหวัดเราไม่อยากกลับไปอีสานเพราะ พื้นที่ชุ่มน้ำสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ อาจจะไม่รำรวยมาก แต่มีอาหารที่อุดมสมบูรณ์ราคาไม่สูงและเป็นเมืองที่นี่อยู่มากๆ

นี่เป็นเพียงเสียงสะท้อนส่วนหนึ่ง วันนี้ชวนทุกคนร่วมกันหาคำตอบของเรื่องนี้ รายการฟังเสียงประเทศไทย อยากชวนมอง ควายน้ำกับอนาคตคนลุ้มน้ำทะเลน้อย ไปด้วยกัน

                                                                                     

จากข้อมูล ควายป่าพรุทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นควายปลักที่เลี้ยงมานานกว่าร้อยปี  ปล่อยหากินอิสระ   ควายฝูงหนึ่ง ๆจะมีควายที่ทำหน้าที่คุมฝูง 1 ตัว การเลี้ยงควายในพื้นที่ชุ่มน้ำ ช่วงที่ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ควายปรับตัว ว่ายน้ำ ดำน้ำลงกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ ได้ถึง 20 วินาที

การเลี้ยงควายส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย  ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศมีการใช้ประโยชน์ ทางการเกษตรที่หลากหลาย

จากการสำรวจข้อมูลจากมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย มีประมาณ 17 กลุ่ม ครอบคลุมตำบลพนางตุง ตำบลทะเลน้อย จ.พัทลุง และต.บ้านขาว อ.ระโนด สงขลา  ประมาณ 100 คอก เกือบ 5,000 ตัว 

ในอดีต พื้นที่ทะเลน้อยเป็นพื้นที่ทำเกษตรกรรมปลูกข้าวเป็นหลัก  ช่วงแรกเป็นการเลี้ยงควายไว้เพื่อใช้เป็นแรงงานในการ ทำนา

ปัจจุบันเลี้ยงเป็นเงินออมสานต่ออาชีพจากรุ่นพ่อแม่และขายได้ราคาประมาณ 30,000-35,000 บาทต่อตัว  สำหรับรายได้ต่อปีประมาณ 18 ล้านบาท หรือประมาณ 600 ตัวต่อปี  ควายทะเลน้อยจะถูกส่งขายไปยังจังหวัดใกล้เคียง และภาคอีสาน และมีแนวโน้มการส่งออกมากขึ้นเรื่อยๆ  ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลน้อย เป็นแหล่งรวมสัตว์น้ำนานาชนิด มีพันธุ์ปลา 40 ชนิดและพบนกทั้งหมด 287 ชนิด มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ

ความสำคัญควายน้ำในระบบนิเวศ สามารถกำจัดหญ้าและพืชน้ำที่ขึ้นอยู่ในทะเลน้อยได้วันละ 100 ตัน รอยเหยียบย่ำของควายยังก่อให้เกิดทางน้ำธรรมชาติอย่างน้อย 22 สาย และควายน้ำช่วยควบคุมระบบนิเวศ

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ควายน้ำเป็นที่รู้จักมากขึ้น

หลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้พื้นที่ทะเลน้อยเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ แห่งแรกของประเทศไทย  อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ แรมซาร์ไซต์ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย

สะพานเฉลิมพระเกียรติฯ สะพานข้ามทะเลสาบ จากทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ไปสู่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทำให้ควายน้ำทะเลน้อยกลายเป็นไฮไลท์สำคัญของนักท่องเที่ยว

ปี2561 เครือข่ายในจ.พัทลุง ร่วมกันจัดทำข้อเสนอโครงการขับเคลื่อนระบบการเลี้ยงควายปลัก (ควายน้ำ) ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลก ของ FAO

แต่ต้องทะเลน้อยเจอโจทย์ท้าทายของความเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง

•              เมื่อเกิดการสร้างประตูระบายน้ำปากระวะในปี 2498 การหมุนเวียนของน้ำในทะเลน้อย ทำให้ทะเลน้อยตื้นเขินอย่างรวดเร็ว

•              สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่ตรงฤดูกาลและฝนตกมากต่อเนื่อง ส่งผลแหล่งอาหารของควายทะเลน้อย 

•              ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ในพื้นที่เขตห้ามล่าฯ  เพื่อทำการเกษตร

โอกาสและข้อท้าทาย

•              พื้นที่รอบทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ แรมซาร์ไซต์แห่งแรกของประเทศไทยที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ มีวิถีเกษตรเลี้ยงควายในพื้นที่ทะเลน้อยมีความสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่

•              ทะเลสาบสงขลา  เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกับจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา   เป็น ลากูน (Lagoon)หนึ่งเดียวของประเทศไทย และเป็นหนึ่งใน 117 แห่งทั่วโลก  มีศักยภาพ มีคุณค่าและความโดดเด่นทั้ง ทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่สามารถพัฒนาและต่อยอดเชิงสร้างสรรค์

•              องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เสนอ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เป็นพื้นที่พิเศษชูต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม

•              และล่าสุด พัทลุงปักหมุดหมายยื่นขอขึ้นทะเบียน “ควายปลัก” แห่งทะเลน้อย เป็นมรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) ของไทย

ข้อมูลข้อเท็จจริง

นอกจากข้อมูลที่ทางทีมงานรวบรวมแล้ว ทีมงานเก็บรวบรวมเสียงส่วนหนึ่งของผู้คนที่ใช้ประโยชน์ในลุ่มน้ำทะเลน้อย ในจังหวัดพัทลุง ที่บอกเล่าสถานการณ์ส่วนหนึ่งที่พวกเขาเผชิญ ร่วมมอง ควายน้ำกับอนาคตคนลุ่มน้ำทะเลน้อย และเราได้ประมวล ข้อมูลที่รวบรวมทดลองประมวลภาพฉากทัศน์มา 3 แบบจะเป็นอย่างไร?

ฉากทัศน์ 1 ควายทะเลน้อย วิถีเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

ฉากทัศน์นี้ เกษตรกรเลี้ยงควายทะเลแบบปศุสัตว์ตามภูมิปัญญาเดิม คือปล่อยเลี้ยงในทุ่งหญ้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยที่พื้นที่เริ่มมีอยู่อย่างจำกัด 

• รายได้หลักของเกษตรกรจะมาจากขายควายในตลาดทั้งในและต่างประเทศ   รายได้เสริมมาจากการที่ควายทะเลเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน

•ฉากทัศน์นี้ เกษตรกรต้องยอมรับความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน  เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ควายจะดำน้ำลงไปกินพืชใต้น้ำไม่ได้  ซึ่งทั้งหน่วยงานรัฐ ชุมชน เกษตรกรเลี้ยงควาย ท้องถิ่น เขตห้ามล่าฯ   จะต้องเตรียมแผนตั้งรับ เพิ่มที่พักพิงของควายและอาหารในช่วงฤดูน้ำหลากตามความจำเป็นร่วมกัน 

•รวมถึงต้องวางแผนจัดการกับระบบนิเวศของทะเลน้อยอย่างต่อเนื่อง

ฉาก 2   ปักหมุด “วิถีควายเลน้อย”  แลนด์มาร์กท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ไม่ควรพลาด

• นำจุดขาย “ควายทะเล” และพื้นที่ “แรมซาร์ ไซด์” (Ramsar Site) มาเป็นแลนมาร์กดึงดูดนักท่องเที่ยว  โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ล่องเรือชมทุ่งบัวแดงและชมชีวิตควายน้ำอย่างใกล้ชิด 

• มีศูนย์ให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและปฎิบัติตามกรอบของพื้นที่เขตห้ามล่าฯ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเหมาะสมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

• ต่อยอดสร้างมูลค่า “ควายทะเล” เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของที่ระลึก เชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ   สร้างแบรนด์และทำการตลาดออนไลน์  เพื่อสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และชุมชน 

• แต่ฉากทัศน์นี้ภาครัฐ หน่วยงาน ททท. จังหวัดและท้องถิ่นต้องมีบทบาทหลักในการคิด ออกแบบ และปฎิบัติ  ร่วมกับภาคประชาชน  ลงทุนปรับภูมิทัศน์ทะเลน้อย เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้เพียงพอ ออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว และมีข้อปฎิบัติให้กับนักท่องเที่ยวในพื้นที่คุ้มครองทางสิ่งแวดล้อมรองรับการขยายตัวอย่างเข้มงวด

• เกษตรกรต้องเติมความรู้ปรับวิธีการเลี้ยง “ควายปลักทะเลน้อย” แบบไล่ทุ่ง และแบบดูแล  และพัฒนาสายพันธุ์ควาย  สร้างโรงเรียนที่สอนคนและควาย ได้ใช้ชีวิตร่วมกันตามวิถีเกษตร

ฉากทัศน์ 3  วิถีควายป่าพรุ สู่วิถีเกษตร-สิ่งแวดล้อมยั่งยืนตามมาตรฐานโลก 

• จุดเน้นส่งเสริมการอนุรักษ์และการมีส่วนร่วม โดยดูแลระบบนิเวศ-เกษตรเลี้ยงควาย และอาชีพอื่นๆในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยทั้งระบบ มีแผนปฎิบัติที่เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

• ฉากทัศน์นี้ ต้องจัดโซนนิ่ง จัดพื้นที่ใช้ประโยชน์ทั้งควายและสัตว์ชนิดอื่นๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำ บริหารจัดการสมดุลและเกื้อกูลตามมาตรฐานสากล ทั้งวิถีการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การเกษตร ภูมิทัศน์ องค์ความรู้และวัฒนธรรม เพิ่มขีด ความสามารถของชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนให้เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานในระดับนานาชาติ

• เกษตรกรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับตัวคิดและตัดสินใจร่วมกันอย่างมีแผน  พัฒนาศักยภาพยกระดับความรู้ งานวิจัยอย่างมีส่วนร่วมทั้ง การเลี้ยง การปรับปรุงพันธุ์ การดูแลนิเวศอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งอาจจะใช้เวลา แต่จะมีความยั่งยืนในระยะยาว แต่ฉากทัศน์นี้  ทั้งนี้แผนพัฒนาจังหวัดและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องปฎิบัติตามกรอบและเงื่อนไขที่ทางมาตรฐานสากลกำหนดไว้

นอกจากข้อมูลแล้ว และภาพอนาคตทั้ง 3 แบบแล้ว ทางทีมงานมีมุมมองเพิ่มเติมฉากทัศน์ ทั้ง 3 จากผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้คุณผู้อ่านร่วมตัดสินใจไปด้วยกัน

ควายน้ำมีความสำคัญถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนเลน้อย เป็นคำพูดของ โสภา ทองเกลี้ยง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านหัวป่าเขียว ต.ทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นคนที่ทำอาชีพเลี้ยงควาย กลาวว่า  ควายน้ำอยู่คู่กับคนเลน้อย อาชีพของการเลี้ยงควายน้ำส่วนใหญ่ มีรายได้ส่วนใหญ่ที่สูงจากการเลี้ยงควาย ที่ช่วยจุนครัว ไม่ว่าจะเป็น รายได้หลักจากการที่ส่งลูกเรียน  เป็นสินสอดทองหมั่น  เป็นเงินเก็บ เพราะชาวบ้านหาเช้ากินค่ำ การเลี้ยงควายเป็นเหมือนเงินเก็บที่ได้เป็นกอบเป็นกำ ราคาอยู่ประมาณ 30000-40000 บาท ต่อตัว มองว่า อนาคตรายได้น่าจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสนหลักล้าน หรืออย่างน้อยๆไม่ต้องขายเนื้อเพียงอย่างเดียวแต่สามารถขายนมควาย โคลนปลักควาย ถือว่ามีความสำคัญหากอีก 4-5 ปี ระบบนิเวศยังอยู่แบบนี้ น้ำท่วมซ้ำซากก็ทำให้ควายตายด้วยการอดอาหารเพราะทะเลน้อยมีแต่วัชพืชขึ้น ทำให้อาหารควายลดลง

อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเกษตรกร เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ และเป้นพื้นที่เขตห้าล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีกฎหมายควบคุม การเลี้ยงควายประสบปัญหาเรื่องเนินพักสัตว์ที่ไม่สามารถสร้างได้ ซึ่งเป็นความจำเป็นของควาย เราเห็นใจเจ้าของควาย เพราะถ้าจะมีเนินพักสัตว์ต้องมีการขออนุญาติมากมาย อยากให้หน่วยงานรัฐเข้ามาสร้างศูนย์พักพิงให้ควาย ทำให้ในช่วงน้ำท่วมเราจะบริหารจัดการได้ทั้ง ทั้งอาหาร ยา หน่วยงานปศุสัตว์ก็สามารถเข้าไปดูแลได้ ซึ่งศูนย์พักพิงนี้ไม่ต้องใหญ่มาก เพราะเราต้องรักษาระบบนิเวศด้วย แค่ให้เราอยู่ได้ ควายอยู่ได้ เขตห้ามล่าอยู่ได้

 ฅ. เลี้ยงควาย ค.เลี้ยงคน  อยู่กันแบบเกื้อกูลกัน เป็นคำนิยามของพี่พร หรือคุณพรประเสริฐ เกื้อคราม เกษตรกรเจ้าของควายน้ำ ต.พะนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ที่เลี้ยงควายกว่า 200 ตัว  กล่าวว่า ควายอยู่กับคนไทยมาตลอด ทะเลน้อยเมื่อก่อนอยู่คู่กับการทำการเกษตร ทำนาใช้ควายไถนา ที่เป็นวิถีชีวิตของคนเลน้อย หลังจากนั้นควายก็ปรับตัว เกษตรกรหันมาเลี้ยงควาย แบบปล่อยอิสระ หากินแบบธรรมชาติ มีภูมิคุ้มกันด้วยตัวมัน

ปัญหาที่เราเจอก็คล้ายกับหลายคนคือแหล่งอาหารและที่พักพิง ฤดูน้ำท่วมของทะเลน้อยจะไม่เหมือนกัน ทุกๆปี ท่วมยาวนานขาด12วันได้ครึ่งปี และเวลาควายเดินออกไปกินหญ้า  กว่า3 กิโลเมตร ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ในระยะ 1.5 กิโลเมตร เราน่าจะทำเนินไว้ให้ควายพักที่เป็นของส่วนรวม ลดการอ่อนเพลีย และระยะหลังมาวัชพืชในทะเลน้อยโตเร็ว การกำกัดวัชพืชในทะเลน้อยก็ไม่ต่อเนื่องเป็นส่วนเกินในระบบนิเวศ  อีกประเด็นคือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงคนดั้งเดิมจะเห็นว่าตอนนี้พื้นที่หายไปจากการกัดเซาะ ทั้งทะเลนอกและทะเลใน ผมว่าไม่เกิน 10 ปี  ทะเลนอกทะเลในจะเป็นทะเลเดียวกัน

ควายไม่ได้กินหญ้าอย่างเดียวแต่มันทำหน้าที่ในระบบนิเวศ ไม่ได้แค่ทำหน้าที่ในระบบนิเวศแต่ทำหน้าที่เลี้ยงคนด้วย เป็นคำพูดของ เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย  กล่าวว่า คนเลี้ยงควายเป็นอาจารย์ของผม หน้าที่ของคือการเก็บรวบรวมข้อมูล เอามาจัดเรียง  ซึ่งพบว่าวิถีควายน้ำในทะเลน้อยมีความน่าสนใจ เป็นวิถีที่มหัศจรรย์ ตอนนี้ถ้าในทางระบบนิเวศ ควายตัวสร้างทางน้ำเล็กๆในพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วพื้นที่ชุ่มน้ำ ตอนนี้เป็นป่าที่เป็นตัวเก็บคาร์บอนที่ดีที่สุดในระบบนิเวศ เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ป่าพรุที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองในประเทศ บทบาทของควายไม่ได้กินหญ้าอย่างเดียวแต่มันทำหน้าที่ในระบบนิเวศ เป็นผู้ดูแลและควบคุมระบบนิเวศทุ่งหญ้า เพราะสัตว์ 68 ชนิดในพื้นที่ซุ่มน้ำใช้ประโยชน์ ทุ่งหญ้า 

จากที่วันหนึ่งมีการปิดกั้นทางน้ำ ทำให้น้ำเค็มไม่สามารถเข้ามาได้ เราเห้นความแตกต่างเรื่องวัชพืช จากที่สภาพน้ำกลอยวัชพืชโตไม่ได้ ทะเลน้อยมีความลึก 12 เมตร แต่พอวันหนึ่งประตูถูกปิด น้ำไม่สามารถเข้ามาได้ พื้นที่กลายเป็นน้ำจืดทำให้พืชโตเร็วและเกิดการทับถม ทำให้เกิดการตื้นเขิน แต่ทุกวันนี้ควาย เข้ามาทำหน้าที่แทนในการกำจัดวัชพืช  

สำหรับผมเเล้ว“ควายเป็นวิศวกร ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

ฉะนั้นทะเลน้อยถือเป็นโจทย์และเป็นทรัพยากรของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะของบางคน หน้าที่นักวิชาการผมก็นำสิ่งใหม่ๆมาเสนอ นำองค์ความรู้ที่ได้รับการพิสูญแล้วว่ามันดี นำเข้ามาในพื้นที่ มองว่าพอเป็นมรดกโลกแล้วก็จะได้รับการจัดการที่ดีขึ้น  ต่อให้ระบบการเลี้ยงควายดีอย่างไร แต่ไม่มีหญ้าดีๆ ไม่มีความหลากหลายทางระบบนิเวศ ก็ไม่สามารถที่จะเลี้ยงควายที่ดีได้ ที่สำคัญการเป็นมรดกเกษตรโลกได้รับการพิสูจน์มาแล้วจาก 67 ประเทศที่ทั่วโลก  สิ่งที่ชัดเจนที่สุดเมื่อได้รับการประกาศ เศรษฐกิจในพื้นที่ตรงนั้นดีขึ้น 33%  

โจทย์สำคัญหลังจากนี้คือการส่งต่อรุ่นต่อรุ่น ทำอย่างไรให้ลูกหลานภูมิใจที่สืบทอด หากเป็นมรดกทางการเกษตรลูกหลานจะภูมิใจ เพราะต่อไม่ได้ได้เป็นเกษตรอย่างเดียวแต่เป็นเกษตรที่เป็นผู้ประกอบการด้วย

กิตติพิชญ์ กลับคุณ ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ควายน้ำเป็นตัวส่งเสริมการท่องเที่ยวเมื่อก่อนเรามาทะเลน้อย เราจะมาดูนกน้ำ ดอกบัว  แต่พอมีสะพานเฉลิมพระเกียรติ ควายน้ำกลายเป็นที่รู้จัดมากขึ้น ทำให้รายได้ถูกกระจายไปยังเรือน้ำเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก ทุกวันนี้ปัญหาของเกษตรกร เราต้องรอให้ควายโตถึง 3-4 ปีเราถึงจะขายได้ แต่ระหว่างทางของควาย สามารถแปรรูปจากควายได้เช่น นมควาย   มอเซอเรร่าชีล เนย เเละอาหาร เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของเกษตรกรระหว่างทางที่รอควายโต 

หน้าที่ของหอการค้าคือการ พัฒนาเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งทะเลน้อยมีความโดดเด่นอยู่แล้วในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ เรายังขาดการประชาสัมพันธ์ เราต้องทำให้เป็นที่รู้จัก เพื่อดึงนักท่องเที่ยวมาเยอะๆมาซ้ำแล้วบอกต่อ ที่สำคัญ ผมว่ายังต่อยอดเรื่องการท่องเที่ยวอีกเยอะ ทะเลน้อย มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่สามารถจัดเป็นรูทการท่องเที่ยวได้ เพิ่มมูลค่าต่อยอด

นี่คือส่วนหนึ่งของบทสนทนาที่ทีมงานรายการฟังเสียงประเทศไทย ฟังด้วยหัวใจที่เปิดรับ ส่งเสียงด้วยข้อมูลที่รอบด้าน  เสียงส่วนหนึ่งจากตัวแทนทั้ง 3 ภาพอนาคต ยังมีเสียงของคนในชุมชนให้เราได้ฟังและร่วมคิดต่อในรายการฟังเสียงประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลน้อยรวมถึงโอกาสใหม่ๆที่จะทำให้ควายน้ำกับอนาคตลุ่มน้ำทะเลน้อยที่เป็นทรัพยากรของทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยื่นยืนเเละสมดุล  เราเชื่อว่าทุกเสียงมีความหมาย

รวมโหวตฉากทัศน์กันได้ที่นี่  


author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ