TED Talk : ‘พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสวัสดิการชุมชน’

TED Talk : ‘พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสวัสดิการชุมชน’

การจัดงาน ’20 ปี พม. เสริมพลัง  สร้างโอกาส  พัฒนาคนทุกช่วงวัย’  ระหว่างวันที่ 29 กันยายน- 3 ตุลาคม  ที่กระทรวง พม.  ในส่วนของ พอช. และขบวนองค์กรชุมชนมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย  เช่น วันที่ 1 ตุลาคม  มีเวที ‘TED Talks : พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสวัสดิการชุมชน’

TED Talks  คือ การนำประสบการณ์หรือความคิดดีๆ ที่ผ่านการลงมือทำ  มาเล่าสู่กันฟัง  เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดแรงบันดาลใจ  หรือเกิดพลังความคิดสร้างสรรค์  ในลักษณะของ “เรื่องเล่าเร้าพลัง” ที่ผู้พูดจะใช้เวลาเล่าไม่นานนัก..

และนี่คือตัวอย่าง TED Talks  จากพี่น้องเครือข่ายองค์กรชุมชนในภาคต่างๆ…

เสียงจากคนนาทอน  จ.สตูล

นางสาววิริญญา จ่าวิสูตร  ศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน  ตำบลนาทอน  อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล  เล่าว่า  ตำบลนาทอน  เป็นตำบลเล็ก ๆ  แต่มีความโดดเด่น  คือ  คน  มีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร   ทำกิจกรรม  บริหารจัดการได้อย่างดีเด่น   ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศปี 2543   สามารถเป็นต้นแบบได้   วันนี้กลุ่มจักสานเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานให้กับพื้นที่อื่น ๆ เข้าไปเรียนรู้ 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำเรื่องสมุนไพร  สุขภาพ  และมีกลุ่มอื่น ๆ  ทำเรื่องผ้ามัดย้อม เป็นกลุ่มที่เกาะเกี่ยวการทำงานอยู่อย่างพี่น้อง  มีเป้าหมายเดียวกัน  เรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชน  ระดับตำบล  การทำงานกับชุมชนไม่ยาก  หากใช้เครื่องมือ คือ “ใจ” เป็นสิ่งที่ได้พบเจอจากประสบการณ์ตรง

เธอบอกว่า  ในฐานะเป็นประธานวิสาหกิจชุมชน  ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ทำงาน เกิดการตกผลึก กลไกสำคัญ คือ  เรื่องใจ  การสร้างความรู้ความเข้าใจ  ทำให้ดำเนินการมาได้จนถึงปัจจุบัน 

“เมื่อปี 2560  ตอนนั้นอายุ 30 เศษ  ตัดสินใจหันหลังให้กับชีวิตในเมือง  ตอนนั้นทำงานด้านการท่องเที่ยว  มีรายได้  แต่ขาดอิสระภาพในการดูแลครอบครัว  แสวงหาเงิน  แต่ไม่ได้ดูแลใคร  ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านเพื่อได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว”

ช่วงแรกในการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน  เป็นเรื่องที่ยาก  เรามีทุนน้อย   เชื่อว่าหากเป็นความฝันของคน ๆ เดียว  จะยาก  ต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ   จึงขยายขายฝันของตนเองให้กับเพื่อนในเวทีต่าง ๆ  ใน facebook  เริ่มทำในเรื่องสุขภาพ  ทำเรื่องสมุนไพร  นำสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์  เกิดการสร้างงาน  อาชีพให้กับคนอื่น ช่วงแรกหลายคนมองดูอยู่ห่าง ๆ อาจปรามาสว่าจะอดทนได้สักแค่ไหน ?

หลังจากได้พยายามสื่อสาร สร้างเป้าหมายในระยะเดียวกัน ฝันนี้จะต้องกินได้ด้วย ทำและมุ่งมั่น ทำให้เกิดเป็นรายได้ขึ้นมา เมื่อเกิดรายได้  เราได้รับแนวร่วม เราตั้งธงว่า เราไม่ได้แสวงหารายได้เท่านั้น ต้องตอบแทนสังคม เป็นความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ช่วงแรกสมาชิก 7 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 55 คน สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับหลายคน ดูแลชุมชนของเรา  เมื่อทำงานในระดับตำบล  จากเดิมทำในชุมชน  จนได้มาเป็นคณะทำงานของศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจระดับตำบล  ใช้วิธีการเดียวกันนี้  สื่อสารให้ได้มากที่สุด เข้าใจเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาชุมชน 

มีกลุ่มน้องใหม่ กลุ่มสมุนไพรทักษร  กลุ่มผ้าบาติก  ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุดิบ เป็นแกนนำในเรื่องการเชื่อมโยงคนเข้ามาทำงาน เยาวชน ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง  เป็นธุรกิจที่ไม่ใช่แค่รายได้ แต่สร้างคุณค่าความภาคภูมิใจให้กับเรา  นอกเหนือจากการระเบิดจากข้างใน  ผลักดันกันเองแล้ว ไม่ว่า อบต. สภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน และอีกหลายหน่วยงานเข้ามาสนับสนุน

“เมื่อมีคนสนับสนุน  เราคนขับเคลื่อนเศรษกิจฐานราก มีกำลังใจให้ดำเนินการต่อ ความร่วมมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน  หน่วยงานภาคี   ถือว่าได้ผลลัพธ์เป็นที่ชื่นใจ”    

ลูกชาวนาจากท่าวังทอง  จ.พะเยา “CBMC  ทำให้มวยวัด  เป็นมวยอาชีพ”

“เปิบข้าวทุกคราวคำ  จงสูจำเป็นอาจิณ  ข้าวนี้นะมีรส…”  อธิวัฒน์ ปิยะนันท์วงค์  จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย  ตำบลท่าวังทอง  อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  ยกเนื้อเพลงเพื่อชีวิตท่อนหนึ่งขึ้นมาเปิดประเด็น

ผมได้ยินทุกปีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว  เกษตรพูดปลอบใจตัวเองว่า  ปีนี้ข้าวกิโลเท่าไหร่  รัฐบาลจะให้กี่บาท  ตำบลท่าวังทองมีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท  มีทรัพยากรมากมาย  แต่สิ่งที่เรามีไม่เคยเป็นของพวกเราเลย  เราไม่เคยลุกขึ้นมาจัดการตัวเองเลย  เศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ  ปากท้องพี่น้องประชาชน  กำหนดหมุดหมายว่า เศรษฐกิจชุมชนคือความมั่นคงของคนท่าวังทอง

ปี 2560 ราคาข้าวตกต่ำ ปาล์มราคาถูก  ยางราคาถูก  ตอนนั้นผมเรียนจบกลับไปอยู่บ้าน  เห็นปัญหา  จึงรวม กลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน  รัฐบาลบอกเราต้องทำเกษตรแปลงใหญ่  4 ปีได้รับมาตรฐาน  ทำอินทรีย์แต่ไม่มีตลาด  ข้าว  6 พันกิโลฯ   

ไปถาม  “ท่านเกษตรครับ  ผลผลิตปีนี้ไม่รู้จะไปขายที่ไหน  เกษตรบอกผมมีหน้าที่ส่งเสริม  ท่านพาณิชย์บอก     ปีที่แล้วข้าวในโกดังยังขายไม่หมดเลย”  นี่คือประสบการณ์ของชาวนา

ปีนั้นเผมไปพบเครื่องมือ  ‘แผนธุรกิจชุมชน’  CBMC  จากมวยวัดเป็นมืออาชีพ  เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของเรา   ใช้แผนนี้วิเคราะห์ว่าชุมชนจะจัดการเศรษฐกิจต้องทำอย่างไร  ใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก  วิเคราะห์ว่า  ขายที่ไหนไมได้ก็ขายกันเอง  “ข้าวคนตำบลท่าวังทอง  คนตำบลท่าวังทองต้องกินต้องใช้”   

ให้ อสม. ไปถามว่าบ้านไหนจะซื้อบ้าง  จัดส่งให้   จัดทำฐานข้อมูลว่าหลังหนึ่งซื้อกี่กิโลฯ  เดือนหนึ่งกี่กระสอบ   เป็นก้าวแรกที่สร้างระบบเศรษฐกิจขึ้นมา

วิเคราะห์ว่า  ข้าวพันธุ์หลักที่ปลูกซื้อจากเชียงราย  ซื้อจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว  เราทำ MOU. ร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกร  รัฐไม่ได้สั่ง  ทำใหม่ให้ซื้อกันเอง  สัญญาใจกันเอง  วันนี้ข้าวลุ่มน้ำอิงไม่เคยขายให้ใครนอกจากคนท่าวังทอง  

กลไกการขับเคลื่อนหลักมี 3 ท้อง  คือ  ท้องที่  ทำงานกับท้องที่  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  เขารู้ใครเกิดแก่เจ็บตาย ประชากรหลัก  ประชากรแฝง  ท้องถิ่น  บริหาร  ข้าราชการประจำ  ท้องทุ่ง เครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจ  วิเคราะห์ถอดบทเรียน  การพัฒนาชุมชน   ตำบลท่าวังทองทำเรื่องเศรษฐกิจชุมชนเท่านั้น  ให้ตอบโจทย์เรื่องชีวิต  ที่อยู่อาศัย  เรื่องดินน้ำป่า

5 ปีที่ผ่านมา  เราไม่ได้พูดถึงเกษตรอินทรีย์  วันนี้เราขายข้าว  ขายปุ๋ย  ขายองค์ความรู้  วันนี้มาขายฝัน            เราสามารถทำได้   เศรษฐกิจของชุมชน  ตลาดคือในชุมชนของเรา  ชาวนาลุ่มน้ำอิงถึงจะรวยไม่ทน  แต่จะจนไม่นาน      สิ่งเหล่านี้ผมอยากจะบอกพี่น้องว่า  อยากเห็นสิ่งเหล่านี้ทุกตำบล  ถ้าไม่มีเพื่อนร่วมทาง  

“ผมใช้เงินแค่ 1 หมื่นบาท  ณ วันนี้  วิสาหกิจมีเงินกองกลางเกือบแสนกว่าบาท  มีการออม  เข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละบาท  เราแบ่งปันข้าว 20 เปอร์เซ็นต์เก็บไว้แบ่งปัน  เงินไม่ไหลออก  มีเรื่องอื่นอีกมากมายให้เราจัดการเป็นเจ้าของอย่างจริงจัง  ถ้าไม่ช่วยกันส่งเสียง   ผลักดันให้เกิดในเชิงนโยบาย  เป็นเรื่องปากท้องของเรา  ต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเอง  ถ้าเชื่อว่าเศรษฐกิจฐานรากคือความมั่นคงของประเทศ  ความมั่นคงของมนุษย์”

“คุณภาพชีวิตดี  มีเกษตรกรรรมล้ำยุค”  : เป้าหมายของคนมหาสารคาม

สำลี  สีมารักษ์  ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลเขื่อน  อ.โกสุมพิสัย  จ.มหาสารคาม  เล่าว่า ผมเข้ามาอยู่สมาชิกอง์การบริหารส่วนตำบลปี  2546  จนปัจจุบัน  ได้ช่วยเหลือพี่น้องสภาองค์กรชุมชน  ก่อตั้งสภาองค์กรชุมชน     ศึกษาระเบียบข้อบังคับ  จุดที่ อบต.ทำไม่ได้  มีวาระการประชุมการใช้จ่ายต่าง ๆ 

ผมทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน บูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ   เกษตร  สภาเกษตรกร  สถาบันพัฒนาที่ดิน  เกษตรอำเภอ  ท้องที่  ท้องถิ่น   ทุกพื้นที่   เรามองเห็นว่าการทำงานของสภาองค์กรชุมชน  สิ่งที่เป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ   คือบุคคล  บุคคลที่มาทำหน้าที่กับเรา 

ตอนนี้มีผู้นำท้องที่  แนวคิดจะคนละแบบ  การสั่งการเป็นเรื่องยากมาก   ตั้งแต่ปี  2551 ขับเคลื่อนงานและทำประเด็นเรื่องข้าว  ผมเป็นเกษตรกร 100%  พื้นที่ผมอยู่ในเขตชลประทานเขื่อนอุบลรัตน์  ทำนาปีละ 2 ครั้ง  ทำให้ชุมชนมาศึกษาข้อมูลว่ามันเกิดขึ้นทำอย่างไร  มีการคุยกับมหาวิทยาลัยราชภัฎและกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร  มาสรุปข้อมูล พบว่า     ทำนาปีละ 2 ครั้ง   ลงทุนเกือบสิบล้าน   ค่าปุ๋ย ค่าข้าว  เมล็ดพันธุ์  สิ่งที่ตามมาคือ  ข้าวปน  ข้าวดีด  ข้าวเด้ง   

ปี 2543 หลังจากทำ  ได้รับงบจากเกษตรอำเภอ  2 หมื่นบาท  พี่น้องทำมา 2-3 ปี  ขาดช่วง  ปัจจุบันมาทำจริงจัง     มารับหน้าที่ในส่วนของการบริหาร  ผู้ประสานงาน  ได้รับการสนับสนุนจาก พอช.  ได้รับงบประมาณ 7 หมื่นบาท     มีสมาชิก 50 คนในการทำงาน  ดำเนินการมาถึงปี 2563-2564  เป้าหมาย 20 ตัน  ไม่ทะลุผล  เขื่อนอุบลรัตน์เกิดภัยแล้ง  ได้ข้าว 3 ตัน

ทิศทางของเราที่จะไป  ไม่พอขายข้าว 100 กิโลกรัม ไม่ถึงสัปดาห์หมด  ข้าวจะมีอยู่ในพื้นที่สมาชิก จะมีข้าวอยู่ 42 ตัน  ภายใต้โครงการพัฒนาผู้มีรายได้น้อย   ได้ข้อมูลจากจังหวัดให้ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง  ผ่านการคัดแยกเมล็ดพันธุ์     มีหน่วยงานเข้ามาเสริม  องค์กรเครือข่าย  ต้องอาศัยความซื่อสัตย์  มีแบรนด์สินค้าของ พอช.  สภาฮักแพงเบิ่งแยงคนมหาสารคาม  ปีนี้จะมีข้าวเหนียวประมาณ 15 ตัน  พอถึงเดือนธันวาคม 2565 เริ่มทำนาใหม่  ผมคิดว่าพื้นที่จะไม่มีปัญหา  ผมอยู่ในเขตชลประทาน  แต่ตำบลอื่นทำนาปี 

อนาคตคาดหวัง  เราพูดคุยกัน  “คุณภาพชีวิตดี  มีเกษตรกรรรมล้ำยุค  สังคมเป็นสุข  ปลูกฝังคุณธรรม  งามล้ำประเพณี  คนพื้นที่มีรายได้”

‘ขยะ’ สร้างสวัสดิการที่ปลายบาง  จ.นนทบุรี

จินต์ภาณี อรชร  ตำบลปลายบาง  จ.นนทบุรี  เล่าว่า   เทศบาลตำบลปลายบาง  มี 3 ตำบล  มีปัญหาขยะล้นเพราะเมืองขยายตัวเร็ว   เมื่อ 2 ปีที่แล้ว  สภาองค์กรชุมชน ใช้เวทีทำเรื่องสิ่งแวดล้อม  ทำอย่างไรให้ขยะมีคุณค่า  จะทำอย่างไรที่ชักจูงให้คนมาเข้าร่วม  จึงทำเรื่องขยะประกันชีวิต  เป็นสวัสดิการ  เราไม่ได้เอาเงินให้สมาชิก  สมาชิกต้องมีเงินสะสม 365 บาท

จุดเด่นของการจัดการขยะ  คือ  เป็นสมาชิกไม่มีการตรวจสุขภาพ  ผู้พิการก็สามารถเป็นได้   คนต่างด้าว  ผู้ป่วยก็เข้าได้   ไม่จำกัดอายุ  เพียงแต่ต้องคัดแยกขยะเอามาให้เรา

ปัจจุบันมีสมาชิก  285 ราย  มีเงินสะสม 126,000 บาท   เราไม่ได้ทำเรื่องการจัดการขยะอย่างเดียว  เราเอาวัสดุมาประดิษฐ์  รีไซเคิลกระถาง  ป้ายไวนิลทำผ้ากันเปื้อน  เอาขยะมารีไซเคิล 

“ขยะทุกชิ้นไม่ไร้ค่า   สร้างสวัสดิการ  คุณภาพชีวิตของคนปลายบาง”

สวัสดิการคนกำแพงเพชรใช้ ‘3 กลไกขับเคลื่อน’

นางสายพิณ คำฝอย ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร  เล่าว่า  ที่ผ่านมาเราสรุปบทเรียนและวางแผนการทำงานร่วมกัน  ในส่วนของการขยับสวัสดิการชุมชนปัจจุบัน  เราเกิดมาจากรอยยิ้มและน้ำตา   เราผ่านมาหมดแล้ว  สิ่งที่กำลังขับเคลื่อน

1.กลไกระดับจังหวัด  12 อรหันต์  กำแพงเพชรมี 23 คน  ต้องแม่นตรงนี้จะทำให้คนอื่นเข้าใจ  สร้างคนรุ่นใหม่ หลักคิดเจตนารมณ์ต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม  กลไกจังหวัดต้องต่อเชื่อมได้ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง

2.กลไกระดับอำเภอ  ต้องสร้าง  มีผู้รู้  ผู้ที่มีแนวคิด  หายาก  แต่ต้องหาตัวแทนมาเคลื่อน  สวัสดิการชุมชนล้มไม่ได้  เลิกไม่ได้เพราะเงินพี่น้อง  ในทีมกลไกอำเภอ  เราสร้างวิทยากรประจำอำเภอ  ประจำกองทุน  ทำอย่างไรจะสืบทอดรุ่นต่อรุ่นให้ได้  เจตนารมณ์ชัดเจนเหมือนเดิม  เดินหน้าต่อ

3.ระดับกองทุน  จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับงบจาก อปท. กำแพงเพชร 12 อรหันต์ต้องชัด  เขาเชื่อมั่นจึงจะได้งบ  ทำอย่างไรให้ อบจ.ภูมิใจ  เห็นเรา  เห็นแผนในการทำงานร่วมกันในอนาคร  อบจ. ให้การสนับสนุน 5 ปี  “เหลียวหลังแลหน้า  ทวนเดิมเติมใหม่”  คุยกันว่าจะเดินแนวนี้   

“เราถอดบทเรียนตั้งแต่กรรมการ  เข้าใจไม่เข้าใจ เปลี่ยนใหม่ ถ่ายโอนกันได้   ไม่ตกขบวน  สมาชิกรู้ไหม  เข้าใจไหม  ปีละร้อยคนทำไมขยายไม่ได้  ทุกกองทุนต้องถอดบทเรียนตัวเอง  ทำไมรายงานช้า  เพราะอะไร  ? “

เมื่อถอดไปถึงภาคี  ทำไมเดินขาเดียว  ทำไม อบต. ไม่ให้ ?   ใช้กลไก 12 อรหันต์จังหวัดไปขับเคลื่อน  ไม่เฉพาะเกิดแก่เจ็บตาย  แนวโน้มข้างหน้าที่ให้มากกว่าตัวเงินคืออะไร ?  จะหยิบยกมาเป็นกองกลาง  มีพื้นที่ในการขยับ  ป่าชุมชน เข้ามาแล้ว  สิทธิพิเศษกับสมาชิก  คนไม่เข้ามาช่วยกัน  หาเห็ด  หาหน่อ  

สวัสดิการการเกิด  มีต้นไม้  ทั้งยืนต้นระยะต่างๆ ให้ครอบครัวนั้น  กินอยู่  ใช้เป็นบำนาญให้กับตัวเอง  หากลูกโต  ตัดต้นไม้ส่งค่าเทอม  สวัสดิการชุมชน  ขยับมากกว่าเกิดแก่เจ็บตาย ใช้กลไกการพัฒนา  พัฒนาคน  กลไกทุกระดับ พัฒนาขบวน  และกระบวนการในการเคลื่อนงานต่อ 

17 กองทุนภาคเหนือ  พัฒนาคน  พัฒนาสังคม  พัฒนาเศรษฐกิจ  พัฒนาคุณภาพชีวิต  ทั้งที่มีเงินและไม่มีเงินเราจะไม่ให้พี่น้องตกขบวน”

“ปี 2568  ตั้งเป้าสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศ 10 ล้านคน”

มีคนถามว่าทำไมต้องมีสวัสดิการ   แก้ว สังข์ชู  ประธานอนุกรรมการสวัสดิการชุมชนระดับชาติ  เริ่มต้นเล่า

ย้อนไป 30 ปีที่ผ่านมา  ไม่ใช่ราชการเบิกไม่ได้  เกิดภัยพิบัติต้องรอคอย   สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจของครูชบ ยอดแก้ว  และพวกเราว่า  ทำอย่างไรให้มีสวัสดิการ  ?  เพราะไม่มีอะไรค้ำประกันชีวิตเลย  เจ็บป่วยจะไปโรงพยาบาลไม่มีรถ  ไม่มีค่าน้ำมัน   เราจะจัดการอย่างไร  ? 

ถ้าหลักคิดนี้ไม่ตกผลึกทำไม่ได้   พอช.รับหลักคิดจากอาจารย์ชบ  จากพวกผม  พอช.ให้เงินอาจารย์ชบ 1 ล้านบาท  เดินสายทั่วประเทศ  เผยแพร่แนวคิดนี้  ถ้าคนในชุมชนเอาเงิน   1 บาทมารวมไว้ที่ตำบล  ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น  ท่านอภิสิทธิ์ซื้อเลย  แต่ทาง พอช.ซื้อก่อน

 ไม่มีประเทศใดในโลกที่ชาวบ้านตัวเล็กตัวน้อย  เงิน 1 บาทลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง  เป็นนวัตกรรมสังคม  เงิน 1 บาทอยู่หลังตู้เย็น  ในบ้าน ไม่มีค่า  แต่ถ้าในตำบลมีคนเป็นพัน  เงินหนึ่งบาท  สร้างมูลค่าได้  เป็นสวัสดิการของชุมชน  เป็นสมบัติของคนในตำบล  

กองทุนสวัสดิการดูแลคนที่ไม่เป็นสมาชิกด้วย  คณะกรรมการที่ผมเป็นประธานอยู่ทำอย่างไรจะเพิ่มได้  ปลูกต้นไม้ก็เข้าได้  ให้กองทุน  5 ต้น  ดูแล 20 ปี  มีเงิน 3 แสน  เราไปคุยกับท้องถิ่นได้   ถ้าบ้านนี้จัดการขยะได้  โอนเงินมาให้กองทุน

ความดีของคน  เราลืมหมดคนดี  เราไม่ส่งเสริมคนดี  หมดที่ยืน  คนช่วยเหลือสังคม  ไม่ต้องลงทุน 1 บาท      เป็นสมาชิกได้  เป็นเรื่องที่สำคัญ  หลักการที่สำคัญ  กองทุนสวัสดิการไม่ใช่องค์กรการเงิน  เป็นองค์กรสังคม  ใช้เงินเป็นเครื่องมือ  ตั้งแต่เราไม่เกิด  ดูแลกัน  ใช้สวัสดิการ  ใช้เงินเป็นเครื่องมือ  เราไปดูแลเขา  เวลาเขาเข้าโรงพยาบาล  เราหลงระเริงว่าเรามีเงินเยอะ  แต่คนในสังคมได้ประโยชน์ไหม ?  

เราใช้หลัก  ขาดทุนคือกำไร  ถ้าคนในชุมชนนั้นมีคุณภาพที่ดี  เราไม่เอาเงินมาโอ้อวดกัน  ในเชิงนโยบายเราผลักดันอย่างเต็มที่  เราจะผลักดันทุกเรื่อง  เรื่อง พ.ร.บ. ลดหย่อนภาษี   เราพยายามจัดงานในเดือนธันวาคม  เชิญนักการเมืองมารับหลักการของเรา  เขาต้องรับใช้เรา  เราเดินมาพอสมควรแล้ว 

“คิดว่าปี  2568  กองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศต้องมีสมาชิกครบ 10 ล้านคน  ต้องมีแรงบันดาลใจซึ่งกันและกัน  เราจะกระจายอำนาจครั้งที่สอง  กำลังขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่  ตัวแทนตำบล  สภาองค์กรชุมชนตำบลจะขับเคลื่อนได้”  แก้ว  สังข์ชู  ตั้งเป้าหมาย

                                                            ************

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ