น้ำท่วมขัง ฝนตกชุกเป็นเวลานาน! เกษตรกรเตรียมรับมือผลกระทบจากโนรู

น้ำท่วมขัง ฝนตกชุกเป็นเวลานาน! เกษตรกรเตรียมรับมือผลกระทบจากโนรู

นับเนื่องจากเดือนสิงหาคม 2565 ประเทศไทยเผชิญกับพายุ 2 ลูกด้วยกัน คือ พายุดีเปรสชันมู่หลานที่เกิดขึ้นในจีนตอนใต้ เมียนมา และลาว ระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2565 และพายุดีเปรสชั่นหมาอ๊อน ที่เข้าประเทศลาวตอนบน เมื่อวันที่ 24-26 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยรับผลกระทบมาตลอด

สถานการณ์น้ำในประเทศไทยเข้าสู่การเฝ้าระวัง เนื่องจากทุกพื้นที่มีฝนตกชุกสะสมมาตลอดระยะเวลาหลายเดือน ทำให้มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่และยังคงรอการถูกระบาย น้ำในพื้นที่กักน้ำ หรือแม้แต่ในแม่น้ำเองก็มีปริมาณที่สูงมากจนเกิดขีดจำกัดทำให้ล้นตลิ่งในที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นการพัดเข้ามาของพายุโนรูยังคงซ้ำเติมความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนหน้าให้ทวีคูณความรุนแรงเข้าไปอีก

ข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์ล่าสุดวันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 11:00 น. ระบุว่า จังหวัดที่กำลังได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกลงมาในปริมาณมาก ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ กำแพงเพชร ตาก นครนายก นครสวรรค์ ลพบุรี สมุทรปราการ สุโขทัย และอุทัยธานี  

จากแผนภาพคาดการณ์พื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน ระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2565 ได้แก่ ระนอง และจันทบุรี ส่วนพื้นที่ที่จะเจอฝนตกหนัก ได้แก่ ลพบุรี จันทบุรี ตราด พัทลุง

สำหรับพื้นที่น้ำล้นตลิ่ง

  • ภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร พะเยา พิษณุโลก ลำปาง
  • ภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี
  • ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ อยุธยา เพชรบูรณ์ สมุทรปราการ สุพรรณบุรี อุทัยธานี
  • ภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี
  • ภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี สตูล

นอกจากผลกระทบต่อบ้านเรือน ถนนหนทางและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแล้ว ผลผลิตทางเกษตรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุกาณ์ครั้งนี้ได้รับความเสียหาย เช่น พื้นที่จังหวัดจันทบุรีเกือบทุกอำเภอของจังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่ของพืชเศรษฐกิจทุเรียน ซึ่งช่วงเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน ก็เป็นช่วงเฝ้าระวัง ป้องกัน และกำจัดโรครากเน่า โรคราใบติด อันเป็นเหตุมาจากฤดูฝนที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

แผนที่การเกษตรของพื้นที่จันทบุรี

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในรายการคุณเล่าเราขยาย : ชุมชนและการจัดการแม่น้ำ (29 กันยายน 2565) ว่า สิ่งจำเป็นในเรื่องนี้คือการจัดทำแผนที่แสดงความเสี่ยงของพื้นที่แล้งซ้ำซาก และพื้นที่ท่วมซ้ำซาก ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรองรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมทั้งข้อมูลที่ทันสมัย เนื่องจากเราไม่สามารถใช้ข้อมูลในอดีตมาใช้คาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้อีกต่อไป เพราะผลจากสภาพแวดล้อม สภาวะของโลกเปลี่ยนแปลงไป กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์มีการผลิตก๊าซเรือนกระจกมากกว่าในอดีต

กำหนดพื้นที่เสี่ยงให้ได้ ไม่ว่าเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย และให้ความช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข ไม่ใช่แค่พบความเสียหายแล้วให้เงินเยียวยาทันที แต่ให้ประเมินพื้นที่นั้นว่าถ้าหากเป็นความเสียหายซ้ำซาก อาจกำหนดเงื่อนไขการลองเปลี่ยนพืชผลการผลิตเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายซ้ำ รวมถึงการเยียวยาต้นทุนจากการเปลี่ยนผลผลิตในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย

ขีดจำกัดในความสามารถการปรับตัวของแต่ละคนและแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ความเหลื่อมล้ำทางสภาพอากาศจึงเกิดขึ้น ถาครัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือ

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช ทิ้งท้ายว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสียหายอยู่ที่ 17,000 ล้านบาท – 83 ,000 ล้านบาท เฉลี่ยต่อปี โดยรวมตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ความเสียหายอยู่ที่ 2.85 ล้านล้านบาท ถ้าหากในอนาคตไม่มีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศภาคการเกษตรจะได้รับความเสียหายต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

เกาะติดความเคลื่อนไหวน้ำท่วม “โนรู” จากรายงานข่าวสื่อพลเมืองทั่วประเทศ

ตามช่องทาง

  • ข่าววันใหม่ไทยพีบีเอส ช่วงพิเศษ C-Site Focus พิกัดข่าว ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 05:00-07:00 น.
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน C-Site สแกน QRCODE หรือ กดลิงก์ ติดตามน้ำท่วม
  • เพจ FB นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) หรือทาง LINE @csite

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ