ก้าวต่อไปของเมืองหาดใหญ่

ก้าวต่อไปของเมืองหาดใหญ่

                                                 

หาดใหญ่ถูกDisruption ด้วยปัจจัยหลายอย่าง คิดว่าเราต้องหาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูงใหม่ๆ เข้ามาเติมเต็ม เช่น Medical Wellness Tourism

ผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับเมืองหาดใหญ่ก็เกิดการตกผลึก หาดใหญ่อาจจะต้องขับเคลื่อนด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถสร้างความยั่งยินได้

เราอยากมีชีวิตยังไงแล้วก็ทำเมืองเป็นอย่างนั้น ทำให้คนในเมืองรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม เพราะเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เขามีลมหายใจอยู่ที่นี่

นี่เป็นเสียงสะท้อนของคนหาดใหญ่ ในรายการฟังเสียงประเทศไทย ที่มองจังหวะก้าวต่อไปของหาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของเมือง รวมไปถึงการหยิบยกต้นทุนทางวิถี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ที่มีความแข็งแรงอยู่แล้วต่อยอดให้เกิดค่าไปสู่การสร้างมูลค่า เพื่อตอบโจทย์คนหาดใหญ่

นอกจากนี้ทีมงานฟังเสียงประเทศไทยได้ลงพื้นที่ชวนคุยชาวบ้านเเละคนรุ่นใหม่สำรวจความคิด ความคาดหวังพร้อมกับตั้งคำถามกับเมืองหรือบ้านที่เขาอยู่ อย่างคุณวีระ ทองวโรทัย ประธานชุมชนซีกิมหยงมองว่า ทำยังไงให้คนในเมืองหาดใหญ่มีความสุข เพราะปัจจุบันค่าครองชีพ ที่ดินราคามันสูงมากเด็กรุ่นลูกเราจะมีสักกี่คนที่มีศักยภาพในการซื้อบ้านสักหลังในเมืองนี้ เพราะส่วนใหญ่เจ้าของที่ดินเดิมๆมีน้อยมากที่จะเปลี่ยนมือ แล้วคนรุ่นใหม่ก็ไม่มีศักยภาพพอที่จะตั้งหลักปักฐานซื้อบ้านอยู่ในเมืองนี้ ก็ส่งผลทำให้ความสุขในการทำงานการใช้ชีวิตลดลง

ซึ่งก็ไม่ได้มองต่างไปจาก คุวรพงศ์ ราตรี หนุ่มสถาปนิครุ่นใหม่ ที่เห็นอนาคตของหาดใหญ่ไม่ต่างจากกรุงเทพฯที่ต้องเจอกับสถานกาณณ์น้ำท่วม รถติด เเละเป็นเมืองที่ต้องควักเงินจำนวนมหาศาลเพื่อไปจ่ายค่าขนส่งมวลชน เเล้ว Generationรุ่นใหม่ๆที่เป็นความหวังของเมืองพยายามจะต่อสู้เรื่องค่าเช่า เพื่อจะสร้างอะไรใหม่ ๆ สุดท้ายเขาก็สู้ไม่ได้เพราะโครงสร้างพื้นฐานของเมืองยังไม่พร้อม จึงเป็นปัญหาหลักเเละเป็นเรื่องสำคัญมาก มองว่าสิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือ ผังเมืองกับกายภาพเมือง เราจะเป็นไมซ์ซิตตี้ จะเป็นเมืองอัจฉริยะเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เราจะต้องสร้างนิเวศน์ของเมืองให้สมาร์ทก่อนที่จะไปทำเรื่องอื่นๆ

คนรุ่นใหม่ไม่มาทำงานที่หาดใหญ่ก็เพราะว่าไม่มีงานให้ทำ เป็นคำพูดของ คุณอัครพล ทองพูล มองว่าการเข้าถึงโอกาสในการได้งานทำที่ดีได้ เมืองต้องดีก่อน วันนี้ผมมองว่าครั้งนี้เป็นแรกที่ทำให้ผมอยากจะกลับมาอยู่หาดใหญ่ ผมเห็นเมืองหาดใหญ่เริ่มกลับมามีชีวิตขึ้น เราอยากกลับมาช่วยทำให้เมืองนี้มันมันสนุกยิ่งมากขึ้น ตอนนี้มองว่าหาดใหญ่กำลังไปได้สวย เเละผมอยากให้แฮกเมืองนี้เยอะๆ (สร้างสรรค์คิดค้นไอเดียใหม่ๆ) ลงทุนให้น้อยแต่ทำให้อิมแพคเยอะๆ

นอกจากคำตอบที่ได้พูดคุยกับผู้คนในเมืองเเล้ว ก่อนหน้านี้เราชวนตั้งคำถาม Soundcheckในโลกออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊กแลต๊ะ สามารถเข้าไปร่วมตอบกันได้คะ

เมื่อเราตั้งคำถาม เมื่อพูดถึงหาดใหญ่นึกถึงอะไร ผู้คนคงมีภาพจำที่เเตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ประเพณี สัญลักษณ์ และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมไปถึงคำเด่นที่น่าสนใจ เช่น ตลาดกิมหยง รถไฟสายใต้ เเหล่งรวมความบันเทิง ความทันสมัย เมืองคนเก่ง คนรุ่นใหม่เจ๋งๆ ศูนย์กลางการเเพทย์ การศึกษา เเละอีกหลากหลายคำที่สะท้อนตัวตนของเมืองหาดใหญ่ ออกมาได้อย่างน่าสนใจ

เเน่นอนคะ ว่าเสียงส่วนใหญ่มีภาพจำร่วมกันว่าหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจการค้า การขนส่ง การสื่อสาร การคมนาคม และการท่องเที่ยวของจังหวัดและของภูมิภาคที่โดดเด่นที่สุดมาตั้งเเต่ในอดีต และเป็นสวรรค์ของการชอปปิ้งสินค้าราคาถูกที่มีให้เลือกซื้อ เพราะมีตลาดกิมหยงและตลาดสันติสุขที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้า ทั้งในและนอกประเทศ อีกทั้งอาหาร ที่มีต้นกำเนิดเเละวัฒนธรรมมาจากเชื้อชาติจีนส่วนใหญ่รวมถึงอิสลามในบางพื้นที่ ที่เป็นเสน่ห์มัดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติมายาวนาน เพราะห่างจากอำเภอเมืองสงขลา 26 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดาเพียง 60 กิโลเมตร เป็นประตูผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย  สิงคโปร์ ซึ่งมีบางช่วงที่ซบเซาไปบ้าง แต่ปัจจุบันหลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด19 เราเริ่มเห็นสีส้นของเมือง ทุนด้านๆต่างที่หาดใหญ่มีได้เด่นชัดมากขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวก็เริ่มกลับมา

การมาเยือนของรายการฟังเสียงประเทศไทย เราชวนตัวเเทนที่เป็นคีย์เเมนสำคัญๆเกี่ยวข้องกับก้าวต่อไปของหาดใหญ่ มาพูดคุยกันถึงฉากทัศน์ที่ถูกประมวลจากข้อมูลจากหลายแหล่งที่มา เพื่อมองภาพ 3 ฉากทัศน์ ที่อาจจะเกิดขึ้น ร่วมกันล้อมวงคุยที่ใจกลางเมืองหาดใหญ่ถึงก้าวต่อไปของเมืองหาดใหญ่

                                                              

หาดใหญ่ถูก Disruption ด้วยปัจจัยหลายอย่าง คิดว่าเราต้องหาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูงใหม่ๆเข้ามาเติมเต็ม เช่น Medical Wellness Tourism เป็นอีกโอกาสของเมืองหาดใหญ่ ที่คุณสมพล ชีววัฒนาพงศ์ เป็นคนหนุ่มนักธุรกิจหนุ่ม ที่พ่วงมาด้วยตำแหน่ง เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา  สะท้อนให้เห็นว่าฉากทัศน์ที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ ก็คือ”เมืองแห่งโอกาสการค้าและการลงทุน” แต่ต้องเป็นเมืองน่าอยู่ คนในพื้นที่อยู่แล้วมีความสุข

มองว่าหาดใหญ่โตมาด้วยเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมในการค้าขาย แต่ถูกDisruption ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งคิดว่าเราต้องหาอุตสาหกรรมใหม่ๆของการท่องเที่ยวที่เข้ามาเติมเต็ม เช่น หาดใหญ่จะเป็นไมซ์ซิตี้ เราอยากจะพัฒนา การท่องเที่ยวคุณภาพสูง และทำเมืองให้เป็นMedical Wellness Tourism

เนื่องจากเรามีต้นทุนด้านการแพทย์ บวกกับเทรนด์เรื่องของสุขภาพและแนวโน้มเรื่องของสังคมสูงอายุที่เพิ่มขึ้น หากเปรียบเทียบประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับเราอย่างประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนิเซีย การแพทย์ของเราถือว่าได้เปรียบ ทั้งเรื่องของคุณภาพและเรื่องของราคาที่ถูกว่า ที่สำคัยเรามีแพทย์เฉพาะทางในพื้นที่ค่อนข้างจะเด่นชัดและที่สำคัญเรามีความพร้อม

ถ้าผลักดันตรงนี้ได้มูลค่าทางเศรษฐกิจก็จะสูงขึ้น คิดว่า Medical Wellness Tourism จะเป็นความยั่งยืน และคิดว่าการพัฒนาเมืองแบบนี้จะมีทิศทางที่ไม่ต้องพึ่งพิงในหลายปัจจัยมากเกินไปแต่จะต้องเชื่อมโยงกับทุก ๆ หน่วยงานทั้งภาคส่วนของมหาลัย ภาคเอกชน และภาครัฐ

และในส่วนของพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเรามีท่าเรือที่มีศักยภาพสามารถจะรับท่องเที่ยวทางเรือได้ เราจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เที่ยวฝั่งอันดามันล่องเรือจากปีนังไปสิงคโปร์ ตรงนี้ก็จะมีนำเที่ยวจากทั่วโลกมาลงในพื้นที่หาดใหญ่ก็จะสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

คุณจุมพล ชื่นจิตต์ศิริ เรียกได้ว่าพื้นเพเป็นนักกฎหมาย อยู่ในสถาบันการศึกษาที่สงขลานครินทร์ ปัจจุบันเป็นรองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการของม.อ. หาดใหญ่ ทำงานวิจัย เรื่องอัตลักษณ์ชุมชน ซึ่งงานที่พึ่งจัดไปในหาดใหญ่ eat pray love @หาดใหญ่ เล่าว่า ในอดีตหาดใหญ่ขับเคลื่อนด้วยภาคเอกชน ส่วนของราชการเป็นคนประคอง มองว่าในอดีตเรายังขาดทิศทางในการเคลื่อนไปข้างหน้า ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับต้นทุนของหาดใหญ่ มาประมาณ3ปี

เกิดการตกผลึกในบางเรื่องว่าหาดใหญ่อาจจะต้องขับเคลื่อนด้วยทุนทางวัฒนธรรม จึงได้เกิดนครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรม

แต่วัฒนธรรมหาดใหญ่มีหลายเรื่อง เราเน้นทุนในเรื่องของวัฒนธรรมด้านความมงคล กินมงคล เที่ยวมงคล ไหว้มงคล เพราะคำว่ามงคลทุกคนชอบอยู่แล้ว เราจึงขยายคำว่า ”มงคล” ทำให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วม โดยการกำหนดพื้นที่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ที่เป็นใจกลางเมืองที่ศูนย์กลางการค้า เริ่มใน 4 ชุมชนเพื่อให้เกิดจุดประกาย รวมถึงกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมที่เรานำเสนอให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านที่เขาชอบ พอใจ เเละมีความสุขในสิ่งที่ทำ

มีคำถามหนึ่งที่ถามเรื่อย ๆในระหว่างที่ทำโปรเจคนี้ว่าชีวิตของชุมชนแต่ละพื้นที่ ยังมีความสุขในสิ่งที่ทำอยู่หรือไม่ เราได้คำตอบว่าบางคนความสุขมันหายไป บางคนความสุขแต่มันก็ลดน้อยลงไป เราก็พยายามเติมเต็มว่าความสุขที่มันหายไปคือเรื่องอะไร ก็โยงกลับมาถึงเรื่องของเศรษฐกิจ แต่ถ้าเราเพิ่มเศรษฐกิจในด้านมูลค่าอย่างเดียว ความยั่งยืนก็ไม่มี เราเลยต้องเลือกจากคำว่าคุณค่าไปหามูลค่า เราเคยทำเเบบสำรวจว่าหาดใหญ่ควรมีสัญลักษณ์อะไร ปรากฏว่าคนหาดใหญ่อยากจะได้น้องกิมหยงเป็นมาสคอตขึ้นมาสามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าได้ตามเทศกาลต่าง ๆ อนาคต ก็อยากจะทำพิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่เป็นดิจิตอลที่อยู่ในเมือง

เราต้องทำให้คนในเมืองเกิดความรู้สึกว่า เราอยากมีลมหายใจต่อไปในเมืองนี้ ต้องทำให้คนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของเมืองนี้ และมองว่าการเปิดพื้นที่เรียนรู้เปิดพื้นที่สนทนาจำเป็นมาก ๆสำหรับเมือง เป็นคำพูดของ คุณโตมร อภิวันทนาการ กลุ่มมานีมาน เรียกว่าเป็นคนทำงานภาคประชาสังคม พัฒนาเยาวชนเเละพัฒนาเมืองมายาวนานควบคู่กับเมืองหาดใหญ่ ทำงานร่วมกับเด็กเยาวชนเเละใช้งานละครเพื่อมาฝึกอบรมให้คนรุ่นใหม่ มองว่าการเปิดพื้นที่สนทนาสำคัญมากกับเมือง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของผมและคนอีกหลายคน ที่อยากจะทำบ้านเมืองที่เราอยู่ให้มันดีขึ้น เเละงานที่เราทำเรียกว่าการสร้างเมืองสำหรับทุกคน 

หลักๆจะเปิดพื้นที่เรียนรู้ไปพร้อมกับการเปิดพื้นที่สื่อสาร ทั้งออนกราวน์แล้วก็ออนไลน์เช่น กิจกรรมเดินเมือง เดินในเชิงสำรวจ สังเกต และลองเอ๊ะ ลองสืบค้นบางอย่างที่เจอในระหว่างเดินทาง ตามเส้นทางของเมืองที่ถูกออกแบบไว้ ผู้คนเกิดจะเกิดการเรียนรู้และเข้าถึงสิ่งที่เป็นคุณค่าหลัก คุณค่าที่สำคัญซึ่งเป็นสินทรัพย์ของเมือง เป็นต้นทุนของทางวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจหรือศักยภาพของผู้คนที่มีอยู่ แต่กระบวนการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้มันขาดหายไปในเมือง

การเปิดพื้นที่ของการสนทนาของคนเมืองด้วยกัน มองจุดเเข็งเเละสิ่งที่เมืองเป็น ทำความเข้าใจในแง่มุมที่มันต่างไปจากการรับรู้เดิม หรือว่ามองไปถึงอนาคตของเมือง ในปีที่ผ่านมาช่วงก่อนการเลือกตั้งทีมบริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้มีพื้นที่ให้สำหรับเด็กเยาวชนออกมาพูดผ่านสื่อออนไลน์ แล้วก็ตั้งคำถามกับผู้สมัครนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ต่อประเด็นต่างๆให้แสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาชนในสังคมได้เห็นและได้ตัดสินผู้บริหารของเมือง ตัวอย่างนี้ ถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่เพิ่มอำนาจของเยาวชน รวมไปถึงงานมีบทบาทในการผลักดัน และสนับสนุนเสริมพลังเยาวชนกลุ่มน้องๆ “ริทัศน์”  มองเมืองใหม่ด้วยสายตาใหม่ พัฒนาเมืองผ่านประเด็นที่เขาสนใจ

การอยู่ร่วมกันในเมืองนี้ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในมุมมองวิถีชีวิตของคนที่แตกต่างกันทางชนชั้น ทางเศรษฐกิจ การศึกษา รายได้ เช่นคนพิการเสียงเขาก็สำคัญมาก ๆ เพราะชีวิตเขาไม่ได้อยู่แค่ในบ้าน เขาก็ไม่อยากนั่งอยู่บริเวณหน้าบ้านแล้วมองมอเตอร์ไซค์ผ่านไปผ่านมา และเฝ้ารอว่าชีวิตในบั้นปลายของเขามันจะดีกว่านี้ได้ยังไง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ

มองว่าแต่ละรุ่นแต่ละGenมีความปรารถนาดีที่อยากจะเห็นเมืองไปข้างหน้า จำเป็นมากที่ต้องเปิดการมีส่วนร่วมที่เน้นที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในแง่ของพลเมือง สามารถนำไปสู่การสร้างข้อเสนอ หรือว่าการตัดสินใจระดับเมืองได้ สิ่งเหล่านี้จะมาจากเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ มาจากเสียงของผู้คนที่อยู่ในเมืองนี้จริง

.

เช่นเดียวกับ คุณณรงค์ศักดิ์ กาเส็มส๊ะ เยาวชนริทัศน์เมืองหาดใหญ่ มองว่าสิ่งที่เราพยายามทำคือ inclusive city หรือว่าเมืองที่นับรวมทุกคนที่อยู่ในเมืองไม่ทิ้งใครไว้  โครงการที่เราขับเคลื่อนอยู่ก็มีมิตของ ชุมชน พื้นที่สาธารณะ สิ่งแวดล้อม และพื้นที่สาธารณะ เราทำงานกับเยาวชนที่อยู่ในเมืองหาดใหญ่ผ่านการทำสารคดี

เยาวชนในหาดใหญ่แทบไม่มีพื้นที่ในการแสดงออก หรือแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นเด็กมัธยม เด็กมหาลัย ผมเลยพยายามที่จะสร้างพื้นที่ให้เขาได้มาแสดงกัน ได้มาโชว์ของโดยผ่านตัวการทำสารคดีที่จะสื่อมุมมองของหาดใหญ่ หลักๆ เราอยากรู้ว่าน้องหาดใหญ่อยากพัฒนาเมืองไปในทิศทางไหน ซึ่งเขาแสดงออกมาว่าจริง ๆ เมืองที่เขาอยากได้ มีทั้งเรื่องพื้นที่สาธารณะที่หมาะสำหรับคนทุกช่วงวัย ที่สามารถใช้ได้ร่วมกัน

จริง ๆ ในเมืองมันไม่ใช่มีแค่ตึก แต่เมืองมันคือผู้คนดังนั้น เวลาเราพูดถึงเมืองเราจะพูดถึงเศรษฐกิจ การเติบโตของเมือง แต่สิ่งที่ยังเพิกเฉยเรื่องคุณภาพชีวิตของคนในเมือง

ซึ่งคุณภาพชีวิตของคนในเมืองสำคัญมาก ต่อให้เมืองพัฒนาไปถึงจุดไหนก็ตาม แต่ถ้าคุณภาพชีวิตของคนมันยังไม่พัฒนาเรายังอยู่กับสิ่งเดิม ติดกับกับดักเดิม ๆ

เป็นสิ่งที่เราต้องตั้งคำถามว่าจะทำยังไงต่อกับสิ่งเหล่านั้น? เราพยายามผลักดันเรื่องนี้อยู่ เข้าใจดีว่าการพัฒนาเมืองมันไม่ได้เริ่มต้นที่ยุคของเรา แต่มันเริ่มตั้งแต่นานแล้ว สิ่งที่เรากำลังทำคือทำยังไงให้มันจุดประกายไปถึงน้อง ๆ รุ่นต่อไป ไม่งั้นเมืองหาดใหญ่ก็จะตกอยู่ในสภาวะที่ คนเก่งๆในหาดใหญ่ออกไปทำงานที่อื่นๆ เพราะเขามองไม่เห็นโอกาส มองไม่เห็นอนาคตที่จะอยู่กับเมืองนี้ สุดท้ายก็จะทิ้งไว้แค่เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองในอดีต แต่ไม่สามารถต่อยอดไปถึงอนาคตได้

คุณโตมรเล่าเสริมว่า การพัฒนาที่ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ว่าเราต้องมองเห็นถึงผู้คน ตั้งแต่ในมิติเรื่องของเชื้อชาติ จีน มลายู อินเดีย ที่อยู่กับหาดใหญ่มาตั้งแต่อดีต รวมไปถึงคนแรงงานที่เป็นส่วนสำคัญ เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา หรือชาติพันธุ์อื่น มองว่าเป็นศักยภาพที่สำคัญของเมือง ทำให้คนในเมืองรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม เพราะเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เขามีลมหายใจอยู่ที่นี่ การพัฒนาใดๆที่เกิดขึ้นก็ตาม ต้องมาจากการมีส่วนร่วม เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนกันจะนำไปสู่ solution ใหม่ๆของเมืองได้  เช่นใครคือคนหาดใหญ่ ?หาดใหญ่คือใคร? ก็อาจจะไม่ใช่ 1.5เเสนคน คนตามทะเบียนราษฎร์ เท่านั้น แต่ต้องหมายรวมไปถึงคนอีก 2เเสนกว่าคนที่อยู่ในเมือง ที่ต้องสร้างนิยามใหม่ของคนเมืองร่วมกัน  ผมว่าภาพนี้ชัดที่สุดเป็นภาพเมืองสำหรับทุกคน

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเราชวนอ่านข้อมูลนี้หากถ้าพูดถึง “หาดใหญ่” จ.สงขลา หลายคนอาจจะนึกถึงภาพของ ข้าวเหนียวไก่ทอด ชุมทางรถไฟไทยสายใต้ และตลาดการค้ากิมหยง- สันติสุข ผลไม้นำเข้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากประเทศมาเลเซีย

ปีพ.ศ. 2452  จุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองหาดใหญ่มาจากขยายเส้นทางรถไฟจากโซนพื้นที่ไข่แดงเป็นย่านการค้าขาย เริ่มจากถนนนิพัทธอุทิศ 1 ขยายเมืองไปยังฝั่งตะวันออก

ปัจจุบันเทศบาลนครหาดใหญ่  มีพื้นที่ 21 ตารางกิโลเมตร   มีคนอาศัยอยู่ราวๆ  140,000 คน  นับว่ามีประชากรหนาแน่น ติดอยู่ใน 4  อันดับของเทศบาลนครทั่วประเทศ  แต่ละปีมีคนเดินทางเข้ามาอยู่หาดใหญ่ มาทำงานและเรียน ไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 คน ก่อนโควิดมีนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 1.5 ล้านคน และกว่า 80% เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย และสิงคโปร์  

จากจุดเด่นในการเป็นเมืองด้านการค้าและลงทุนพบว่า ศูนย์การค้าขนาดใหญ่มากกว่า 10  กว่าแห่งจ.สงขลา มีธุรกิจโรงแรมที่มีมาตรฐานกว่า 30,000 ห้องพัก  ติด 1 ใน 3 ของภาคใต้

หาดใหญ่ยังเป็น  ศูนย์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้  ที่มี โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง  รวมถึงเป็นเมืองที่มีสถานศึกษา, มหาวิทยาลัยและโรงเรียนสอนกวดวิชา จำนวนมากซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จากเมืองตั้งต้นการค้ามาจากคนไทยเชื้อสายจีน  ทำให้หาดใหญ่ มีสมาคมการค้า 16 แห่ง รวมถึงมีวัดจีนและศาลเจ้า 12 แห่งและสมาคมไทย-จีน อีก 6 แห่ง  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเมือง และเกิดกลุ่มภาคประชาสังคม ที่เปิดพื้นที่เรียนรู้จุดประกายประเด็นสำคัญของเมืองหาดใหญ่

นโยบายการค้าและท่องเที่ยว ทำให้ภาพรวมเมืองหาดใหญ่กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภาคใต้และขยายตัวอย่างรวดเร็ว เชื่อมต่อไปยังประเทศมาเลเซีย

แต่ช่วงเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา “หาดใหญ่”  ก็เจอกับความท้าทายสำคัญๆ

  • ช่วงพ.ศ. 2555   เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และในพื้นที่จังหวัดสงขลา กระทบย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองหาดใหญ่ ทำให้การท่องเที่ยวเริ่มสะดุด  ต้องใช้เวลาในการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา
  • ช่วงพ.ศ. 2559  นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้ เทคโนโลยีที่ เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของหาดใหญ่ เกิดช่องทางการค้าขายและธุรกิจออนไลน์  กระทบกับการค้าขายและลงทุนศูนย์กลางกิมหยง-สันติสุข นักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่เข้ามาก็ค่อยๆลดลง
  • พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน  การล็อคดาวน์เมือง ปิดด่านพรมแดน  และปิดสนามบินในหลายประเทศในช่วงโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและกระทบย่านเศรษฐกิจของหาดใหญ่  การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงกว่าร้อยละ 18   แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เกิดปรากฎการณ์คนรุ่นใหม่กลับบ้านจำนวนมาก การพัฒนาเมืองเริ่มเด่นชัดมากขึ้น และเกิดเยาวชนที่สนใจเรื่องเมือง เช่นกลุ่มริทัศน์หาดใหญ่ สภาเด็กเยาวชน

และเมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย  เมืองเริ่มกลับมาคึกคักครั้ง จากยอดการจองห้องพักในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยอดผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30

แต่หาดใหญ่จะกลับมีวันคืนที่บูมแบบเดิมหรือไม่ ?

  • เมื่อกายภาพของเมืองที่หนาแน่น ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองหาดใหญ่ที่มีความหลากหลายคือโจทย์ใหญ่
  • และท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลก หาดใหญ่จะมีโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ จากการมีต้นทุนชุมชนและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์มาสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าหรือเกิดอัตราจ้างงานได้หรือไม่ 
  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้เกิดขึ้นอาชีพใหม่ๆ  เป็นแรงจูงใจแรงงานรุ่นใหม่
  • ผู้คนเริ่มกลับมามอง และคิดเรื่อง BCG Economy   โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  ให้ความสำคัญกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้คน

ชวนดูข้อมูลข้อเท็จจริง

หลังจากเราอ่านข้อมูลนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น  คุณคิดอย่างไร ทีมงานมีการสังเคราะห์ ภาพความน่าจะเป็นหรือฉากทัศน์ เพื่อจำลองว่าแบบไหนที่ อยากจะเห็นหรืออยากจะให้เป็น ซึ่งคุณผู้ชมสามารถร่วมเเสดงความคิดเห็น ด้วยการเลือกจากภาพตั้งต้น 3 ภาพ

หาดใหญ่ : เมืองแห่งโอกาสการค้าและลงทุนที่ทันสมัย

  • มองจุดเด่นของหาดใหญ่เป็นเมืองการค้า มีธุรกิจโรงแรม  ศูนย์ประชุมนานาชาติ และศูนย์กลางทางการแพทย์ของภาคใต้ ขยายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรองรับนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพจากทั่วโลกได้
  • ฉากทัศน์นี้ จะเป็นโอกาสของตลาดแรงงานใหม่ๆ และกระจายรายได้ไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจะเดินทางเข้ามาหาดใหญ่จำนวนมาก โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอและไม่สามารถขยายเพิ่มได้ อาจจะกระทบคุณภาพชีวิตของคนหาดใหญ่ที่อยู่เดิมอาทิ การจราจรและมลพิษ การจัดการขยะ  ซึ่งหน่วยงานรัฐ จำเป็นต้องวางแผนระบบขนส่งมวลชน โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อกัน และทุกคนสามารถเดินทางได้สะดวก รวมถึงทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ  อย่างบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเติบโตของเมือง

หาดใหญ่ : เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม

  • ฉากทัศน์นี้จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีมาพัฒนาต่อยอดจากต้นทุนทางวัฒนธรรมให้เมืองหาดใหญ่ทันสมัยและมีชีวิตชีวา
  • พัฒนากระจายการเติบโตและการมีส่วนร่วมและเปิดพื้นที่สำหรับสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ชุมชน นำต้นทุนวัฒนธรรมสินค้ามาสร้างคุณค่าและประสบการณ์ใหม่ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ เดินทางเข้ามาสู่หาดใหญ่ และอาชีพใหม่ๆ   
  • แต่ฉากทัศน์นี้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หน่วยงานในท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้ประกอบการหน้าใหม่ ชุมชน ออกแบบทิศทางและสนับสนุนอย่างเข้มข้น และสถาบันการศึกษา ต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุนความรู้ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง

หาดใหญ่ :เมืองสำหรับทุกคน

  • ฉากทัศน์จุดเน้นในเรื่องสร้างคุณภาพชีวิตที่ตอบโจทย์สำหรับคนทุกกลุ่ม เช่น การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน การจัดการขยะ ฯลฯ
  • สร้างกลไกการมีส่วนร่วมดึงคนทุกกลุ่ม ทุกวัย และเป็นเมืองที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการระดมไอเดีย สำรวจความต้องการของคนในท้องที่
  • แต่ฉากทัศน์นี้ ต้องใช้เวลาในกระบวนการบ่มเพาะคน รวมถึงการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายและงบประมาณที่ครอบคลุมกับความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอย่างเข้มข้น

คุณผู้อ่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและเลือกภาพอนาคตนี้ได้ ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ