เครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมติดตามสถานการณ์ธุรกิจสิทธิมนุษยชน ยื่นข้อเสนอ “ร่างแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ฉบับ 2 ” ต่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ด้านโฆษกกรมคุ้มครองสิทธิฯ เผยขยายเปิดรับฟังความเห็นถึง 19 ต.ค. นี้ พร้อมยืนยันไม่ทิ้งการมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่ 19 ก.ย. 2565 เครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมติดตามสถานการณ์ธุรกิจสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย นำโดย ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน เข้ายื่นข้อเสนอ “ร่างแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2” ต่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ โดยมีตัวแทนรับหนังสือ คือ ธีรยุทธ แก้วสิงห์ โฆษกกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และ นรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) แผนที่ 2 (บังคับใช้ปี 2566 – 2570) อยู่ระหว่างการจัดทำแผนและเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน โดยมีกระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ แทนแผน NAP 1 ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2562 – 2565
ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า ข้อเสนอแนะที่นำมายื่นในวันนี้ รวบรวมจากการประชุมเพื่อระดมความเห็นของชุมชนและภาคประชาสังคมเกี่ยวกับ “ร่างแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2” เมื่อวันที่ 18-19 ส.ค. 2565 จัดโดย เครือข่ายติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรหมแดน, มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน, คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ซึ่งเนื้อหาข้อเสนอแนะแบ่งตาม 4 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ 1) แรงงาน 2) ชุมชน ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ 4) การลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ
“เรามองว่า แผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจากการประกาศใช้แผนฉบับที่ 1 ถือว่ายังไม่มีกระบวนการการที่มีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ยังไม่ตอบโจทย์ของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ยังขาดความชัดเจนในบางประเด็น และยังไม่เห็นพัฒนาการของแผนมากนัก ทำให้คาดหวังว่าแผนฉบับต่อไปจะมีลักษณะเป็นแนวปฏิบัติการมากขึ้น วันนี้จึงตั้งใจมายื่นหนังสือเป็นข้อเสนอแนะถึงการร่างแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2 ต่อกรมคุ้มครองฯ เพื่อคาดหวังให้ทางกรมฯ นำข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปใช้ในการปรับปรุงแผนฉบับที่ 2 ต่อไป ” ส.รัตนมณี ระบุ
ด้าน ธีรยุทธ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ และโฆษกกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ระบุว่า แผน NAP ฉบับที่ 1 จะสิ้นสุดการประกาศใช้เดือนตุลาคมนี้ ส่วนแผน NAP ฉบับที่ 2 ตอนนี้อยู่ในระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกรมคุ้มครองสิทธิฯ โดยจะขยายเวลารับฟังถึงวันที่ 19 ต.ค. 2565 จากเดิมปิดรับฟังความคิดเห็นภายใน 19 ก.ย. 2565 เพื่อให้ NAP แผนท่ี 2 มีความรัดกุมและสมบูรณ์มากที่สุด
“สำหรับข้อเสนอที่เครือข่ายภาคสังคมมายื่นวันนี้ ทางทีมงานของกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะนำข้อมูลส่วนนี้ไปประมวลประกอบกับหลักการชี้แนะของทาง UN ที่ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และอีกหลาย ๆ ส่วน เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาอย่างละเอียด และจัดทำร่าง NAP แผนที่ 2 เสนอต่อ ครม. ในลำดับต่อไป พร้อมยืนยันว่า เราไม่ได้ทิ้งประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชน และเราอยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง” นายธีรยุทธ กล่าว
สำหรับข้อท้าทาย NAP แผนที่ 2 ธีรยุทธ ระบุว่า ยอมรับยังมีข้อกังวลใน 4 ด้านหลัก ๆ ที่เครือข่ายภาคประชาชนเสนอมา ถือเป็นเรื่องที่กรมฯ ต้องถอดบทเรียนจาก NAP แผนที่ 1 ว่าการดำเนินการที่ผ่านมายังมีข้อน่ากังวลอะไรบ้าง แล้วนำมาประมวลผลเพื่อยกระดับทั้ง 4 ประเด็น และยกระดับเรื่องการค้าขายของประเทศด้วย
ด้าน สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ระบุว่า เรื่องแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศ เพราะหากปฏิรูปเรื่องนี้ในประเทศไทยได้จริง ย่อมมีโอกาสที่จะสร้างมาตรฐานในการทำธุรกิจที่โลกยอมรับได้ด้วย
“การที่ชุมชนต้องต่อสู้กับภาคธุรกิจ ยิ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มันยากลำบากและมีความเสี่ยงพอสมควร ดังนั้น สิ่งที่อยากเห็น คือ มาตรการอะไรบ้างที่จะออกมากำกับ ควบคุมการละเมิดสิทธิชุมชนจากการทำธุรกิจ” สมบูรณ์ กล่าว
ประธานกป.อพช. กล่าวทิ้งท้ายว่า หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ ควรออกแบบมาตรการให้ชัดเจน
มีประสิทธิภาพ ไม่ปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต้องยอมรับว่าภาคธุรกิจอาจยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิชุมชนต้องให้ความรู้ความเข้าใจกันไป
000
อ้างอิง หมุด C-Site https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000026850
—————————————————————————————————————————————————-
ข้อเสนอแนะของชุมชนและภาคประชาสังคม
ต่อ
ร่าง “แผนปฏิบัติการระดับชาติ ว่าด้วย ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2”
โดย เครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมติดตามสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
(Community and Civil Society Coalition for Business and Human Rights Watch Network: CCBHR)
ข้อเสนอแนะดังที่จะระบุด้านล่างนี้ รวบรวมมาจากการเสวนาในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2565 และ การจัดเวทีเสวนา “แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แผนที่ 2: ความท้าทายข้างหน้า” ในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ซึ่งมีตัวแทนชุมชน ภาคประชาสังคม และผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมกว่า 75 คน เพื่อพูดคุยถึงร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2 การประชุมและเสวนาดังกล่าว จัดโดย มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre Foundation) ร่วมกับ เครือข่ายติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน Extraterritorial Obligation Watch Coalition (ETOs Watch) สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA) คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สหภาพยุโรป (EU) และนักข่าวพลเมือง
นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะนี้ยังมีการรวบรวมความคิดเห็นจากชุมชน ภาคประชาสังคม และผู้ได้รับผลกระทบ ในช่วงระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2565 จนถึงวันที่ 18 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาด้วย ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะในเอกสารนี้ถูกรวบรวม โดย มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน และ เครือข่ายติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน Extraterritorial Obligation Watch Coalition (ETOs Watch)
ภาพรวม
ข้อเสนอแนะต่อภาพรวมของแผนปฏิบัติการฯ ทั้งแผนฉบับที่ 1 และแผนฉบับที่ 2
- ก่อนที่จะพิจารณาผ่านร่างและหรือในขณะที่มีการจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับที่ 2 ควรจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนฯที่กำหนด โดยมีประชาชน ชุมชน ภาคประชาสังคม และผู้ได้รับผลกระทบ ได้มีส่วนร่วมในการประเมิน เนื่องจากการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 ไม่มีกระบวนการจัดทำดังกล่าวแต่อย่างใด
- ควรมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการยกร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ต่อการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ อย่างกว้างขวาง ครอบคลุม รอบด้าน และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการให้ความเห็นต่อการจัดทำ
- เพิ่มการกำหนดตัวชี้วัดในการปฏิบัติตามแผนฯ ในเชิงคุณภาพ เนื่องจากตัวชี้วัดส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นตัวชี้วัดในเชิงปริมาณ ตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ เช่น การตรวจสอบความมีประสิทธิภาพของกลไกร้องทุกข์ต่างๆ ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา การวัดและสำรวจความตระหนักรู้ถึงสิทธิต่าง ๆ ของทุกภาคส่วน การวัดประสิทธิภาพในการนำกิจกรรมไปปฏิบัติ เป็นต้น
- กำหนดลักษณะตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีการดำเนินการคุ้มครองสิทธิและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม แทนที่จะเป็นการกำหนดตัวชี้วัดในลักษณะการจัดการประชุมเพื่อพิจารณาท่าที
- กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับกรม เพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติตามแผนฯ
- สนับสนุนให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตัวแทนภาคธุรกิจ ตัวแทนภาคประชาสังคม และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงความคืบหน้า มุมมองการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ฯ อุปสรรคที่ประสบ และหนทางการแก้ไข เพื่อให้แผนปฏิบัติการถูกนำไปปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
- มีการให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจถึงหลักการสิทธิมนุษยชน ความคาดหวังของภาคประชาสังคมและผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงหลักการ UNGPs กฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการนำกิจกรรมต่างๆ ไปปฏิบัติ
- ส่งเสริมความเข้าใจแก่ภาคธุรกิจในวงกว้างและกำหนดตัวชี้วัดให้แก่ภาคธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ UNGPs และแผนปฏิบัติการฯ
- ภายใต้ UNGPs ภาคธุรกิจต้องเคารพหลักการสิทธิมนุษยชน โดยหมายความถึงกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลักทั้งหลาย การที่มีหลายกิจกรรมกล่าวถึงการปรับใช้กิจกรรมตาม “บริบทไทย” เป็นคำที่ตีความได้กว้างและหลากหลาย อาจเปิดช่องไปสู่การบิดเบือนกิจกรรมไปจากกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
- ควรมีการกำหนดประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขใน 1 ปี และประเด็นระยะยาว 5 ปี ตามความสำคัญตามลำดับ
- แม้แผนปฏิบัติการฯ จะไม่ใช่กฎหมาย แต่ต้องเน้นย้ำให้หน่วยงานปฏิบัติตามแผนเนื่องจากเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
- กิจกรรมในแผนปฏิบัติการ ฯ ฉบับที่ 1 แม้จะมีการรายงานว่า นำไปปฏิบัติโดยแล้วเสร็จ ก็ต้องมีการดำเนินการต่อและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ทบทวนว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากหลักการ UNGPs และกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ส่วนในกิจกรรมที่ยังไม่ได้ริเริ่ม จะต้องมีการปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงอย่างชัดเจน
แรงงาน
ในประเด็นด้านแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นแรกที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ มีข้อเสนอ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ควรมีการดำเนินการเพื่อสะท้อนปัญหาและกำหนดกิจกรรมรวมถึงตัวชี้วัด เพื่อคุ้มครองสิทธิของแต่ละกลุ่มแรงงานเปราะบางให้ชัดเจน เนื่องจากแต่ละกลุ่มแรงงานเผชิญปัญหาที่ต่างกัน เช่น แรงงานที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือคนไทยพลัดถิ่นที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ที่กำหนดได้เว้นแต่ได้รับอนุญาต ทำให้สิทธิในการที่จะเข้าถึงและทำงานในพื้นที่อื่น ๆ ถูกละเมิด หรือในกรณีชาวเลย์ที่ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่หาอาหารเพื่อการดำรงชีพและเพื่อการประมงดั้งเดิมของตนได้เนื่องจากการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเล โดยผู้เข้าร่วมการเสวนาเสนอว่าควรมีการพูดคุยและกำหนดข้อผ่อนปรนในการเข้าถึงและออกจากพื้นที่ที่กำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงแหล่งอาหารและการทำงานของบุคคลดังกล่าว
- ควรเพิ่มตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ เช่น การสอบถามและตรวจสอบความเข้าใจและความตระหนักรู้ของภาคธุรกิจเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ หรือของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนและหน่วยงานด้านสาธารณสุข เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาและสุขภาพของแรงงานและผู้ติดตามแรงงาน หรือการวัดความครอบคลุมของผู้ให้บริการ เช่น children learning center ที่มีมากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น หรือการวัดประสิทธิภาพของกลไกการเยียวยา โดยเปิดเผยและประเมินระยะเวลาในการได้รับการเยียวยาของแรงงานว่าเหมาะสมหรือไม่ มีความล่าช้าหรือไม่
- ควรเพิ่มกิจกรรมของภาครัฐให้พิจารณาแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อสะท้อนหลักการ Employer pay principle ที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมของภาคธุรกิจที่จำต้องได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐ
- ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทพิจารณาและรับรองสถานะของผู้ติดตามแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ใช่แค่ในมุมการส่งเสริมด้านการศึกษา เพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการคุ้มครองด้านอื่นๆด้วย เช่น การคุ้มครองจากการถูกจับกุมและดำเนินคดี การให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพแก่ผู้ติดตามแรงงาน โดยระบุไว้ใน MOU หรือนำกรอบการคุ้มครองที่ใช้กับแรงงานประมงมาปรับใช้กับแรงงานภาคอื่น ๆ เช่นแรงงานภาคก่อสร้างด้วย
- ควรเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562 โดยให้เพิ่มหมวดคุ้มครองการใช้แรงงานคนพิการ เช่นเดียวกับหมวดการใช้แรงงานหญิงและการใช้แรงงานเด็ก
- ควรกำหนดตัวชี้วัด เพื่อให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจากผลการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐของปี 2564 ยังต้องจ้างอีกกว่า 14,223 คน เพื่อให้เป็นไปตามอัตราส่วนที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554 โดยสามารถจ้างคนพิการให้ไปทำงานในศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดหรือศูนย์บริการคนพิการทั่วไปแทนการไปทำงานในหน่วยงานของตนก็ได้
- ควรกำหนดเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) และกิจการเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization: CSO) โดยเฉพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมของคนพิการ และเร่งดำเนินการตามมติที่ประชุมสมัชชาวิสาหกิจเพื่อสังคม เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2565 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม การกำหนดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนหรือทรัพยากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนสิทธิประโยชน์ และการสร้างเครือข่ายให้เป็นรูปธรรม
- ควรกำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม กำหนดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนหรือทรัพยากรที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม และกำหนดมาตรการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั้งในส่วนของการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการและผู้ทํางานในวิสาหกิจเพื่อสังคม ตลอดทั้ง กำหนดมาตรการในการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม
- ควรส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคมและกลุ่มพันธมิตรให้เป็นรูปธรรม ไปจนถึงรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม
- ขอให้รัฐบาลปฏิบัติตามข้อเสนอจาก “งานวิจัยการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในประเทศไทย (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand)” ทั้ง 22 ข้อ ที่จัดทำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.)
ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่สองที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ มีข้อเสนอ 20 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ควรเน้นย้ำและอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อมิให้เกิดความคลาดเคลื่อนเมื่อนำกิจกรรมไปปฏิบัติ และหลีกเลี่ยงการจัดรับฟังความคิดเห็นแบบเป็นแบบแผนที่ขาดการมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสากล ต้องทำให้ประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ได้เข้าร่วมอย่างแท้จริง ไม่มีอุปสรรคด้านภาษา
- ควรมีการออกแนวปฏิบัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในกิจกรรมที่ให้สัมปทานและหรืออนุญาตให้ประกอบกิจการต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบและก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องกำหนดขั้นตอน วิธีการ ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
- ควรมีการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาหลักการที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันได้เป็นที่ตั้ง ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวถูกประกันไว้ในหลายมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยเฉพาะในมาตรา 58 และในกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศมากมาย แต่ในกฎหมายหลายฉบับยังคงขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจำต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน
- ควรกำหนดมาตรการหรือกฎหมายในการอนุญาตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะ ที่จะต้องให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับผลกระทบ และอาจไม่จำกัดอยู่เฉพาะประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นการใช้พื้นที่สาธารณะ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และต้องมีการออกเป็นกฎหมาย ไม่ใช่เป็นเพียงระเบียบระดับกรมเท่านั้น เพื่อให้มีผลบังคับใช้ที่ชัดเจน
- ควรออกกฎหมายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ที่มีลักษณะผูกพันต่อการตัดสินใจอนุมัติอนุญาตต่อโครงการ ไม่ใช่เป็นเพียงองค์ประกอบในการพิจารณาการอนุมัติอนุญาตโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ โดยใช้ลักษณะของการให้ความยินยอม จึงจะได้รับการอนุมัติ
- ควรมีกฎหมายกำหนดให้ภาคประชาสังคมสามารถฟ้องร้องเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะได้ และกำหนดชัดเจนให้ประชาชนและภาคประชาสังคมฟ้องเพื่อคุ้มครองและหรือป้องกันประโยชน์สาธารณะ ตลอดทั้งการขอให้มีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากหากปล่อยให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการเอง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ไม่ว่าจะมีผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม
- ควรจะต้องปฏิรูปกฎหมายและมาตรฐานการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยเฉพาะในส่วน การจัดตั้งให้มีหน่วยงานกลางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ไม่ใช่ถูกจ้างจากเจ้าของโครงการ การกำหนดให้การจัดทำ EIA กำหนดมีการเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ EIA อย่างชัดแจ้ง เช่น ผ่านการเสนอชุดข้อมูลของตนเอง มีมาตรการหรือแนวทางเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถจัดทำการศึกษา EIA คู่ขนาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบและพิจารณาตามหลักวิชาการ การจัดให้มีแนวทางหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และกระบวนการปรึกษาหารือการจัดทำ EIA หรือ EHIA อย่างชัดเจน การกำหนดให้ที่ปรึกษาที่เป็นผู้จัดทำรายงาน EIA จะต้องให้คำปรึกษาที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วน การกำหนดให้รายงานต้องศึกษาประเด็นสำคัญที่สะท้อนถึงการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพิจารณาศึกษาผลกระทบจะต้องคำนึงถึงกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเปราะบาง ควรกำหนดว่า หาก EIA เมื่อศึกษาแล้วพบว่า มีปัญหาหรือมีผลกระทบ ก็ควรจะมีการเสนอไม่เห็นชอบต่อ EIA และไม่ควรดำเนินการในพื้นที่ได้รับผลกระทบ มีการกระจายอำนาจการพิจารณา EIA ไปยังท้องถิ่นและในระดับจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ในจังหวัดตน
- ควรออกกฎหมายหรือกฎที่กำหนดเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA โดยควรมีการระบุคณะทำงานที่หลากหลายมาร่วมทำ ไม่ใช่เพียงการให้บริษัทไปจ้างที่ปรึกษามาดำเนินการศึกษา เช่น คณะทำงานประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่น NGO นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น และมีมาตรการเช่นเดียวกับ EIA ที่เสนอไว้ในข้อ 6 ข้างต้น
- ควรกำหนดให้มีระเบียบหรือกฎหมายที่กำหนดว่า ในกรณีมีข้อพิพาท ถ้ามิใช่กระบวนการยุติธรรม ต้องมีการดำเนินกลไกการตรวจสอบและการไกล่เกลี่ยโดยหน่วยงานที่เป็นกลางอย่างแท้จริง โดยให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมามีส่วนร่วมมากขึ้น ควรจะต้องตั้งกรรมการจาก 3 ฝ่าย โดยให้ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการนั้น และอาจจะมีบุคลากรจากกระบวนการยุติธรรม อาจจะเป็นศาล หรืออัยการ ร่วมด้วย มิใช่การจัดสรรคณะกรรมการตามตำแหน่ง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่อาจมีส่วนได้เสียกับกรณีที่ถูกนำไปพิจารณา
- ควรเพิ่มบทบาทของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม เช่น ศาล พนักงานอัยการ ฯลฯ ที่สามารถรวบรวมบทเรียนโดยประมวลมาจากคดีที่ดำเนินการมาแล้ว และนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายในเรื่องดังกล่าว
- ควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ และการปฏิรูปกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สิทธิอื่น ๆ และการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
- ควรมีกฎหมายกำหนดให้โครงการที่มีผลกกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการ จัดตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูเยียวยาไว้ก่อนออกใบอนุญาต เพื่อให้มีการเยียวยาได้ เนื่องจากมีบทเรียนจากกรณีบริษัทล้มละลาย หรือบริษัทหนีหาย นอกจากนี้ ควรมีการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ในทุกกิจกรรมที่มีผลกระทบ เพื่อให้เกิดกระบวนการชดเชยเยียวยาและป้องกันผลกระทบอย่างแท้จริง ตลอดทั้งการออกกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถฟ้องให้มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูได้ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายกำหนดไว้แต่ยังไม่ชัดเจนเพียงพอทำให้มีการตีความว่า ไม่มีกฎหมาย นอกจากนี้ ควรกำหนดให้การเยียวยาผลกระทบจากการทำโครงการต่างๆ จะต้องมีเป้าหมายเพื่อชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปอย่างเต็มที่โดยไม่ชักช้า ในกรณีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องมีเป้าหมายเพื่อให้สภาพแวดล้อมกลับไปสู่สภาวะเดิมก่อนที่จะมีการปนเปื้อนโดยเร็ว
- ควรมีกฎหมายหรือระเบียบที่กำหนดศักยภาพของผู้ประกอบการที่จะดำเนินโครงการใดๆ ในลักษณะที่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จะต้องมีทุนจดทะเบียนมากกว่ามูลค่าหรือเกือบเทียบเท่ากับทรัพยากรที่จะได้รับการสัมปทาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อมีผลกระทบและจะต้องชดเชยเยียวยา
- ควรออกมาตรการให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิ จากการออกนโยบายต่างๆของรัฐไม่ว่าจะเป็นการจัดทำมาตรการ Set Zero หรือ คาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องระหว่างทรัพยากรธรรมชาติ และบรรษัทข้ามชาติ
- ควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายแร่ และยกเลิกแผนแม่บทแร่ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากแผนเดิมตามกฎหมายใหม่ ยังเป็นไปตามกฎหมายเก่า ประกาศแหล่งหินเก่า และคำขอประทานบัตรเก่ามากำหนดเป็นแหล่งแร่ตามแผนแม่บท โดยที่ปัจจุบันสภาพพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะต้องมีการสำรวจอย่างแท้จริงเพื่อกำหนดแหล่งแร่ใหม่ นอกจากนี้ กรณีการทำเหมืองแร่จะต้องสะท้อนพื้นที่ให้ถูกต้องตามสภาพปัจจุบันและมีการตรวจสอบให้เหมาะสม
- ควรมีการทบทวนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรม โดยไม่มีการผูกขาดหรือการเลือกปฏิบัติและการเอื้อประโยชน์แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะเท่านั้น เช่น การเอื้อประโยชน์ผ่านกระบวนการออกใบอนุญาตในการเข้าถึงทรัพยากรจำเพาะแก่ภาคธุรกิจ ในขณะที่ชุมชนในพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะดังกล่าวตามประเพณีและวัฒนธรรมเดิมของตนเพื่อการดำรงชีพและการประกอบอาชีพตนได้
- ควรมีการกระจายอำนาจไปในระดับจังหวัด สำหรับการพิจารณาอนุมัติอนุญาตให้สัมปทานในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับพื้นที่ และปัญหา รวมทั้งต้องไม่มีอำนาจจากส่วนกลางมาบังคับ เพื่อให้การจัดการทรัพยากรเป็นไปอย่างสอดคล้องกับแต่ละพื้นที่
- ควรกำหนดให้มีการทำ HRDD ที่สอดคล้องกับหลักการชี้แนะ UNGP ในเรื่องฐานทรัพยากรธรรมชาติกับชุมชน โดยประกันการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนโดยรอบ นักวิชาการ ฯลฯ อย่างชัดแจ้งในกระบวนการทำ HRDD มิใช่แค่การกำหนดให้บริษัทไปจ้างที่ปรึกษามาจัดทำ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันในแต่ละจังหวัดโดยชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคตที่เกิดจากการออกทะเบียนการครอบครองที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทับซ้อนกัน
- ต้องมีการทำ National based line study มีการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายปัจจุบันที่ไม่พอ อย่างไร เช่น การทำเหมืองแร่ได้รับประโยชน์จากสินแร่ แต่ประชาชนได้รับผลกระทบ ต้องมีกฎหมายควบคุมหรือกำกับ ต้องให้หน่วยงานจัดสรรงบประมาณมาเพื่อนำมาใช้จัดทำข้อมูลอย่างจริงจัง เพื่อให้ทราบว่ามีผลกระทบอย่างจริงจังอย่างไร ควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ และการปฏิรูปกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สิทธิอื่น ๆ และการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเด็นด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นที่สามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ มีข้อเสนอ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ควรมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งต่อสาธารณะ หน่วยงานรัฐ และภาคธุรกิจ ในทุกระดับชั้น เพื่อให้เกิดการยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของประชาชนหรือองค์กรต่างๆในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำใดๆที่จะก่อให้เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
- ควรมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงอันตรายจากการ SLAPP แก่ทุกภาคส่วน และต้องทำโดยเร็วและเข้มแข็ง โดยเฉพาะหากผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจ ก็จะส่งผลต่อการบังคับใช้มาตรการป้องกันต่างๆ กิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมการเสวนาเสนอ ได้แก่ การกำหนดเพิ่มเติมโดยละเอียดในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 การอบรมผู้พิพากษา พนักงานอัยการ และตำรวจ ทั้งก่อนที่จะออกไปทำงานจริงและกลุ่มที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ รวมถึงในสถานศึกษา เพื่อให้ทราบถึงกลไกการป้องกันการ SLAPP และสนับสนุนให้นำไปปฏิบัติตาม
- ควรมีการแก้ไขกฎหมายที่จะถูกนำไปใช้ในการปิดปากประชาชนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องประโยชน์สาธารณะ อันเป็นภารกิจสำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการฟ้องคดีปิดปากที่ควรแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ กฎหมายที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท ที่ถือเป็นเหตุใช้ฟ้องมากที่สุด มีความจำเป็นต้องยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท และเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล ต้องมีความเข้าใจคดีที่มีลักษณะเป็นการใช้คดีเพื่อปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น
- ควรยกตัวกิจกรรมที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการให้ชัดเจน เช่น การออกหนังสือสั่งการแนวปฏิบัติข้อบังคับประธานศาลฎีกา เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 161/1 และ 165/2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการนำผลการศึกษาวิจัยนำไปขยายเพื่ออบรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ควรจะมีการออกกฎหมายที่ป้องกันการฟ้องคดีโดยพนักงานอัยการกรณีที่เป็นลักษณะของการฟ้องคดี SLAPP อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันเอกชนมีการเลี่ยงที่จะฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่ใช้กระบวนการยุติธรรมด้วยการแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนในการฟ้องคดี SLAPP เพื่อเลี่ยงการบังคับตามกฎหมาย 2 มาตราข้างต้น
- ควรมีการกำหนดความหมาย ในการกำหนดมาตรการป้องกันการฟ้องคดี SLAPP ที่ชัดเจน เพื่อทำให้การทำตัวชี้วัดสามารถดำเนินการได้จริง โดยต้องกำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาจากการปรับใช้ ม.161/1 ม.165/2 อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการบังคับใช้มาตรานี้ยังไม่มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ เพราะไม่มีการใช้มาตราเหล่านี้ในกระบวนการพิจารณาคดีเลย อีกทั้ง ให้อำนาจที่กว้างเกินไปแก่ผู้พิพากษาในการปัดตกคดีในกระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้พิพากษาหลายท่านเลือกที่จะไม่ใช้อำนาจดังกล่าวเพราะเกรงว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิของคู่ความ ดังนั้น ควรจะมีการเสนอกฎหมายต่อต้านการ SLAPP ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายเฉพาะ หรือการแก้ไข ม.161/1 และ 165/2 ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ศาลและคู่ความสามารถหยิบยกมาใช้ได้ในทุกคดี ทั้งแพ่งและอาญา ไม่ว่าใครจะเป็นโจทก์ เพื่อประกันว่าการใช้สิทธิโดยสุจริตจะได้รับการคุ้มครองอย่างทันท่วงที และคดีดังกล่าวจะออกจากระบบการดำเนินคดีโดยเร็ว ตลอดทั้งให้ครอบคลุมถึงกรณีคดีที่มีการนำคดีขึ้นแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานอัยการส่งฟ้องคดีด้วย
- ควรออกมาตรการที่ชัดเจน เกี่ยวกับการนำกระบวนไกล่เกลี่ยมาบังคับใช้ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการทำหน้าที่ในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองหรือให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ มีข้อห่วงกังวลว่าจะทำให้ระบบคัดครองคดีที่มีลักษณะเป็นการฟ้องคดีปิดปาก ตามประมวลวิธีพิจารณาความคดีอาญา มาตรา 161/1 และ มาตรา 165/2 ไม่ถูกนำมาปรับใช้ อีกทั้ง การใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้วเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ หัวใจสำคัญ คือ การที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่ควรจะถูกฟ้องแต่ต้น การนำแผนปฏิบัติการ ฯ ไปปฏิบัติควรเน้นย้ำหลักการดังกล่าวอยู่เสมอ
- ควรมีการกำหนดมาตรการสนับสนุนให้มีการพิจารณาการเยียวยาผู้เสียหายด้านจิตใจอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ผ่านกระบวนการศาล แต่ยังรวมไปถึงการกำหนดมาตรการฟื้นฟูด้านจิตใจผ่านกระบวนการอื่น ๆ
- ควรมีการแก้ไขเงื่อนไขในการเข้าถึงกองทุนยุติธรรมให้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการออกระเบียบในการตั้งกรรมการพิจารณากองทุนให้มีความเป็นกลางมากขึ้น และมีเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง แทนที่การปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือชุมชนที่มีข้อพิพาทกับรัฐโดยสรุปว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าจะยังไม่มีคำพิพากษา
- ควรให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ทบทวนการมี คณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้อีกครั้ง เพื่อทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆในกรณีที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้ง เสนอให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มย่อยเพื่อดูแลนักปกป้องสิทธิโดยเฉพาะ และให้มีการปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยรวมถึงในขณะพิจารณาว่ากิจกรรมหรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง ๆ เป็นนักปกป้องสิทธิหรือไม่ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น
การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติในประเด็นด้านการลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่สี่ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ มีข้อเสนอ 15 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ขอให้รัฐลงนามเป็นสมาชิก OECD เพื่อจะได้ดำเนินการปฏิบัติตามแนวทาง OECD โดยการจัดตั้งองค์กรเพื่อรับเรื่องร้องเรียนและตรวจสอบการละเมิดสิทธิที่มีการลงทุนไทยในต่างแดน เพื่อคุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ควรกำหนดให้ชัดเจนและทำให้มีสภาพบังคับ สำหรับการทำ Human Rights Due Diligence เนื่องจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ยังไม่เห็นว่า มีเนื้อหา หรือความคืบหน้าอย่างไร และใครจะเป็นผู้จัดทำ อีกทั้ง การจัดทำรายงานต่างๆ ควรมีความโปร่งใส และเป็นอิสระมากขึ้น
- ควรกำหนดให้มีการปรับปรุงข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนฉบับมาตรฐาน (BIT Model) โดยจะต้องเน้นสิทธิของรัฐในการกำกับดูแลในเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสิทธิมนุษยชน ต่อโครงการต่างๆ
- ควรกำหนดให้การจัดจ้างหน่วยงานที่ทำ EIA / EHIA / HRDD เป็นหน่วยงานที่เป็นกลางและอิสระ พ้นจากการครอบงำของรัฐและธุรกิจโดยเฉพาะเจ้าของโครงการที่จะต้องจัดทำ
- ควรออกมาตรการเชิงบังคับให้ธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องให้ความสำคัญ เคารพหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
- ควรออกมาตรการหรือกฎหมายที่กำหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการลงทุนในต่างประเทศ และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
- ควรมีการกำหนดมาตรการหรือกฎหมายให้มีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแลตรวจสอบ การจัดทำแบบ ๕๖-๑ หรือ One-Report ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนมีการจัดทำ แบบ ๕๖-๑ หรือ One-Report ซึ่งจะมีการรายงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ในการลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย โดยมีการกำหนดให้เป็นสภาพบังคับแล้วตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา ซึ่งคิดว่า One-Report หรือ Human Rights Due Diligence โดยตรวจสอบว่า ที่บริษัททำรายงานต่างๆเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แม้กระทั่งด้านสิ่งแวดล้อม มีความโปร่งใส จริงตามที่เขียนหรือไม่ โดยควรมีหน่วยงานที่เป็นองค์กรอิสระ หรือ Third party เข้ามาจัดทำ หรือ ตรวจสอบติดตามในส่วนนี้ด้วย เพื่อความเป็นอิสระและปลอดพ้นจากการครอบงำ
- ควรมีมาตรการหรือกฎหมายที่กำหนดให้ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ บริษัทผู้ลงทุน และภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการใดที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ต้องจัดตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและเยียวยา” ก่อนที่จะดำเนินโครงการ โดยควรระบุให้ชัดเจนว่า เป็นจำนวนเท่าไหร่ที่บริษัท เพื่อเป็นการรับประกันการลงทุนและความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ในระหว่างการริเริ่มการลงทุนหรือดำเนินโครงการ โดยกองทุนนั้นต้องมีสัดส่วนเหมาะสมและสมเหตุสมผล
- ควรกำหนดให้สถาบันการเงินหรือธนาคาร ตลอดทั้งบริษัทเอกชน มีกลไกรับข้อร้องเรียนในปัญหาต่างๆ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ไม่เป็นภาระแก่ผู้ถูกกระทำละเมิดในการเข้าถึงการเยียวยา
- ควรกำหนดให้มีการจัดทำ Trans-boundary SEA and Human Rights Due Diligence เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินการลงทุนและการตัดสินใจอย่างรอบด้าน
- ควรกำหนดให้มีมาตรการที่เป็นการเชิญชุมชนผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Meaningful Participation) ในการดำเนินการจัดทำ EEC โดยไม่ควรเป็นลักษณะการหารือผลกระทบกับประชาชนโดยไม่รอบด้าน
- ควรมีการกำหนดมาตรการหรือออกกฎหมายว่าด้วยการชดเชยเยียวยา เวลาที่บริษัทไทยไปลงทุนในต่างประเทศ หรือต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย บริษัทที่เป็นเจ้าของเงินในกรณีที่รัฐบาลไทยมีกองทุน หรือเงินกู้ยืมให้ลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่ ประเทศไทยควรใช้มาตรฐานสากล หรือใช้กฎหมายของประเทศบริษัทต้นทางที่ให้สินเชื่อหรือเป็นผู้ลงทุน และควรมีมาตรการกำหนดให้ได้รับการชดเชยเยียวยาที่ได้มาตรฐาน และพึงพอใจกับทุกฝ่าย ควรใช้มาตรฐานสากลในการชดเชยเยียวยาที่เหมาะสม
- ควรกำหนดให้รัฐพิจารณาให้มี นโยบาย “No Go Zone” ระงับการให้ความช่วยเหลือด้านการลงทุนขนาดใหญ่ และไม่ให้ผู้ประกอบการสัญชาติไทยหรือรัฐวิสาหกิจไทยเข้าไปลงทุนเมื่อประเทศหรือพื้นที่ที่รับการลงทุนเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงต่อมนุษยชาติ ตัวอย่างเช่นในกรณีของเมียนมาหลังการรัฐประหาร และในกรณีบริษัทที่ลงทุนไปแล้ว ต้องมีการกำหนดการประเมินผลกระทบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีข้อกำหนดของบริษัทในการพิจารณาการชะลอการทำธุรกิจ ส่วนกรณีบริษัทที่จะลงทุนใหม่จะต้องมีการพิจารณาให้ชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจไทยเข้าไปพัวพันหรือหนุนเสริมให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงดังกล่าวเพิ่มเติม
- ควรออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งปละพาณิชย์ ให้สอบรับการการก่อให้เกิดความรับผิดชอบของเอกชนไทยทั้งจะโดยประชาชนไทยหรือบริษัทในประเทศไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการไปตั้งเป็นบริษัทใหม่ในต่างประเทศหรือบริษัทสาขา เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับการเข้าถึงการเยียวยาอย่างแท้จริง และกำหนดให้นำเอามาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่มีในกฎหมายไทยนำไปใช้ในประเทศที่มีการลงทุน เพื่อไม่ให้เกิดวาทะกรรมการลงทุนข้ามพรมแดนแต่ความรับผิดชอบไม่ข้ามพรมแดน
- ขอให้รัฐไทยสนับสนุนการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการของการลงทุนข้ามชาติ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การภาคธุรกิจ ที่สหประชาชาติกำลังดำเนินการจัดทำร่าง ด้วยการส่งเสริมภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจให้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำปฏิญญาสากลดังกล่าว
ภาพรวม
ข้อเสนอแนะต่อภาพรวมของแผนปฏิบัติการฯ ทั้งแผนฉบับที่ 1 และแผนฉบับที่ 2
- ก่อนที่จะพิจารณาผ่านร่างและหรือในขณะที่มีการจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับที่ 2 ควรจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนฯที่กำหนด โดยมีประชาชน ชุมชน ภาคประชาสังคม และผู้ได้รับผลกระทบ ได้มีส่วนร่วมในการประเมิน เนื่องจากการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 ไม่มีกระบวนการจัดทำดังกล่าวแต่อย่างใด
- ควรมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการยกร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ต่อการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ อย่างกว้างขวาง ครอบคลุม รอบด้าน และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการให้ความเห็นต่อการจัดทำ
- เพิ่มการกำหนดตัวชี้วัดในการปฏิบัติตามแผนฯ ในเชิงคุณภาพ เนื่องจากตัวชี้วัดส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นตัวชี้วัดในเชิงปริมาณ ตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ เช่น การตรวจสอบความมีประสิทธิภาพของกลไกร้องทุกข์ต่างๆ ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา การวัดและสำรวจความตระหนักรู้ถึงสิทธิต่าง ๆ ของทุกภาคส่วน การวัดประสิทธิภาพในการนำกิจกรรมไปปฏิบัติ เป็นต้น
- กำหนดลักษณะตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีการดำเนินการคุ้มครองสิทธิและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม แทนที่จะเป็นการกำหนดตัวชี้วัดในลักษณะการจัดการประชุมเพื่อพิจารณาท่าที
- กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับกรม เพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติตามแผนฯ
- สนับสนุนให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตัวแทนภาคธุรกิจ ตัวแทนภาคประชาสังคม และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงความคืบหน้า มุมมองการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ฯ อุปสรรคที่ประสบ และหนทางการแก้ไข เพื่อให้แผนปฏิบัติการถูกนำไปปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
- มีการให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจถึงหลักการสิทธิมนุษยชน ความคาดหวังของภาคประชาสังคมและผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงหลักการ UNGPs กฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการนำกิจกรรมต่างๆ ไปปฏิบัติ
- ส่งเสริมความเข้าใจแก่ภาคธุรกิจในวงกว้างและกำหนดตัวชี้วัดให้แก่ภาคธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ UNGPs และแผนปฏิบัติการฯ
- ภายใต้ UNGPs ภาคธุรกิจต้องเคารพหลักการสิทธิมนุษยชน โดยหมายความถึงกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลักทั้งหลาย การที่มีหลายกิจกรรมกล่าวถึงการปรับใช้กิจกรรมตาม “บริบทไทย” เป็นคำที่ตีความได้กว้างและหลากหลาย อาจเปิดช่องไปสู่การบิดเบือนกิจกรรมไปจากกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
- ควรมีการกำหนดประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขใน 1 ปี และประเด็นระยะยาว 5 ปี ตามความสำคัญตามลำดับ
- แม้แผนปฏิบัติการฯ จะไม่ใช่กฎหมาย แต่ต้องเน้นย้ำให้หน่วยงานปฏิบัติตามแผนเนื่องจากเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
- กิจกรรมในแผนปฏิบัติการ ฯ ฉบับที่ 1 แม้จะมีการรายงานว่า นำไปปฏิบัติโดยแล้วเสร็จ ก็ต้องมีการดำเนินการต่อและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ทบทวนว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากหลักการ UNGPs และกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ส่วนในกิจกรรมที่ยังไม่ได้ริเริ่ม จะต้องมีการปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงอย่างชัดเจน
แรงงานในประเด็นด้านแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นแรกที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ มีข้อเสนอ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ควรมีการดำเนินการเพื่อสะท้อนปัญหาและกำหนดกิจกรรมรวมถึงตัวชี้วัด เพื่อคุ้มครองสิทธิของแต่ละกลุ่มแรงงานเปราะบางให้ชัดเจน เนื่องจากแต่ละกลุ่มแรงงานเผชิญปัญหาที่ต่างกัน เช่น แรงงานที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือคนไทยพลัดถิ่นที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ที่กำหนดได้เว้นแต่ได้รับอนุญาต ทำให้สิทธิในการที่จะเข้าถึงและทำงานในพื้นที่อื่น ๆ ถูกละเมิด หรือในกรณีชาวเลย์ที่ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่หาอาหารเพื่อการดำรงชีพและเพื่อการประมงดั้งเดิมของตนได้เนื่องจากการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเล โดยผู้เข้าร่วมการเสวนาเสนอว่าควรมีการพูดคุยและกำหนดข้อผ่อนปรนในการเข้าถึงและออกจากพื้นที่ที่กำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงแหล่งอาหารและการทำงานของบุคคลดังกล่าว
- ควรเพิ่มตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ เช่น การสอบถามและตรวจสอบความเข้าใจและความตระหนักรู้ของภาคธุรกิจเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ หรือของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนและหน่วยงานด้านสาธารณสุข เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาและสุขภาพของแรงงานและผู้ติดตามแรงงาน หรือการวัดความครอบคลุมของผู้ให้บริการ เช่น children learning center ที่มีมากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น หรือการวัดประสิทธิภาพของกลไกการเยียวยา โดยเปิดเผยและประเมินระยะเวลาในการได้รับการเยียวยาของแรงงานว่าเหมาะสมหรือไม่ มีความล่าช้าหรือไม่
- ควรเพิ่มกิจกรรมของภาครัฐให้พิจารณาแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อสะท้อนหลักการ Employer pay principle ที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมของภาคธุรกิจที่จำต้องได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐ
- ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทพิจารณาและรับรองสถานะของผู้ติดตามแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ใช่แค่ในมุมการส่งเสริมด้านการศึกษา เพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการคุ้มครองด้านอื่นๆด้วย เช่น การคุ้มครองจากการถูกจับกุมและดำเนินคดี การให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพแก่ผู้ติดตามแรงงาน โดยระบุไว้ใน MOU หรือนำกรอบการคุ้มครองที่ใช้กับแรงงานประมงมาปรับใช้กับแรงงานภาคอื่น ๆ เช่นแรงงานภาคก่อสร้างด้วย
- ควรเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562 โดยให้เพิ่มหมวดคุ้มครองการใช้แรงงานคนพิการ เช่นเดียวกับหมวดการใช้แรงงานหญิงและการใช้แรงงานเด็ก
- ควรกำหนดตัวชี้วัด เพื่อให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจากผลการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐของปี 2564 ยังต้องจ้างอีกกว่า 14,223 คน เพื่อให้เป็นไปตามอัตราส่วนที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554 โดยสามารถจ้างคนพิการให้ไปทำงานในศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดหรือศูนย์บริการคนพิการทั่วไปแทนการไปทำงานในหน่วยงานของตนก็ได้
- ควรกำหนดเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) และกิจการเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization: CSO) โดยเฉพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมของคนพิการ และเร่งดำเนินการตามมติที่ประชุมสมัชชาวิสาหกิจเพื่อสังคม เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2565 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม การกำหนดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนหรือทรัพยากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนสิทธิประโยชน์ และการสร้างเครือข่ายให้เป็นรูปธรรม
- ควรกำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม กำหนดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนหรือทรัพยากรที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม และกำหนดมาตรการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั้งในส่วนของการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการและผู้ทํางานในวิสาหกิจเพื่อสังคม ตลอดทั้ง กำหนดมาตรการในการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม
- ควรส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคมและกลุ่มพันธมิตรให้เป็นรูปธรรม ไปจนถึงรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม
- ขอให้รัฐบาลปฏิบัติตามข้อเสนอจาก “งานวิจัยการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในประเทศไทย (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand)” ทั้ง 22 ข้อ ที่จัดทำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.)
ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอ 20 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ควรเน้นย้ำและอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อมิให้เกิดความคลาดเคลื่อนเมื่อนำกิจกรรมไปปฏิบัติ และหลีกเลี่ยงการจัดรับฟังความคิดเห็นแบบเป็นแบบแผนที่ขาดการมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสากล ต้องทำให้ประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ได้เข้าร่วมอย่างแท้จริง ไม่มีอุปสรรคด้านภาษา
- ควรมีการออกแนวปฏิบัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในกิจกรรมที่ให้สัมปทานและหรืออนุญาตให้ประกอบกิจการต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบและก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องกำหนดขั้นตอน วิธีการ ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
- ควรมีการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาหลักการที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันได้เป็นที่ตั้ง ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวถูกประกันไว้ในหลายมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยเฉพาะในมาตรา 58 และในกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศมากมาย แต่ในกฎหมายหลายฉบับยังคงขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจำต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน
- ควรกำหนดมาตรการหรือกฎหมายในการอนุญาตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะ ที่จะต้องให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับผลกระทบ และอาจไม่จำกัดอยู่เฉพาะประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นการใช้พื้นที่สาธารณะ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และต้องมีการออกเป็นกฎหมาย ไม่ใช่เป็นเพียงระเบียบระดับกรมเท่านั้น เพื่อให้มีผลบังคับใช้ที่ชัดเจน
- ควรออกกฎหมายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ที่มีลักษณะผูกพันต่อการตัดสินใจอนุมัติอนุญาตต่อโครงการ ไม่ใช่เป็นเพียงองค์ประกอบในการพิจารณาการอนุมัติอนุญาตโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ โดยใช้ลักษณะของการให้ความยินยอม จึงจะได้รับการอนุมัติ
- ควรมีกฎหมายกำหนดให้ภาคประชาสังคมสามารถฟ้องร้องเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะได้ และกำหนดชัดเจนให้ประชาชนและภาคประชาสังคมฟ้องเพื่อคุ้มครองและหรือป้องกันประโยชน์สาธารณะ ตลอดทั้งการขอให้มีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากหากปล่อยให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการเอง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ไม่ว่าจะมีผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม
- ควรจะต้องปฏิรูปกฎหมายและมาตรฐานการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยเฉพาะในส่วน การจัดตั้งให้มีหน่วยงานกลางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ไม่ใช่ถูกจ้างจากเจ้าของโครงการ การกำหนดให้การจัดทำ EIA กำหนดมีการเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ EIA อย่างชัดแจ้ง เช่น ผ่านการเสนอชุดข้อมูลของตนเอง มีมาตรการหรือแนวทางเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถจัดทำการศึกษา EIA คู่ขนาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบและพิจารณาตามหลักวิชาการ การจัดให้มีแนวทางหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และกระบวนการปรึกษาหารือการจัดทำ EIA หรือ EHIA อย่างชัดเจน การกำหนดให้ที่ปรึกษาที่เป็นผู้จัดทำรายงาน EIA จะต้องให้คำปรึกษาที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วน การกำหนดให้รายงานต้องศึกษาประเด็นสำคัญที่สะท้อนถึงการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพิจารณาศึกษาผลกระทบจะต้องคำนึงถึงกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเปราะบาง ควรกำหนดว่า หาก EIA เมื่อศึกษาแล้วพบว่า มีปัญหาหรือมีผลกระทบ ก็ควรจะมีการเสนอไม่เห็นชอบต่อ EIA และไม่ควรดำเนินการในพื้นที่ได้รับผลกระทบ มีการกระจายอำนาจการพิจารณา EIA ไปยังท้องถิ่นและในระดับจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ในจังหวัดตน
- ควรออกกฎหมายหรือกฎที่กำหนดเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA โดยควรมีการระบุคณะทำงานที่หลากหลายมาร่วมทำ ไม่ใช่เพียงการให้บริษัทไปจ้างที่ปรึกษามาดำเนินการศึกษา เช่น คณะทำงานประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่น NGO นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น และมีมาตรการเช่นเดียวกับ EIA ที่เสนอไว้ในข้อ 6 ข้างต้น
- ควรกำหนดให้มีระเบียบหรือกฎหมายที่กำหนดว่า ในกรณีมีข้อพิพาท ถ้ามิใช่กระบวนการยุติธรรม ต้องมีการดำเนินกลไกการตรวจสอบและการไกล่เกลี่ยโดยหน่วยงานที่เป็นกลางอย่างแท้จริง โดยให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมามีส่วนร่วมมากขึ้น ควรจะต้องตั้งกรรมการจาก 3 ฝ่าย โดยให้ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการนั้น และอาจจะมีบุคลากรจากกระบวนการยุติธรรม อาจจะเป็นศาล หรืออัยการ ร่วมด้วย มิใช่การจัดสรรคณะกรรมการตามตำแหน่ง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่อาจมีส่วนได้เสียกับกรณีที่ถูกนำไปพิจารณา
- ควรเพิ่มบทบาทของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม เช่น ศาล พนักงานอัยการ ฯลฯ ที่สามารถรวบรวมบทเรียนโดยประมวลมาจากคดีที่ดำเนินการมาแล้ว และนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายในเรื่องดังกล่าว
- ควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ และการปฏิรูปกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สิทธิอื่น ๆ และการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
- ควรมีกฎหมายกำหนดให้โครงการที่มีผลกกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการ จัดตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูเยียวยาไว้ก่อนออกใบอนุญาต เพื่อให้มีการเยียวยาได้ เนื่องจากมีบทเรียนจากกรณีบริษัทล้มละลาย หรือบริษัทหนีหาย นอกจากนี้ ควรมีการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ในทุกกิจกรรมที่มีผลกระทบ เพื่อให้เกิดกระบวนการชดเชยเยียวยาและป้องกันผลกระทบอย่างแท้จริง ตลอดทั้งการออกกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถฟ้องให้มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูได้ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายกำหนดไว้แต่ยังไม่ชัดเจนเพียงพอทำให้มีการตีความว่า ไม่มีกฎหมาย นอกจากนี้ ควรกำหนดให้การเยียวยาผลกระทบจากการทำโครงการต่างๆ จะต้องมีเป้าหมายเพื่อชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปอย่างเต็มที่โดยไม่ชักช้า ในกรณีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องมีเป้าหมายเพื่อให้สภาพแวดล้อมกลับไปสู่สภาวะเดิมก่อนที่จะมีการปนเปื้อนโดยเร็ว
- ควรมีกฎหมายหรือระเบียบที่กำหนดศักยภาพของผู้ประกอบการที่จะดำเนินโครงการใดๆ ในลักษณะที่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จะต้องมีทุนจดทะเบียนมากกว่ามูลค่าหรือเกือบเทียบเท่ากับทรัพยากรที่จะได้รับการสัมปทาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อมีผลกระทบและจะต้องชดเชยเยียวยา
- ควรออกมาตรการให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิ จากการออกนโยบายต่างๆของรัฐไม่ว่าจะเป็นการจัดทำมาตรการ Set Zero หรือ คาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องระหว่างทรัพยากรธรรมชาติ และบรรษัทข้ามชาติ
- ควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายแร่ และยกเลิกแผนแม่บทแร่ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากแผนเดิมตามกฎหมายใหม่ ยังเป็นไปตามกฎหมายเก่า ประกาศแหล่งหินเก่า และคำขอประทานบัตรเก่ามากำหนดเป็นแหล่งแร่ตามแผนแม่บท โดยที่ปัจจุบันสภาพพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะต้องมีการสำรวจอย่างแท้จริงเพื่อกำหนดแหล่งแร่ใหม่ นอกจากนี้ กรณีการทำเหมืองแร่จะต้องสะท้อนพื้นที่ให้ถูกต้องตามสภาพปัจจุบันและมีการตรวจสอบให้เหมาะสม
- ควรมีการทบทวนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรม โดยไม่มีการผูกขาดหรือการเลือกปฏิบัติและการเอื้อประโยชน์แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะเท่านั้น เช่น การเอื้อประโยชน์ผ่านกระบวนการออกใบอนุญาตในการเข้าถึงทรัพยากรจำเพาะแก่ภาคธุรกิจ ในขณะที่ชุมชนในพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะดังกล่าวตามประเพณีและวัฒนธรรมเดิมของตนเพื่อการดำรงชีพและการประกอบอาชีพตนได้
- ควรมีการกระจายอำนาจไปในระดับจังหวัด สำหรับการพิจารณาอนุมัติอนุญาตให้สัมปทานในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับพื้นที่ และปัญหา รวมทั้งต้องไม่มีอำนาจจากส่วนกลางมาบังคับ เพื่อให้การจัดการทรัพยากรเป็นไปอย่างสอดคล้องกับแต่ละพื้นที่
- ควรกำหนดให้มีการทำ HRDD ที่สอดคล้องกับหลักการชี้แนะ UNGP ในเรื่องฐานทรัพยากรธรรมชาติกับชุมชน โดยประกันการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนโดยรอบ นักวิชาการ ฯลฯ อย่างชัดแจ้งในกระบวนการทำ HRDD มิใช่แค่การกำหนดให้บริษัทไปจ้างที่ปรึกษามาจัดทำ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันในแต่ละจังหวัดโดยชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคตที่เกิดจากการออกทะเบียนการครอบครองที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทับซ้อนกัน
- ต้องมีการทำ National based line study มีการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายปัจจุบันที่ไม่พอ อย่างไร เช่น การทำเหมืองแร่ได้รับประโยชน์จากสินแร่ แต่ประชาชนได้รับผลกระทบ ต้องมีกฎหมายควบคุมหรือกำกับ ต้องให้หน่วยงานจัดสรรงบประมาณมาเพื่อนำมาใช้จัดทำข้อมูลอย่างจริงจัง เพื่อให้ทราบว่ามีผลกระทบอย่างจริงจังอย่างไร ควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ และการปฏิรูปกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สิทธิอื่น ๆ และการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน มีข้อเสนอ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ควรมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งต่อสาธารณะ หน่วยงานรัฐ และภาคธุรกิจ ในทุกระดับชั้น เพื่อให้เกิดการยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของประชาชนหรือองค์กรต่างๆในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำใดๆที่จะก่อให้เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
- ควรมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงอันตรายจากการ SLAPP แก่ทุกภาคส่วน และต้องทำโดยเร็วและเข้มแข็ง โดยเฉพาะหากผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจ ก็จะส่งผลต่อการบังคับใช้มาตรการป้องกันต่างๆ กิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมการเสวนาเสนอ ได้แก่ การกำหนดเพิ่มเติมโดยละเอียดในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 การอบรมผู้พิพากษา พนักงานอัยการ และตำรวจ ทั้งก่อนที่จะออกไปทำงานจริงและกลุ่มที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ รวมถึงในสถานศึกษา เพื่อให้ทราบถึงกลไกการป้องกันการ SLAPP และสนับสนุนให้นำไปปฏิบัติตาม
- ควรมีการแก้ไขกฎหมายที่จะถูกนำไปใช้ในการปิดปากประชาชนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องประโยชน์สาธารณะ อันเป็นภารกิจสำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการฟ้องคดีปิดปากที่ควรแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ กฎหมายที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท ที่ถือเป็นเหตุใช้ฟ้องมากที่สุด มีความจำเป็นต้องยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท และเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล ต้องมีความเข้าใจคดีที่มีลักษณะเป็นการใช้คดีเพื่อปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น
- ควรยกตัวกิจกรรมที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการให้ชัดเจน เช่น การออกหนังสือสั่งการแนวปฏิบัติข้อบังคับประธานศาลฎีกา เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 161/1 และ 165/2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการนำผลการศึกษาวิจัยนำไปขยายเพื่ออบรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ควรจะมีการออกกฎหมายที่ป้องกันการฟ้องคดีโดยพนักงานอัยการกรณีที่เป็นลักษณะของการฟ้องคดี SLAPP อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันเอกชนมีการเลี่ยงที่จะฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่ใช้กระบวนการยุติธรรมด้วยการแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนในการฟ้องคดี SLAPP เพื่อเลี่ยงการบังคับตามกฎหมาย 2 มาตราข้างต้น
- ควรมีการกำหนดความหมาย ในการกำหนดมาตรการป้องกันการฟ้องคดี SLAPP ที่ชัดเจน เพื่อทำให้การทำตัวชี้วัดสามารถดำเนินการได้จริง โดยต้องกำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาจากการปรับใช้ ม.161/1 ม.165/2 อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการบังคับใช้มาตรานี้ยังไม่มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ เพราะไม่มีการใช้มาตราเหล่านี้ในกระบวนการพิจารณาคดีเลย อีกทั้ง ให้อำนาจที่กว้างเกินไปแก่ผู้พิพากษาในการปัดตกคดีในกระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้พิพากษาหลายท่านเลือกที่จะไม่ใช้อำนาจดังกล่าวเพราะเกรงว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิของคู่ความ ดังนั้น ควรจะมีการเสนอกฎหมายต่อต้านการ SLAPP ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายเฉพาะ หรือการแก้ไข ม.161/1 และ 165/2 ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ศาลและคู่ความสามารถหยิบยกมาใช้ได้ในทุกคดี ทั้งแพ่งและอาญา ไม่ว่าใครจะเป็นโจทก์ เพื่อประกันว่าการใช้สิทธิโดยสุจริตจะได้รับการคุ้มครองอย่างทันท่วงที และคดีดังกล่าวจะออกจากระบบการดำเนินคดีโดยเร็ว ตลอดทั้งให้ครอบคลุมถึงกรณีคดีที่มีการนำคดีขึ้นแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานอัยการส่งฟ้องคดีด้วย
- ควรออกมาตรการที่ชัดเจน เกี่ยวกับการนำกระบวนไกล่เกลี่ยมาบังคับใช้ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการทำหน้าที่ในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองหรือให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ มีข้อห่วงกังวลว่าจะทำให้ระบบคัดครองคดีที่มีลักษณะเป็นการฟ้องคดีปิดปาก ตามประมวลวิธีพิจารณาความคดีอาญา มาตรา 161/1 และ มาตรา 165/2 ไม่ถูกนำมาปรับใช้ อีกทั้ง การใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้วเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ หัวใจสำคัญ คือ การที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่ควรจะถูกฟ้องแต่ต้น การนำแผนปฏิบัติการ ฯ ไปปฏิบัติควรเน้นย้ำหลักการดังกล่าวอยู่เสมอ
- ควรมีการกำหนดมาตรการสนับสนุนให้มีการพิจารณาการเยียวยาผู้เสียหายด้านจิตใจอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ผ่านกระบวนการศาล แต่ยังรวมไปถึงการกำหนดมาตรการฟื้นฟูด้านจิตใจผ่านกระบวนการอื่น ๆ
- ควรมีการแก้ไขเงื่อนไขในการเข้าถึงกองทุนยุติธรรมให้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการออกระเบียบในการตั้งกรรมการพิจารณากองทุนให้มีความเป็นกลางมากขึ้น และมีเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง แทนที่การปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือชุมชนที่มีข้อพิพาทกับรัฐโดยสรุปว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าจะยังไม่มีคำพิพากษา
- ควรให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ทบทวนการมี คณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้อีกครั้ง เพื่อทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆในกรณีที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้ง เสนอให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มย่อยเพื่อดูแลนักปกป้องสิทธิโดยเฉพาะ และให้มีการปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยรวมถึงในขณะพิจารณาว่ากิจกรรมหรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง ๆ เป็นนักปกป้องสิทธิหรือไม่ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น
การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ มีข้อเสนอ 15 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ขอให้รัฐลงนามเป็นสมาชิก OECD เพื่อจะได้ดำเนินการปฏิบัติตามแนวทาง OECD โดยการจัดตั้งองค์กรเพื่อรับเรื่องร้องเรียนและตรวจสอบการละเมิดสิทธิที่มีการลงทุนไทยในต่างแดน เพื่อคุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ควรกำหนดให้ชัดเจนและทำให้มีสภาพบังคับ สำหรับการทำ Human Rights Due Diligence เนื่องจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ยังไม่เห็นว่า มีเนื้อหา หรือความคืบหน้าอย่างไร และใครจะเป็นผู้จัดทำ อีกทั้ง การจัดทำรายงานต่างๆ ควรมีความโปร่งใส และเป็นอิสระมากขึ้น
- ควรกำหนดให้มีการปรับปรุงข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนฉบับมาตรฐาน (BIT Model) โดยจะต้องเน้นสิทธิของรัฐในการกำกับดูแลในเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสิทธิมนุษยชน ต่อโครงการต่างๆ
- ควรกำหนดให้การจัดจ้างหน่วยงานที่ทำ EIA / EHIA / HRDD เป็นหน่วยงานที่เป็นกลางและอิสระ พ้นจากการครอบงำของรัฐและธุรกิจโดยเฉพาะเจ้าของโครงการที่จะต้องจัดทำ
- ควรออกมาตรการเชิงบังคับให้ธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องให้ความสำคัญ เคารพหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
- ควรออกมาตรการหรือกฎหมายที่กำหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการลงทุนในต่างประเทศ และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
- ควรมีการกำหนดมาตรการหรือกฎหมายให้มีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแลตรวจสอบ การจัดทำแบบ ๕๖-๑ หรือ One-Report ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนมีการจัดทำ แบบ ๕๖-๑ หรือ One-Report ซึ่งจะมีการรายงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ในการลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย โดยมีการกำหนดให้เป็นสภาพบังคับแล้วตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา ซึ่งคิดว่า One-Report หรือ Human Rights Due Diligence โดยตรวจสอบว่า ที่บริษัททำรายงานต่างๆเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แม้กระทั่งด้านสิ่งแวดล้อม มีความโปร่งใส จริงตามที่เขียนหรือไม่ โดยควรมีหน่วยงานที่เป็นองค์กรอิสระ หรือ Third party เข้ามาจัดทำ หรือ ตรวจสอบติดตามในส่วนนี้ด้วย เพื่อความเป็นอิสระและปลอดพ้นจากการครอบงำ
- ควรมีมาตรการหรือกฎหมายที่กำหนดให้ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ บริษัทผู้ลงทุน และภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการใดที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ต้องจัดตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและเยียวยา” ก่อนที่จะดำเนินโครงการ โดยควรระบุให้ชัดเจนว่า เป็นจำนวนเท่าไหร่ที่บริษัท เพื่อเป็นการรับประกันการลงทุนและความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ในระหว่างการริเริ่มการลงทุนหรือดำเนินโครงการ โดยกองทุนนั้นต้องมีสัดส่วนเหมาะสมและสมเหตุสมผล
- ควรกำหนดให้สถาบันการเงินหรือธนาคาร ตลอดทั้งบริษัทเอกชน มีกลไกรับข้อร้องเรียนในปัญหาต่างๆ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ไม่เป็นภาระแก่ผู้ถูกกระทำละเมิดในการเข้าถึงการเยียวยา
- ควรกำหนดให้มีการจัดทำ Trans-boundary SEA and Human Rights Due Diligence เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินการลงทุนและการตัดสินใจอย่างรอบด้าน
- ควรกำหนดให้มีมาตรการที่เป็นการเชิญชุมชนผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Meaningful Participation) ในการดำเนินการจัดทำ EEC โดยไม่ควรเป็นลักษณะการหารือผลกระทบกับประชาชนโดยไม่รอบด้าน
- ควรมีการกำหนดมาตรการหรือออกกฎหมายว่าด้วยการชดเชยเยียวยา เวลาที่บริษัทไทยไปลงทุนในต่างประเทศ หรือต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย บริษัทที่เป็นเจ้าของเงินในกรณีที่รัฐบาลไทยมีกองทุน หรือเงินกู้ยืมให้ลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่ ประเทศไทยควรใช้มาตรฐานสากล หรือใช้กฎหมายของประเทศบริษัทต้นทางที่ให้สินเชื่อหรือเป็นผู้ลงทุน และควรมีมาตรการกำหนดให้ได้รับการชดเชยเยียวยาที่ได้มาตรฐาน และพึงพอใจกับทุกฝ่าย ควรใช้มาตรฐานสากลในการชดเชยเยียวยาที่เหมาะสม
- ควรกำหนดให้รัฐพิจารณาให้มี นโยบาย “No Go Zone” ระงับการให้ความช่วยเหลือด้านการลงทุนขนาดใหญ่ และไม่ให้ผู้ประกอบการสัญชาติไทยหรือรัฐวิสาหกิจไทยเข้าไปลงทุนเมื่อประเทศหรือพื้นที่ที่รับการลงทุนเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงต่อมนุษยชาติ ตัวอย่างเช่นในกรณีของเมียนมาหลังการรัฐประหาร และในกรณีบริษัทที่ลงทุนไปแล้ว ต้องมีการกำหนดการประเมินผลกระทบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีข้อกำหนดของบริษัทในการพิจารณาการชะลอการทำธุรกิจ ส่วนกรณีบริษัทที่จะลงทุนใหม่จะต้องมีการพิจารณาให้ชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจไทยเข้าไปพัวพันหรือหนุนเสริมให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงดังกล่าวเพิ่มเติม
- ควรออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งปละพาณิชย์ ให้สอบรับการการก่อให้เกิดความรับผิดชอบของเอกชนไทยทั้งจะโดยประชาชนไทยหรือบริษัทในประเทศไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการไปตั้งเป็นบริษัทใหม่ในต่างประเทศหรือบริษัทสาขา เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับการเข้าถึงการเยียวยาอย่างแท้จริง และกำหนดให้นำเอามาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่มีในกฎหมายไทยนำไปใช้ในประเทศที่มีการลงทุน เพื่อไม่ให้เกิดวาทะกรรมการลงทุนข้ามพรมแดนแต่ความรับผิดชอบไม่ข้ามพรมแดน
- ขอให้รัฐไทยสนับสนุนการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการของการลงทุนข้ามชาติ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การภาคธุรกิจ ที่สหประชาชาติกำลังดำเนินการจัดทำร่าง ด้วยการส่งเสริมภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจให้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำปฏิญญาสากลดังกล่าว
รายชื่อผู้ร่วมลงชื่อในการจัดส่งข้อเสนอแนะต่อ
ร่างแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
เสนอ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
- กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง The Mekong Butterfly
- กลุ่มสายส่งกังหันลมชัยภูมิ
- กลุ่มรักษ์บ้านแหง
- กลุ่มรักษ์ถิ่นเกิดตำบลคู
- กลุ่มฮักเชียงคาน
- กลุ่มฮักแม่น้ำเลย
- กลุ่มเฝ้าระวังอมก๋อย
- กลุ่มเครือข่ายคัดค้านเมืองแร่ฯ อ.แม่พริก จ.ลำปาง
- กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
- กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ (คัดค้านเหมืองโปแตชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ชัยภูมิ)
- กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (คัดค้านเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
- กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส (คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)
- กลุ่มรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองหินทราย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร)
- กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได (คัดค้านการทำเหมืองหิน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู)
- กลุ่มรักษ์บ้านแหง (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
- กลุ่มคนเหล่าไฮงามไม่เอาเหมืองแร่ (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองทรายแก้ว ต.เหล่าไฮงาม อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์)
- กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด (คัดค้านการทำเหมืองแร่โปแตช) อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
- กลุ่มรักเขาโต๊ะกรัง อ.ควนโดน จังหวัดสตูล
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีเกษตรกลุ่มเขาโต๊ะกรัง อ.ควนโดน จังหวัดสตูล
- กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach)
- เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
- เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
- เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
- เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
- เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน
- เครือข่ายประชาชนลุ่มโขงอีสาน
- เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน
- เครือข่ายติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน ETOs Watch Coalition
- โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
- ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
- ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา
- สมาคมนักกฎหมายคุ้มครองสิทธิและสิ่งแวดล้อม
- สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา (คัดค้านการทำเหมืองหินปูน ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา)
- สมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน
- สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
- สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชุนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน
- สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
- สมาคมพลเมืองนครนายก
- สมาคมประมงพื้นบ้านท้องถิ่นระยอง
- สมาพันธ์คนจันท์ค้านเหมืองทอง
- สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
- มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
- มูลนิธิแม่น้ำนานาชาติ
- มูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์
- มูลนิธิชุมไท
- มูลนิธิศักยภาพชุมชน
- มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
- มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
- มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
- Earth Right International
- เสมสิกขาลัย
- Forum-Asia
- คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
- ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ศักดิ์ดา แสนมี่
- วิวัฒน์ ตามี่
- ณริศ ศรศรีวิวัฒน์
- ชำนัญ ศิริรักษ์
- สมชาย อามีน
- ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร
- นายปิยะโชติ อินทรนิวาส สื่อมวลชนอิสระ นศ.ปริญญาเอก ม.อ.ปัตตานี
- มุหัมหมัด ล่าเม๊าะ
- สุพรรษา มะเหร็ม
- แววรินทร์ บัวเงิน
- ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
- อินทิรา มานะกุล
- ชาญณรงค์ วงศ์ลา
- อำนาจ ไตรจักร
- ภูบดินทร์ สุปินชมภู
- รวน แก้วน้อย
- เขต สิงห์ตา
- วสันต์ ปูยอดเครือ
- นิยม กันทะราช
- พิสิฐ วงศ์สี
- ประยุทธ์ กองจันทร์เพ็ชร
- สมศักดิ์ ชัยต๊ะ
- ชิษณุชา สิทธิวงศ์
- บรรเจิด ล่วงพ้น
- สุภาพร ดารักษ์
- เสาวณีย์ แก้วจุลกาญน์
—————————–