สื่อชุมชน คือสื่อมวลชนตามกฎหมาย PDPA หรือไม่?

สื่อชุมชน คือสื่อมวลชนตามกฎหมาย PDPA หรือไม่?

กฎหมาย PDPA เป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่พึ่งออกมาเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งพูดถึงอย่างมากในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากหลายคนรวมถึงสื่อท้องถิ่น สื่อชุมชนและสื่อพลเมือง มีความกังวลในการบังคับกฎหมายฉบับนี้ ในฐานะที่นำเสนอข้อมูลในพื้นที่ซึ่งอาจไม่ได้มีการรวมตัวกันเป็นสื่อขนาดใหญ่ สื่อเหล่านี้ถูกนับรวมว่าเป็นสื่อมวลชนที่ได้รับการยกเว้นตามนิยายของกฎหมายตัวนี้หรือไม่ ?

 ชวนหาคำตอบในเวทีเสวนา สื่อชุมชน สื่อพลเมืองและสํานักข่าวฝึกปฏิบัติกับ PDPA : เราคือสื่อมวลชนตามกฎหมายด้วยหรือไม่ ? ในงาน“หลายสื่อ หลากเสียง ในโลกเดียวกัน” ของศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา ที่จัดขึ้นในวันที่20 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา

ว่าด้วยเรื่องของ กฎหมาย PDPA ย่อมาจาก คำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีผลบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของเรา รวมถึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ผศ. กฤษฎา ใจแก้วทิ นักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่าโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เป็นการห้ามในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลของใคร แต่เป็นการสร้างระบบการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และในขณะเดียวกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้จะต้องปลอดภัย ในส่วนของสื่อมวลชน ตัวกฎหมาย PDPA ได้มีข้อกำหนดพิเศษในการทำงานของสื่อให้มีข้อยกเว้นโดยไม่ต้องใช้ตัวกฎหมายนี้ ในมาตรา 4 วงเว็บ 3 

แม้ไม่ต้องใช้กฎหมาย PDPA บังคับใช้ แต่ยังมีข้อกำหนดว่าการจะเป็นสื่อที่ได้รับการยกเว้น ต้องเป็นสื่อมวลชนที่มีจริยธรรมที่คอยควบคุมการทำงาน โดยให้สื่อนั้นสามารถควบคุมกันเองได้โดยผ่านตัวจริยธรรมสื่อ ตัวกฎหมาย PDPA จึงไม่ผลกระทบกับตัวสื่อมวลชนมากเท่าไหร่ 

ผศ. กฤษฎา ใจแก้วทิ นักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ตัวกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้อย่างยาวนานในแทบทางยุโรปเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่ต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้มีการนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในการหาผลประโยชน์ส่วนบุคคล หากไม่มีระบบการจัดการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะทำให้เกิดการนำข้อเหล่านี้ไปใช้ในทางที่เสียหาย ตัวกฎหมาย PDPA จึงกฎหมายที่เข้ามาควบคุมบุคคลหรือองค์กรที่จะนำข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก

นภดล สุดสม ตัวแทนสื่อภาคพลเมือง

ดร. นภดล สุดสม ตัวแทนสื่อภาคพลเมือง (เมืองสวดแชนแนล) เล่าว่าในเรื่องของผลกระทบจากตัวกฎหมาย PDPA ช่วงแรกเรามีความกังวล แต่ตอนนี้ความกังวลได้ลดลงไปบ้างแล้ว เนื่องจากเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เราต้องเคารพสิทธิของคนไข้ เราจึงไม่เคยมีปัญหาในตัวกฎหมายนี้ เพราะเรื่องสิทธิเป็นเรื่องพื้นฐานที่เราต้องปฏิบัติกันอยู่แล้ว กฎหมายฉบับนี้ที่ออกมาจะต้องมีเจตนาดี แต่คนก็กังวลเรื่องการบังคับใช้มากกว่า เช่น สื่อชุมชนจะต้องมีสังกัด ทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การสร้างค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่

วัชรพล นาคเกษม บรรณาธิการสํานักข่าว Lanner

คุณวัชรพล นาคเกษม บรรณาธิการสํานักข่าว Lanner ตัวแทนสื่อออนไลน์ ท้องถิ่น เล่าว่าประเด็นเรื่องกฎหมาย PDPA ที่ออกมา เราตกใจในช่วงแรก แต่พอได้อ่านเนื้อหาแล้ว ในมุมมองของสื่อชุมชนและมวลชน เราอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ เราไม่ใช่สื่อหลักหรือมีสังกัด แต่ยังมีความกังวลในรูปแบบการนำเสนอ ในกรณีวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็น อาจจะนำมาสู่การถูกฟ้องได้ หรือ สื่อสารบางประเด็นที่มีความเปราะบางทางสังคม หากเราสามารถร่วมกลุ่มกันได้ทั้งภาคเหนือ เพื่อสร้างเป็นธรรมนูญเล็ก ๆ ที่คอยดูแลสื่อขนาดเล็กอย่างพวกเรากันเองน่าจะเป็นเรื่องที่ดี และเราความมีเสรีภาพในการนำเสนอ เพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนชุมชนหรือสังคม

กฎหมาย PDPA กับนักสื่อสารภาคประชาชน 

ในส่วนของมาตรา 4 วงเว็บ 3 “บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เฉพาะเพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรม ตามจริยธรรมวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น ที่ตัวกฎหมายไม่ได้เข้าไปบังคับใช้  แต่คำว่า “สื่อมวลชน” ที่ว่ามีการตีความหมายไว้แบบไหน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่จัดเจน แต่อย่างหนึ่งที่สรุปได้คือ ต้องเป็นสื่อที่มีสังกัดและสื่อนั้นต้องมีองค์กรหรือสภาวิชาชีพออกประมวลจริยธรรมมาควบคุมการดำเนินการ

ในทางปฏิบัติ สื่อชุมชน สื่อพลเมือง หรือองค์กรสื่อภาคประชาสังคม ตัวกฎหมายนี้กำลังเป็นที่กังวลในเรื่องหากมีต้นสังกัดที่แสดงถึงตัวตนหรือแหล่งที่อยู่ การร่วมกลุ่มกันจึงอาจเป็นอีกหนึ่งแนวทาง ที่จะสามารถระบุแหล่งที่มาและสังกัดได้อย่างจัดเจนโดยที่ไม่ต้องเข้าไปสังกัดอยู่ในขององค์กรขนาดใหญ่ นอกจากการร่วมกลุ่มเพื่อแสดงสังกัดแล้วยังเป็นเรื่องของกลไกและกระบวนการเพื่อแสดงความชัดเจนในการทำงานของภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อชุมชน หรือสื่อพลเมือง ซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักฐานยื่นยันการเป็นสื่อมวลชนที่จะได้รับการยกเว้นจากตัวกฎหมาย PDPA

อัจฉราวดี บัวคลี่ ตัวแทนแทนสื่อที่ทํางานร่วมกับสื่อภาคพลเมือง ไทย พีบีเอส 

การที่กฎหมายให้ข้อยกเว้น ทำให้ยิ่งเป็นเรื่องของสื่อที่จะต้องทำหน้าที่ในการสื่อสาร ไม่ใช่อภิสิทธิชนที่ถูกยกเว้นจากคนอื่น เป็นหน้าที่ที่จะต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสืบค้นข้อมูลเพื่อนำเสนอและเผยแพร่ นี่เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนไม่ใช่อภิสิทธิ์ สื่อมวลชนควรจะตระหนักว่าเราเท่ากันกับประชาชน

คุณอัจฉราวดี บัวคลี่ ตัวแทนแทนสื่อที่ทํางานร่วมกับสื่อภาคพลเมือง ไทยพีบีเอส เล่าว่า การสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือประชาชนทั่วไปนั้นจะต้องมีมารยาทในการสื่อสาร ตัวกฎหมายก็เป็นตัวกำหนดมารยาทในการสื่อสาร สิ่งที่ต้องคำนึงคือเรื่องของ กฎหมายลิขสิทธิ์ การหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ตัวกฎหมาย PDPA จึงให้ความสำคัญในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ที่รวมไปถึงการค้าขาย ที่ต้องระมัดระวังไม่ได้ข้อมูลระหว่างประเทศที่มีการรั่วไหลออกไปจากหน่วยงานและองค์กร เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กฎหมาย PDPA จึงเข้ามาควบคุมในส่วนนี้ หากเป็นองค์กรเมื่อได้ข้อมูลส่วนบุคคลไปแล้ว จะต้องมีระบบจัดการและจัดเก็บข้อมูลไม่ให้รั่วไหล มีเจ้าหน้าที่เข้ามาควบคุม เฉพาะฉะนั้นการมีตัวกฎหมายนี้เข้ามา ทำให้เรามีมารยาทการสื่อสารมากขึ้น คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งมีอยู่แล้วในกฎหมายทั่วไป

แต่การตีความเบื้องต้นของกฎหมายยังคำนึงถึงสื่อมวลชนที่มีสังกัด สื่อมวลชนที่มีกระบวนการของกองบรรณาธิการ ตามกิจการการประกอบวิชาชีพ แนวโน้มของการตีความของกฎหมายยังเป็นลักษณะของสื่อกระแสหลักอยู่ ซึ่งกลุ่มกระแสรองหรือสื่อมวลชนแนวใหม่ว่าภูมิทัศน์สื่อใหม่ในปัจจุบัน มีข้อโต้แย้ง ว่าอะไรจะเป็นตัวกำหนดความเป็นสื่อ  

ผศ. กฤษฎา ใจแก้วทิ  นักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า “การที่เรานำเสนอข่าวของเรา ถึงแม้จะไปกระทบข้อมูลส่วนบุคคลของใคร แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกันระหว่างการที่เราได้ลุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์ของสาธารณชนที่จะเกิดขึ้น อันไหนมีมากกว่ากัน ถ้าหากประโยชน์ของสามารณะมีมากกว่าการไปกระทบสิทธิของบุคคลนั้น ๆ  การยึดมั่นในประโยชน์ของสาธารณะและยกระดับชีวิตของบุคคล จะเป็นกำแพงที่จะช่วยความเสี่ยงในเรื่องของกฎหมายตัวนี้ได้เบื้องต้น”

การเป็นสื่อตามกรอบจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะสื่อภาคประชาสังคมและสื่อชุมชนมีกระบวนการอย่างไร

ผศ. กฤษฎา ใจแก้วทิ นักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขยายความว่า ข้อบังคับด้านจริยธรรมสื่อแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ได้มีเขียนระบุการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้อย่างชัด ๆ ดังนั้นการระบุเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลของสื่อกระแสหลักในตอนนี้ก็ยังเป็นปัญหากันอยู่ จากแนวทางที่ไม่ชัดเจน ในส่วนของชื่อชุมชนอาจจะต้องมาพูดคุยกันก่อนในแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีสัดส่วนประมานไหน มีแนวทางอย่างไร ที่จะนำข้อมูลส่วนบุคคลมาเผยแพร่ 

ดร. นภดล สุดสม ตัวแทนสื่อภาคพลเมือง (เมืองสวดแชนแนล) เล่าว่า เมื่อเราทำหน้าที่ตรงนี้เราก็พอที่จะปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบ กระบวนการก็คงไม่ได้ความยุ่งยากอะไร เราเป็นสื่อแบบสมัครเล่น อาจจะทำบทบาทสื่อกันไม่กี่ชั่วโมง ต่อสัปดาห์หรือต่อวัน แต่ที่เหลือเราก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายตัวนี้ เพราะว่ากฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิเหมือนกัน ทุกคนอยู่บนสิทธิขั้นพื้นฐานเหมือนกัน สื่อเองก็ไม่ได้รับสิทธิพิเศษอะไร เพียงแต่ว่าคุณต่างหากคุณจะต้องมี จรรยาบรรณ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ เป็นแบบอย่าง

ผมก็คิดว่าโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ดี

คุณวัชรพล นาคเกษม บรรณาธิการสํานักข่าว Lanner ตัวแทนสื่อออนไลน์ ท้องถิ่น กล่าวว่า การรวมกลุ่มกัน จะทำให้เราสามารถมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกในฐานะของการเป็นสื่อประชาชนที่สามารถพูดได้อย่างเต็มที่ และต้องอยู่ภายใต้ตัวกฎหมายที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในเรื่องของตัวกฎหมายที่เป็นธรรม การคุกคามสื่อทั้งสื่อมวลชนและสื่อชุมชนที่นำเสนอประเด็นต่อเนื่อง สื่อควรจะมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวแต่กลับถูกควบคุม

สำหรับจรรยาบรรณสื่อเป็นแนวคิดที่มาจากคนที่อยู่ในแวดวงสื่อที่ไม่ใช่สื่ออิสระหรือสื่อที่มารวมตัวกัน อย่างที่ผ่านมามีการรวมตัวกันของสื่อมวลชน สื่อออนไลน์และหนังสือพิมพ์บางส่วน รวมตัวกันเรียกว่า DemAll สมาพันธ์สื่อเพื่อประชาธิปไตย รวมตัวกันเพื่อผลักดันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของสื่อ และย้ำว่าหน้าที่ของสื่อคือการเสริมพลังของประชาชน ทุกคนมีเรื่องราว และอยากแสดงออกเรื่องของฉันเรื่องของคุณบ้างทีอาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน สิ่งที่สื่อต้องทำคือการดึงพลังตรงนั้นออกมา เพื่อช่วยกันตีแผ่และนำเสนอข้อมูลและทางออกใหม่ ๆ ร่วมกัน 

การสร้างนิยามของการเป็นสื่อ 

คุณอัจฉราวดี บัวคลี่ ตัวแทนสื่อที่ทํางานร่วมกับสื่อภาคพลเมือง ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ตัวกฎหมาย PDPA ถ้ามองกลับกันหากเราไม่ได้เป็นสื่อตัวกฎหมายนี้เป็นสิ่งที่ดี เรามีสิทธิที่จะถามในเรื่องการนำข้อมูลของเราไปใช้อย่างไร เราสามารถอนุญาตและยกเลิกได้ แต่หากเราเป็นคนทำสื่อ ทำการสื่อสารขึ้นมาจะต้องคำนึงถึงตัวกฎหมายตัวนี้มากขึ้นว่าการนำข้อมูลของบุคคลอื่นไปทำในเชิงพาณิชไม่สามารถทำได้ บทบาทในการทำงานของสื่อชุมชน เรายังคงต้องยื่นหยัดในการทำสื่อ โดยตัวกฎหมายพื้นฐานแล้ว การทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ถึงไม่เป็นสื่อก็สามารถอธิบายความได้  

แต่หากจะให้เกิดความมั่นใจ เราอาจต้องอธิบายตัวเอง อาจเขียนในเพจที่เราใช้สื่อสาร ว่าหน้าที่บทบาทเป็นสื่อชุมชนของเราคืออย่างไร มีแนวจริยธรรมในการทำงานอย่างไร อาจจะไม่ต้องใช้ถ้อยคำที่มันเริดหรู แต่ต้องบอกสังคมได้ว่าเจตจำนงการสื่อสารของเราเป็นแบบนี้ ก็น่าจะช่วยได้ ถ้าหากสมมุติหากจะต้องไปอธิบายความในการฟ้องร้อง ก็จะเป็นเครื่องยืนยันเจตนารมณ์ของเรา แต่ถ้าอีกระดับหนึ่ง ข้อเสนอที่ว่าคนทำสื่อพลเมืองรวมกลุ่มกัน ให้มีความแข็งแรงขึ้นมา และช่วยกันเขียนแนวทางปฏิบัติเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เป็นการควบคุมแต่เป็นการมาช่วยกันสร้างความมั่นใจให้กับสังคม ว่าเราทำงานอย่างมีแนวทางจริยธรรมและไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของใคร น่าจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยได้และต้องเริ่มทำกัน 

ในช่วงที่กำลังถกกันในเรื่องของสื่อตามนิยามของตัวกฎหมาย PDPA การร่วมกลุ่มกันของสื่อภาคประชาชนจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งในระดับพื้นฐาน สร้างการสื่อสารจากทางรากหญ้าขึ้นไปว่าทางชุมชนและสังคมคิดอย่างไร การรวมกลุ่มกันยังตอบโจทย์ในเรื่องของการดำเนินการของสื่อภาคพลเมือง สื่อชุมชน เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและสามารถนำไปต่อรองและอภิปรายได้ นอกจากการกำหนดการรูปแบบการทำงานแล้วยังเป็นการแลกเปลี่ยนกันของสื่อภาคประชาชน สื่อชุมชน ที่สามารถช่วยส่งเสริมกันและกันต่อไปในอนาคต

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ