หัวเวียงมีอะไรดี วัยรุ่นจากพื้นที่จะเล่าให้ฟัง

หัวเวียงมีอะไรดี วัยรุ่นจากพื้นที่จะเล่าให้ฟัง

วัยรุ่นหัวเวียง

ตำบลหัวเวียงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง แต่พื้นที่ชุมชนหัวเวียงมีการตั้งถิ่นฐานแบบเกาะกลุ่มอยู่บริเวณริมแม่น้ำน้อยซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักภายในอำเภอเสนา แม่น้ำจึงมีความสัมพันธ์กับชุมชนทั้งในเรื่องของการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ รวมไปถึงการประกอบอาชีพ จนกระทั่งมีการเกิดขึ้นของกรมชลประทาน โรงงานอุตสาหกรรม และการสร้างถนน วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็ได้เปลี่ยนไปจากที่เคยประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลายเป็นเข้าสู่ระบบแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น วิถีชีวิตริมน้ำก็ค่อย ๆ เลือนหายไปเนื่องด้วยการตัดถนนเข้ามา และเมื่อกรมชลประทานเข้ามาในพื้นที่ก็ถูกทำให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำแทนเมืองใหญ่

ตำบลหัวเวียงมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลากหลาย มีวัด ศาสนสถาน และบ้านเรือนไทยโบราณ นอกจากนี้ยังไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่ จึงทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่นในตำบลหัวเวียง เช่น การจักรสาน และอีกหนึ่งมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ประวัติยาวนานหลายปีนั่นก็คือ เมรุลอยอยุธยา

มุมมองของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่หัวเวียง

สำหรับวัยรุ่นในพื้นที่หัวเวียงมองว่าหัวเวียงเป็นพื้นที่ที่มีความทรงจำมากมายไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับสร้างอาชีพของชุมชน สถานที่สำคัญที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ขนมหวานที่ขึ้นชื่อของพื้นที่ หรือแม้แต่ร้านอาหารที่เคยไปกินประจำหลังเลิกเรียน โดยที่จะนำเสนอออกมาผ่านความสนใจของแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นที่ภายใต้หัวข้อ “นึกหัวเวียง นึกถึงอะไร”

ดาราสาวสองท่านแบบสับแบบใหม่ : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 1

นอกจากธุรกิจชุมชนไม่ว่าจะเป็นเมรุลอย ตะกร้าสาน หรือวัดในหัวเวียงแล้ว นึกถึงหัวเวียง ต้องนึกถึงขนมหวานแบบจึ้งใจ (จึ้งใจ หมายถึง ถึงใจสุดๆ ภาษาวัยรุ่นหัวเวียง) เช่น ขนมตระกูลทอง (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง) ข้าวเหนียวมูน ลอดช่อง ตะโก้ ซึ่งเป็นบรรดาขนมที่เลื่องลือไปทั่วอำเภอเสนา ทั้งหอม หวาน มัน อร่อย เมนูข้าวเหนียวต่าง ๆ กะทิที่กำลังพอดีและเป็นความหวานมันที่กลมกล่อม

แม่น้ำน้อย จ.อยุธยา
ชื่อภาพ : ภาพถ่ายสบายตา

ภาพถ่ายของกลุ่ม “ดาราสาวสองท่านแบบสับแบบใหม่” สมาชิกคือ พิม พิมพ์ชนก รุ่งแจ้ง และ จูน อภิญญา เชื้อมาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง ซึ่งภาพนี้เป็นภาพแม่น้ำน้อยที่ถ่ายจากสะพานข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นภาพที่สมาชิกในกลุ่มกล่าวว่า

“มองภาพนี้แล้วรู้สึกสบายตาจึงถ่ายมา”

ธรรมะธรรมโม : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 2 ชวนพนมมือสาธุ

นึกถึงหัวเวียงก็ต้องพาเที่ยวสถานที่สำคัญทางศาสนาที่เป็นจุดเด่นในหัวเวียง เช่น วัดประดู่โลกเชษฐ์, วัดบันไดช้าง, วัดหัวเวียง, วัดสุวรรณเจดีย์, ตู้พระธรรมลายรดน้ำ, พระศรีอริยเมตไตรย ที่มีมาอย่างยาวนานในประวัติศาตร์ของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชื่อภาพ : บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

ภาพบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในวัดประดู่โลกเชฏฐ์ ตำบลหัวเวียง ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”ธรรมะธรรมโม” ได้แก่ โม ธัญญาลักษณ์ สุขนิมิตร และ บิ๊ก กตพล สกุลทอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง ได้สนใจถ่ายภาพนี้มาเนื่องด้วยบ่อน้ำนี้มีความเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผุดขึ้นมาตามธรรมชาติ คนในพื้นที่จึงเชื่อกันว่าถ้าหากว่าเอาน้ำจากบ่อไปรดที่ดินที่นาจะได้ผลผลิตที่ดีและงอกงามตลอดปี 

ชื่อภาพ : ตู้ลายรดน้ำ

ภาพตู้ลายรดน้ำที่ตั้งอยู่ภายในวัดประดู่โลกเชฏฐ์ เป็นตู้มีลวดลายหรือรูปภาพให้ปรากฏเป็นลายทองด้วยวิธีปิดทองแล้วเอาน้ำรด ตั้งชื่อว่า ลายรดน้ำ ก็คือ ลายทองที่ล้างด้วยน้ำ ซึ่งตู้ลายรดน้ำตู้นี้ตั้งอยู่ในอุปโบสถของวัดประดู่ฯ ถ้ามองไกลอาจจะแยกไม่ออกจนเผลอคิดว่านี่คือตู้ใส่ของธรรมดา แต่เนื่องด้วยความสนใจของวัยรุ่นกลุ่มธรรมะธรรมโม จึงมุ่งที่จะเข้าไปถ่ายภาพตู้นี้ออกมาและทำให้เห็นว่า

อ๋อ นี่คือตู้ลายรดน้ำนั่นเอง

แป๋นแป๋น : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 3

หากจะบอกว่าเมรุลอยคือธุรกิจชุมชนที่เด่นดังในหัวเวียง การแทงหยวกเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน เนื่องจากแทงหยวกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเมรุลอยที่ต้องใช้ความสามารถและความชำนาญอย่างมากในการประดิษฐ์ขึ้นมาก นอกจากนั้นยังต้องลุ้นกับความสดของหยวกกล้วยที่เมื่อทำขึ้นมาแล้วต้องใช้ทันทีอีกด้วย ภาพของหยวกกล้วยจึงหาค่อนข้างยากถ้าหากไม่ใช่ช่วงที่มีงานที่ต้องใช้

ชื่อภาพ : เมรุลอยคอยประกอบ

ภาพที่ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”แป๋นๆ” เป็นภาพเมรุลอยที่คอยการประกอบขึ้นรูปเป็นเมรุลอยอันสมบูรณ์

จึ๋งปั๋งมากนะ : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่ม 4

เมื่อนึกถึงหัวเวียงก็หนีไม่พ้นตะกร้าสานที่มีประโยชน์ใช้สอยมากมายแต่การทำก็ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญอย่างมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีสานให้ออกมาเป็นลวดลายต่าง ๆ การขึ้นรูปทรงให้ดูสวยงามและสะดวกต่อการใช้งาน 

ชื่อภาพ : เรียนเธอไม่ปั๊ก รักเธอไม่เปลี่ยน

ภาพของกลุ่ม “จึ๋งปั๋ง” สมาชิกคือ นาย รัชชานนท์ ทองสีจัด และ เตย ธนดล มงคลแสง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง เป็นภาพบ้านเก่าแก่ คนในพื้นที่ที่อยู่มานานเรียกกันว่า “บ้านโกวตา” แต่คนรุ่นใหม่ไม่เคยเห็นมาก่อนดันไปเจอกับคุณลุงผู้ดูแลบ้านหลังนี้เล่าขานว่าสร้างมาตั้งแต่ปี 2475 มีอายุนานมากแล้ว แต่สภาพยังสวยอยู่ถึงแม้จะเคยประสบปัญหาน้ำท่วมแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยเครื่องสูบน้ำ 2 ตัว

เหตุการณ์ที่ทำให้ได้พบกับบ้านหลังนี้ก็คือ ระหว่างที่ทุกคนกำลังเดินสำรวจเมือง ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม จึ๋งปั๋ง และ กลุ่มดาราสาว ทุกคนก็กำลังสนใจกับสิ่งที่ตัวเองแพลนมาว่าจะเล่าเรื่องอะไรในหัวเวียง อยู่ๆก็มีลุงคนหนึ่งยืนอยู่ระแวกนั้น หนึ่งในทีมงานจึงเดินเข้าไปทักทายลุงแกว่า “ลุงอยู่แถวนี้หรอคะ พวกหนูมาเดินเมืองสำรวจของดีของเด็ดในหัวเวียงอะค่ะ” สิ้นสุดคำพูดของทีมงาน ลุงคนดังกล่าวก็ยิ้มและตอบกลับว่า “มาดูบ้าน 100 ปีมั้ย” ทุกคนสนใจมาก จึงรีบเดินตามลุงไปดูบ้านที่ลุงพูดถึง

เมื่อเห็นบ้านดังกล่าวแล้ว บรรดาแก๊งวัยรุ่นหัวเวียงถึงกับทำหน้างงว่าและพูดว่า “ในหัวเวียงมีบ้านแบบนี้ด้วยหรอ” ซึ่งทีมงานก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจเพราะแม้แต่วันรุ่นในพื้นที่ก็ยังไม่เคยเห็นบ้านดังกล่าวเลย และได้รู้จากลุงว่า ลุงเป็นคนดูแลบ้านหลังนี้เอง

ชื่อภาพ : ข้างหลังภาพ

ภาพของสมาชิกกลุ่ม “จึ๋งปั๋ง” นาย และ เตย ที่กำลังพยายามถ่ายภาพก่อนหน้าด้วยระยะและองศาที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะต้องขี่หลังเพื่อนเพื่อที่จะได้ภาพสวย ๆ มาก็ยอม

ชื่อภาพ : จักรสานบ้านฉัน

ภาพนี้เป็นภาพตะกร้าสานของ แม่จิรวรรณ บัวรอด อายุ 55 ปี ที่ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”จึ๋งปั๋ง” ที่มีความสนใจในวิธีการทำตะกร้าสานซึ่งเป็นธุรกิจชุมชนประจำตำบลหัวเวียง 

นางคว้า : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 5

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพื้นที่หัวเวียงก็คือ ร้านส้มตำรุ่งโรจน์ที่มีจุดเด่นที่ราคาถูก เริ่มต้นเพียง 25-50 บาท เมนูยอดนิยมก็คงจะหนีไม่พ้น เมนูส้มตำต่าง ๆ แต่ที่พิเศษแม่ค้าสามารถเพิ่มท็อปปี้งตามใจลูกค้า หรือลูกค้าอยากสรรสร้างเมนูขึ้นมาเองก็ย่อมได้ เรียกได้ว่าเอาใจลูกค้าสุด ๆ แถมเปิดร้านถึงดึกดื่น ใครก็ตามที่มาทานร้านนี้ก็สามารถนั่งเม้าท์มอยยาว ๆ ไป

ชื่อภาพ : อกไก่ต้องมีคนหมัก อกหักต้องมีคนใหม่

ภาพถ่ายเจ้าของแผงไก่แดงที่ขายอยู่ในร้านส้มตำรุ่งโรจน์โดยสมาชิกกลุ่ม”นางคว้า” ได้แก่ ลูกหมี ศิริกุล อุไรรัตน์ และ ฝ้าย สุพิชชา ธรรมประทีป นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง ที่ต้องการถ่ายทอดร้านอาหารสุดปังในหัวเวียงที่ทั้งถูกและอร่อย แถมยังเปิดดึกเอาใจคนทุกเพศทุกวัย 

ชื่อภาพ : รถขนเมรุลอย

ภาพรถเทลเลอร์ หนึ่งเดียวในหัวเวียง ของคุณลุง อุดม ทองสีจัด ประธานสภาเทศบาลหัวเวียง ซึ่งเป็นรถที่ซื้อต่อมาจากโรงเลื่อย และนำมาทำสีใหม่ตามชอบ ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม “นางคว้า” 

ชื่อภาพ : ดอกเข็มนะจ้ะ

ภาพนี้เป็นภาพดอกเข็มริมทาง ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม “นางคว้า” โดยสมาชิกกลุ่มเล่าว่าดอกเข็มเป็นดอกที่พบได้ตลอดริมทางในหัวเวียง ไม่ว่าเดินไปทางไหนก็จะเจอดอกเข็มตลอดทาง จึงถ่ายมาเพื่อแสดงถึงความเป็นหัวเวียง

ชื่อภาพ : ส้มตำทำมือ

ภาพเจ้าของร้านส้มตำรุ่งโรจน์ที่กำลังทำส้มตำเมนูเด่นดังของร้านอยู่ ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”นางคว้า” มองว่าภาพนี้น่ากินและชวนหิวมากจึงถ่ายมา

นิทรรศการภาพถ่ายสไตล์วัยรุ่นหัวเวียง

ภายในนิทรรศการได้มีการถ่ายทอดภาพถ่ายของวัยรุ่นหัวเวียงจากที่ได้ถ่ายภาพแทนความเป็นหัวเวียงจากสายตาของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ผ่านภาพถ่ายและได้นำมาจัดแสดงในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่วัดหัวเวียง ระหว่างการถ่ายทอดสดฟังเสียงประเทศไทย ตอน เศรษฐกิจเชื่อมวิถีชุมชน คนหัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 3 ก.ย. 2565 นี้

เรื่องราวและภาพถ่ายฉบับวัยรุ่นหัวเวียง เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักสื่อสารข้อมูลชุมชนกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นหัวเวียง ที่ชวนน้อง ๆ เดินสำรวจเรื่องราว เรื่องเล่าของท้องถิ่น ที่วัยรุ่นและคนรุ่นใหม่มองเห็นและอยากสื่อสารของดีในหัวเวียง ซึ่งแม้จะเป็นพื้นที่รับน้ำ ซึ่งคนที่นี้จะเจอน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี แต่ถึงอย่างไรก็ตามคนหัวเวียงยังมีศิลปะวัฒนธรรม ธุรกิจชุมชน และพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่อยากจะบอกเล่า ว่าเรามีดีอะไร..

โลเคชันที่วัยรุ่นหัวเวียงพาทัวร์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

February 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

27
28
29
30
31
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
1
2

23 February 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ