น้ำท่วมซ้ำซากฉบับคนหัวเวียง เป็นอยู่อย่างไร หัวไม่เหวี่ยง

เปิดคู่มือชีวิต อ่านประสบการณ์ของคนจากพื้นที่รับน้ำท่วมซ้ำซาก ริมแม่น้ำน้อย ลำน้ำสำคัญสายหนึ่ง ในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่รับน้ำใต้เขื่อนเจ้าพระยา รับน้ำแทนพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญในจังหวัดอยุธยาและกรุงเทพมหานคร น้ำท่วมทุก ๆ ปี 2 เดือน นางปทุมพร สัญญะชิต หรือที่คนพื้นที่เรียกว่า “ผู้ใหญ่เบียร์” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุทธยา หนึ่งในผู้นำชุมชนและผู้ร่วมผลักดันรักเล่าว่า ปัญหาหลักของหัวเวียง คือ น้ำล้นตลิ่ง มวลน้ำที่เข้ามาในพื้นที่มีปริมาณสูงมาก การบริหารจัดการน้ำที่สื่อสารให้ชัดเจนกับชาวบ้าน เราก็จะอุ่นใจในการระบายน้ำมา บางทีเราไม่รู้ว่าน้ำจะมาในปริมาณไหน จะมากี่ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที ระบบติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา แสดงค่าการระบายปริมาณน้ำบริเวณทั้งเหนือและท้ายประตู “คนหัวเวียงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หรือการระบายน้ำอยู่ทุกปี มันเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ความเสียหายไม่ใช่แค่บ้านเรือนเสียหาย แต่ยังลดรายได้ คนทำงาน ทำอาชีพไม่ได้ เวลาน้ำท่วมก็ยังต้องมีรายจ่ายอยู่ดี การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญกับชาวบ้านที่นี่ ถ้าแจ้งข่าวสารที่ชัดเจน บอกเรื่องจริงมาให้เรา มีการบริหารจัดการน้ำให้อย่างชัดเจน เราก็จะเตรียมรับมือน้ำได้” ข่าวสาร แจ้งเตือน กระจายข่าวอย่างไร? ให้ทันกับการไหลของมวลน้ำ ผู้ใหญ่เบียร์ เล่าว่า ก่อนที่น้ำจะมาได้รับข่าวสารจากทางชลประทานที่จะแจ้งผ่านมาทางนายอำเภอ นายกเทศมนตรี แล้วก็ส่งตรงมาถึงผู้ใหญ่บ้านผ่านทางไลน์กลุ่ม จากนั้นก็เป็นหอกระจายข่าวแจ้งลูกบ้าน ว่าวันนี้มีมวลน้ำมาปริมาณเท่านี้ บ้านไหนบ้างที่จะท่วมก่อนก็จะขนของขึ้นที่สูง แต่เรื่องน้ำท่วมก็เบาบางไปบ้าง เพราะก็มีการดีดบ้านให้สูงขึ้นไป ก็ต้องใช้เงินจำนวนมาก … Continue reading น้ำท่วมซ้ำซากฉบับคนหัวเวียง เป็นอยู่อย่างไร หัวไม่เหวี่ยง