ภูเขาทองคำ ขุมทรัพย์เมืองเลย

ภูเขาทองคำ ขุมทรัพย์เมืองเลย

20141006144352.jpg

เพราะเหตุใดทำให้เมืองเลยกลายเป็นแหล่งเป้าหมายในการทำเหมืองแร่ ทั้งที่คนทั่วไปรู้จักเมืองเลยในนามสถานที่ท่องเที่ยวทะเลแห่งภูเขา นอกจากข่าวคราวความเคลื่อนไหวทั่วไปแล้ว เราจะทยอยเรียบเรียงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเหมืองมาให้ทำความเข้าใจ โดยเริ่มจากการอธิบายลักษณะแร่ที่พบใน จ.เลย ผ่านข้อมูลจากหนังสือ เปลี่ยนไป “เลย” ชะตากรรมของเมืองเลยภายหลังจากการเข้ามาของเหมืองทองคำ โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

ซึ่งการศึกษาพบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยาของจังหวัดเลยเป็นหินภูเขาไฟและหินอัคนีแทรกซ่อนโผล่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณนี้ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กและทองแดงแบบสการ์นที่พบทองคำ เงิน และโมลิบดีไนต์ เกิดขึ้นร่วมด้วย โดยพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเลย อุดรธานี และหนองคาย ถูกกำหนดเป็นพื้นที่เขต 1 ตาม พรบ.แร่ ซึ่งเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณี ครอบคลุมพื้นที่ 6,870 ตารางกิโลเมตร

โดยข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณีระบุว่า แหล่งแร่ที่สำคัญในบริเวณพื้นที่เขต 1 ตาม พรบ.แร่ นี้ แบ่งออกเป็น

  • แหล่งแร่ทองแดง พบที่ภูทองแดงและภูหินเหล็กไฟ อ.เมือง จ.เลย และภูโล้น อ.สังคม จ.หนองคาย
  • แหล่งแร่เหล็ก พบที่ภูอ่าง อ.เมือง และที่ภูยาง อ.เชียงคาน จ.เลย
  • แหล่งแร่แบไรต์ พบที่บ่อหินขาว อ.เชียงคาน จ.เลย
  • แหล่งแร่ทองคำ พบที่ภูถ้ำพระ ภูโท่ง บ้านฟากนา บ้านป่าข้าวหลาว บ้านน้ำคิว อ.เมือง จ.เลย

 

เปลี่ยนไป “เลย” ชะตากรรมของเมืองเลยภายหลังจากการเข้ามาของเหมืองทองคำ โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เขียนและเรียบเรียงโดย ธัญญาภรณ์ สุรภักดี มูลนิธินโยบายสุขภาวะ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ