ฟังเสียงประเทศไทย : ฮักแพง สร้างแปงเมืองสกล

ฟังเสียงประเทศไทย : ฮักแพง สร้างแปงเมืองสกล

เรียบเรียง : นาตยา สิมภา

เมืองเก่าสกลนคร  1 ใน 27 เมือง ตามประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมือง “กลุ่มที่ 2” เมื่อปี 2558 – 2560

มีเนื้อที่รวม 3.5 ตารางกิโลเมตร  2,185.52 ไร่  และมีพื้นที่ต่อเนื่องออกไปด้านละ 500 เมตร รวมเป็น 4.76 ตาราง กิโลเมตร 2,972.85 ไร่  มีหนองหารเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ  และเป็นจุดที่ต่ำสุดของแอ่งสกลนคร  มีพื้นที่ผิวน้ำ 46,000 ไร่ แต่มีพื้นที่หนองหาร ทั้งหมด 77,016 ไร่

สกลนคร ตั้งอยู่ในภาคอีสานเป็นที่ราบสูงล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าไม้ มีพื้นที่ 9,605 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 647 กิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 18 อำเภอ มีประชากรรวม 1,152,282 คน เป็นอีกเมืองที่มีมนต์สเสน่ห์ มีต้นทุนเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมถึงวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร /เทือกเขาภูพาน/วัดวาอาราม และผ้าคราม เหล่านี้คือ ต้นทุนเสน่ห์เมืองสกล ซึ่งเมื่อรวมกับไอเดียสร้างสรรค์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ยิ่งทำให้สกลนครถูกรู้จักเพิ่มมากขึ้น

สกลนครเป็นเมือง 3 ธรรม

1. “เมืองแห่งธรรมะ” มีบูรพาจารย์ที่เป็นอริยสงฆ์ อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร มีสถานที่สำคัญทางศาสนาจำนวนมาก

2. “เมืองแห่งธรรมชาติ” เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง (อุทยานแห่งชาติภูพาน อุทยานแห่งชาติภูผายล อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก) และหนองหาร

3.“เมืองแห่งวัฒนธรรม” มีแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีชนเผ่าพื้นเมือง 6 เผ่า (เผ่าภูไท, เผ่าญ้อ, ไทโส้, ไทกะเลิงไทโย้ย, ไทลาวอิสาน  และ 2 เชื้อชาติ  คนไทยเชื้อสายจีน, คนไทยเชื้อสายเวียดนาม)

ด้านเศรษฐกิจครัวเรือน จังหวัดสกลนคร ข้อมูลปี 2560 มีรายได้เฉลี่ย 68,887 บาท ต่อคนต่อปี อยู่ลำดับที่ 64 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่สร้างรายได้ที่สำคัญ คือ เนื้อโคขุนโพนยางคำ, นม UHT/พาสเจอร์ไรส์, ผ้าย้อมคราม, น้ำหมากเม่า, และข้าวฮาง

ข้อมูลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP มาก 5 อันดับแรก (หน่วย : บาท)

รายได้นอกภาคเกษตรมีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสะสม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 จำนวน 2,375 โรงงาน เงินลงทุนรวม 12,639.14 ล้านบาท

  • แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ แบ่งออกเป็น แหล่งท่องเที่ยวธรรมะ  ได้แก่ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร วัดป่าสุทธาวาส วัดป่าอุดมสมพร วัดคำประมง วัดภูขาม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมหรือวัดถ้ำพวง วัดถ้ำผาแด่น พระธาตุศรีมงคล ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทขอมบ้านพันนา พระธาตุดุม
  • แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ  ได้แก่ หนองหาร /อุทยานแห่งชาติภูพาน /อุทยานแห่งชาติภูผายล /อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก/ น้ำตกคำหอมและโค้งปิ้งงู สะพานหินธรรมชาติ ภาพรอยสลักผาสามพันปีที่ภูผายล น้ำตกคำน้ำสร้าง หอส่องดาว ภูอ่างศอ เขื่อนน้ำพุง เขื่อนน้ำอูน
  • แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร สะพานขอมหรือ สะพานหิน ศูนย์วัฒนธรรมไทยโส้ ชาวภูไทบ้านโนนหอม บ้านห้วยหีบ ชุมชนท่องเที่ยวรอบหนองหาร ได้แก่ บ้านแป้น บ้านน้ำพุ บ้านจอมแจ้ง บ้านท่าวัด บ้านท่าแร่

และ แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่  พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พิพิธภัณฑ์ภูพาน อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ ท้องฟ้าจำลอง ชุมชนคาทอลิกบ้านท่าแร่

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสกลนคร ปี 2565

ระบุวิสัยทัศน์สกลนคร “เป็นแหล่งเกษตรปลอดภัย ก้าวไกลการค้า การลงทุน พัฒนาการท่องเที่ยวสู่อนุภูมิภาคลุ่มแมน้ำโขง” และค่านิยม “ อยู่สกล รักสกล ทำเพื่อสกลนคร”

นอกจากคำกล่าวถึงเมืองสกลนครจากคนในชุมชนและเหล่าผู้คนที่เคยเดินทางไปที่นั่น ที่แม้คนสกลนครยังมองว่า “สกลเป็นแค่ทางผ่าน” รายการฟังเสียงประเทศไทยและเพจอยู่ดีมีแฮงชวนทุกคนในโลกออนไลน์แบ่งปัน 1 คำ ต่อคำถามที่ว่า “ถ้าพูดถึงสกลนคร นึกถึงอะไร” แล้วก็พบว่ามีคำสำคัญหลายคำที่ทำให้เห็นว่าเมืองสกลนครมีอะไรอยู่บ้างและนี่คือบางส่วนจากโลกออนไลน์ที่เขานึกถึงสกลนคร

จากหนึ่งคำก็ถูกขยายความให้เห็นข้อมูล ความรู้สึกและความผูกพันธ์ต่อเมืองสกลนคร โดยเฉพาะศักยภาพด้านทรัพยากรที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ และผู้คน รายการฟังเสียงประเทศไทยและชาวสกลนครจึงชวนคิด ชวนออกแบบเมืองของทุกคนร่วมกัน ล้อมวง “พูดคุย” และ “ฟัง” อย่างใส่ใจ ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ อ.เมืองสกลนคร พร้อมรับฟังถึงฉากทัศน์ที่อาจจะเกิดขึ้น ที่ประมวลมาเพียง 3 แบบ เพื่อให้วงสนทนาได้แลกเปลี่ยนถึงการมีส่วนร่วม “ฮักแพง สร้างแปงเมืองสกล” ภาพอนาคตเมืองสกลที่ยังต้องการส่วนร่วมคิด ร่วมลงมือ เพื่อให้สกลนครเป็นเมืองของทุกคน การฟังด้วยหัวใจที่เปิดรับเพื่อให้มีข้อมูลที่รอบด้าน และสร้างสรรค์ร่วมกัน และเป็นฉากหนึ่งในการเริ่มต้นออกแบบเมืองของชาวสกลนคร

ฉากทัศน์ โอกาสที่จะเป็นไปได้ของเมืองสกล เมืองที่ทุกคนร่วมออกแบบและใช้ประโยชน์

ฉากทัศน์ A   กลนครเขตอนุรักษ์เมืองเก่าอีสาน   

•      ภาครัฐ ภาคเอกชน เห็นความสำคัญและมุ่งเน้นที่จะรักษาเมืองเก่าเอาไว้ให้มากที่สุด ภายใต้ความหลากหลายตามกรอบการพัฒนาเมืองเก่า ต้องใช้การพึ่งพาตนเองของชุมชนมากขึ้น และพึ่งพารัฐน้อยลง อาจจะได้รับความนิยมจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แต่เพราะไม่มีงบประมาณในการดำเนินการจึงอาจต้องใช้เวลามากและดำเนินงานได้ช้า ข้อดีคือจะเป็นโอกาสเห็นความร่วมมือของชุมชนที่เข้มแข็งร่วมกับภาคเอกชนและรัฐท้องถิ่นที่จะรักษาสภาพเมืองเก่าเอาไว้ ซึ่งอาจต้องจัดการเมืองแบบประคับประคอง และทำได้เพียงการจัดกิจกรรมเป็นครั้งคราวไปเรื่อย ๆ  เมือง อาจบรรลุเป้าหมายได้ช้า

ฉากทัศน์ สกลนคร Smart city

•      รัฐท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการพัฒนาเมืองไปสู่เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart city แห่งใหม่ของภาคอีสานในรูปแบบที่เหมาะสมซึ่งจะตอบโจทย์การลงทุนในระยะยาว มีโอกาสดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ จากภายนอก แต่อาจจะมีโจทย์ในแง่ความพร้อมทางของโครงสร้างทางกายภาพและทางสังคม ที่ต้องรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความเข้าใจของผู้คนในชุมชนเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะและเทคโนโลยี และมีโจทย์เรื่องการออกแบบเมืองให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่และงบประมาณในการลงทุน ขณะที่ภาคเอกชนบางส่วนอาจจะได้ประโยชน์จากการเป็นเมืองอัจฉริยะ Smart city

ฉากทัศน์สกลนครเมืองสร้างสรรค์ร่วมสมัย

•      ภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งจับมือกับองค์กรหน่วยงานภายนอก เพื่อทำแผนพัฒนายกระดับให้สกลนครเป็นเมืองสร้างสรรค์ร่วมสมัย ซึ่งอาจต้องลงทุนสูงในการออกแบบเมืองให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับคนทุกช่วงวัย อาจจะมีการ Zoning พื้นที่และมีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเพื่อจัดระเบียบเมืองซึ่งอาจจะรักษาเมืองแบบเดิมไว้ไม่ได้ทั้งหมด อาจจะทำให้กระทบกับพื้นที่ความเป็นเมืองเก่า และวิถีชุมชน โดยอาจต้องระดมทุนกับพันธมิตรองค์กรภายนอกเพราะอาจต้องมีการลงทุนสูง

รายการฟังเสียงประเทศไทยยังมีข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฉากทัศน์มาให้ร่วมตัดสินใจ โดย คุณกมล หอมกลิ่น ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อสร้างสุข เป็นผู้ดำเนินวงเสวนา เพราะเราเชื่อเหลือเกินว่าหากทุกคนได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ได้พูดคุยและรับฟังกันอย่างเข้าใจจะนำไปสู่การออกแบบภาพอนาคตได้เพราะเสียงของทุกคนมีความหมาย

ข้อมูลและมุมมองเพิ่มเติมฉากทัศน์ A สกลนครเขตอนุรักษ์เมืองเก่าอีสาน

วรวิทย์ จันทเดช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ม.มหาสารคาม  

“ตัวผมเป็นสถาปนิกแล้วก็เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย ตอนที่ผมเข้ามาทำงานสกลนครครั้งแรก น่าจะสัก 15-20ปีที่แล้ว ในขณะนั้นเรามาในนามของการกีฬาแห่งชาติ เพราะว่าการเคหะเห็นว่าเมืองสกลนครมีอาคารบ้านไม้เก่าเยอะมาก ไม่ทราบว่าพวกเราเห็นหรือเปล่า  ว่าในเมืองเราเป็นเมืองที่มีบ้านไม้เก่าเยอะมากแล้วมันเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้เมืองสกลนครให้รับคัดเลือก ณ ตอนนั้นให้มีงานวิจัยมาศึกษาว่าทำไมมันถึงเป็นเมืองที่เก็บบ้านเก่าไม้ได้เยอะมาก ผลจากการศึกษาสกลนครมีระบบวัฒนธรรมวิถีชีวิต แล้วก็ระบบเศรษฐกิจบางอย่างที่เอื้อต่อการเก็บรักษาอาคารพวกนี้ไว้ ในตัวของสถาปัตยกรรมเองมันมีคุณค่าในตัวของมันเอง คือไปดูไม้ที่นำมาทำอาคารพวกนี้มีขนาดใหญ่มากกว่าไม้ในท้องตลาดทั่วไป มันจะมีความแข็งแรงและหน้าตัดไม้มันจะใหญ่มากถ้าบ้านสมัยนี้เอาไปเทียบกับบ้านเก่าได้เลยมีความแตกต่างกันงั้นก็เป็นคุณค่าค้นพบในช่วงแรก ๆ หลังจากนั้นผมก็เก็บคำถามไว้ในใจก็พยายามศึกษาเรื่องนี้เรื่อย ๆ มาว่าทำไมสกลนครถึงเก็บคุณค่านี้ไว้ได้

จนต่อมาเมื่อประมาณไม่เกิน 10 ปี สพ ก็คือสำนักนโยบายที่เขาดูแลเรื่องเมืองเก่าเขาก็เห็นเมืองสำคัญของสกลนคร เขาก็ให้งบประมาณส่วนหนึ่งลงมาทำทางการศึกษา ตอนนั้นเราได้ร่วมศึกษาหลายพื้นที่หลายคน ในตอนนั้นก็มีน้องติดตี๋ น้องฟ้าลงไปช่วยสังเกตึการณ์ ลงไปคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเมือง เราได้ข้อมูลอย่างหนึ่งในความเป็นเมืองเก่าสกลนครมันมีเครือข่ายของคนที่เขาอยู่คุ้มวัดแล้วก็ยึดโยงอยู่กับวัด กลุ่มที่เข้ามาให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะ 40-60 ขึ้นไป จะเป็นรุ่นแม่ ๆ ป้า ๆ จะให้ความสนใจกับพวกนี้มากแล้วก็รู้สึกว่าเขาเหมือนได้มีโอกาสพูด ได้มีโอกาสเล่า ก็สนุกกับเวทีในขณะนั้นแล้วก็ได้ข้อมูลมาชุดหนึ่งว่าพื้นที่ที่มีความสำคัญในเมือง ที่เป็นคุณค่าเชิงที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ มันมีคุณค่าที่ซ่อนอยู่ข้างในพวกนั้นเหมือนกัน ทีนี้ในมุมมองอย่างนักพัฒนาพวกผมอยากรู้ว่าสถาปนิกทั่วไปมันจะเป็นการทำงานที่เลวร้ายมากถ้าเราไม่เข้าใจคุณค่าของพื้นที่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าชุดข้อมูลพวกนี้มีความจำเป็นที่จะต้องเอาไปตีแผ่ขยายความให้ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญของเมืองเก่าทีนี้รวบรักเข้ามาสุด ส่วนที่เป็นเมืองเก่าทำไมเราถึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก เพราะว่าความสำคัญอย่างหนึ่งของคุณค่าของเมืองมันคือความแตกต่าง คือเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งแต่ละเมืองมีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ มีคุณค่าไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะพบว่าถ้าเราไปเชียงใหม่เราก็ได้ความประทับใจจากเชียงใหม่กลับมา ไปหลวงพระบางก็จะได้ความประทับใจจากหลวงพระบางกลับมามันจะตรงข้ามกันกับเราไปแล้วได้ความทรงจำแบบเดิม ๆ กลับมาเพราะฉะนั้นคุณค่าความเป็นเมืองเก่าแบบสกลนครผมจึงถือว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ”

ข้อมูลและมุมมองเพิ่มเติมฉากทัศน์ B  สกลนคร Smart city

โกมุท ฑีฆธนานนท์  นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสกนคร

“สกลนครเราถ้าจะเป็น Smart city ในช่วงเร็ว ๆ นี้ 3-5 ปีข้างหน้า มุมมองผมมองว่าเป็นได้อยู่ประมาณ 3-4 ด้าน ด้านที่เราจะเป็นได้ก็คือ ความเป็นระเบียบ สะอาด ความสวยงามของบ้านเมืองและอีกด้านคือความปลอดภัยของพี่น้องพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเมือง ส่วนด้านสุดท้ายที่เราเป็นได้อยากเนื่องจากทุนต่าง ๆ เช่น ด้านพลังงาน ด้านขนส่งเพราะด้านขนส่งเราก็ยังไม่ถึงกับเป็น Smart city เพราะการขนส่งเราอย่างรถสองแถวก็ยังไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร แต่ถ้าเข้ามาในตัวเมืองแล้วความสะอาด ความเป็นระเบียบและเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตทรัพย์สินและตอนนี้เรากำลังเน้นเรื่องจราจร เราก็ได้ประสานกับทุกภาคส่วนที่จะทำเรื่องนี้เกี่ยวกับ Smart city บางเรื่องมันเกินกำลังของเทศบาล เพราะเทศบาลเรางบประมาณน้อยมาก 542 ล้านต่อปี แต่งบพัฒนาจริง ๆ มีอยู่แค่ 20 กว่าล้าน เร็ว ๆ นี้ก็จะมีการเข้าไปชี้แจงเดี๋ยวนี้เขาให้เทศบาลนครของบประมาณโดยตรงจากสำนักงบประมาณ

เทศบาลสกลนครเรายกฐานะจากเทศบาลเมืองขึ้นเมื่อปี 2555 หลายคนก็มีเสียงท้วงติงว่า ยกแล้วจะได้อะไร ยกแล้วจะคุ้มไหม แต่ผมมองว่าเราคุ้มแม้ว่าเงินเดือนต่าง ๆ เราจะเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่เราได้ทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นงบประมาณแฝงบางส่วน โดยเฉพา 3 ปีที่ผ่านมา กรมโยธาธิการและผังเมืองเอางบพัฒนามาลงในสกลนครปีละ 100 กว่าล้าน 3 ปีติดต่อกันและปีหน้าก็จะลงอีก แต่ในมุมมองผมสิ่งที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับ Smart city คือ หน่วยราชการด้วยกัน อย่างเช่นถนนที่ท่านเห็นตรงคูสุด เราขอทำเป็นคอนกรีตเพื่อให้มาชมวิวและทำกิจกรรม แต่บังเอิญถนนเส้นนี้จดทะเบียนเป็นคูเมืองกับกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรไม่อนุญาตให้ทำ เร็ว ๆ นี้เพิ่งอนุญาตให้ทำลานจอดรถของโรงพยาบาล เนื้อที่ประมาณ 5400 ตารางเมตร ซึ่งทราบมาว่าขอไป 4 ปีแล้ว เรือนจำที่ย้ายออกไปกรมธนารักษ์เพิ่งอนุญาตให้เทศบาลเข้าไปดูแลแต่ผมก็ยังไม่เห็นลายลักษณ์อักษร ได้ยินแค่เสียงออกมาว่าให้เทศบาลเข้าไปดูแล  เทศบาลนครสกลนครพร้อมและยินดีที่จะรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมกันพัฒนาสกลนคร เห็นด้วยกับที่จะก้าวไปสู่ Smart city แต่อาจจะไม่ทุกด้าน”

ข้อมูลและมุมมองเพิ่มเติมฉากทัศน์ สกลนครเมืองสร้างสรรค์ร่วมสมัย

พันธิตรา สินพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ CEA

ขอพูดในฐานะคนนอกนะคะสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เราทำอยู่ 3 เรื่องก็คือ คนสร้างสรรค์ ธุรกิจสร้างสรรค์ และพื้นที่สร้างสรรค์ เมืองสร้างสรรค์คืออะไร ? มันคือเมืองที่ขับเคลื่อนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บวกกับสินทรัพย์ วัฒนธรรมและคนสร้างสรรค์ที่มี เพื่อสร้างโอกาสของเศรษฐกิจใหม่ ๆ สร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนในเมือง

CEA ทำโปรเจคที่ชื่อว่า เครือข่ายย่านเศษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย ทำกับ 30 จังหวัดทั่วประเทศ หนึ่งในนั้นคือ สกลนคร เรียกว่าเป็นเฟสแรก เราลงสกลนครเมื่อปี 2563 เรารู้สึกว่าสกลนครมีอะไรที่น่าสนใจสำหรับเรา ตอนนั้นเราส่ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ก็มีทั้งที่ตอบรับและไม่ตอบรับ แต่เราคิดว่าสกลนครเราเลือกสกลนครที่เรามองเห็นบางสิ่งบางอย่างในสกลนคร ขออ้างได้ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ และเราเชื่อในทรัพยากรต่าง ๆ ที่เขามีอยู่

ปี 2563 เราลงมาสำรวจเก็บข้อมูล เมื่อกี้เราพูดถึงเมืองสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั่นคือปลายทางของการทำงานของสำนักงานเราคือสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับพื้นที่และชุมชน ตอนนี้ที่ลงพื้นที่เราได้โจทย์ ซึ่งตอนนั้นมี 2 เมือง 2 ย่าน ทำไมเราถึงทำย่าน ย่านสร้างสรรค์กับเมืองสร้างสรรค์ต่างกันยังไง เราก็เลยเริ่มจากย่านต้นแบบแต่ละจังหวัด จริง ๆ ย่านต้นแบบที่ดีขนาดสักเส้นผ่านศูนย์กลางให้คนเดินได้ประมาณสัก 2 กิโลเมตร เพื่อการสร้างจุดต่าง ๆ ในพื้นที่สร้างสรรค์ ย่านสร้างสรรค์ต้นแบบควรจะมีอะไร ต้องมีธุรกิจสร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ แหล่งเรียนรู้ Creative space เพื่อให้คนมาใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเราเลือกย่านสร้างสรรค์ข้อที่สำคัญ CEAเรามีเกรดเกณฑ์และกรอกการเลือกพื้นที่สร้างสรรค์อยู่ 11 ข้อ ทั้งเรื่องของพื้นที่เรื่องของ I far struggle เทศบาลเรียกว่าเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญจริง ๆ ที่จะสร้าง I far struggle และเอื้ออำนวยซับพอร์ทยานสร้างสรรค์แต่ข้อสำคัญสำหรับเราคือคนสร้างสรรค์ ทำไมเราถึงเลือกสกลนครตอบโจทย์เลยค่ะเพราะคนสร้างสรรค์และเราก็มองว่าสกลนครเป็นเรื่องของเมืองคราฟด้วยพลังของคนรุ่นใหม่

จากที่เราเก็บข้อมูลมาก็แบ่งเป็นส่วน ๆ เรื่องแรกคือ position ของตัว  district เรามองว่าจุดเด่นของสกลนครมีทั้งงานคราฟ ผ้าครามทางการเกษตรเรามี GI หลายอย่างเนื้อ หมากเมา ข้าวฮาง แล้วก็คนรุ่นใหม่ที่กลับมาทำธุรกิจให้กับบ้านเมือง ตัวนี้ก็คือเป็นคนที่ขับเคลื่อนสำคัญมาก ๆ ข้อที่สองก็คือมันมีเรื่องของการใช้พื้นที่เมืองเก่า มุมมองของเราจะใช้พื้นที่เมืองเก่าให้เป็นจุดสำคัญที่จะรวมอัตลักษณ์ของเมืองสกลเข้ามาอยู่ในย่านนี้ถ้าเป็นย่านต้นแบบที่เมืองเห็นสุดท้ายมันจะถูกส่งต่อออกไปในย่านต่างๆอาจจะเป็นในเชิงของการท่องเที่ยวการทัวร์อาหารเรามีท่าแร่หรือยังในเมืองเองเรามีทั้งหนองหานจริงๆคุกหรือเรือนจำเก่าหลายหลายที่ตอนนี้ฮ่องกงเองเรือนจำเก่า Creative space และ Museum กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของฮ่องกงที่คนไปตอนนี้ก็เป็นโจทย์ของแต่ละย่านและเมืองที่ต้องกลับมามองเราจะทำอะไรกับเมืองสมมติเมืองต้นแบบที่ทาง CEA ทำให้คือย่านเมืองเก่าทำไปแล้ว เราพูดถึง district positioning ก็คือตัวภาพของเมืองที่มีจุดเด่น อันที่สองคือ policy คือแผนของรัฐและหน่วยงานรัฐที่จะสนับสนุนแล้วเราจะทำยังไงให้มีแผนพัฒนาเมืองเก่าโดยที่มีเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลอยู่แล้วเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งมีหอการค้าเรามีอุตสาหกรรมจังหวัดพาณิชย์จังหวัดหน่วยงานต่างๆแล้วก็ศักยภาพของชุมชน ที่เห็นอยู่ก็จะมีคุ้มกลางธงไชย แต่ปัญหาที่เราเจอคือคนสร้างสรรค์อาจจะเชื่อมโยงกับภาครัฐได้ไม่ได้ดีนักหรือความเข้าใจอาจจะไม่ตรงกัน อาจจะมีคณะทำงาน เพื่อให้เขามีเวทีแล้วก็ฟังเขามากขึ้นว่าถ้าจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเค้าขับเคลื่อนเริ่มจากย่านไปถึงเมืองสกลตรงนี้มันต้องมาแชร์กัน

และเรื่องของแผนในการพัฒนาระยะยาวปลายทางของงานของ CEA คือ ทำยังไงที่เราทดลองแล้ว 4 วันของสกลจังซัน เราเรียกว่าเป็น Test day ทำให้ดูภายใต้การไม่มีเงื่อนไข ทำอะไรก็ได้เหมือนที่จัดที่กรุงเทพมหานคร เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ เราขอกรุงเทพมหานครเราอยากจะเพ้นท์อะไรก็ได้คือนอกกฎหมดเลยใน 9 วัน เพื่อจะเทสว่า ดีหรือไม่ดี คนชอบคนไม่ชอบ ชุมชนโอเคไหมหรือชุมชนต่อต้านไหม ทั้งหมดคือกระบวนการทดลอง งั้นตอนที่เราทำสกลจังซั่น ต้องบอกว่าเราทำหน้าที่เป็น Facilitator ทำหน้าที่เป็นคนสนับสนุนมากกว่า ซึ่งเป็นส่วนคร่าว ๆ ของเรา ซึ่งจริง ๆ มันมีภาพบทบาทอีก สุดท้ายเราอยากให้กระบวนการของสกลจังซั่นโดยคนสร้างสรรค์ของสกลถูกถอดบทเรียนและนำมาสร้างระบบนิเวศของย่านด้วยคนขับเคลื่อน ต่อไปสกลจะเป็นพี่เลี้ยงให้กับเมืองต่าง ๆ แล้วเราควรจะคราฟในแบบสกลเองไม่ต้องไปมองคนอื่น หาอัตลักษณ์ของสกลให้ได้”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพอนาคตเมืองสกลที่อยากจะให้เป็น สกลนครยังต้องการส่วนร่วมคิด ร่วมลงมือ เพื่อให้สกลนครเป็นเมืองของทุกคน อยากจะชวนผู้อ่านและคุณผู้ชมทางบ้านร่วมกันแสดงความคิดเห็นและโหวตเลือก “ฉากทัศน์ภาพอนาคตของเมืองสกลนคร” สามารถติดตาม รายการเพิ่มเติมและร่วมโหวตเลือกฉากทัศน์ที่น่าจะเป็นหรือแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ที่ www.thecitizen.plus หรือร่วมเสนอประเด็นเพื่อให้เกิดเวทีฟังเสียงประเทศไทยกับไทยพีบีเอส และเรื่องราวในอีสานกับแฟนเพจอยู่ดีมีแฮง และ Thai PBS

ร่วมโหวตฉากทัศน์ภาพอนาคตเมืองสกลนคร

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ