เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีตัวแทนจากชุมชนพื้นที่คุ้มครองตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 (คุ้มครองวิถีกะเหรี่ยง) และ 2 มิถุนายน 2553 (คุ้มครองวิถีชาวเล) และชุมชนชาติพันธุ์ที่กำลังเตรียมประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครอง เพื่อยกระดับวิถีให้เท่าเทียมกับผู้คนในสังคม ในฐานะพลเมืองไทย
- ศูนย์ได้จัดกิจกรรม “Culture Learning Living Together เรียนรู้ อยู่ร่วม” ซึ่งมีหลากหลายชุมชนมาร่วมงานและนำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจัดแสดง รวมทั้งเปิดให้ผู้คนได้มาเรียนรู้ workshop สำหรับผู้คนในเมืองได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ workshop มัดย้อมผ้ากะเหรี่ยง โปว์ จากบ้านห้วยหินดำ จ.สุพรรณบุรี คือหนึ่งในกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้มาร่วมทำกิจกรรม มีทั้งนักศึกษา ประชาชน ชาติพันธุ์ต่างชุมชน และผู้สนใจแวะเวียนสลับมาทำกิจกรรม
บ้านห้วยหินดำ คือชุมชนกะเหรี่ยงโผล่ว แปลว่าบริสุทธิ์ คนภายนอกรู้จักเขาในชื่อ กะเหรี่ยงโปว์ ตั้งอยู่ที่ ต.วังยาว อ.ด้านช้าง จ.สุพรรณบุรี ชุมชนตั้งอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี ณ แผ่นดินผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย
ที่นี่ทำไร่หมุนเวียนหล่อเลี้ยงวิถี มีพิธีกรรมดูแลป่า และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ และในโอกาส 30 ศมส. ชุมชนได้เดินทางมาร่วมและนำผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มาได้เรียนรู้แลกเปลี่ยน
โพควา มีโอกาสได้ลองทำกิจกรรมดังกล่าว และได้สัมภาษณ์ชาวบ้าน(คนใส่เสื้อสีเขียวในภาพ) ถึงความตั้งใจของการ workshop ครั้งนี้ ป้าเล่าว่า
และนี่คือองค์ความรู้ชุมชน ที่วิวัฒนาการจากบรรพชนสู่ความร่วมสมัย ที่ผลิตภัณฑ์ที่ปรากฎให้สังคมเห็นไม่เพียงแค่เป็นสินค้า แต่ยังสะท้อนถึศักยภาพด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งมีการเรียนรู้อย่างเป็นพลวัตเพื่อสอดรับกับยุคสมัยสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป โดยมีหลักสำคัญคือ ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
#30ปีศมส #พื้นที่คุ้มครอง #กะเหรี่ยง #ผ้ามัดย้อม #ภูมิปัญญา #ชาติพันธุ์