ปิดเหมือง ฟื้นฟู l ประกาศเจตนารมณ์จากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด

ปิดเหมือง ฟื้นฟู l ประกาศเจตนารมณ์จากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด

ชาวบ้าน  “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” จาก 6 หมู่บ้าน คือ ห้วยผุก กกสะทอน(ฝากห้วย) นาหนองบง แก่งหิน โนนผาพุงพัฒนา และ ภูทับฟ้าพัฒนา  ใน ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังและฝุ่นละอองจากการระเบิดภูเขา  ที่สำคัญคือแหล่งน้ำและแหล่งอาหารของชุมชนปนเปื้อนด้วยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม แมงกานีส อีกทั้งยังตรวจพบสารพิษปนเปื้อนอยู่ในกระแสเลือดของชาวบ้านเกินค่ามาตรฐาน  พวกเขาได้รวมตัวกัน ณ หมู่บ้านกกสะทอน เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา และประกาศเจตนารมณ์ปิดเหมือง ฟื้นฟู  โดยใช้ชื่องานว่า “ทำบุญภูทับฟ้า ต่อชะตาภูซำป่าบอน หาบคอนภูเหล็ก ครั้งที่ 5”

ชื่องานมีความเกี่ยวเนื่องกับ 3 ภูเขาหลักของชุมชน ได้แก่ “ภูทับฟ้า”  ที่ถูกระเบิดเป็นหลุมลึกเพื่อทำเหมืองทอง  ทั้งยังมีโรงถลุงแร่และบ่อไซยาไนด์ตั้งอยู่เป็นต้นตอก่อมลพิษต่อชุมชน  ส่วน “ภูซำป่าบอน”  มีการขุดเอาแร่ไปแล้วบางส่วน  ปัจจุบันใบอนุญาตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าหมดอายุและมีคำสั่งให้เหมืองออกจากพื้นที่ไปแล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่ยอมทำการฟื้นฟูสภาพนิเวศน์ ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้เหลือเพียงน้ำในบ่อแร่ที่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ  ภูเขาที่สำคัญอีกภูหนึ่งและเป็นภูสุดท้ายที่ชาวบ้านเหลืออยู่ คือ “ภูเหล็ก” ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ติดกับภูทับฟ้า วันนี้ภูเหล็กยังมีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ มีของป่า หน่อไม้ เห็ด และสัตว์ต่าง ๆ ให้ชาวบ้านไปเก็บ ไปล่ามารับประทานได้  

ขณะนี้ทางเหมืองมีโครงการขยายเหมืองทองคำมายังภูเหล็ก ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการขอประทานบัตร แต่ชาวบ้านเห็นว่าควรจะรักษาภูเหล็กไว้มากกว่าจะนำไปทำเหมืองทอง จึงช่วยกันปกป้องภูเหล็ก ซึ่งเป็นอาหารแหล่งสุดท้ายของชาวบ้าน ไม่ให้กลายเป็นเหมืองแร่ทองคำ

ทั้งนี้กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงประกาศเจตนารมณ์ปิดเหมือง ฟื้นฟูและไม่อยากเห็นใครได้รับผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่อีกต่อไป

20151901165913.jpg

 

ประกาศเจตนารมณ์

ปิดเหมือง ฟื้นฟู คือเป้าหมายของเรา

ก่อนอื่น  ขอแสดงความเสียใจต่อตาสุวัต จุตตะโน  ชาวบ้านฟากห้วยที่ได้จากพวกเราไปเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2558ที่ผ่านมา  ซึ่งความตายของเขาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการได้รับสารพิษจากการทำเหมืองทอง  ทั้ง ๆ ที่ที่นาของเขาอยู่บริเวณท้ายน้ำของลำธารที่ไหลอยู่ข้างเขื่อนไซยาไนด์ของเหมือง  เป็นเขื่อนที่มีความเป็นพิษสูง  ทำให้น้ำในลำธารมีสีแปลก ๆ อยู่เสมอ

การจากไปของตาสุวัตยืนยันให้เห็นความเลวร้ายอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความล้าหลังของระบบราชการและงานวิชาการในสังคมไทย  นั่นคือ  “ความเจ็บป่วยของคนและชุมชนที่อยู่รอบแหล่งกำเนิดมลพิษ ไม่สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งกำเนิดมลพิษได้”

ในทางตรงข้าม  การจากไปของตาสุวัตได้สร้างแรงพลังมหาศาลให้กับพวกเราในการมุ่งมั่นที่จะปิดเหมือง ฟื้นฟู  ก็เพราะเราไม่อยากเห็นความตายของพี่น้องเราเพิ่มขึ้นอีก  ที่ความตายของพวกเขาเป็นแค่วัตถุศึกษาของหน่วยงานราชการและนักวิชาการที่เห็นแก่ตัว  ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะเชื่อมโยงความเจ็บป่วยและความตายของพวกเรากับการทำเหมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ

สองปีที่ผ่านมา  กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากการโดนคดีความและโดนทุบตีอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนจากแก๊งทหารในค่ำคืนวันที่ 15 พฤษภาคม 2557  ซึ่งจนบัดนี้  กระบวนการยุติธรรมยังเฉื่อยชาไม่สามารถจับคนร้ายมาลงโทษได้  มิหนำซ้ำ  พวกเรายังถูกบีบคั้นกดดันจากทหาร คสช. ที่เข้ามาประจำการในพื้นที่  แทนที่จะมาดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้เรา  แต่กลับไปเข้าข้างเหมืองด้วยการสนับสนุนทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของเหมือง  ส่วนพวกเราให้หยุดทุกกิจกรรมที่ต่อต้านเหมืองไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประชุม  ปรึกษาหารือ  ขึ้นป้ายต่อต้านเหมือง  จัดเวทีสัมมนาพูดคุย  เดินรณรงค์ต่อต้านเหมือง  จับตาการเคลื่อนไหวของพวกเราทุกฝีก้าว เป็นต้น  

จนในที่สุด  มีความพยายามทำบันทึกข้อตกลงเพื่อแลกการถอนคดีทั้งหมดกับการขนแร่ที่เหลือและเปิดเหมืองดำเนินกิจการใหม่อีกครั้งหนึ่ง  กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านจึงขอประกาศต่อสาธารณะให้ทราบโดยทั่วกันว่าสิ่งที่พวกนั้นได้ไปเพียงแค่การถอนคดีความทั้งหมดแลกกับการขนแร่ที่เหลือออกไปจากภูทับฟ้าเท่านั้น  ส่วนเรื่องการขอเปิดเหมืองใหม่ไม่มีการตกลงใด ๆ ทั้งสิ้น

และจากความตายของตาสุวัตผู้ที่เจ็บป่วยเสียจนกล้ามเนื้ออ่อนแรงแขนขาลีบจากการมีสารพิษโลหะหนักหลายชนิดเกินค่ามาตรฐานในร่างกาย  แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงสาเหตุไปถึงแหล่งกำเนิดมลพิษจากการประกอบกิจการของเหมืองได้  เราจึงเห็นว่า  สังคมไทยมาถึงจุดพิกลพิการทางความคิดเสียจนมองไม่เห็นค่าของความเป็นคนของพวกเรา  ดังนั้นแล้ว  พวกเราไม่อยากตกเป็นเหยื่อของเหมืองอีก  หนทางที่ดีที่สุดที่พวกเราจะมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย  กินอิ่มนอนอุ่น  มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข  มีหนทางเดียวเท่านั้น  นั่นคือ  ต้องปิดเหมืองถาวรและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและเยียวยาสุขภาพอนามัยให้กับพวกเราเท่านั้น  รวมทั้ง  ภูเหล็กที่กำลังถูกขอประทานบัตรทำเหมืองทองพื้นที่ใหม่  เราก็จะไม่มีทางอนุญาตให้ทำเหมืองที่นี่ได้

ด้วยมาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน  ปีนี้เราจะรวมพลังต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินเกิดเอาไว้ให้ลูกหลานด้วยจิตใจที่เข้มแข็งและห้าวหาญเช่นเดิม  ไม่มีวันที่ใครจะมายุแหย่ให้พวกเราแตกแยกกันได้

ขอให้พวกเราทุกคน  รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย  ยืนสงบนิ่งหนึ่งนาทีเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของตาสุวัต จุตตะโน  และร่วมส่งพลังใจให้กับพวกเราในการต่อสู้เพื่อ “ปิดเหมือง ฟื้นฟู” ให้ได้

ขอแสดงความเคารพต่อประชาชนไทยทุกท่าน

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน

ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

18 มกราคม 2558

 

A statement of conviction by the Khon Rak Ban Koed Group (KRBKG)

Close the mine and restore the environment are our goals    

First of all, our deepest condolence on the death of Uncle Suwat Juttano, a villager from Fag Huay, who has left us on 11 January 2015.  People claim his death has nothing to do with contamination from the gold mine, even though the contaminated stream is situated right by his paddy field and cyanide has been constantly flushed downstream to his food production ground. Given the high toxicity of the reservoir behind the mine, the streams below it have often turned into weird colors.  

The tragic departure of Uncle Suwat does attest to the outdated and irrelevant functioning of the bureaucracy and academic circle in Thai society which have failed to establish the link between the frail health and diseases that have ravaged the communities with the origin of the pollution from the mine sites located so immediate to the communities.

After all, the departure of Uncle Suwat has amply empowered us and inspired us even more to move toward closing the mines and restoring the environment simply because we do not want to see more tragic and untimely deaths. The deaths of our people may become just a subject of study for the selfish state agencies and academics who as a result of their scant moral courage have failed to establish the connection between the morbidity and mortality in the communities with the polluting mining operation.

In the past two years, the  Khon Ruk Ban Kerd Conservation Group has beenwading through intense pressure. Legal cases have been filed against us, and our folk have been brutally beaten up by a racket of military officials the night of 15 May 2014. Investigation into the incidence has been so slow and no one has yet been held accountable. Worse, we have been subject to sheer pressure from the military officials from the National Council for Peace and Order (NCPO). Stationed in this area, instead of providing security to our lives and properties, they have been taking side with the mining operators and have been instrumental in any move made by them. We have simply been told to stop any activity against the mining operation.

Meetings and consultations have been banned; no signs or banners against the mine can be put up. In every move we have made, we have constantly been put under close vigil of the authorities even when we marched against the
mine, and other activities.  

Eventually, a deal was struck for us to sign a MoU to allow the mining operator to move out the remaining ore and to resume their operation in exchange for their withdrawal of all the cases against us. The Khon Ruk Ban Kerd  ( KRBG) Conservation Group of six villages would like to make it publicly known that in fact the deal only covers the transport of all the remaining ore outside the area and the withdrawal of the cases. It has nothing to do with allowing them to resume their mining operation. 

The death of Uncle Suwat could only be attributed to his muscular weakness and feeble limbs due to his chronic intake of heavy metal over the standard though the authorities have failed to establish the link between the ailment and pollution from the mining operation. It has made us realize that Thai society has reached the point where intellectual paralysis has made them fail to value our humanity. We do not want to fall victim to the mine anymore. The only solution that will ensure our safe living and comfortable and peaceful well being is the permanent closure of the mine and the restoration of the environment as well as the remediation of our health. In addition, no more new gold mining concessions to be granted on Phu Lek hill, adjacent to Phu Tab Fa  ; we shall never let it happen.  

An eye for an eye, we pledge to fight head on with brevity to protect our homeland and keep it for our children and no one can any longer divide us. 

May all of us, all distinguished   friends, stay in silence for one minute in commemoration of the departure of Uncle Suwat Juttano and may we extend our solidarity to those who fight to “close the mine and restore the
environment”.  

In solidarity with all Thai people
Khon Ruk Ban Kerd Conservation Group of six villages
Tambon Khao Luang, Wangsaphung Distric, Loei Province, Thailand

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ