วันนี้ (16 พ.ย.57) คณะจัดงาน “ทอล์คโชว์และบทเพลง “ผืนดินเรา ที่ดินใคร” สวมเสื้อดำ ปิดปาก ยืนถือแถลงการณ์ หน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ห้องประชุมชั้นใต้ดิน หลังทหารไม่ให้แถลงข่าว “ไม่มีงานทอคโชว์ภายใต้ท๊อปบูท”
เวลาประมาณ 13.30 น. ตำรวจสน.ชนะสงครามประสานมาว่า ทหารห้ามใช้อนุสรณ์ส
ภายในห้องสอบสวน สน.ชนะสงคราม มีเจ้าหน้าที่ทหารยืนหน้าห้
จากข่าวการจัดงาน “ทอล์คโชว์และบทเพลง ผืนดินเรา ที่ดินใคร” ถูกทหารกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ ได้สั่งให้ชี้แจงรายละเอียดการจัดงาน ชี้แจงเอกสารการจัดงาน ซึ่งทางผู้จัดได้มีการส่งเอกสารไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 เมื่อช่วงสายของวัน ที่ 15 พฤศจิกายน 2557 ได้มีการเปิดเผยจากทางผู้จัดว่า ได้รับการประสานงานจาก พันโทภาสกร กุลรวิวรรณ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ว่าทาง คสช. ไม่อนุมัติการจัดงานดังกล่าวในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 แต่ปฏิเสธที่จะส่งหนังสือที่ คสช.ไม่อนุมัติการจัดงานให้กับทางผู้จัด ทางทหารบอกแค่ว่า ไม่อนุมัติให้จัดงานในวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ ด้วยเหตุผลว่าไม่สบายใจกับวิทยากรบางราย หากผู้จัดไม่ยินยอมปรับตามคำแนะนำก็จะไม่มีโอกาสได้จัด รวมทั้งต้องจัดส่งเนื้อหาการพูดของวิทยากรให้ฝ่ายความมั่นคงพิจารณาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้จัดไม่อาจปฏิบัติตามได้ และเมื่อผู้จัดถามถึงหนังสือตอบกลับเป็นลายลักษณ์อักษร เขาบอกว่าให้ไม่ได้เป็นหนังสือภายใน
งานาน “ทอล์คโชว์และบทเพลง ผืนดินเรา ที่ดินใคร” เป็นการรวม 5 บุคคล จาก 5 วงการมาทอล์คโชว์และแสดงดนตรีในวันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน ได้รับความสนใจจากผู้คนและสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก เพราะมีแขกรับเชิญคนดังจากหลายวง การเช่น อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ อ.ผาสุก พงษ์ไพจิต คุณตุล อพาร์ทเมนท์คุณป้า คุณประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ที่กำลังจัดกิจกรรมเดินก้าวแลกเพื่อปฏิรูปที่ดิน อยู่ที่ จ.เชียงใหม่ และคุณพฤ โอ่โดเชา ชาวปกากญอ โดยคณะทำงานรณรงค์กฎหมาย 4 ฉบับเป็นผู้รับผิดชอบในการงานดังกล่าว
จดหมายเปิดผนึก กรณี คสช.ห้ามจัดงานทอล์คโชว์และบทเพลง “ผืนดินเรา ที่ดินใคร”
คณะทำงานขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับ
ด้วยกรณีทหารกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ อ้างหน่วยเหนือ คสช. สั่งห้ามจัด “งานทอล์คโชว์และบทเพลง “ผืนดินเรา ที่ดินใคร” ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 ณ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้พูด 5 ท่าน ได้แก่ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ อ.ผาสุก พงษ์ไพจิต นายตุล ไวฑูรเกียรติ ศิลปินวงอพาร์ทเมนท์คุณป้า นายประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และนายพฤ โอ่โดเชา ชาวปกากญอผู้รักษาวิถีชุมชนกับการอนุรักษ์ การจัดงานดังกล่าวเน้นการสื่อสารสังคม เพื่อให้เกิดการรับรู้ในประเด็นที่ดิน นิเวศวิทยา ที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการปฏิรูปที่ดิน นั้น
คณะทำงานขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับ ผู้จัดกิจกรรม ขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างถึงที่สุด ในการแทรกแซงและปิดกันเสรีภาพในการเข้าถึงความรู้ รวมถึงการใช้กำลังปิดกั้นพื้นที่จัดงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบไม่เพียงกับผู้จัดเท่านั้นแต่ประชาชนทั่วไปก็จะได้รับเดือดร้อนด้วย ผู้จัดขอยืนยันว่า เราจะไม่หยุดดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาและความจำเป็นในการปฏิรูปที่ดินต่อไปให้ได้ เนื่องจาก ปัญหาที่ดินเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย ปัญหาที่ดินในประเทศไทยหยั่งรากลึก และเป็นเหตุสำคัญของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ที่นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และโดยเฉพาะปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับทศวรรษ โดยที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้
การกระทำดังกล่าวคุกคามสิทธิเสรีภาพอย่างชัดเจน และเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง ข้ออ้างที่ว่า กฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่นั้นเป็นเพียงการประกาศว่าทหารมีอำนาจ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้อำนาจคุกคามนั้นชอบธรรม ส่วนข้ออ้างที่ว่างานทอล์คโชว์อาจกระทบต่อความมั่นคง โดยกล่าวถึงวิทยากรบางท่าน ได้แก่ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์นั้น ก็เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการจัดทอล์คโชว์ไม่กระทบต่อความมั่นคงอย่างแน่นอน ทั้งนี้ หากสิทธิพื้นฐานอย่างสิทธิในการแลกเปลี่ยนทางปัญญายังไม่ได้รับการเคารพ เราก็ย่อมไม่มีทางหวังได้เลยว่าประเทศไทยภายหลังการปฏิรูปของ คสช.จะเป็นประเทศที่เคารพสิทธิพื้นฐานของประชาชน
คณะทำงานขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับ มีความเห็นว่า หลังการรัฐประหาร ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพ สิทธิทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาของประเทศ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการพูด เสรีภาพทางวิชาการ คนคิดต่างถูกจับ ปรับทัศนคติ กระทั่งปัจจุบัน ท่ามกลางวาระการปฏิรูปสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนก็ถูกปิดกั้น แทรกแซง และควบคุม โดยอำนาจกฎอัยการศึกเช่นเดิม ดังที่เกิดขึ้นในหลายกรณี อาทิ การละเมิดเสรีภาพวิชาการในการจัดห้องเรียนประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีการละเมิดเสรีภาพวิชาการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรณีการจับกุมประชาชนในกิจกรรมการเดินก้าวแลกเพื่อการปฏิรูปที่ดิน กรณีการแทรกแซงเสรีภาพวิชาการในการจัดกิจกรรมถกแถลงของเครือข่ายสันติศึกษา กรณีการแทรกแซงสื่อมวลชน ไทยพีบีเอส และกรณีสั่งห้ามจัดเวที “ทอล์คโชว์ – คอนเสิร์ต ผืนดินไทย แผ่นดินใคร”
พวกเรา คณะทำงานขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับ ประกอบด้วย เครือข่ายประชาชนที่ประสบปัญหาที่ดินทั่วประเทศ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายนักวิชาการ และนักกิจกรรมทางสังคม ซึ่งได้รณรงค์ขับเคลื่อนกฎหมายมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติธนาคารที่ดิน พ.ศ… ร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน พ.ศ… ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า พ.ศ…. และร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ… มีจุดยืนและท่าทีต่อการใช้อำนาจของกองทัพ และ คสช. ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยทันที เพื่อคืนเสรีภาพให้กับคนในสังคม อันเป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อันรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวมตัว สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม ทั้งยังเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
2 การปฏิรูปประเทศอันมุ่งหวังว่าจะนำความปรองดองมาสู่คนในชาติ ไม่มีหลักประกันใด ๆ ว่าความคิดเห็นของประชาชนจะถูกนำเอาไปใช้ในการปฏิรูป และย่อมไม่อาจเกิดขึ้น ภายใต้การคุกคามและละเมิดสิทธิพลเมือง เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพทางวิชาการ การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ จนเป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม ขาดการกระจายการถือครองที่ดินและโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจระดับปากท้อง ปัญหาของคนชายขอบ ที่พวกเขาต้องเรียกร้องเพื่อความเท่าเทียม และการมีความมั่นคงในชีวิต
3. กรณีปัญหาของประชาชนด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงาน ความยากจน การคัดค้านนโยบาย แผนงานและโครงการพัฒนาของรัฐและเอกชนที่กระทบต่อวิถีชีวิตประชาชนและชุมชน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและสุขภาพ อาทิ กิจกรรมเครือข่ายประชาชนภาคเหนือในการจัดกิจกรรมเดิน ก้าว แลก ในการเรียกร้องแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินที่เป็นปัญหาต่อเนื่องมาหลายรัฐบาล มีความพยายามในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและคลื่นใต้น้ำ เพื่อกำราบการเรียกร้องแก้ไขปัญหาและสร้างมโนภาพต่อสังคมที่บิดเบือนของฝ่ายผู้มีอำนาจนั้น นอกจากเป็นนิทานที่ถูกสร้างขึ้นแล้วนั้น ยังแสดงถึงความล้มเหลวในความชอบธรรมของรัฐบาล
สุดท้ายนี้ คณะผู้จัดงาน งานทอล์คโชว์และบทเพลง “ผืนดินเรา ที่ดินใคร” คณะทำงานขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับ ขอบคุณวิทยากรแต่ละท่านที่ยินดีมาให้ความรู้กับพี่น้องประชาชน อย่างไรก็ตามแต่ละท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่อย่างใด และขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่าน มา ณ ที่นี้
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน