ฟังเสียงประเทศไทย : ฟังอนาคตเสียงนกเขาชวาจะนะ

ฟังเสียงประเทศไทย : ฟังอนาคตเสียงนกเขาชวาจะนะ

This image has an empty alt attribute; its file name is 277162533_397176255579835_7961830163871397533_n335777667733-1.png

ถ้าใครเดินทางไปถนนสาย 43  หาดใหญ่ – ปัตตานี  ใช้เวลาออกเดินทางจากหาดใหญ่ราว 40 นาทีจะสังเกตเห็นสัญลักษณ์หอนาฬิกาและนกเขาชวาขนาดใหญ่รายล้อมไปด้วยธงอาเซียนอยู่ที่อ.จะนะ จ.สงขลาสัญลักษณ์นี้มีที่มาอย่างไร  ฟังเสียงประเทศไทยชวนค้นหาคำตอบ

This image has an empty alt attribute; its file name is 11.png

แต่สำหรับชาวจะนะ  หลายคนบอกว่าตั้งแต่จำความได้ ก็เห็นกรงนกเขาชวาแล้ว ซึ่ง ก็พบว่าแทบทุกครัวเรือนจะมีกรงนกเขาชวาแขวนอยู่หน้าบ้านแล้ว ตอนเช้าต้องมาดูแลนกเขา นำไปขึ้นเสาตากแดดก่อนไปทำงานเพื่อให้นกเขาได้ออกเสียงเต็มที่เวลาอยู่ในบ้านก็คอยดีดนิ้วร้องเรียกให้นกเขาขันคูช่วยให้นกเขาคุ้นกับคนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวจะนะ

ความรู้และภูมิปัญญาในการเลี้ยงนกเขาที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้านในอำเภอจะนะมีความเชี่ยวชาญในการ
เพาะเลี้ยงและคัดเลือกนกเขาที่มีคุณลักษณะที่ดี เสียงไพเราะ หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ ประเทศไทยปรากฎหลักฐานการเลี้ยงนกเขาชวามากว่า 350 ปี

ดูข้อมูลข้อเท็จจริง นกเขาชวาจะนะ

This image has an empty alt attribute; its file name is 277162533_397176255579835_7961830163871397533_n-1.png

แล้วทำไมนกเขาชวา ต้องเป็นที่ อ.จะนะ ?

  • อ.จะนะ เป็นแหล่งผสมพันธุ์นกเขาชวาป่าคู่แรกของประวัติศาสตร์ไทย  โดยอ.ปิ่น จินตนา เอาพ่อพันธุ์นกเขาชวาป่า มาผสมนกแม่พันธุ์ของอ.ถวิล ศิริกุล ได้นกพ่อพันธุ์ ตั้งชื่อให้ว่า “สะอะ” ตามชื่อเจ้าของนกพ่อพันธุ์  หลังจากนั้นชาวจะนะเริ่มนิยมนำมาเลี้ยงที่บ้าน เอาไปผสมพันธุ์ต่อ
  • ปี พ.ศ. 2535  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ถอด“นกเขาชวา” ออกจากบัญชีสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535  และอนุญาตให้เพาะเลี้ยง  ทำให้ตลาดนกเขาชวาขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆจากราคาเริ่มต้นคู่ละ 500 บาท จนถึงคู่ละเป็นแสนพร้อมกับการแข่งขันประชันเสียงเป็นสนามนานาชาติในปัจจุบัน
This image has an empty alt attribute; its file name is 277162533_397176255579835_7961830163871397533_n335.png

3 ข้อมูลน่าสนใจของนกเขาชวา

1. จากข้อมูลพบว่านกเขาชวา 1 ตัว  สามารถมูลค่าทางเศรษฐกิจในอดีตปีละไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท สามารถสร้างอาชีพต่อเนื่องถึง 17 อาชีพ ประกอบไปด้วย

  • ธุรกิจต้นน้ำ ธุรกิจฟาร์มนกและการเพาะเลี้ยงนก จากการสืบค้นข้อมูล พบว่าพื้นที่จะนะมีคนเลี้ยงนกเขาชวาประมาณ 700-800 คน เลี้ยงมากที่สุดในพื้นที่  ต.ตลิ่งชัน ต.บ้านนา
  • ธุรกิจกลางน้ำ – อาชีพทำกรงนก อาหารนก ข้าว อุปกรณ์ตกแต่งที่เกี่ยวข้อง
  • และธุรกิจปลายน้ำ – ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งและของที่ระลึก ที่เกี่ยวข้อง กีฬาการแข่งขันนกประชันเสียงนกเขาชวา 

2. แหล่งวัตถุดิบและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงนกเขาชวามีครบวงจรอยู่ที่นี่

  • พื้นที่ที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์นกเขาชวาเสียง มากที่สุดอยู่ที่ต. ต.บ้านคู ต.บ้านนา
  • พื้นที่มีช่างทำกรงนกเขาชวาและอุปกรณ์มากที่สุดอยู่ที่ ต. บ้านนา บ้านหัวดิน ต.ป่าชิง
  • ไม้ไผ่สีสุกและไม้ไผ่ตง ซึ่งวัตถุดิบหลักในการทำกรงมาจาก ต.สะพานไม้แก่น
  • และแหล่งปลูกข้าวนก หรือ ข้าวเม็ดมะเขือ แหล่งใหญ่ที่สุด อยู่ที่  ตำบลบ้านคู ต.บ้านเเคร์  เเละบ้านโคกเค็ต จุดเด่นเมล็ดกลม

3. โจทย์และข้อท้าทาย เส้นทางเศรษฐกิจนกเขาชวา

  • สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2547 ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก คุมเข้มการส่งออก  ส่งผลต่อตลาดส่งออกของนกเขาชวา
  • สถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดทั่วโลก ทำให้ปิดด่านพรมแดน ลดเคลื่อนย้ายคน และการรวมกลุ่มทำให้ตอนนี้ไม่สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้มาเกือบ 3 ปี
  • อาชีพทำกรงนกเป็นอาชีพที่ทำกันภายในครอบครัว เป็นสินค้าประจำตำบล ทำให้กำลังการผลิตมีน้อยตลาดความนิยมของคนเฉพาะกลุ่ม ช่างฝีมือในงานศิลปะการแกะลายหายาก ช่างรุ่นใหม่ที่จะสืบทอดมีน้อย
  • ขาดแคลนวัตถุดิบหลักสำหรับทำกรงนก ไม้ไผ่ หวาย ตอนนี้นำเข้าจากประเทศมาเลเซียและสามจังหวัดชายแดนใต้ ตอนนี้ต้องหาวัตถุดิบทดแทน
This image has an empty alt attribute; its file name is 277162533_397176255579835_7961830163871397533_n33577766.png

โอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นกับ  “นกเขาชวา” เสียงแห่งอาเซียน 

  • ปี พ.ศ.2558 อาเซียนเปิดตลาดการค้าเสรี เป็นโอกาสของกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งนำเข้ากรงนกและนกเขาชวาจากประเทศไทย ต้องแก้กฎหมายการคุมเข้มการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกจากการระบาดของไข้หวัดนก
  • มีการรวมกลุ่มสมาชิก “ประชาคมผู้เลี้ยงนกเขาชวาอาเซียน”เป็นโอกาสของพัฒนาเส้นทางนกเขาชวาสู่สากล
  • ปัจจุบันมีการบรรจุการแข่งขันกีฬาประชันเสียงนกเขา ในปฎิทินการท่องเที่ยวพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชายแดนใต้ กีฬาประชันเสียงนกเขา มีเวทีแข่งขันระดับท้องถิ่นและสากล
  • สามารถสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์กรงนกบนฐานแนวคิด เศรษฐกิจปราณีต (Craft Economy) เช่น หัวกรงแกะสลัก กรงลวดลายพิเศษ
  • สามารถพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์กรงนกบนฐานแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อตอบโจทย์ตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่

  3 ฉากทัศน์ เส้นทางเศรษฐกิจนกเขาชวา

This image has an empty alt attribute; its file name is 277162533_397176255579835_7961830163871397533_n-1024x576.png

ฉากทัศน์ 1   ของดี หายาก RARE ASSET เน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพ เพื่อให้อยู่รอดอย่างยั่งยืนจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ด้วยการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดอย่างรวดเร็ว ทำให้การเติบโตเชิงปริมาณเป็นไปได้ยาก มีการแข่งขันสูง การสร้างความยั่งยืนจึงน่าจะเน้นไปที่การประยุกต์แนวคิด Craft Economy และ Creative Economy เข้าด้วยกัน โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการอนุรักษ์ เทคนิคการเลี้ยง งานช่างฝีมือ วัสดุและการออกแบบ เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างรายได้ที่สูงมากเพียงพอให้กับกลุ่มคนผู้สูงอายุที่เชี่ยวชาญ รวมถึงดึงคนรุ่นใหม่มาทำการออกแบบ สร้าง story และทำการตลาดโดยเน้นตลาดระดับบน ไม่เน้นการขยายตัวเชิงปริมาณาเพิ่ม

ฉากทัศน์ 2 ทางเลือกอาชีพDIVERSIFIED สร้างทางเลือกของอาชีพที่ตั้งอยู่บนฐานทรัพยากรพื้นที่

อาชีพการเลี้ยงนกเขา เป็นเพียงหนึ่งในความเป็นไปได้ที่หลากหลาย แต่เป็นทางเลือกที่ดีและควรสนับสนุนเพราะอยู่บนฐานทรัพยากรพื้นที่และความคุ้นเคยของคน แต่ด้วยเงื่อนไขที่คนรุ่นใหม่อาจมีความสนใจในการประกอบอาชีพที่แตกต่างออกไป แนวทางที่ควรดำเนินการจึงต้องให้ความสำคัญกับการต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบใหม่ๆ เช่น ระบบการค้าออนไลน์ ชุดสินค้าที่ระลึก และ การสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นใหม่ที่ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาเรื่องนกเขาชวาแต่เพียงอย่างเดียว

ฉากทัศน์ 3 แหล่งนกเขาระดับโลกWORLD HUB พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการยกระดับงานพัฒนานกเขาชวาอย่างครบวงจร เพื่อเป็นแหล่งรายได้สำคัญของพื้นที่

มองการเลี้ยงนกเขาชวาเป็นจุดเด่นที่มีโอกาสสร้างมูลค่าสูงในระดับนานาชาติได้ จึงควรจะต้องมีการพัฒนาและการลงทุนเพิ่มเติมอย่างจริงจังในทุกมิติ เช่น การวิจัยและพัฒนา เทคนิคการเลี้ยง การออกแบบและการผลิต การตลาดเชิงรุก และ การสร้าง BRAND ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เด็กรุ่นใหม่ และเครือข่ายสถาบันการศึกษาท้องถิ่น จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานโดยทำงานต่อยอดจากคนรุ่นเก่า

อยากเห็นภาพฉากทัศน์ “เส้นทางเศรษฐกิจนกเขาชวา” เป็นแบบไหน ? คุณผู้ชมสามารถร่วมกันโหวตภาพฉากทัศน์ ร่วมกับชาวจะนะได้ที่นี่  คลิ๊กที่นี่

This image has an empty alt attribute; its file name is 1123.png

หากมองภาพอนาคต ภายใต้ฉากทัศน์  ทั้ง  4 ท่าน มองอย่างไร  ?  เราชวนคีย์เเมนที่มากด้วยประสบการณ์ในเส้นทางนกเขาชวาจะนะ มาร่วมให้ข้อมูลเเละเเลกเปลี่ยน ได้เเก่คุณอานัส วันนิ เป็นประธานกลุ่มกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการทำกรงนก บ้านหัวดินเหนือหมู่ที่ 8 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะผลิตจำหน่ายและยังส่งไปขายถึงต่างประเทศ ,คุณสินาด ตรีวรรณไชย  คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ มีความสนใจ เศรษฐศาสตร์สาธารณะการพัฒนาอย่างยั่งยืนทำงานร่วมกับชุมชน และสนใจประเด็นนกเขาชวา ที่สร้างเศรษฐกิจในพื้นที่รวมถึงการต่อยอดที่จะสร้างมูลค่าในมิติอื่นๆ,คุณสมหมาย ขวัญทองยิ้ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงนกเขาชวาแห่งประเทศไทย  ประสบการณ์ผ่านการเป็นกกรรมการตัดสินการแข่งขัน ข้าราชการ ผู้ส่งออกนกเขาชวาเสียง มีฟาร์มเพาะเลี้ยงนก และที่สำคัญเป็นครูสอนอบรมกรรมการตัดสินนกเขาชวา เเละท่านสุดท้าย คุณยีหวัง สะมะแอ ขะมะเหร็ม รองประธานชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา หนึ่งใน 17 ภูมิปัญญา ของ อ.จะนะ จ.สงขลา ที่มีมูลค่าสูงสุดตัวละกว่า 1 ล้านบาท เจ้าของฟาร์มนกเขาชวาเสียง

This image has an empty alt attribute; its file name is 112.png

ดร. สินาด ตรีวรรณไชย  กับ ฉากทัศน์ “ของดีหายาก” มองว่า อันแรกเป็นเรื่องของดีหายาก เป็นภาพอนาคต ที่แปลว่าต้องทำให้สอดรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  เราเป็นสังคมสูงวัยเราทำงานจนแก่ คนหนุ่มสาวมีน้อยลง และเงื่อนไขที่สองคือ คนหนุ่มสาวการศึกษาก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆความสนใจ ในอาชีพอาจจะมีความแตกต่างกันกับพ่อแม่ และเงื่อนไขที่สาม ก็จะมีการใช้เครื่องจักร AI เข้ามา ทดแทนคนมากขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ทดแทนไม่ได้คือสิ่งที่จะอยู่รอดในอนาคต ทักษะขั้นสูงที่เป็นภูมิปัญญาการทำกรง การเลี้ยงนกเขาชวาที่ปราณีต ไม่มีอะไรทดแทนได้ และเป็นจุดเด่น แต่ข้อเสีย คือไม่ใช่ใครจะทำได้ทุกคน แต่ถ้าใครที่เข้ามาทำแล้วก็จะอยู่ได้ไปตลอด ถ้ามีฝีมืออยู่ได้อย่างมั่นคง แต่สิ่งที่จะต้องทำให้มีความต่อเนื่อง ต้องการความช่วยเหลือคือรัฐเองต้องมาถอดองค์ความรู้ตรงนี้เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ต้องทำให้เป็นวงกว้างกว่านี้ ความรู้พัฒนาเป็นหลักสูตรให้กับน้องในระดับมหาวิทยาลัยได้เลย

อานัส วันนิ ประธานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพบ้านหัวดินเหนือ อ.จะนะ จ.สงขลา เลือกฉากทัศน์ ทางเลือกอาชีพ มองว่า ภาพที่สอง น่าจะเป็นไปได้กับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ซึ่งยุคปัจจุบันที่มีเครื่องมือสื่อสารมันล้ำหน้า กว่ารุ่นก่อนๆไป การนำเสนอข้อมูลผ่านการสื่อสารผ่านออนไลน์ไปได้ไกล ปัจจุบันคนที่ไม่ได้เลี้ยงนกเขาก็มีความต้องการมาก  เราพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบกรงนกเป็นของใช้ ของที่ระลึก ของตกแต่ง  มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น เราพบว่าโอกาสการนำเสนอไปได้ไกล

สมหมาย ขวัญทองยิ้ม นกยกสมาคมผู้เลี้ยงนกเขาชวาห่างประเทศไทย เลือกฉากทัศบน์ ทางเลือกอาชีพเล่าว่าฉากทัศน์นี้เป็นความหลากหลายของอาชีพที่เกี่ยวข้องอนาคต เรามีช่องทาง ในการสื่อสาร อย่างตอนนี้ นกเขาชวา ก็ขายผ่านออนไลน์ คนรุ่นใหม่อัดเสียงนกส่งไปในโซเซียลมีเดีย คนที่สนใจก็เข้ามาดู ชอบก็ติดต่อซื้อขาย  แต่ตอนนี้มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้า  แต่อนาคตเมื่อสถานการณ์คลี่คลายสามารถพัฒนาให้เป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ดีขึ้น

This image has an empty alt attribute; its file name is 112345.png

สะมะแอ มะขะเหร็น  รองประธานชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา อ.จะนะ จ.สงขลา ฉากทัศน์ แหล่งนกเขาระดับโลก เล่าว่า นกเขาจะนะ ที่นี่เป็นที่แรกที่สามารถผสมพันธ์ได้เสียงดี ของประเทศไทย ที่นี่เป็นระดับโลกอยู่แล้ว ที่ไหนๆไม่สามารถเทียบที่จะนะได้ เพราะเป็นต้นฉบับ คนฟังเสียงนกเขาชวาจะนะต้องยกจะนะเป็นอันดับหนึ่ง  นกเขาชวาสียงไม่เคยที่จะหายไปนาน สักปีสองปี ก็ขึ้นมาเป็นแชมป์ เป็นต้นตำหรับ และต้นทุนหลายอย่างเลี้ยง ดูแล ตลอดสายพานตรงนี้มีอยู่ที่จะนะ การที่จะดันไปสู่ระดับโลกได้ 

สำหรับโอกาสการไปต่อของ “เส้นทางเศรษฐกิจนกเขาชวา”  สมหมายมองว่า  การมาพูดคุยกันครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่จะทำให้ นกเขาชวาและอาชีพที่ต่อเนื่อง จะทำอย่างไรให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพราะที่ผ่านมา การอนุรักษ์ภูมิปัญญา สถาบันการศึกษา ภาครัฐ สิ่งเหล่านี้ชาวบ้านถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีระบบและข้อมูลที่ชัดเจน  เราสามารถที่ผสมให้เป็นตัวนกได้แต่ไม่มีสูตรที่จะผสมให้เสียงออกมาดีได้  ถือเป็นโอกาสดีในการอนุรักษ์ทั้งระบบ

อานัส เล่าเสริมว่า เป็นความภูมิใจ ที่เกิดมาเป็นคนจะนะ นกเขาชวาสร้างทุกอย่างให้กับคนส่วนใหญ่ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่จะนะถ้าเรามามอง ย้อนไปในการอยู่ร่วมกันซึ่งมีนกเขาเป็นตัวเชื่อม จะนำพาจะนะเราไปสู่ทุกระดับ และพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้ คนรุ่นใหม่เราก็จะพยายามผลักดันให้เข้ามาสู่กระบวนการทำ ต่อยอดเพื่อให้เขาได้ภูมิใจที่เกิดเป็นคนจะนะ

สินาด ทิ้งท้ายว่า การพัฒนาพื้นที่ไม่ได้มีแนวทางเดียว จริงๆฉากอนาคตแต่ละฉากก็จะเหมาะกับความถนัดของแต่ละคน แต่อย่างไรก็บตาม คิดว่าอันที่นี่สนใจมาก คือมันมีทางออกที่เราจะรักษาอาชีพและความภูมิใจไว้ และในอนาคต เศรษฐกิจก็จะไปได้ด้วยและคิดว่าภาครัฐควรจะมองเศรฐกิจแบบนี้ให้เยอะๆ

This image has an empty alt attribute; its file name is 11234.png

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเป็นไงบ้าง? คุณสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและโหวตเลือก “ภาพอนาคตเส้นทางเศรษฐกิจนกเขาชวาจะนะ” ได้ที่

พร้อมร่วมเสนอประเด็นเพื่อให้เกิดเวทีฟังเสียงประเทศไทยกับไทยพีบีเอส ทั้งประเด็นระดับชาติ และประเด็นท้องถิ่นใต้กับแลต๊ะแลใต้ และ Thai PBS

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ