บันทึก จากรัฐยะใข่ พฤศจิกายน 2558 บนชายหาดสีดำ มือที่เปื้อนดำ ชีวิตที่ต้องสู้ไม่แค่กับรัฐบาลตนเอง อีกมุมของชาวโรฮิงยา

บันทึก จากรัฐยะใข่ พฤศจิกายน 2558 บนชายหาดสีดำ มือที่เปื้อนดำ ชีวิตที่ต้องสู้ไม่แค่กับรัฐบาลตนเอง อีกมุมของชาวโรฮิงยา

บันทึก จากรัฐยะใข่ พฤศจิกายน 2558
บนชายหาดสีดำ มือที่เปื้อนดำ ชีวิตที่ต้องสู้ไม่แค่กับรัฐบาลตนเอง อีกมุมของชาวโรฮิงยา

หมู่บ้านประมงบนชายฝั่งของทะเลเบงกอลแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากซิตตเว เมืองใหญ่และศูนย์กลางของรัฐยะใข่ ประเทศเมียนมา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี พ.ศ.2555 ที่ทำให้หลายพันคนเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่การที่พื้นที่รอบนอกของหมู่บ้านกลายเป็นที่ค่ายพักช่วยคราวสำหรับชาวโรฮิงยาที่สูญเสียบ้าน หรือหนีความรุนแรงจากบ้านของตนเองเข้ามา จำนวนมากกว่า 100,000 ทำให้คนในหมู่บ้านเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้อพยพชาวโรฮิงยาภายในรัฐยะใข่ที่ทางเข้าออกเดียวในพื้นที่ถูกปิดด้วยด่านตรวจของทหาร 1 แห่ง และด่านของตำรวจอีกแห่ง นอกเหนือไปจากกการที่พื้นที่แห่งนี้ถูกล้อมรอบไปด้วยค่ายทหาร

ทั้งคนท้องถิ่นในหมู่บ้านเดิม และผู้อพยพที่เข้ามาใหม่มีชะตากรรมที่คล้ายกันอย่างหนึ่งคือพวกเขาจากตกอยู่ในพื้นที่ถูกควบคุมจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจของเมียนมา ที่อ้างว่ามาเพื่อปกป้องคุ้มครองพวกเขา แต่การจำกัดการเดินทางออกนอกพื้นที่จากเจ้าหน้าที่รัฐ และความหวาดกลัวถึงการถูกทำร้ายจากกลุ่มชาตินิยมพุทธภายนอกหากเดินทางออกไปภายนอกทำให้ชีวิตของคนในหมู่บ้านเหล่านี้ยากลำบากมากกว่าเดิม คนที่อพยพเข้ามาก็หาทางรอดเท่าที่ทำได้ภายในค่าย คนที่อยู่ในหมู่บ้านดั้งเดิมที่อาจจะยังออกเรือไปได้ก็ยังเผชิญปัญหาทั้งเดิม ๆ ที่เกิดมานานและปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 2555

หมู่บ้านเบดาร์ เป็นหนึ่งหลายหมู่บ้้านที่อยู่ริมชายหาดแห่งนี้ 230 ครอบครัว กับคนอีกเกือบ 1,500 ที่มีชีวิตพึ่งพาการทำประมง เรือประมงขนาด 30-70 ฟุต จอดเรียงกันอยู่บนชายหาด เรือเหล่านี้เป็นความหวังของคน 7-9 คนในแต่ละครั้งที่ออกเรือ

อูลาวิน ผู้ใหญ่บ้านพยายามชี้มือไปทีเรือลำใหญ่ที่สุดที่อยู่บนเส้นขขอบฟ้าแล้วบอกว่า “เรือไทย ใหญ่มาก”

นอกเหนือไปจากถูกมองจากคนภายนออกว่าน่าจะมีส่วนช่วยในการเดินทางหลบหนีออกนอกประเทศ จากการที่เป็นหมู่บ้านประมง มีเรือ มีความสามารถในการเดินทาง และไม่ได้ถุกควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเมียนมา อาชีพประมงของพวกเขาที่ยังคงสามารถออกเรือออกไปได้ ที่อาจจะเป็นการมองอย่างเข้าใจผิดอยู่บ้าง แต่ที่ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้พูดถึงปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันที่ชัดเจนที่สุดคือการเผชิญกับเรือประมงของไทยที่เข้ามาทำประมงในพื้นที่มากขึ้นในช่วงไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา การออกเรือไปแต่ละครั้งเสี่ยงที่จะเผชิญกับเรือประมงของไทยที่ใหญ่กว่าบ่อยขึ้น

ในแต่ละเดือนที่เรือประมงของพวกเขาต้องหาปลา นอกเหนือจากปลาที่ได้แล้วก็คือการสูญเสียอวนจับปลาให้กับเรือประมงของไทยอย่างต่ำ 5-10 ครั้ง แต่ละครั้งที่พวกเขาต้องเสียอวนไปหมายถึงเงินมากกว่า 150,000 จ้าด หรือประมาณ 4-5,000 บาท หรือมากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน หรืออย่างน้อยในแต่ละเดือนพวกเขาต้องออกเรือไป 1 ครั้งเพื่อเป็นหาเงินมาสำหรับอวนเสียหายไป ขณะที่ก็ไม่สามารถออกไปได้บ่อยเหมือนก่อนหน้า

หลายครั้งที่พวกเขาพยายามเข้าไปคุยกับเรือประมงของไทยเหล่านั้นทีี่เข้ามาทำประมงในหน้าหมู่บ้านของตนเองกลับเจอกับการข่มขู่ด้วยท่าที และอาวุธจากเรือประมงของไทย ไม่เคยมีการชดใช้ ไม่เคยมีการขอโทษ แม้ในปัจจุบันจำนวนปลาในอ่าวเบงกอลที่อยู่หน้าบ้านของพวกเขายังอุดมสมบูรณ์อยู่ และยังคงเพียงพอสำหรับพวกเขาในการมีชิวิตอยู่ได้จากการทำประมง แต่หากการคุกคามจากเรือประมงขนาดใหญของไทยมีมากขึ้นเรื่อยก็คงส่งผลให้พวกเขาอาจเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น และภายใต้การถูกจำกัดการเดินทางภายในแคมป์ก็ทำให้เหลือทางเลือกไม่มากนัก และการเดินทางไปประเทศอื่นๆ ไม่ได้เป็นเรื่องลำบากและเป็นไปไม่ได้

ปัญหาความไม่สงบและความรุนแรงภายในรัฐยะใข่ ยังคงดำรงอยู่และกีดกันพวกเขาออกจากพื้นที่ส่วนอื่นๆ ภายในรัฐ ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมประมงของไทยก็เข้าไปบีบบังคับให้ชีวิตเหลือทางเหลือน้อยลงไปเรื่อย
การแก้ไข ปรับปรุงอุตสาหกรรมประมงของไทยไม่ควรอยู่ภายใต้ความคิดที่ต้องการรักษาการเป็นผู้ส่งออกสินค้าทะเล เห็นกองเรือประมงของไทยออกไปตักตวงทรัพยากรในประเทศเพื่อนบ้านโดยอาศัยช่องว่างและความไร้ความสามารถในการดูแลทรัพยากรของตนของประเทศเพื่อนบ้านเหมือนที่ผ่านมา สังคมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมงของไทยต้องร่วมรับผิดชอบชีวิตอื่น ที่ไม่ใช่เพียงแค่คนไทย ชีวิตที่อยู่ร่วมโลกใบเดียวกัน

ชายหาดสีดำ ชายหนุ่มทีมือเปื้อนดำ ยังเลือกที่จะอยู่ซ่อมเรือประมงของตน ขณะเรือประมงลำใหญ่ของไทยก็ยังอยู่ที่ริมขอบฟ้าของทะเลเบงกอล

  

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ