สหายสุพรรณ หมอยาสมุนไพรแห่งลุ่มน้ำห้วยขาแข้ง

สหายสุพรรณ หมอยาสมุนไพรแห่งลุ่มน้ำห้วยขาแข้ง

ผมมีโอกาสเดินทางไปที่ บ้านแก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นครั้งแรก และได้พบกับพี่น้องกะเหรี่ยงโปว์ ซึ่งใช้สำเนียงเหมือนกับกะเหรี่ยงโปว์ จ.ตาก ที่นี่เต็มไปด้วยเรื่องราวการต่อสู้ ทั้งภายในจิตใจและทางสังคม ที่เขียนเช่นนี้เพราะประวัติศาสตร์ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขาแข้งนี้เกี่ยวโยงกับสถานการณ์บ้านเมืองอยู่มิน้อย ดังเช่น ที่มาของชื่อ สหายสุพรรณ ลุงวัย 60 กว่าที่เล่าว่า ชื่อนี้มาจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่มีกลุ่มนักศึกษาเข้ามาในพื้นที่ใน ปี 2515 และเรื่องราวอีกมากมายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่แห่งนี้ จนมาถึงการเปลี่ยนแปลงกับตัวลุงอีกครั้ง และชุมชนแห่งนี้ ซึ่งมาพร้อม ๆ กับชื่อและนามสกุลใหม่ของเขา คือ ลุงจูง พอเพียงเศรษฐกุล

นี่เป็นชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต แต่วิถีชีวิตไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ปัจจัยภายนอกเราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ระบบเศรษฐกิจ สังคม หรือนโยบาย ส่งผลไปทุกแห่งหนทั้งด้านดีและลบ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทุกพื้นที่ต้องหาวิธีการดำเนินวิถีต่อ บางครั้งมีการต่อสู้ ต่อรอง กับอำนาจรัฐ เพื่อให้เกิดการยอมรับในวิถี และการมีอยู่ของชนเผ่าพื้นเมือง

หนึ่งในภูมิปัญญาด้านการรักษาคือ การรักษาด้วยสุมนไพรพื้นบ้าน ลุงจูงผู้มกมุ่นอยู่กับสมุนไพรในสวนเล็ก ๆ นี้กว่า 9 ปีแล้ว จากการเริ่มต้นที่รักษาคนรัก สู่โรงยาที่เป็นพื้นที่เปิดกว้างให้กับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาทั้งคนในชุมชน และต่างถิ่น ด้วยความยินดี  ผมมีโอกาสได้พูดคุยถึงที่มาที่ไป

“แรก ๆ คือเมียป่วย โอกาสที่เขาจะกลับมาหาเราไม่ได้แล้ว จะตายอย่างเดียว มีคนแนะนำให้พาไปหาหมอสุมนภะรที่สุพรรณ รักษาได้ 1 อาทิตย์ลุกขึ้น ใช้ไม้เท้าเดินได้ ผมถามหมอว่า แถวนี้มีสมุนไพรเอยะไหม หมอบอกม่แค่บางชนิด ส่วนใหญ่ต้องหามาจากป่าดงดิบ ลุงก็พาเขามาที่บ้าน แล้วฝากเมียไว้ที่โรงพยาบาล ลุงพาเข้าป่าแถวนี้แหละ ทีนี่หมอเขาเห็นแล้ว โอ้….นี่สมุนไพร นี่ก็สมุนไพร ลุงก็จำไว้ เขาเก็บสมุนไพรไปเยอะเหมือนกัน ไปรักษาเมียได้สองเดือนกว่าแล้วก็กลับมาที่บ้าน จนเมียหาย ไม่เป็นโรคอีกเลย

ลุงจูง เล่า

ผมถามต่ออีกว่า ตอนนี้มีอนามัย โรงพยาบาลแล้ว การเดินทางก็ง่ายขึ้น ทำไมจึงเลือกที่จะรักษาด้วยสมุนไพรมากกว่าการไปโรงพยาบาล

“ไปโรงพยาบาลยากมาก เพราะต้องจ้างรถ บางคนไม่มีน้ำใจคิดเรา 500 บาทต่อคน บางทีไปโรงพยาบาลก็ได้กินแต่ยาพารา. ปลูกสมุนไพรมาได้ 9 ปีแล้ว ใครไม่สบายก็มาหาลุง ลุงก็ทำให้เขา บางคนก็หายบางคนไม่หาย

นอกจากนี้เขายังมีความหวัง และฝันที่จะเห็นโรงยาสมุนไพรเล็ก ๆ ที่เขากำลังสร้าง เป็นพื้นที่รักษาให้ชุมชน รวมถึงคนอื่นก็สามารถมารักษาได้

หากมีโอกาสลองไปแวะเวียน เยี่ยมชม หรือรักษาอาการต่าง ๆ เช่น การอบสมุนไพร การดมยา และอื่น ๆ ที่บ้านแก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทยัธานีกันได้นะครับ และแน่นอนว่า เรื่องที่ผมนำมาเขียนเป็นเพียงเศษเสี้ยวของเรื่องทั้งหมดที่แกได้เล่า ขอบคุณที่อ่าน และฝากให้กำลังใจด้วยการไลก์ แชร์ ให้เรามีกำลังใจทำคอนเทนต์ต่อ ขอบคุณมากครับ ต้าบลึ

ภาพ: พื้นที่นี่ดีจัง

เรื่อง: ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ