ภูมิทัศน์ – นิเวศการสื่อสารภาคพลเมืองในยุคดิจิทัล : โอกาสและข้อท้าทาย

ภูมิทัศน์ – นิเวศการสื่อสารภาคพลเมืองในยุคดิจิทัล : โอกาสและข้อท้าทาย

สวัสดีครับวันนี้มาพบกับผม นาย อนุภัทร สะตะ นิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยพะเยา วันนี้นะครับเราจะมาพูดกันถึงการเสวนา คน ชุมชนและสื่อ โดยวันนี้จะมาพูดถึงเนื้อหาเรื่อง ภูมิทัศน์ – นิเวศการสื่อสารภาคพลเมือง ในยุคดิจิทัล : โอกาสและข้อท้าทาย  ที่ผศ.ดร.พรรษสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำว่าสื่อพลเมืองหรือว่าการสื่อสารภาคพลเมือง หมายถึง ประชาชนที่ใช้สิทธิทางการสื่อสารในการสื่อสารสู่สาธารณะ ซึ่งจะเป็นนิยามที่ค่อนข้างกว้าง แล้วก็จะครอบคลุมถึงผู้ผลิตกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ใช่เครือข่ายของศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน เหตุผลที่นิยามเพราะว่า การขยับขยายของภูมิทัศน์การสื่อสารหรือพื้นที่การสื่อสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะทางออนไลน์ ทำให้ผู้สื่อสารไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มก้อนเดียว หรือว่าสามารถจะระบุกลุ่มคนได้อย่างชัดเจนเหมือนแต่ก่อน ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีจุดร่วมเดียวกัน ก็คือการใช้เสรีภาพ ในการพูด ในการแสดงความคิดเห็น แต่ก็จะมีแนวทางในการนำเสนอเนื้อหา การดำเนินงาน แล้วก็บทบาทที่แตกต่างหลากหลายกัน มีเป้าหมายในการสื่อสารที่แตกต่างกันเพราะว่าบางคนอาจจะใช้ในการ ดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ หรือว่าบางคนอาจจะสื่อสารเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ตัวเองสนใจ เรื่องวัฒนธรรมย่อย เรื่องอัตลักษณ์ของกลุ่ม หรือว่าเป็นเรื่องเฉพาะพื้นที่ บางคนอาจจะใช้เพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือ บางคนอาจจะใช้ในการสื่อสารข้อมูลเท็จ ข้อมูลบิดเบือนหรือว่าสร้างความเกลียดชัง ซึ่งก็เป็น เป็นสิ่งที่ป้องประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นในภาวะบางทีมันจะยากเหมือนกันที่จะอธิบายว่า แล้วใครเป็นสื่อพลเมืองกันแน่ จริง ๆ ในเชิงวิชาการแนวคิดเรื่องของความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย หรือว่าแนวคิดเรื่องของประชาสังคมมาเ ป็นเกณฑ์ในการแบ่งก็ได้ ต้องเป็นเนื้อหาที่ตอบสนองต่อประโยชน์ของสาธารณะ หรือประโยชน์ชุมชนเท่านั้นประเด็นที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนในภาพรวม ไม่ใช่เฉพาะสื่อชุมชนแต่อาจจะรวมถึงผู้ผลิตสื่อ ๆ นิเวศการสื่อสาร หรือว่า ปฏิสัมพันธ์ แล้วก็ทิศทางการสื่อสารของผู้รับสาร ในนิเวศภูมิทัศน์ จะพบว่า รับสารรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก หรือว่าองค์กรสื่อขนาดใหญ่ หรือว่าสถาบันทางสังคมและทางการเมืองอื่นๆ ยังมีอิทธิพลในการที่จะกำหนดวาระข่าวสารอยู่เพราะว่าเขามีทรัพยากรเยอะในการที่จะสื่อสารสู่สาธารณะ

แต่ยังมีบางช่วงเวลาหรือบางประเด็นที่ผู้เล่นขนาดเล็กแล้วก็เครือข่ายของภาคประชาชนสามารถที่จะผลักดันวาระขึ้นไปเพื่อให้ ผู้เล่นรายใหญ่ นำไปสื่อสารต่อยอดหรือแม้กระทั่งบางทีก็ท้าทาย วาระข่าวสารหลักที่สังคมสนใจหรือว่ามีการกำหนดมาจาก ผู้มีอำนาจหลักในสังคม สถาบันทางสังคม ทางการเมืองที่มีทรัพยากร มีต้นทุน มีอำนาจอยู่แล้ว หรือว่าตัวสื่อมวลชนเนี่ยถูกกระจายมายังประชาชนมากขึ้นแล้วก็เอื้อให้ประชาชนที่มีอัตลักษณ์ มีความต้องการ มีความสนใจที่หลากหลายเนี่ย สามารถจะสื่อสารประเด็นของตนเองแล้วก็ต่อรองกับความหมายที่เคยถูกกำหนดนิยามโดยผู้เล่นรายใหญ่ได้มากขึ้น

อีกประเด็นนึงที่น่าสนใจก็คือ การสื่อสารที่สร้างแรงกระเพื่อมไปสู่วงกว้างเนี่ย มักจะไม่ได้เกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่เป็นการประสานกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อมวลชน สื่อสาธารณะ หรือว่าประชาชนชนที่มีความสนใจหรือได้รับผลกระทบในเรื่องเดียวกันแต่อาจจะอยู่คนละพื้นที่ ซี่งในการประสานเครือข่ายนี้ นอกจากจะช่วยทำให้เสียงของประชาชนดังขึ้นแล้ว ยังทำให้เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นการสื่อสารที่ก่อนหน้านี้อาจจะถูกสื่อสารและขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้แบบนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ อย่างเช่นเรื่องของการกระจายอำนาจ การจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น สิทธิชุมชน หรือว่าการจัดการโรคระบาด การจัดการภัยพิบัติ หรือเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังข้อจำกัดที่ทำให้ภาคประชาชนไม่สามารถที่จะสื่อสารได้อย่างคล่องตัวแล้วก็เป็นอิสระ เป็นความท้าทายที่สื่อพลเมืองเนี่ยมักจะประสบก็คือถูกมองว่าเป็นมือสมัครเล่นที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเท่าไหร่ นอกจากนี้เรื่องสิทธิทางการสื่อสารก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนของพลเมืองอยู่ ดังนั้นแนวปฏิบัติของสื่อพลเมืองดีก็ไม่ใช่เรื่องของความเป็นวิชาชีพ ดังนั้นจะให้องค์กรวิชาชีพมากำกับดูแลก็ไม่น่าจะสอดคล้องกับพลวัตแล้วก็ความหลากหลายในการสื่อสารของสื่อพลเมืองเท่าไหร่ ส่วนองค์กรกำกับดูแลของรัฐเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทำอยู่ ว่ากลายเป็นเครื่องมือในการกำจัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมากกว่าที่จะปกป้องคุ้มครอง10 ทิศทางการสื่อสารของผู้บริโภค ในเมื่อการกำกับดูแลโดยรัฐหรือกำกับดูแลร่วมไม่น่าจะตอบโจทย์ภูมิทัศน์การสื่อสารของภาคประชาชนที่ขยับขยายกว้างขวางรวดเร็ว แล้วก็ไม่สามารถที่จะรับประกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนได้จริง หนทางนึงที่จะทำให้วิธีการสื่อสารของภาคประชาชนเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้เป็นพื้นที่ให้ประชาชนได้ทดลองสร้างสรรค์การสื่อสารรูปแบบใหม่ รวมถึงอาจจะเป็นเวทีในการอภิปรายแลกเปลี่ยนของสังคมอย่างอิสระและเท่าเทียมกันเนี่ยโดยไม่สร้างอันตรายต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาจจะเป็นการการพัฒนาพื้นที่การพัฒนาวัฒนธรรมในการที่จะใช้พื้นที่สื่อสารร่วมกันของผู้ใช้สื่อเอง โดยอาจจะคิดถึงในคุณค่าหรือฐานคิดบางประการร่วมกันแต่ไม่จำเป็นที่จะต้องแนวปฏิบัติชุดเดียวกัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่คนจำนวนมหาศาลจะมาตกลงกันว่าควรจะทำอย่างไรหรือจะทำให้ยังยืนไปได้อย่างไร แต่ว่าเครือข่ายที่เข้มแข็งอยู่แล้วเนี่ยเป็นผู้ได้ทดลองเริ่มต้นร่วมกันปรับปรุงแนวปฏิบัติหรือว่าแนวทางกติกาในการใช้พื้นที่สื่อร่วมกันไปได้เรื่อยๆ จะนำไปสู่การสร้างการความมีส่วนร่วมแล้วก็พัฒนาแนวปฏิบัติในการสื่อสารสู่สาธารณะ

ประเด็นที่ 2 ที่เป็นความท้าทายภายในตัวกลาง สื่อสารของประชาชน นอกจากเรื่องของการสร้างความน่าเชื่อถือและความท้าทายประการหนึ่งก็คือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนเห็นว่าผู้ผลิตสื่อมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้วก็การมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองของพวกเขาพอที่จะให้กาสนับสนุนไม่ให้ผู้ผลิตหรือล้มหายตายจากไปได้ แนวทางหนึ่งที่ทำสื่อทั้งเชิงพาณิชย์ ได้หวังกำไรเริ่มให้ความสำคัญกันมากขึ้น ก็คือการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสารในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีหน่วยที่รับผิดชอบในการผลิตเนื้อหาแล้วก็สร้างกิจกรรมเพื่อสร้างความสำคัญและสร้างความสัมพันธ์กับลักษณะ แล้วก็มีการระดมทุนด้วยโดยเฉพาะ ซึ่งหน่วยงานไม่เพียงแต่วิเคราะห์สถิติข้อมูลว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาต่อยอด เพื่อจะผลิตเนื้อหาที่จะทำให้ผู้รับสารได้ประโยชน์จากการติดตามองค์กรมากขึ้น แล้วก็จะนำไปสู่การที่ประชาชนได้ความสำคัญแล้วก็ไว้ใจไว้วางใจองค์กร    สื่อท้องถิ่นจำนวนไม่น้อย ต้องปิดตัวลงเหมือนกัน เพราะว่าไม่สามารถจะสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง     แต่ว่าวัฒนธรรมการทำงาน และมุมมองขององค์กรสื่อต่อผู้รับสารตามขนบเดิม มักจะเป็นมุมมองแบบบนลงล่าง ที่เห็นว่าประชาชน เป็นผู้บริโภค ดังนั้นจะทำอย่างไรให้การผลิตเนื้อหามีตอบสนองความสนใจของผู้บริโภค ในขณะหนึ่งเพื่อที่จะได้ถูกเข้าถึงแล้วก็มีปฏิสัมพันธ์กันได้ กล่าวคือการนำข้อมูลเหล่านี้มาเพื่อผลิตเนื้อหาจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในเชิงธุรกิจขององค์กรเอง แต่ว่าไม่ค่อยได้คำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับสารหรือสาธารณะ คือให้ความสำคัญกับองค์กรมากกว่า

ประเด็นข้อสุดท้าย เป็นปัจจัยภายนอกเพราะดูเหมือนว่าจัดการไม่ได้ ก็คือว่ามันมีอิทธิพลมาก ในการกำหนดภูมิทัศน์ แล้วก็ดีด้วยการศึกษาในภาพรวมไม่ว่าจะในระดับใด ถึงแม้ผู้ผลิตจะแก้ไขปัจจัยภายใน หรือจัดการกับเงื่อนไขของบริษัทเทคโนโลยีได้แต่หากระบอบการเมือง ทั้งในประเทศและทางโลก ยังจำกัดสิทธิทางการศึกษา แล้วก็เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอยู่ นอกจากนี้ยังทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็เป็นไปอย่างกระจุกตัว มีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น รวมทั้งยังเป็นการบริหารงานที่ความเสี่ยงสูงยังไม่ส่งเสริมการกระจายอำนาจโอกาสที่จะเป็นสื่อมวลชนสื่อพลเมือง หรือประชาชนทั่วไป จะได้สื่อสารกันอย่างเสรีเสมอภาค ก็น่าจะมีน้อยตามไปด้วยหลังตัวรัฐประหารปี 2551 เป็นต้น ระดับเสรีภาพของสื่อ จะได้พักการแสดงความคิดเห็น พื้นที่ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นสถิติที่องค์กรระหว่างประเทศ ที่สังคมในประเทศไทยติดตามอยู่ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากมาตรการทางกฎหมายปฏิบัติการด้านอื่นของทางภาครัฐ แล้วก็กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆที่จะใช้ในการจำกัดสิทธิทางการศึกษาประสิทธิภาพในการสื่อสารของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ การชุมนุมทางการเมือง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิทางการศึกษา รายงานข้อเท็จจริงของสื่อ การตั้งคำถาม หรือการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่างๆ รวมถึงสถาบันทางการเมืองเท่านั้น และข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง ก็คือการที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรทางการสื่อสารที่สำคัญ ถูกโยกมาอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ แทนที่จะเป็นหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเหมือนอย่างในรัฐธรรมนูญปี 2540 เราอาจจะพอทราบกันว่าเป็นผลจากการเคลื่อนไหวเรื่องของการปฏิรูปสื่อกระจายอำนาจ การถือครองคลื่นความถี่ จากภาครัฐภาคประชาชนทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจของมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็คือระบุว่าการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ตามรัฐธรรมนูญประชาชน ไม่ใช่เป้าหมายเดียวที่จะต้องคำนึงถึงในการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่เหมือนอย่างรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่เป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศ และประโยชน์ด้วย ซึ่งก็ต้องมาตีความอีกว่าหมายถึงอะไร แต่ก็เป็นข้อสังเกตส่วนตัว ว่าจะเป็นไปได้หรือเปล่า ว่าเราก็เลยเห็นการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ชอบ หรือว่าการดำเนินงานในชุมชนที่เผชิญกับความไม่แน่นอนอยู่ตลอด เราก็เป็นอย่างที่เราเห็นในทุกวัน ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ที่น่าจะต้องให้ภาพปัญหาเยอะ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็คืออยากให้เห็นว่าไม่ว่าจะเราจะได้สื่อที่มีคุณภาพ หรืออาจจะมีเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัยประชาชนเข้าถึงได้ หรือว่าการได้รับการการจัดสรรคลื่นความถี่อะไรก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีความหมายเลย ถ้าประชาชนเนี่ยไม่สามารถที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองได้ ตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ เพราะเขาจะไม่เห็นว่าทำไมฉันจะต้องสื่อสาร ทำไมจะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารมากมาย แต่ไม่มีอำนาจที่จะเข้านำข้อมูลเหล่านี้ เข้าไปกำหนดชะตาชีวิตของตัวเองหรือว่าเข้าไปกำหนดนโยบายสาธารณะได้ ดังนั้นสื่อมวลชนและสื่อพลเมือง ถึงต้องเป็นแนวร่วมในการที่จะต้องคุ้มครอง ปกป้องสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ให้กับประชาชน อันนี้ไม่ใช้ข้อเรียกร้องของผู้เรียกร้องกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ว่าอันนี้มันเป็นการยึดมั่นในหลักปรัชญาพื้นฐานของการสื่อสาร

ซึ่งท้ายที่สุดจะมีผลต่อการดำรงอยู่ของสื่อ ไม่ว่าจะโดยใครหรือว่าประเภทใดก็ตามแน่นอนว่าในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในอาจจะแตกต่างกันไป อาจจะใช้การดำเนินงานผ่านช่องทางการเมืองปกติตามกลุ่ม อาจจะใช้ปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรง หรือบางกลุ่มอาจจะใช้การเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบอื่นๆ แต่ที่สำคัญคือต้องเขียนพร้อมกันในหลักการที่ว่าเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสำหรับหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยก่อน

ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ที่ผศ.ดร.พรรษสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มาให้ความรู้และแนวคิดรูปแบบสื่อสารภาคพลเมือง เกี่ยวกับเรื่อง ภูมิทัศน์ – นิเวศการสื่อสารภาคพลเมืองในยุคดิจิทัล : โอกาสและข้อท้าทาย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ