สื่อสารชุมชน : ทำไมต้องรู้ ทำไมต้องทำ ภาคถอดประสบการณ์

สื่อสารชุมชน : ทำไมต้องรู้ ทำไมต้องทำ ภาคถอดประสบการณ์

ประเด็นของสื่อชุมชนในเรื่องการสื่อสารชุมชน ทำไมต้องรู้ ทำไมต้องทำ เรื่องราวดี ๆจากวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคนสื่อชุมชนตัวจริง หนึ่งในเนื้อหาจากงานเสวนาประจำปีคน-ชุมชนและสื่อ ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา

ทำไมเราต้องรู้ทำไมเราต้องทำ

อัจฉราวดี บัวคลี่ ผู้ดำเนินรายการเสวนา

เพราะว่าดิฉันคิดว่าในการลงมือทำสื่อแต่ละสถานการณ์ย่อมมีเหตุผลและข้อบังคับที่แตกต่างกันไป เช่น ช่วงนี้ยุคเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเราหลายอย่าง ก็เป็นข้อจำกัดของสื่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่แต่ก็เป็นโอกาสของสื่อขนาดย่อย และในสถานการณ์ที่โควิดระบาดหนัก ก็จะมีกลุ่มคนที่เข้ามาใช้สื่อชุมชนหรือที่ได้ฝึกอบรมส่วนหนึ่งก็ใช้สื่อเพื่อแก้ปัญหา อันนี้ก็เป็นเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์

ทำไมต้องมาทำสื่อ

ดร.นภดล สุดสม ผู้ก่อตั้งเมืองสวดแชนแนล

 เราพบว่าในปัจจุบันในชุมชนอำเภอบ้านหลวงหรือทุกแห่งทั้งหมดทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายกว่าเดิมในหลายๆช่องทาง และในข้อดีก็มีข้อเสียคือเกิดภาวะข้อมูลท่วมท้นความรู้ท่วมหัวแต่เมื่อพอจะใช้ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือเกิดผลเสีย โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 มันมีปัญหานี้เกิดขึ้น เราก็เลยมีความตั้งใจมาทำสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันกับชุมชนในระดับอำเภอของเรานะครับ เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้มีการสื่อสารกันดีมากขึ้น อันนี้เป็นเป้าหมายเราที่จะพยายามสื่อสารเพื่อเป็นตัวกลางนะครับ ในการเชื่อมระหว่างชุมชน หน่วยงานของเราเองที่เป็นโรงพยาบาลหรือว่ามีปัญหาต่าง ๆ เราคิดว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดีนะครับที่ชุมชนจะไว้วางใจในสื่อท้องถิ่นขึ้นมาสักสื่อ 

ไมตรี จรรยาผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกกลุ่มคนรักษ์ป่าตุ้ม อำเภอแม่ปืม จังหวัดพะเยา

ก่อนที่จะมาทำสื่อทำงานที่ประเทศจีนมาก่อน เมื่อก่อนเราจะไม่ค่อยรู้เรื่องสื่อเพราะประเทศจีนนั้นปิดกั้นเรื่องของสื่ออยู่มากการใช้สื่อจึงค่อนข้างที่จะจำกัด แต่ถ้าหากว่ารู้จักสื่อมาตั้งแต่ตอนอยู่ที่จีนคงจะทำสื่อมาตั้งนานแล้ว เพราะเราเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสอู่ฮั่น เราอยู่ที่มณฑลเสฉวน ร้านอาหารก็ได้ปิดไปและยังต้องกักตัวอยู่ในห้องพัก ไม่มีไฟล์บิน(กลับประเทศไทย) จึงจบฉากชีวิตในประเทศจีน และกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเรา กลับมาที่ไทยก็เริ่มต้นทำสื่อ จากการเป็นนักข่าวพลเมืองและเป็นนักสื่อสารชุมชน  ตอนนั้นยังเป็นหน้าใหม่สำหรับการทำสื่อ และเริ่มเข้าฝึกอบรมกับศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชนของมหาวิทยาลัยพะเยา ช่วงแรกที่ทำ ถ้ามีอะไรให้โพสต์เราก็โพสต์ไป เทคนิคการใช้เทคนิคการตัดต่อ นำเอาสิ่งที่เรียนรู้จากการอบรมมาปฏิบัติจริง อีกทั้งการทำสื่อของอาจารย์แนนยังเป็นจุดประกายให้ผมมาทำสื่อตรงนี้ด้วย ส่วนมากจะทำสื่อเกี่ยวกับการเกษตรและเปิดให้คนในชุมชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้อีกด้วย นอกจากนี้ยังใช้ชื่อสื่อสารกันกับคนในชุมชน และยังมีการใช้สื่อเพื่อสนับสนุนแนวทางการทำงานของเราอีกด้วย

ความรู้สึกของคนที่เคยทำสื่อหลักต่อการสื่อสารของชุมชน

กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส ตัวแทนวิทยากรหัวข้อที่ฮิตที่สุด

ต้องบอกว่าผมเองก็ได้มีโอกาสไปทำงานจริงในชุมชน ลงไปปุ๊บเนี่ยแรกแรกก็อยากรู้สึกว่าชุมชนเนี่ยเขายังรู้จักในเรื่องของเครื่องมือไม่มากนัก แต่เขาสามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี เห็นภาพชัดเจนเขาสามารถลุกขึ้นมาทำสื่อได้แน่นอน คุณภาพอาจจะไม่ได้เท่ากับสื่อกระแสหลักในส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมกลุ่มอาชีพแต่ผมเห็นอย่างหนึ่งว่าเนื้อหาและวิธีการเล่าเรื่องของเค้าเนี่ยไม่แพ้กับสื่อกระแสหลักเพราะวิธีการเล่าของเขาเนี่ยมันเป็นธรรมชาติและมันเล่าจากความเข้าใจของตัวชุมชนได้อย่างแท้จริงมากกว่า ซึ่งมันเป็นเสน่ห์เพราะมืออาชีพบางครั้งมันมีกรอบของความเป็นมืออาชีพที่ครอบแต่พอมันมีเรื่องของการใช้สมาร์ทโฟนแล้วมันมีเรื่องของการใช้สื่อโซเชียลมีเดียขึ้นมาเนี่ยมันทำให้เกิดความเป็นธรรมชาติขึ้นมาในการใช้ของคนในชุมชนของชาวบ้านด้วย ฉะนั้นผมคิดว่าชุมชนมีพลังครับ ขาดอย่างเดียวคือวิธีการในการเพิ่มทักษะในเรื่องการสื่อสารของเขามากกว่าครับ

ทำไมคนในชุมชนต้องทำสื่อ

กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส ตัวแทนวิทยากรหัวข้อที่ฮิตที่สุด

ผมเคยไปถามคนในชุมชนที่พังงาว่าที่มาทำงานแบบนี้เพราะอยากเป็นนักข่าว หรือออกกล้องไหม เขาก็ให้คำตอบผมมาว่าเขาแค่อยากเผยแพร่เรื่องของชุมชนให้คนอื่นได้รับรู้ในทุก ๆ ด้าน เพราะบางทีสื่อกระแสหลักก็ไม่ได้มารับรู้ในมุมที่ทางชุมชนได้รับจึงไม่ได้เผยแพร่ให้คนอื่นรู้ เขาอยากให้คนรับรู้ทั้งด้านดี และปัญหาต่าง ๆ

สุรพงษ์ พรรณ์วงษ์ เจ้าหน้าที่พัฒนาเครือข่าย สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสื่อสารสารธารณะ

จริง ๆ แล้วความต้องการของคนในพื้นที่ ที่อยากจะสื่อสารอันที่จริงแล้วคือหลายอย่างครับ เวลาเราสื่อสารกันเราต้องการจะอธิบายเรื่องอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราพื้นที่ชุมชนของเราครับ อันนี้จริงแล้วมันก็ไม่ใช่ว่าเขาอยากเป็นนักข่าว อยากเป็นสื่อมวลชนอาชีพหรอก แต่ว่ามันยังมีบางอย่างที่สังคมเนี่ยยังเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเข้าใจ ไม่ตรงกันอยู่อันนี้เป็นสิ่งที่ชุมชนพยายามลุกขึ้นมาแล้วอธิบายเรื่องนั้นบ่อย ๆ นะครับ

ทำไมคนในชุมชนต้องทำสื่อ

สุรพงษ์ พรรณ์วงษ์ เจ้าหน้าที่พัฒนาเครือข่าย สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสื่อสารสารธารณะ

เราพบว่าการเล่าเรื่องแบบนักข่าวมาดำเนินแบบสื่อพลเมืองเนี่ย มันยากแล้วก็ค้นพบว่ายากไม่ใช่ว่าเพราะ กระบวนการเชิงเทคนิคแก้มันไม่ได้เป็นปัญหาหรอกนะ ช่วงนั้นเราก็เคยเรียนรู้แล้วก็ทำมาโดยตลอดเลยแต่อยากคือว่าพอเรามาอยู่ในพื้นที่หนึ่งแล้วเนี่ยเราไม่มีไม่ได้มีเรื่องเล่าไม่ได้มีเรื่องเล่าอันนี้สำหรับคนที่อยู่ในวงการอยู่คนที่เรียนในเชิงเทคนิคมาแล้วก็ฝึกฝนตัวเองให้เข้าสู่ในวิชาชีพเนี่ยเรากลับพบว่าเชิงเทคนิคไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเรา แต่ยากก็คือการมองว่าการหยิบเรื่องเหล่านั้นเพราะอะไร เพราะว่าตอนที่เราไปอยู่ในพื้นที่ตอนที่ผมไปลองไปฝึกครั้งแรกอยู่เชียงใหม่และเชียงใหม่ก็ไม่มากสำหรับเราเราก็ไม่มีเรื่องไม่มีความรู้รอบตัวเลย เพราะฉะนั้นการที่จะหยิบเรื่องมาเล่าก็ค่อนข้างยากแต่พอเราไปเจอคนที่เป็นนักข่าวพลเมืองหรือเป็นนักสื่อสารชุมชนแล้วเนี่ย กลับกันนะครับก็คือว่าความง่ายสำหรับเขาก็คือว่าการบอกเรื่องนั้นและเวลาเข้ากับเราเนี่ยเขาเล่าได้ แต่พอจะมาเรียบเรียงในเชิงเทคนิค ที่จะต้องมีการถ่าย การตัดต่อและเมื่อสิบปีที่แล้วเนี่ยมันคือเรื่องยากมาก การที่คนคนนึงจะลุกขึ้นมา อยากจะเล่าเวลาเราเล่า คุยกันแบบนี้เขาได้อยู่แล้วแต่เพียงแต่ว่าพอจะเอาเทคนิคเข้ามาใส่ปั๊บเนี่ยจะกลายเป็นเรื่องยากสำหรับเขาอันนี้เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสิบปีที่แล้ว

ก้าวต่อไปของสื่อชุมชน

กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส ตัวแทนวิทยากรหัวข้อที่ฮิตที่สุด

สื่อชุมชนก็เริ่มมีความหวังที่จะผลักดันให้สื่อชุมชนได้รับการพัฒนาไปให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อเห็นว่าสมัยนี้เริ่มมีการพัฒนาของเทคโนโลยี อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ผมอยากให้ทุก ๆ ชุมชนช่วยกันลุกขึ้นมาช่วยกันให้เป็นพลังผลักดันให้สื่อชุมชนขยับขึ้นไปอีก ตัวผมเองอยากทำให้สื่อชุมชนกลายเป็น Soft Power เพราะว่าผมเห็นต่างประเทศอย่างเกาหลี ญี่ปุ่นเนี่ยเขาสามารถทำได้ ผมจึงคิดว่าสื่อชุมชนของเขาเองก็สามารถทำได้เพื่อที่จะเผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจ ได้ลึกซึ้งถึงความรู้ วัฒนธรรมของภูมิภาคต่าง ๆ ผมคิดว่าถ้าสื่อชุมชนกลายเป็น Soft Power ได้เราคงเข้าใจกันมากขึ้นในประเทศของเรา ปัญหาคือคนในชุมชนอยากทำแต่ขาดแรงผลักดัน เพราะสื่อต้องการพลัง

รศ.ดร.ภัทรา บุรารักษ์ (ตัวแทนศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน)

เป็นตัวกลางระหว่างสื่อกระแสหลัก หรือเป็นกรรมการระหว่างคนในชุมชนด้วย บางครั้งสื่อกระแสหลัก สื่อท้องถิ่นในชุมชนก็ไม่เข้าใจ หรือมีลักษณะแบบความเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วมันเกิดการโจมตีกัน เราเป็นตัวกลางก็จะมีลักษณะการอธิบาย เขียนบทความ เป็นลักษณะที่จะอธิบาย เราก็จะต้องให้ความรู้นะคะ เป็นหน้าที่ของเรา เป็นตัวกลางแล้วก็เป็นกรรมพยายามบาลานซ์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งสิ่งที่ภาคสื่อชุมชนบ้านเรามันอาจจะยังไม่โตมาก เพราะว่ามันถูกบอนไซไปเรื่อย ๆ แซะไม่ให้มันโตอยู่เสมอในระหว่างกระบวนการ เพราะฉะนั้นความกล้าหาญของพี่ๆ หรือว่าเครือข่ายสื่อ ก็ถือว่ามีความพยายามมาก ๆ ที่จะเติบโต ซึ่งเราเสียดายแทนคนในสังคมไทย ที่จะไม่ได้เห็นความสวยงาม เติบโตและแข็งแรงในปัจจุบัน และตลอดตั้งแต่20ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ40 ความเสียโอกาส ความล้มเหลวของสื่อมวลชนหลายๆสื่อนั้น มันไม่ใช่ความล้มเหลวของเขา มันคือความล้มเหลวของสังคมไทย ที่เราเสียโอกาส ที่จะได้สิ่งดี ๆ เหล่านั้นไป

พัฒนาการการสื่อสารของคนในชุมชน

รศ.ดร.ภัทรา บุรารักษ์ (ตัวแทนศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน)

ถ้าเรามองดูอาจจะประมาณ10 ปี ก็คือจริงๆแล้วมันต้องมองคู่ไปกับการเปลี่ยนผ่านหรือว่าการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้วยนะคะ เรามองเห็นว่าถ้าเกิดพัฒนามายุคแรกมันจะเป็นที่เขาต้องการสื่อสาร แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้หรอก เพราะฉะนั้นในยุคนั้นเขาต้องการการสื่อสาร แต่ว่าเขาจึงพยายามที่จะไปปรากฏตัวในสื่อกระแสหลัก แล้วก็คือการเป็นแหล่งข่าวก็ได้ประมาณนั้นซึ่งอำนาจในการต่อรองแทบไม่มี เพราะฉะนั้น วาระส่วนใหญ่เป็นวาระของสื่อกระแสหลักนะคะ การที่เขาให้ความร่วมมือหรือเขาเป็นแหล่งข่าวเพราะว่าเขาต้องการอยากบอกเล่า ซึ่งเราเห็นว่าความต้องการอยากเล่าเรื่องตัวเอง ไม่ว่าจะยุคไหนมันมีเสมอ เพียงแต่ว่าด้วยข้อจำกัด หรือการการถูกกดทับ หรือว่าด้วยโอกาสมันไม่ได้สามารถที่จะเป็นเหมือนปัจจุบันนะคะ พอหลังจากยุคนั้นมา คือถ้าพูดถึงคำว่าการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยนั้น ไม่อยากให้มองว่ามันเก่าแล้วก็ใหม่เลย จริงๆมันไม่ได้ใหม่ขนาดนั้น มันมีความเหลื่อมซ้อนทับกันอยู่นะคะ ยุคนึงมันก็อาจมี ไปอีกยุคหนึ่งก็อาจจะมีคนยุคเดิมนั้นอยู่

อนึ่ง เรียบเรียงเนื้อหาจากเวทีเสวนา “คน-ชุมชนและสื่อ” ร่วมวงโดย

สุรพงษ์ พรรณ์วงษ์ (เจ้าหน้าที่พัฒนาเครือข่าย สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสื่อสารสารธารณะ)

ดร.นภดล สุดสม (ผู้ก่อตั้งเมืองสวดแชนแนล)

รศ.ดร.ภัทรา บุรารักษ์ (ตัวแทนศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน)

ไมตรี จรรยา (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกกลุ่มคนรักษ์ป่าตุ้ม อำเภอแม่ปืม จังหวัดพะเยา)

กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส (ตัวแทนวิทยากรหัวข้อที่ฮิตที่สุด)

อัจฉราวดี บัวคลี่ (ผู้ดำเนินรายการเสวนา)

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ