สื่อชุมชน – คอนเทนท์ชุมชนในสายตานักสื่อสารยุคดิจิทัล

สื่อชุมชน – คอนเทนท์ชุมชนในสายตานักสื่อสารยุคดิจิทัล

สื่อชุมชน – คอนเทนท์ชุมชนในสายตานักสื่อสารยุคดิจิทัล โดยคุณพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโส The MATTER

Keynote Speaker  อีกท่าน ในงานเสวนาออนไลน์ “คน-ชุมชนและสื่อ” เวทีแห่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิชาการ นักวิชาชีพสื่อ ทั้งสื่อระดับชาติ สื่อดิจิทัล ร่วมกับสื่อชุมชนและนักสื่อสารชุมชน ในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสื่อชุมชน ที่จัดโดยศูนย์การเรียนรู้สื่อชุมชนมหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 

ในฐานะคนทำสื่อ และผมตีโจทย์สื่อชุมชนในเชิงพื้นที่ คีย์เวิร์ดที่จะคุยในวันนี้คือ “โลก 2 ใบของการสื่อสารในยุคดิจิทัล”  และ “หลักคิดในการสื่อสาร” 

โลกใบของการสื่อสารในยุคดิจิตอล

ตอนนี้การสื่อสารของเราทำอยู่ 2 ทาง โลกจริงและโลกเสมือนหลายคนอาจจะคิดว่าเราสื่อสารทางเดียวตอนนี้มันไม่ใช่

หลักคิดการสื่อสารหลักการเหมือนกัน แต่วิธีการเอาไปใช้อาจจะต่างกันนิดหน่อยอยู่ที่พื้นที่ของการเอาไปใช้แค่นั้นเอง

ในโลกจริงสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงก็คือว่าเราเข้าใจมันมากน้อยแค่ไหนหรือเราทำมันภายใต้สิ่งที่เราเคยชินสิ่งที่เราเคยทำมาเท่านั้นหรือทำตามที่คนบอกเรามา เรามีหลักการหลักคิด อะไร โลกเปลี่ยน เราเข้าใจโลกที่เปลี่ยนไปไหม

หลักการสื่อสารเบื้องต้น ที่ทุกคนควรทดไว้ในใจและปรับใช้ในการสื่อสาร นั่นคือS M C R  

S คือ Sender ผู้ส่งสาร หลักการง่ายๆเราต้องรู้ก่อนว่าเราคือใคร เราเป็นใคร  เราเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร แล้วเราสื่อสารไปเพราะอะไรเราต้องรู้จักตัวเอง

M คือ Message ต้องรู้ก่อนว่าเราจะสื่อสารอะไรทำไมเราถึงเลือกประเด็นนี้ผู้รับสารของเราจะได้อะไร จริง ๆ แล้ว message ในโลกออนไลน์ต้นทุนมันน้อยลงทุนน้อยในการสร้างเนื้อหา หลายครั้งเรามักจะเห็นในโลกออนไลน์บางครั้งอ่านจบแล้วยาวมาก เราไม่รู้ว่าต้องการจะสื่อสารอะไร เนื่องจากยังไม่ตกผลึก  ในโลกออนไลน์คนมีเวลาไม่เยอะบางครั้งเขาอาจจะไม่เจอก็ได้ว่าคุณต้องการสื่อสารอะไรจากโพสต์ของคุณ

C คือ Channel  เป็นเรื่องของ platform ซึ่งเมื่อโลกเปลี่ยนแพลตฟอร์มเปลี่ยนตลอดเวลามีการปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆเราต้องตามให้ทัน และพฤติกรรมของคนที่ใช้พื้นที่นั้นก็เปลี่ยนไปด้วย เราไม่สามารถสร้างทุก Content แล้วยัดลงไปในทุก platform ได้ แต่ละพื้นที่ไวยากรณ์การสื่อสารไม่เหมือนกัน

R คือ Receiver อันนี้สำคัญ เรารู้จักไหม ว่ากำลังคุยกับใครอยู่ สมมุติเราสื่อสารในโลกออนไลน์ ออฟไลน์ ให้เป็นเรื่องเดียวกันเราคุยกับพ่อคุยกับแม่คุยกับพี่น้องคุยกับคนรู้จักเราคุยด้วยวิธีการแบบไหนเหมือนกัน เพราะเราคำนึงถึงผู้รับสาร อันนี้เป็นเป็นที่รู้จักและผู้รับสารก็ไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นวิทยุทีวี เรารูจักเขาเเค่ไหน

“ผมขอย้ำว่าในโลกจริง หรือโลกออนไลน์ การทำสื่อสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปไม่มีอยู่จริง เราทำเนื้อหาขึ้นมาเสร็จแล้วคนต้องอ่านเนื้อหาดีขนาดนี้ไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างต้องอ่าน ไม่มีจริง เราต้องดีไซน์ การสื่อสารทุกอย่างต้องดีไซน์แล้วก็ต้องพยายามมองให้ออกว่าเราคุยกับใคร เราคุยกับคนรุ่นใหม่ เราคุยกับคนพื้นที่นี้ เราคุยกับคน Generation พยายามมองว่าเราคุยกับใครอยู่ แล้วการดีไซน์การสื่อสารมันจะชัดเจนขึ้น อย่าเอาตัวองเป็นที่ตั้ง  หรือเอาตัวเองเป็นที่ตั้งได้ประมาณหนึ่งแต่ไม่ใช่เป็นทั้งหมดของการสื่อสาร

สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำคือเราต้องนึกถึงหน้าผู้รับสารของเราให้ออก เช่น คนในพื้นที่ภาคเหนือเจอปัญหาอยู่ทุกปีคือปัญหาฝุ่นควัน เวลาเราเล่นข่าว ถามว่าจะทำอย่างไรให้คนกรุงเทพต่าง ๆ ในภูมิภาคอื่นสนใจ เราจะต้องทำให้เขาจะสนใจจริง ๆ หรือ เขาต้องสนใจไหม หรือเราต้องนำเสนอให้เเค่คนในพื้นที่

ยกตัวอย่างอีกตัวอย่าง มีสื่อชุมชนแห่งหนึ่งเสนอ Content ในเชิง Mass มีคนติดตามเขามาก แต่ตอนนี้ไม่ได้เสนอ Content ในชุมชนที่เป็นจุดเริ่มต้นของเขาอีกต่อไป  คำถามคือเราจะสามารถเรียกเขาได้ไหมว่าเขาเป็นสื่อชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเมื่อเขายังไม่ได้พูดถึงเรื่องข่าวสารในชุมชนเขาอีกแล้ว อันนี้คือคำถาม …..

อีกกรณีหนึ่งมีพรรคการเมืองหนึ่งหาเสียงในการเลือกตั้งซ่อม เขาพยายามใช้สื่อออนไลน์ในการเลือกตั้ง แต่เขาลืมดูไปว่าเขตเลือกตั้งเขามีคนจำนวนไม่เกินครึ่ง ที่เข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต และเป็นผู้เฒ่าผู้แก่อยู่กับบ้านเป็นหลัก สะท้อนให้เห็นว่าเขาไม่ได้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เขาซึ่งแน่นอนว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเขาไม่ได้รับเลือก

สะท้อนให้เห็นว่าการที่คุณเป็นสื่อชุมชน คุณต้องวางตำแหน่งที่ทางคุณให้ชัดว่าคุณต้องการจะสื่อสารกับใครสื่อสารเรื่องอะไร แล้วทั้งหมดมันจะไปสะท้อนผ่านการดีไซน์เนื้อหาของคุณที่ต้องการนำเสนอมันออกมา คุณอาจจะเป็นสื่อชุมชนที่อยากคุยกับคนกรุงเทพฯก็ได้ แล้วเอาเนื้อหาของตัวเองไปดีไซน์

ในการสื่อสารในโลกเสมือน มีคำถามว่า เราเข้าใจดีแค่ไหนว่าเราสื่อสารในโลกเสมือนดีแล้ว

  • Facebook แพลตฟอร์มครบเครื่องเน้นการสื่อสารตัวอักษรกราฟิก คลิปสั้น และการถ่ายทอดสด การใช้งานส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่วัยทำงานเด็ก ๆ ก็เริ่มหนี คนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีบัญชีอย่างน้อย 1 บัญชี
  • เราจะใช้ Facebook เป็นแพลตฟอร์มหลักในการสื่อสารได้ไหม จึงต้องตอบว่าได้เนื่องจาก Facebook เป็นแพลตฟอร์มหลักที่คนส่วนใหญ่เข้าใจวิธีการใช้งาน
  • Youtube ซึ่งจะต่างจาก Facebook คลิปในFacebook ห้ามยาวยกเว้นถ่ายทอดสด แต่ Youtube เน้นคลิปยาว เป็นเเพลตฟอร์มสามัญประจำบ้านที่เหมาะสำหรับทุกกลุ่ม
  • IG เน้นรูปภาพ คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ ข้อสำคัญคือไอจีตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้
  • Twitter เคยเป็นสื่อที่วัยรุ่นเข้าไปใช้งานแบบร้อนแรง ตอนนี้เริ่มลดระดับการใช้งานลงมา เน้นข้อความสั้น ผลักดันประเด็นผ่าน แฮสเเท็ก
  • Clubhouse App เสียงเป็นความ Exclusive เน้นฟังสดข้อเสียของมันคือไม่สามารถฟังย้อนหลังได้
  • Tiktok สมัยก่อนติ๊กต๊อกคือเน้นคลิปสนุกความบันเทิงอย่างเดียว ตอนหลังเริ่มมีเนื้อหาและเป็นช่องทางที่น่าจับตา

ข้อดีและประโยชน์ของการมีสื่อชุมชน

ชุมชนมีหลายประเภท  ชุมชนในออนไลน์ ชุมชนที่มีจุดร่วมในเชิงประเด็น งานอดิเรก แต่ข้อดีของการมีสื่อชุมชนในเชิงพื้นที่มี 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1.นำเสนอข้อมูลที่ส่วนกลางหรือ กทม.มักจะมองข้ามไป ซึ่งจริง ๆ แล้วประเด็นที่เกิดขึ้นในชุมชนมีความสำคัญสำคัญทั้งในเชิงพื้นที่และอาจจะสำคัญทั้งในเชิงระดับชาติก็ได้

2.ช่วยให้คนในชุมชนรับรู้ถึงความเป็นไปของชุมชนสร้างความเป็นหนึ่งเดียว ในโลกสมัยใหม่ที่เราอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันเรายังไม่รู้เลยว่ามันเกิดอะไรขึ้นแต่ การที่มีสื่อชุมชนสามารถเล่าได้ว่า หมู่บ้านนี้ตำบลนี้กำลังเกิดอะไรขึ้นอยู่ ในจังหวัดเราจะมีอะไรเกิดขึ้นอยู่มันช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียว มันทำให้รู้ความเป็นไปของบ้านเรา

3.เอ็มพาวเวอร์ท้องถิ่น เป็นการเสริมพลังท้องถิ่นด้านหนึ่งที่บอกว่านำเสนอ Content ซึ่งสื่อ กทม.มองข้าม ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดการทำงานในกทม.และสร้างความเข้มแข็งขึ้น คือเป็นกระบอกเสียงเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน อัตลักษณ์ของคนในชุมชนไปเสนอในพื้นที่การสื่อสารของเราได้ เท่าที่ผมสังเกตุหลายชุมชนเองก็ยังเสนอโดยใช้ไวยากรณ์ส่วนกลางกรุงเทพฯอันนี้จริงๆเราสามารถใช้ภาษาถิ่นท้องถิ่น ในจังหวัดภาคใต้ใช้ภาษามลายูภาษายาวีในการเล่า

ในอนาคตมองว่าสื่อแบบ Mass หรือเนื้อหาสำหรับคนทุกกลุ่มอาจจะไม่มีต่อไปจะเป็นสื่อ Mass เฉพาะกลุ่ม ยกตัวอย่าง ตอนนี้ที่เราเห็นอยู่มีอินฟูเซอร์หรือยูทูปเบอร์ชื่อดัง ซึ่งบางครั้งเราไม่รู้จักเลยแต่เขากับโด่งดังในกลุ่มเนื้อหาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของเขานี่แหละMass เฉพาะกลุ่ม Mass แบบ niche อนาคตสื่อชุมชนจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นหากเข้าใจผู้รับสารทำ Content ที่มีคุณภาพและทำอย่างต่อเนื่อง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ