เหตุการณ์ระเบิดเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาในเมืองปัตตานี กว่า14 จุด ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 63รายและเสียชีวิต 3 ราย ทำให้ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา “กลุ่มด้วยใจ” ร่วมจัดงานถอดบทเรียนการกระหนักถึงผลกระทบจากระเบิดในความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องระดมความคิดเห็นวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนำไปสู่การป้องกันและดูแลประชาชนในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ กล่าวว่า เหตุการณ์ระเบิดในวันที่ 24 พฤษภาคม 57 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ทั้งหมดสิบสี่จุดและครอบคลุมในหลายพื้นที่ ในข่าวไม่มีใครสามารถรายงานว่าเกิดเหตุที่ไหนเป็นจุดแรกแต่หลายคนจะบอกว่าได้ยินเสียงที่นั้นก่อนที่นี่ก่อน แต่ทุกคนก็ยังมีการเคลื่อนไหว
“มีบางกรณีที่ได้ยินเสียงระเบิดแล้วและคิดว่าไม่น่าจะเกิดอีกแสดงให้เห็นถึงการไม่ระมัดระวังตนเองประเด็นที่สอง ในกรณีที่ได้รับข่าวแต่คิดว่าไม่เกิดไม่มีความระมัดระวังใช้ชีวิตตามปกติ และอีกอย่างคือรู้ว่ามีวัตถุต้องสงสัยแต่ไม่ได้แจ้งเตือนอย่างรวดเร็ว วิธีการหนึ่งที่จะบอกให้ประชาชนทราบได้ว่าเวลาเกิดเห็นระเบิดแบบนี้จะต้องมีขั้นตอนในการสื่อสารหรือตำรวจทหาร มีการรับแจ้งว่ามีระเบิดแล้วแต่ไม่มีการแจ้งเตือนที่เป็นลักษณะเป็นสังคมในวงกว้าง เมื่อได้ยินว่าระเบิดประชาชนควรที่จะทำอย่างไรปัญหาที่สำคัญคือ การรักษาและการเยียวยาสภาพจิตใจ ที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง”
อัญชนา กล่าวต่อว่า บทเรียนที่ได้คือเราเห็นกระบวนการดูแลประชาชนของเจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่าย เราเห็นภายในวันเดียวว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นอันนี้เป็นตัวอย่างความรุนแรงที่เกิดขึ้นและการจัดการกับปัญหาที่มันเกิดขึ้นเรายังไม่พร้อมเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่พร้อมประชาชนก็ยังไม่พร้อมเพราะว่าประชาชนคาดหวังกับเจ้าหน้าที่รัฐทุกกระบวนการ โดยไม่ได้มองว่าตัวเองต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันตัวเองหรือว่าป้องกันพื้นที่ได้เหมือนกันในระยะยาวหวังว่า เราจะมองหาแผนการป้องกันและแผนป้องกันภัยระเบิด การเตรียมความพร้อมและเจ้าหน้าที่รัฐและหวังว่าจะมีการออกแบบแผนในการดูแลซึ่งกันและกัน
ด้าน ร.ต.ท. พรพิทักษ์ สมศรี รอง. สว. กก.ตชด 43 กล่าวว่า หลังจากที่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ข่าวสารที่ดีที่สุดคือข่าวสารที่มาจากพี่น้องประชาชน แนวทางในการป้องกันคือ สิ่งแรกให้ความรู้เกี่ยวกับการสังเกตวัตถุต้องสงสัยกับประชาชนและภาครัฐ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน สิ่งแรกที่จะแก้ปัญหาแบบยั่งยืนเลยคือ พี่น้องประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐ เป็นหูเป็นตา สามารถแจ้งแบะแสได้
พันเอกปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า เราได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบความรุนแรงที่เกิดขึ้นกว่าสิบเอ็ดปี แท้จริงแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบคือพี่น้องประชาชนซึ่งตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง การเกิดเหตุระเบิดในเทศบาลเมืองปัตตานีเมื่อวันที่ 24 พ.ค 57 ที่ผ่านมาเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำของทุกคนเพราะว่าความสูญเสีย มุมมองของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นตัวหลักแล้วในการแก้ไขปัญหา และในภาคส่วนต่างๆทั้งในส่วนของเอ็นจีโอ ภาคประชาสังคมและประชาชนเอง เราพยายามที่จะพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาทุกเรื่อง เรามีการการดาวไซร์คัดกรองเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน ดาวไซร์ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ก็พยายามลดระดับตามการปิดล้อมลงขนาดใหญ่ก็จะไม่มี
“เราได้ถอดบทเรียนจากหลายเหตุการณ์ และสรุปมาเป็นแนวทางการดำเนินการ ในการบริหารจัดการที่เกิดเหตุ เรามี ผบ. ในพื้นที่เมืองก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเป็น ผบ เหตุการณ์คือต้องบริหารจัดการณ์ที่เกิดเหตุ ในเรื่องการเข้าไปช่วยช้ายอมรับแต่ถ้าคำนึงถึงความปลอดภัยของ ในส่วนที่เหลือก็เป็นความจำเป็นเช่นเดียวกัน แต่เจ้าหน้าที่ทำอย่างเต็มที่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราหาแนวทางป้องกัน หามาตรการปรับปรุงแก้ไข เรามีแผนพิทักษ์เมืองปัตตานีมีการซักซ้อมแผน เผชิญเหตุกันทุกเดือน”
พันเอกปราโมทย์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมองว่าหลายคนเพิกเฉยไม่เดือนร้อนและไม่คิดใส่ใจที่จะป้องกันเราจะสร้างความรู้สึกให้พี่น้องประชาชนร่วมกันดูแลพื้นที่ในลักษณะของเครือข่ายภาคประชาชนได้อย่างไร ในส่วนของภาครัฐที่ปฎิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แต่เสนอให้ภาคประชาสังคมเข้ามีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแล บทบาทภาคประชาสังคมเราจะให้ช่วยรณรงค์กับทุกฝ่าย ในขั้นของการป้องกัน เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมของประชาชน เรามีความเชื่อมั่นศักยภาพของในภาคประชาสังคมที่เป็นหน่วยงานใกล้ชิดกับประชาชนในการให้ความรู้ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการมาเสริมเราต้องบูรณาการทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหา
‘เราคาดหวังให้เกิดสันติสุขในพื้นที่ เป็นความต้องการของทุกคน ตอนนี้ทางเรากำลังแก้ไขปัญหาในเชิงบูรณาการที่ตอบสนองคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่สันติสุขในพื้นที่’