วิสาหกิจชุมชน คนรุ่นใหม่บ้านขุนแม่รวม #TheNorthองศาเหนือ

วิสาหกิจชุมชน คนรุ่นใหม่บ้านขุนแม่รวม #TheNorthองศาเหนือ

จากสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หลายคนตัดสินใจกลับบ้าน และโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวที่ออกไปเรียนและทำงานในเมือง วันนี้เกิดปรากฏการณ์การกลับบ้านของคนรุ่นใหม่ การกลับมาพร้อมองค์ความรู้ ทักษะที่ติดตัวมาจากในเมือง การกลับมาในชุมชนจึงมีเป้าหมายบางอย่างเพื่อหาทางรอด ด้วยวิธีการที่หลากหลาย กล่าวคือ กลับมาค้นหาทุนเดิม คิดพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อสร้างอาชีพให้ตนเองไปพร้อมกับการแก้ปัญหาให้ชุมชน

บ้านขุนแม่รวม ต.แจ่มหลวง อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

ขณะที่ผลผลิตการเกษตรในชุมชน เช่นอะโวคาโด้ ลูกพลับ กาแฟ และพืชชนิดอื่น ๆ ได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ อีกทั้งเดิมทีเป็นการส่งขายให้พ่อค้าคนกลาง ดังนั้นราคาจึงขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลางเป็นคนกำหนด จากปัญหาดังกล่าว กับการกลับบ้านของคนรุ่นใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการชวนเพื่อนทั้งที่อยู่ในชุมชน และกลับจากเมือง มารวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อต่อยอดพัฒนาสินค้า รวมถึงแนวทางการแปรรูปแบบเบ็ดเสร็จจากชุมชน เพื่อสามารถต่อรองราคา หรือกำหนดราคา ขายโดยตรงต่อผู้บริโภค

ชาวบ้านคนหนึ่งเล่าถึงสถานการณ์ชุมชนให้ฟังว่า “เราเจอปัญหาเรื่องผลผลิตการเกษตรราคาตกต่ำ จึงคิดกลับมาทอผ้าอีกครั้ง ผ้าถักทอเหล่านี้เก็บได้นาน ไม่เน่าเสียเหมือนพืชผักผลไม้ เรากลับมาสนใจและขายเพื่อสร้างรายได้อีกทาง”

.

ชาวบ้านขุนแม่รวม

นี่อาจเป็นความหวังใหม่ของชุมชนที่ไม่ได้ช่วยแค่สร้างรายได้ แต่คือการช่วยเยียวยาจิตใจ ชาวบ้านคนที่สองกเล่าว่า “บางคนไม่สบายใจ เป็นโรคซึมเศร้า การมารวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เราได้พูดคุยกันมากขึ้น ก็จะช่วยได้” ขณะที่เพื่ออีกคนเล่าต่อกันว่า “เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเราทอผ้ามากขึ้น เด็กรุ่นใหม่ที่เดินทางไปที่ต่าง ๆก็จะนำผ้าไปขายให้เราด้วย จะช่วยให้เรามีรายได้อีกทาง”

.

วิสาหกิจชุมชนโดยเยาวชนบ้านขุนแม่รวมนี้ มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน โดยมี  ชูเกียรติ หงส์อาจหาญ หรือโทกิ  วัย 26 ปี เป็นประธานกลุ่ม มีการแบ่งหมวดหมู่ตามความถนัดคือ ด้านบริการท่องเที่ยว โฮมสเตย์ ด้านวัฒนธรรมชุมชน เช่น ผ้าทอ ด้านการเกษตร ได้แก่ผลผลิตจากชุมชน เช่น กาแฟ อาโวคาโด้ และอื่น ๆ 


ชูเกียรติ หงส์อาจหาญ (โทกิ)

.

นันทวัน ชนกกุลศิริ (หน่อหมื่อแอ้) บัณฑิตจบใหม่ที่เพิ่งกลับบ้านมาได้ยังไม่ถึงปี หันมาจับด้านการผ้าทอ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายของชุมชน เธอเล่าถึงความสนใจเดิมและบทบาทที่เธอเลือกในครั้งนี้ว่า “กลับมาสนใจในการทอผ้า เพื่อเผยแพร่และสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อ คนในบ้านแม่โหล่คี(ขุนแม่รวม) ถ้าเป็นวันพระ อยู่บ้านไม่ไปทำงานกัน เขาจะมารวมตัวกันมาทอผ้าบ้าง 


นันทวัน ชนกกุลศิริ (หน่อหมื่อแอ้)

ในขณะที่ กฤษดาพันธุ์ หงส์อาจหาญ หรือแอ๊ะโพ ชายหนุ่มผู้จบจาก ปวส. และกลับมาช่วยงานด้านกาแฟ และไร่ สวนของครอบครัว ผู้ที่ชอบดื่มด่ำกับรสชาติกาแฟ กลายมาเป็นคนที่ดูแลด้านการเกษตร โดยเฉพาะกาแฟที่เขาชอบ โดยชาวบ้านที่นี่มีการปลูกกาแฟประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ มีสายพันธุ์กาแฟ คือ ทิปิก้า (Typica)

คาติมอร์(Catimor)  เบอร์บอน (Bourbon) การขนส่งที่ยากลำบาก ถูกกดราคา ไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิต เขาจึงอยากพัฒนากาแฟในพื้นที่ให้สามารถรายได้ให้กับกลุ่มของตนเองหรือชุมชน


กฤษดาพันธุ์ หงส์อาจหาญ (แอ๊ะโพ)

ทุกอย่างกำลังอยู่ในช่วงก่อร่างสร้างพื้นที่การทำงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ คนที่กลับมาชุมชนจะได้มีอาชีพ มีรายได้ ขณะที่คนอยู่เดิม คือรุ่นพ่อแม่ที่สร้างฐานซึ่งกลายมาเป็นทุนให้พวกเขาได้ต่อยอดในวันนี้ ก็จะกลายเป็นวงล้อหนุนเสริม และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนไป และอนาคตพื้นที่แห่งนี้อาจจะกลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหมู่บ้าน ชุมชน และอาจเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของคนรุ่นใหม่ที่กลับไปค้นรากและพัฒนาต่อยอดจากทุนเดิม ในวันที่คนรุ่นใหม่หันกลับสู่ชุมชนมากขึ้น

ขอบคุณการแบ่งปันเรื่องราวจากเยาวชนบ้านขุนแม่รวม ต้าบลึ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ