ดีไซน์เนอร์ที่กลับบ้าน สร้างงานคราฟต์ชุมชน “สุขใจที่ป่าสัก”

ดีไซน์เนอร์ที่กลับบ้าน สร้างงานคราฟต์ชุมชน “สุขใจที่ป่าสัก”

คนรุ่นใหม่กลับบ้านพัฒนาร่วมชุมชน เทศบาลตำบลป่าสัก อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน

กระแสคนรุ่นใหม่และวัยแรงงานกลับบ้าน ในสถานการณ์โควิด19 กลับไปค้นหางานใหม่ที่ยึดโยงกับต้นทุนในชุมชน รวมถึงกลุ่ม “สุขใจที่ป่าสัก” คนรุ่นใหม่กลับบ้านอ.เมืองลำพูน X หัตถกรรมแม่บ้านในชุมชน ออกแบบงานคราฟท์จากเอกลักษณ์ใบสักและพืชท้องถิ่นขายออนไลน์จนกลายเป็นแบรนด์สินค้าของชุมชน

” เพราะโควิดจึงต้องกลับบ้านหางานที่บ้านเพื่อปากท้อง

 จากมือนวดสู่มือคราฟ เส้นทางสู่อาชีพในอนาคต “

อั้ม lgbtq คนรุ่นใหม่ใน ตำบลป่าสัก อ.เมือง จังหวัดลำพูน ปกติแล้วอั้ม ทำงานเป็นมือนวดคลายเส้น ให้ความผ่อนคลายจากผู้คนที่ทำงานหนัก ในตัวจังหวัดลำพูน แบ่งเวลาขายเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้า และยังทำอาชีพเสริมคือช่วยญาติแถวบ้านปักผ้าไปด้วย

ผันตัวหันหลังกลับบ้าน….กลายเป็นดีไซน์เนอร์ชุมชน

    เพราะพิษโควิด-19 แพร่ระบาด จนปัจจุบัน คนทำงานหลากหลายอาชีพยังคงได้รับผลกระทบ อั้ม เป็นหนึ่งในคนที่ได้รับผลกระทบนี้ ร้านนวดแผนโบราณในตัวเมืองลำพูน ปิดตัวลง ห้างสรรพสินค้าคนเดินน้อยลง ไม่มีค่าเช่าร้าน ไม่มีมีงาน ทำให้อั้มเลือกหันหลังให้อาชีพหลัก เพื่อเดินทางกลับมาบ้านเกิด ที่ตำบลป่าสัก จ.ลำพูน ด้วยความที่ อั้ม เป็นคนรุ่นใหม่ชอบในการเย็บปักถักร้อย  จึงได้มองหาทางเสริมและรับเย็บปักผ้ากับคนในชุมชน  แต่ก็ยังแค่เลี้ยงดูแค่ตัวเองได้ จึงยังมองหาลู่ทางไปต่อ ประกอบกับอั้มเป็นคนที่นี่ การได้กลับมาเจอคนรุ่นต่าง ๆ ในชุมชน ได้เห็นว่าบ้านของเธอมีงานฝีมือกันมากมายตามบ้านต่าง ๆ เย็บปักกันตามประสาแม่ ๆ บ้างเย็บส่งขายโรงงาน บ้างเย็บส่งขายร้านกระเป๋าเสื้อผ้า

โอกาสมาพร้อมความประจวบเหมาะ ได้เรียนรู้และพัฒนาฝีมือ พร้อมสำหรับการตั้งกลุ่ม จากการได้รับประสบการณ์กลับมา จึงเกิดแนวคิดพูดคุยกับคนในชุมชน ถึงการรวมกลุ่มกัน เพื่อรวมตัวกันทำผลิตภัณฑ์งานฝีมือขึ้นมา ทั้งกลุ่มคนผู้สูงอายุและวัยทำงานที่มีเวลาและต้องการเสริมรายได้  เพื่อตอบโจทย์ปัญหาปากท้องให้กับตัวเองแล้วชุมชน  จึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมา ชื่อว่า กลุ่มหัตถกรรมตำบลป่าสัก หรือ สุขใจที่ป่าสัก  

      หลังจากตั้งกลุ่มรวมพลคนสองเจน ทั้งผู้สูงอายุและเพื่อนก็ลงความเห็นให้อั้ม เป็นประธานกลุ่ม เพราะเห็นความขยันและอดทน และยังเป็นคนรุ่นใหม่ คล่องแคล่ว มีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังพยายามหาความรู้มาเพิ่มเติมให้กับกลุ่ม เริ่มแรกก็จะมี กระเป๋า ถุงผ้า หมวก ซึ่งเป็นลายที่ทางกลุ่มคิดกันขึ้นมาเอง และปักจากมือ  จนเกิดผลิตภัณฑ์ ที่จะเป็นแบบอย่างของชุมชน 

    เริ่มมองหาของดีที่บ้านฉันแล้วต่อยอด …..

“ที่บ้านเรามีต้นสักเยอะ ซึ่งเป็นของคู่กับตำบลป่าสัก จึงนำใบสักมาทดลองมาพิมพ์เป็นลายผ้า  และน่าจะเป็นลายผ้าใบสักที่เกิดจากที่นี่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่” ต่อมามีโอกาสได้ความช่วยเหลือจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาช่วยพัฒนา ในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสารที่ปลอดภัย ในการทำผ้า เพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนารูปแบบ กลุ่มคนซื้อ และการตลาดในยุคปัจจุบัน

อั้มกล่าวว่า “เราสร้างกลุ่มมา ปัญหาก็มีบ้าง ทั้งย้อมไม่ติด ทั้งสีตก ถึงแม้ว่าเหนื่อย ทั้งท้อ แต่เราาจะไม่เอาความเหนื่อยมาเก็บไว้เราจะคิดว่า งานเรามีต้นทุนแล้วเราสามารถนำงานของเราสู่สายตาคนอื่น คนภายนอกได้เห็น  การทำงานทุกอย่าง ถ้าเราจะก้าวไปต่อได้ นั่นก็คือมันต้องสำเร็จไปหนึ่ง ทุกอย่างถ้ายังไม่สำเร็จเราจะไม่นับเป็นหนึ่ง”

ถึงแม้วันนี้ ยังตั้งกลุ่มได้ไม่นาน 3-4 เดือน แต่ก็ยังมองเห็นทางพัฒนาต่อยอดจาก ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ รวมทั้งท้องถิ่นในชุมชน ช่วยกันส่งเสริมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างช่องทางการขาย ทั้งในชุมชนและโลกออนไลน์  ทำให้อย่างน้อยการกลับมาทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเกิดยังสามารถช่วยเหลือคนในชุมชนได้ด้วย

ปัจจุบันนี้เราขายอยู่ที่ ป่าสักฟาร์มช็อป ที่เทศบาลตำบลป่าสักค่ะซึ่งช่องทางนี้เรากำลังจะเปิดในช่องทางออนไลน์ค่ะ ชื่อ สุขใจที่ป่าสัก

ในอนาคตทั้งตัวอั้มและกลุ่มเองไม่ได้มองเพียงแค่ว่าทำลายย้อมผ้า หรือเย็บกระเป๋า มองไปข้างหน้าและความหวัง

ถ้าเรามีพื้นให้คนรุ่นใหม่ ได้แสดงออกในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่เขาชอบเขาถนัด น่าจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานในชุมชน กับทั้งถ้าทั้งคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเดิม รวมกลุ่มกัน และท้องถิ่นมองเห็นหนุนเสริม จะทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน

เราจะเห็นว่าการกลับบ้านในยุคนี้ นอกจากคิดว่าจะทำอะไรดี การค้นหาต้นทุนในชุมชน สร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เป็นเทรนที่หลายท้องถิ่นกำลังขยับ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ