นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีอุบัติเหตุต้นยางนา หัก โค่น ล้ม ลงมา ทับบ้านเรือนของชาวบ้าน แต่เหตุการณ์เมื่อบ่ายวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่ารุ่นแรงที่สุด มีต้นไม้ใหญ่โค่นล้มถึง 12 ต้น โดยเป็นต้นยางนาอายุกว่า 100 ปีจำนวน 10 ต้น ต้นสะเดา1 ต้นต้นสน 1 ต้น
ถนนสาย106 เชื่อมจังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดลำพูน นับว่าเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ยาวนานมีต้นยางนาตลอดความยาว 13 กิโลเมตรกว่า 900 ต้น
ตลอดสองถึงสามปีที่ผ่านมา ภาคประชาชนอาสาสมัครพิทักษ์ยางนา นักวิชาการด้านต้นไม้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่พยายามออกแบบและดูแลต้นไม้ใหญ่โดยเฉพาะต้นอย่างนาตลอดแนวสองข้างถนนมาโดยตลอด
ระยะแรกใช้วิธีการสำรวจและทำเครื่องหมายสติกเกอร์สีติดไว้ที่ต้นเพื่อแสดงถึงสุขภาพของต้นยางนาโดยแบ่งออกเป็นสามสี คือ สีเเดงคือป่วยหนัก สีส้มเริ่มป่วย สีเขียวสมบูรณ์
ซึ่งต่อมากลุ่มชาวบ้านอาสาสมัครพิทักษ์ยางนา ได้พอทพิกัด และอัพภาพประกอบทำเป็นแผนที่ดิจิตอลลงใน C-Site เพื่อสื่อสารกับสังคมเป็นสุขภาพต้นยางนาตลอดสองข้างทางของถนน เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการดูแลฟื้นฟูต้นยางนาได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการตัดทอนกิ่ง การบำรุงรักษาราก
อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย นักวิชาการและ นายกสมาคมขี้เหล็ก-ยางนา สยาม กล่าวว่า ขณะมีข้อมูลที่ได้จากการสำรวจประเมินสุขภาพยางนา พบมีต้นยางนากว่า200 ต้นจาก 900 ต้นกระจายในพื้นที่ 5 ตำบลที่ต้องเร่งตัดเเต่งกิ่ง และรักษาะระบบราก แต่ในเฉพาะหน้า ที่ต้องทำเร่ง30 ต้น ซึ่งมาจากข้อมูลที่ได้สำรวจและความต้องการจากความกังวลของชาวบ้านในพื้นที่ ขณะที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการรออุปกรณ์ที่จัดซื้อจากต่างประเทศ (เครื่อง Tree radar scan) http://www.treeradar.com/TRUSystem.htm
อุปกรณ์ช่วยในการสำรวจความเสียหายของต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นโพร่งกลางต้นไม้ ความสมบูรณ์ของระบบราก ซึ่งจะช่วยในความแม่นยำสำหรับการจัดการได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ เรื่องแรกที่ต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัยของชาวบ้านเป็นสำคัญที่จะต้องมีระบบการแจ้งเตือนเข้ามาร่วมด้วย
ขณะที่ซึ่งความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่รอบต้นยางนา และผู้สัญจรไปมาบนถนนเส้นนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ทางสถาบันการศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสารภี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมท้องถิ่นเครื่อง”แจ้งเตือนวาตภัยและอุทกภัยชุมชน” ขึ้น โดยทดลองนำร่องติดตั้งขึ้นที่เทศบาลตำบลหนองผึ้งอำเภอสารภี จำนวนสี่จุดกระจายทั้งตำบล โดยระบบการทำงานของเครื่องสามารถแจ้งเตือนทิศทางลมและความเร็วลมซึ่งจะคำนวณและผ่านเซ็นเซอร์แจ้งเตือนไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเทศบาลตำบลหนองผึ้งอำเภอสารภี
อาจารย์ศุภเกียรติ สุภสินธุ์ ผู้พัฒนาระบบแจ้งเตือนเล่าว่า เหตุการณ์เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมามีกิ่งต้นอย่างนาหักลงมาสร้างความเสียหายให้บ้านเรือนและผู้สัญจรบนถนนเส้นนี้และตนเองเป็นผู้ใช้ถนนในการขับรถมาทำงานอยู่เป็นประจำเลยคิดคนระบบนี้ขึ้นมาน่าจะช่วยในการแจ้งเตือนสำหรับผู้ที่ขับรถไปมารวมถึงประชาชนที่อยู่ตลอดแนวถนนได้ โดยระบบจะสามารถแจ้งเตือนได้ในระยะเวลาที่ความเร็วลมมาเกินค่าที่กำหนด และแจ้งเตือนประชาชนก่อนจะเกิดเหตุอันตรายอย่างน้อย 5 นาที
ซึ่งในอนาคตระบบสามารถขยายการติดตั้งได้ตลอดแนวถนนและสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ทุกตำบล นอกจากระบบจะสามารถแจ้งเตือนวาตภัยได้แล้วยังสามารถ เก็บระบบฐานข้อมูลทิศทางลมและความเร็วลมและนำมาทำแบบจำลองคาดการณ์วาตภัยหรือพายุได้ล่วงหน้าร่วมกับอุตุนิยมวิทยา ซึ่งในอนาคตสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ล่วงหน้า 2 ถึง 3 ชั่วโมง แต่ในช่วงวันที่เกิดเหตุที่ผ่านมาระบบไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากขาดคนดูแลเรื่องของการจัดการสัญญาณซึ่งต่อจากนี้หากมีหน่วยงานที่เห็นถึงความสำคัญที่จะช่วยในการต่อเชื่อมสัญญาณก็จะทำให้ ในพื้นที่ซึ่งมีระบบการเตือนภัยที่ไม่ใช่แค่เตือนเฉพาะลมพายุฝน เท่านั้น
ถนนต้นยางนา13 กิโลเมตร ถูกประกาศประกาศเป็นเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ต้นยางนาและต้นขี้เหล็ก เป็นถนนที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ห้ามการกระทำหรือการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อต้นยางนา และต้นขี้เหล็ก
ในขณะที่ภารกิจเร่งด่วน ที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามงานคุ้มครองสิ่งเเวดล้อม ในพื้นที่คุ้มครองสิ่งเเวดล้อม จ. เชียงใหม่ นอกจากการจัดการตัดทอนกิ่งต้นยางนา 30 ต้นในวันที่ 7 ตุลาคม แล้ว แผนต่อจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ ที่จะมีแผนระยะยาวสร้างระบบบำรุงรากเเขนง สร้างรากเทียม ที่จะช่วยโครงสร้างค้ำยันให้ต้นยางนา ขณะที่ต้นยางนาที่โค่นล้มไปนั้น จะมีการปลูกต้นยางนาทดแทน พร้อมกับการเปิดสภาพลเมืองหารือทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่อีกด้วย