ครูอาสา “เสริม แรง เรียน” ป้องกันกลุ่มเด็กเปราะบาง ไม่ให้หลุดออกจากการเรียนรู้

ครูอาสา “เสริม แรง เรียน” ป้องกันกลุ่มเด็กเปราะบาง ไม่ให้หลุดออกจากการเรียนรู้

การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ถูกแชร์ต่อกันในโลกออนไลน์ และจุดประเด็นการถกเถียงแลกเปลี่ยนกับการศึกษาของไทย ภายใต้สถานการณ์วิกฤติที่ต่อเนื่องมากว่า 2 ปี

ที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/2onQeO

ด้วยภาพของนักเรียนห้อยตัวตรงสกายวอล์ก บริเวณแยกอโศก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ (6 กันยายน) เป็นการ เลียนแบบการแขวนคอในชุดนักเรียน พร้อมป้ายซึ่งมีข้อความว่า

‘เด็ก 1.8 ล้านคน กำลังหลุดจากระบบการศึกษา เพราะการเรียนออนไลน์ที่ไม่เห็นหัวเด็ก’

  • 1.8 ล้านคน กำลังหลุดจากระบบการศึกษา คือ ข้อมูลและตัวเลขที่มาจากรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ทำไว้ในปี 2563 ที่ทำการสำรวจ โดยประมวลจากจำนวนนักเรียนยากจนที่สมัครคัดกรองใหม่ ภาคเรียนที่ 1/2562 และ 1/2563 ซึ่งระบุว่า นักเรียนยากจนหรือด้อยโอกาส 1.8 ล้านคน ‘มีความเสี่ยง’ ที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา
  • ขณะที่ตัวเลขล่าสุด ปีการศึกษาล่าสุด 1/2564 ของ กสศ. มีนักเรียนยากจนหรือยากจนพิเศษที่ ‘มีความเสี่ยง’ ที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษารวมประมาณ 1.9 ล้านคน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับเด็กทั้งหมดในช่วงวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับที่มีประมาณ 9 ล้านคน
  • หากเจาะลึกลงไปเฉพาะข้อมูลของเด็กที่ ‘หลุดจากระบบการศึกษา’ จริง ในปี 2564 จะพบว่ามีเด็กจำนวน 43,060 คน ที่ยังไม่พบข้อมูลว่าได้กลับเข้ามาเรียนต่อ โดยส่วนใหญ่อยู่ในชั้นรอยต่อ ม.3 ขึ้น ม.4 จำนวน 33,710 คน และ ป.6 ขึ้น ม.1 จำนวน 8,699 คน อนุบาล 3 ขึ้น ป.1 จำนวน 604 คน ปัญหาหลักๆ มาจากรายได้ของครอบครัวที่ลดลงเหลือเฉลี่ย 1,094 บาทต่อเดือน หรือ 36 บาทต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด ทำให้เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา
  • โดยข้อมูลของ กสศ. ล่าสุด ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า นักเรียนยากจนพิเศษช่วงชั้นรอยต่อ 294,454 คน นั้น 82.82% หรือ 242,081 คนเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว แต่ยังมีเด็ก 43,060 คน หรือ 14.6% ยังไม่พบข้อมูลว่าได้กลับเข้ามาเรียนต่อ โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ม.3 จำนวน 33,710 คน และ ป.6 จำนวน 8,699 คน
  • ผลสำรวจนักเรียนยากจนพิเศษในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ประสบปัญหาการเรียนช่วงโควิด-19 เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าและอุปกรณ์ พบว่ามีนักเรียนที่ประสบปัญหาถึง 87.94% หรือ 271,888 คน โดยจังหวัดที่พบปัญหามากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ตาก นครราชสีมา และยะลา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อมูลที่ยกตัวอย่างมา ในช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤติ มีความพยายามของหลายฝ่ายที่เป็นกังวลทั้งครู โรงเรียนและหลายภาคส่วน  พยายามคิดและหาวิธีทางช่วงกลุ่มเด็กเปราะบาง และเด็ก ๆ หลาย ๆ คนที่ไม่พร้อมกับรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

…ลองคิดดูว่า หากเราประชุมออนไลน์ หรือนั่งอ่านเอกสารกว่าวันละ 8 ชั่วโมงอยู่คนเดียว แน่นอนไม่เข้าใจแน่ ๆ หากจะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างเดียวก็ยากที่จะเข้าใจ จะถามเลยกับคนที่ทำงานผ่านออนไลน์แบบอยู่ในที่ทำงานก็เกรงใจ ซึ่งไม่ต่าง ๆ กับน้อง ๆ ที่เรียนในรูปแบบต่าง ๆ ตามบริบทพื้นที่ว่าเป็นแบบไหน การเรียนในออนต่าง ๆ

หากเรียนในห้อง เมื่อน้อง ๆ นักเรียนไม่เข้าใจ ยังพอยกมือถามครูได้หรือ แต่กับการเรียนออนไลน์ หรือเรียนออนแฮนด์ บางครั้งถามไม่ทัน ไม่เข้าใจ ครูก็ต้องควบคุมเวลาในการสอน หรือ ผู้ปกครองที่อยู่ ๆ ลูกเรียกถามให้ช่วยอธิบายบางครั้งเราก็ไม่เข้าใจในบทเรียนนั้น  นี่คืออุปสรรคในการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ยิ่งโดยเฉพาะผู้ปกครองที่เป็นชาติพันธุ์และแรงงานเพื่อนบ้าน  บทเรียนในชั้นเรียนยิ่งยากเข้าไปใหญ่ที่จะอธิบายให้ลูกเข้าใจ ไหนจะเรื่อง (ค่าอินเตอร์เน็ต) หากโปร 100 บาท จะได้สักกี่วันนะ หาได้สักสามวัน ก็ยังดีแต่ถ้าต้องจ่ายวันละ 100 ตายอย่างเดียวเลยแน่หากผู้ปกครองต้องหาเช้ากินค่ำ หรือตกงาน

            ประชาชนไปต่อ…ติดตามเรื่องราวจากภาคพลเมืองในแต่ละพื้นที่ ที่พยายมแก้โจทย์ในหลายเรื่อง ท่ามกลางการระบาดที่เราจะต้องอยู่รวมกับสถานการณ์นี้ Next Normal Education จากปัญหาที่กล่าวมายังคงเกิดขึ้นกับหลาย ๆ พื้นที่ ซึ่งมีความพยายามในการเข้ามาเสริมแก้โจทย์ตรงนี้ พื้นที่หนึ่ง คือ ที่จังหวัดเชียงใหม่มีการรวมตัวกันของ กลุ่มครูอาสา “เสริม แรง เรียน” อาสาเข้ามาช่วยแก้โจทย์นี้ ให้กับเด็กกลุ่มเปราะบาง เปิดห้องเรียนออนไลน์ วันเสาร์ – อาทิตย์ สอนทบทวนเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียนแบบ ออนไลน์และออนแฮนด์ให้กับน้อง ๆ นักเรียนลูกหลานแรงงานเพื่อนบ้านและกลุ่มชาติพันธุ์ เริ่มที่ชั้นประถมศึกษา ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ครูอาสา “เสริม แรง เรียน” คือใคร…..

ไนท์ ธนวัฒน์ มาลา / คณะศึกษาศาสตร์ สาขา สังคมศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ผู้ดูแลและประสานงานโครงการ เสริม แรง เรียน บอกกับเราว่า จากการลงพื้นที่ส่วนใหญ่เรามองเห็นว่า การเรียนออนไลน์ ในเรื่องของอุปกรณ์ อาจไม่เพียงพออย่างในพื้นที่เชียงใหม่ มีทั้งกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน กลุ่มเด็กชาติพันธุ์ต่างต่าง ลูกของลูกหลานแรงงานเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่เรียนโรงเรียนเทศบาล หลายคนพ่อแม่ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ และเด็กส่วนใหญ่เรียนแบบออนดิมานด์ ออนแฮนด์ ครูให้เป็นใบงานกลับมาทำที่บ้าน เด็กถ้า ไม่มีครูคอยบอก หรือไม่มีผู้ปกครองคอยสอนเพิ่มเติม หลายคนส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ ผู้ปกครองก็ไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทย สิ่งนี้ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง สิ่งนี้ทำให้ เราอาสาที่ลงพื้นที่ ไปเก็บข้อมูลก่อน

ทำให้ในฐานะที่พวกเราเรียนคณะศึกษาศาสตร์ และเมื่อจบไปต้องไปเป็นครูในอนาคตเราอยากออกแบบการทำงานของครู รวมไปถึงในตอนนี้ เราจะช่วยแบ่งเบาภาระของทั้งครูผู้สอนและของผู้ปกครองในสภาวะปัจจุบัน

ตัวเองเรียนอยู่คณะศึกษาศาสตร์ กับเพื่อน ๆ และได้ไปสังเกตการจากการลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่หลาย ๆ ครั้งเราได้เห็นปัญหา เราทำงานร่วมกับเอ็นจีโอคนอื่นในพื้นที่อย่างเช่นกลุ่มปันอิ่มที่เราได้ลงพื้นที่มา ลูกหลานแรงงานหลายคน เรียนแบบไม่เข้าใจ ในช่วงเทอมที่ผ่านมา จากประสบการณ์มีเพื่อนเล่าให้ฟังในกลุ่มที่ผ่านมาบางครั้ง ต้องสอนลูกหลานแรงงาน แม่บ้านที่อยู่หอพักเดียวกับเขาเพราะแม่อ่านภาษาไทยไม่ออก เลยทำให้เรา เอ๊ะ !

ในฐานะที่เราเรียนศึกษาศาสตร์และเราจะเป็นครูในอนาคต เราต้องออกมาเพื่อช่วยในส่วนตรงนี้ให้ศึกษาศาสตร์มันขยับมากขึ้น  เพื่อให้การศึกษามันไปได้และป้องกันไม่ให้เด็กหลุดออกจากระบบการเรียนรู้และการศึกษา โดยหลุดในที่นี้เรามองว่าอาจจะไม่ได้หลุดจากการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่ไม่ถึงหลุด กระบวนการการเรียนรู้ระหว่างการเรียน

ตอนนี้รวบรวมครูอาสาได้ 30 คน ตอนแรกกลัวว่าจะไม่มีคนเข้ามาช่วยมากครับ แต่มีเข้ามามากกว่า 30 เราปิดรอบแรกไปก่อนในนี้มีทั้งนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ นักศึกษาเองที่ทำการฝึกสอนอยู่ อาจารย์คณะต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งครูที่อยู่ในเชียงใหม่ก็มาอาสาร่วมกับเราในส่วนนี้มี นักเรียนกศน. ที่เข้าใจภาษาเด็กชาติพันธุ์ อาสาเข้ามาจุดนี้ด้วย ทุกคนเห็นปัญหาเหมือนกัน

การทำงานในพื้นที่แม่สอด เป็นการเริ่ม เสริม แรง เรียน ในรูปแบบออนไลน์เป็นที่แรก ในแม่สอดเรามีเอ็นจีโอที่ทำงาน ด้านการศึกษา ที่อาจารย์รู้จัก และเป็นพื้นที่ที่เกิดปัญหา ทั้งเรื่องของการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการใช้เรียนออนไลน์ ครูในพื้นที่น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และส่วนใหญ่เป็นลูกหลานแรงงานเพื่อนบ้าน และเป็นเด็กชาติพันธุ์ ยิ่งเป็นช่วงเวลาที่จังหวัดตากมีการระบาดอย่างหนัก ทำให้โรงเรียนยังคงปิด

ส่วนหนึ่งจากตัวนี้มองเห็นว่า เด็กหลาย ในช่วงการระบาดระลอกหนึ่งระลอกสองที่ผ่านมา เด็กหลายคนพ่อแม่พยายามดิ้นรนหาเครื่องมือหรือให้เด็กเข้าถึง การเรียนในรูปแบบต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ และตามบริบทของพื้นที่โรงเรียนนั้นว่าจะจัดการเรียนการสอนในรูปแบบไหน ถ้าเป็นเด็กประถมหน่อยจะเรียนในรูปแบบออนแฮนด์ คุณครูเอาสื่อการเรียนไปให้ที่บ้าน โตขึ้นมาหน่อยแต่เรียนแบบออนไลน์ ชั้นมัธยมศึกษา การทำงานเริ่มต้นในตอนนี้เราเริ่มสอนเด็ก 2 กลุ่ม 2 โรงเรียน โรงเรียนหนึ่งเป็นเด็กไร้สัญชาติอีกโรงเรียนหนึ่งเป็นเด็กชาติพันธุ์

“เสริม” ในตรงนี้หมายถึง เพิ่มเติมความรู้จากที่เขาเรียนมาอยู่แล้วในห้องเรียนในรูปแบบต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดให้ ในช่วงสถานการณ์วิกฤติ หรือไม่ได้รับในส่วนตรงนั้น

เราจะ ไม่ได้ไปเสริมโดยโดด ๆ แต่เราต้องถามก่อนว่า ตัวเด็กอยากเรียนอะไรเขาสนใจวิชาอะไรและเขาขาดความรู้ตรงไหน ของวิชาต่าง ๆ เช่นวิชาคณิตศาสตร์ เรียนในห้องเรียนเขาไม่เข้าใจเช่นการคูณการหาร เราก็จะประสาน กับคุณครูอาสาในกลุ่มให้ว่าเด็กขาดตรงนี้ เขาก็จะเข้าไปเสริมเนื้อหาตรงจุดนั้น หรือเด็กมีปัญหาจุดไหนต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ   

การจัดการเรียนแบบนี้แน่นอนอยู่แล้วว่าเรารู้ว่าสำหรับเด็กประถมการเรียนออนไลน์เป็นเรื่องที่ยาก  แน่นอนว่าอาสาเราปกติแล้วจะลงพื้นที่ ไปสอนเป็นครูอาสาในพื้นที่ต่าง ๆ ในช่วงที่ไม่เกิดสถานการณ์วิกฤติโควิด 19 การเรียนการสอนเราต้องปรับเทคนิคอยู่เสมอในทุกอาทิตย์ระบาดหลังการเรียนในทุกอาทิตย์คุณครูอาสาจะมาคุยกันเรื่องการปรับเพื่อไม่ให้นักเรียน เบื่อกับวิชาเรียนเสริม ต้องหาวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ไม่ให้เด็ก ๆ เบื่อหน้าจอ เราต้องรู้ช่วงวัยของเด็กในตอนนั้นด้วย และไกด์กับอาสาล่ามที่เข้ามาช่วยครูอาสา และให้คำแนะนำกลับไปกับครูกับเด็ก ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และเสริมอะไรเข้าไป

 เราไม่ได้กำหนดว่าเราจะทำไปถึงเมื่อไหร่ แต่คิดว่าจะทำไปเรื่อย ๆ แม้แต่หลังโควิด เพราะปัญหาการศึกษาไม่ได้เกิดแค่เฉพาะในสถานการณ์โควิดอย่างเดียว การศึกษาวิกฤติมาก่อนหน้านี้แล้วด้วยซ้ำ โควิดเพียงแค่กระตุ้นเราให้เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนเท่านั้น ด้วยเพราะอาชีพ ของผู้ปกครอง หลายคนที่เป็นลูกหลานแรงงานเพื่อนบ้านและลูกหลานชาติพันธุ์ เด็กอาจมีโอกาสหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอยู่แล้ว เพราะถ้าพ่อแม่ของเขา ไม่มีเงินส่งลูกเรียนแล้วในสถานการณ์ตอนนั้นหากลูก ได้ไปทำงาน หรือต้องช่วยผู้ปกครองทำงานหาเงิน แล้วเขารู้สึกว่า เขาก็หาเงินได้

ในสถานการณ์ปกติ ทำให้เด็กหลุดได้เช่นกันเพราะเขาจะคิดว่าการเรียนในห้องเรียนไม่สำคัญอีกต่อไป ก่อนหน้านี้จากที่เราไปสังเกตการณ์บางพื้นที่เด็กต้องไปบวชเรียนเพื่อให้ได้เรียนต่อ ซึ่งเราก็เห็นว่ามันเป็นปัญหาที่ มันไม่ใช่แค่เฉพาะสถานการณ์โควิดอย่างเดียว พอมาถึงจุดนี้เราจึงต้องพยายามหาทางทำอะไรสักอย่าง ลองทำอะไรสักอย่างเพื่อ

สิ่งนี้อาจเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลายเหตุ อย่างการช่วยสอนออนไลน์เสริมครั้งนี้และการเติมอินเทอร์เน็ตให้เด็ก ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนหรือภาคประชาชนต้องมาทำ แต่เราก็ต้องทำไปก่อนเพื่อให้เด็ก ไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา ให้เขามีโอกาสเข้าถึงระบบการเรียนรู้การศึกษาก่อน

ศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์  / หัวหน้าศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา จ.เชียงใหม่ และอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์การศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์การระบาดและหลอกสามที่ผ่านมา เราจะเห็นปรากฏการณ์ ที่เรียกว่าเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ความหมายของคำว่าหลุดในที่นี้มี 2 ความหมาย

หลุดแรก เป็นการที่เด็กหลุดออกจากระบบของการศึกษา ไม่อยู่ในระบบอีกแล้วเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือหลุดออกไปจากประเทศไปเลย สถานการณ์ระลอก 3 ถ้าเราดูจากตัวเลข เด็กหลุดออกไปจริง ๆ และไม่กลับมาจริง ๆ

หลุดที่สอง คือ เด็กยังอยู่ในระบบการศึกษา แต่เขาหลุดออกไปจากระบบการเรียนรู้ เด็กเข้าไม่ถึงบทเรียน ด้วยความไม่พร้อมในลักษณะต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ว่าพื้นที่นี้เหมาะสมแบบไหน

ภาวะทั้งสองหลุด โดยเฉพาะการหลุดแบบที่สองก็นำมาสู่การพูดคุย ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์พหุวัฒนธรรม ซึ่งเราทำเรื่องนี้อยู่กับเทศบาลอยู่แล้วเรามีเอ็นจีโอในพื้นที่ต่าง ๆ และคณะศึกษาศาสตร์ สาขา สังคมศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งองค์กรนักศึกษา และคุยกับสถานศึกษาทั้งพื้นที่เชียงใหม่ และจังหวัดตาก และสื่อ Thai PBS สถานการณ์โควิดรอบ 3 เราจะตั้งรับอย่างไร ก่อนหน้านี้อาจารย์ได้ไปสำรวจเด็กโดยตรงและครูที่สอนเด็ก ในห้องเรียนเดียวกัน ของโรงเรียนวัดศรีดอนไชย 50 % เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา เพราะครูไม่รู้ว่าเด็กอยู่ที่ไหน และครูไม่รู้ว่าเด็กไม่ได้มีเครื่องมือในการเรียนหนังสือ และครูยังบอกอีกว่าการที่เด็กไม่มีเครื่องมือในการเรียนหนังสือ ภาษาทางราชการเรียกว่าเด็กเรียน ออนแฮนด์ ครูทำชีทไปให้เด็กที่บ้านแต่ครูไม่มีความมั่นใจว่าเมื่อทำชีทไปแล้วเด็กจะหลับเอาใบงานที่แจกมาส่งให้ไหม หรือจะทำได้หรือเปล่า และท้ายที่สุดเมื่อเปิดเทอม รัฐบาลให้กลับมาเรียนแบบออนไซต์ปกติเด็กจะหลับมาหรือไม่ ประมาน 50 %  ภาษาราชการบอกว่าเด็กไม่หลุดออกจากระบบหรอกเด็กเรียนแบบออนแฮนด์ แต่ตัวเด็กและครูว่าหลุดออกจากการเรียนรู้แน่นอน และไม่มั่นใจว่าตัวเด็กจะกลับเข้ามาเรียนในระบบอีกหรือไม่ อันนั้นก็เพราะว่า 50 % ทำไมต้องเรียนออนแฮนด์เพราะเราไม่มีอุปกรณ์ อันนี้คือตัวเอย่างซึ่งหลุดไปเลย

และเด็กที่ไม่หลุดมีปัญหาอะไรบ้างเด็กเครียดเพราะว่าการเรียนเขาเรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจาก 1 อุปกรณ์การเรียนของเขาสิ่งที่เขามีอยู่คือมือถือหนึ่งเครื่องเกือบทั้งหมด คือ สมาทโฟน์ เมื่อเรียนเกิน 8 ชม. แบตเตอร์รีร้อน เขาไม่มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะซื้อแพคเกจ 100 บาท ไม่มีงบประมาน ทำให้ขาด ๆ หลุด ๆ ในการเรียนออนไลน์ เขาก็ไม่แชร์หลาย ๆ คนในครอบครัว ทำให้เด็กยังไม่พร้อมสัญญาณก็ไม่พร้อม ขาดช่วงไม่เข้าใจ และการเรียนจะบอกครูก็ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่เข้าใจ ครูก็จะถามนิดหน่อยและไปต่อในบทเรียนรันการสอนไปตามเวลาที่กำหนด มานั่งคุยต่อนอกรอบก็ไม่ได้มีเพราะครูต้องไปรายงานส่งการสอนภาระอื่น ๆ ต่อ เพราะ ฉะนั้นเด็กเหล่านี้คือหลุดหลุดออกไปจากระบบการเรียนรู้

จากการที่เราลงไปสัมภาษณ์เด็กมา เด็กบอกว่าเด็กเรียนไม่รู้เรื่องหนึ่ง  เด็กบอกว่าทำอย่างไรถึงจะให้มีใครมาช่วยเค้าสอนการบ้านบ้าง พ่อแม่เขาก็สอนไม่ได้ เพราะเราถามต่อนักเรียนจะให้ถ้าตอนนี้เลือกได้ว่าใครจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้คุณ เขาบอกว่า

1.ขอเครื่องมือ

2.ขออินเตอร์เน็ต

3.ขอคนมาช่วยสอนการบ้าน

จากการพูดคุยวันนั้นก็เป็น เสริม แรง เรียน

อย่างพื้นที่แม่สอดเช่นพื้นที่ จังหวัดตาก …เด็กเล็กและเด็กจนในเมือง กลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงเรียนรู้เป็นไปได้น้อย สภาพความเป็นจริงของเด็กในครอบครัวที่พ่อแม่เป็นแรงงาน เกษตรกร หรือบางส่วนที่อาศัยกับผู้สูงอายุ นั้นยิ่งยากสำหรับพวกเขาในการประคับประคองลูกหลานให้เรียนทางไกล “ยิ่งเด็กเล็กเท่าไหร่ ยิ่งต้องดูแลอย่างใกล้ชิด”  ที่เราลองทำ เพราะอาจารย์คุ้นเคยกับการทำงานของศูนย์เรียนเด็กข้ามชาติ ในการทำวิจัยตอนนั้นเราได้เข้าไปใกล้ชิดกับโรงเรียนในพื้นที่ และทำให้เราทราบว่า แม่สอด เป็นสิ่งที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าเป็นพื้นที่ที่ เวลาเด็ก ๆ สอบว่าผลประเภทต่างในพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดตากจะรั้งท้ายเสมอ

สถานการณ์คล้ายกับเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะด้วยเรื่องภาษาไทยไม่ใช่ภาษาแม่เด็กข้ามไปข้ามมา และปัญหาด้านภูมิศาสตร์ทำให้เด็กหลุดในการเรียน และยิ่งในช่วงโควิดจินตนาการภาพได้เลยว่าเด็กแม่สอนไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้เต็มร้อย การเรียนออนไลน์ พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้และศักยภาพของครอบครัวเองที่ประสบกับปัญหาวิกฤติก็เกิดปัญหาจริงลงไปทำงานกับจุดนี้เริ่มต้น

อาจารย์กล่าวว่า ความรู้ที่ถดถอยของเด็กจากการปิดเทอมหรือการเรียนที่บ้าน กระทบรุนแรงในนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส หรือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ เด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารเช้า อาหารกลางวันจากทางโรงเรียน ผู้ที่ต้องการการดูแลจากครูอย่างใกล้ชิด เด็กกลุ่มยากจนและเปราะบาง ผู้ขาดแคลนทรัพยากร ไม่มีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมในบ้านมีปัญหา

อย่างผลสำรวจของทาง กสศ. แม้แนวทางการเรียนผ่านฟรีทีวี และโทรศัพท์มือถือ ออนไลน์จะเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่เมื่อประเทศไทยเริ่มเรียนทางไกลที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นความเป็นจริงที่ไม่ใช่แค่ตัวเลข ปัญหาที่ซ้อนไว้อีกชั้น คือ การเข้าไม่ถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีที่จำเป็น ขณะที่การเรียนทางไกลที่ไม่มีครูนั้นยากยิ่งสำหรับเด็กและผู้ปกครอง

ตอนนี้เราเริ่มต้นได้ เป็นเหมือนเทียนเล่มเล็ก ๆ ที่กำลังจุด มีเครื่องมือ มีครูอาสา มีเด็ก มีอินเทอร์เน็ตให้เบื้องต้น ตอนนี้เรามองดูเด็ก ๆ ที่ทำโครงการผ่านสายตาผู้ใหญ่ว่ามีองค์ประกอบเกิดขึ้นแล้ว ทีนี้จะเป็นการขยับต่อไปว่าได้ถึงไหน คนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครเราอยากให้เข้ามาแล้วไม่หายไปเลยเมือเสร็จภารกิจ ตอนนี้เริ่มจะมีมูลนิธิต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย ในการเสริมแรงให้ครูเหล่านี้ แล้วมีการพูดคุยกันว่าจะให้อาสาสมัครลงพื้นที่ไปสำรวจอีกซักหนึ่งเดือน และเราจะมาประชุมและคุยกันต่อในทีมว่า สรุปมีอะไรที่จะต้องเพิ่มเติมมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร หลังจากนี้เทียนเล่มนี้มีพลังประกายมากขึ้นมีภาคส่วนเข้ามาช่วย คงจะทำให้เด็กทั้งกลุ่มอาสา และเด็กกลุ่มเปราะบางที่เข้ามาเรียนเสริม มีกำลังใจในการเรียนในระบบต่อไป

นภาภรณ์ แก้วศรีจันทร์ / ผู้ประสานงานโครงการการศึกษาเพื่อเด็กกลุ่มเปราะบาง มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน จ.ตาก – ผู้ประสานงานดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางพื้นที่ จังหวัดตาก บอกกับเราว่า บริบทของเด็กส่วนใหญ่ในพื้นที่พี่ดูแลอยู่คือพื้นที่แม่สอดส่วนใหญ่เป็นเด็ก ลูกหลานรายงานเพื่อนบ้าน เด็กเกือบครึ่งเป็นเด็กเมียนมาและอีกครึ่ง เป็นเด็กชาติพันธุ์ โดยบริบทพื้นที่ จากการที่เราลงไปทำงานและสำรวจเหมือนกับครูก็ไม่พร้อม ที่จะลงมาในพื้นที่ และขาดแคลนครู ในพื้นที่หลายส่วน ไม่สามารถลงมาเติมความรู้ได้ให้กับไหนทุกคน  และผู้ปกครองก็ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การที่เด็ก ๆ ต้องเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ผู้ปกครองพยายามหาเครื่องไม้เครื่องมือและเติมอินเตอร์เน็ตเท่าที่จะทำได้ หรือเด็ก ๆ ได้ เอกสารงานเรียนที่บ้านจากคุณครู ปัญหาคือเด็กจะต้องทำด้วยตนเองไม่สามารถถามผู้ปกครองได้ จุดนี้เราเลยห่วงในเรื่องของเด็กจะเข้าใจไหมเด็กจะหลุดออกจากระบบการศึกษาไม่ ผนวกกับการมีโครงการนี้เข้ามาพอดีจึงทดลองเข้าร่วม

ส่วนตัวเด็กและผู้ปกครอง บอกกับผ่านล่ามอาสา ว่า  ในช่วงสถานการณ์โควิดปกติแล้วในพื้นที่บ้านเราเด็ก ๆ ก็จะออกไปเรียน ที่โรงเรียน แต่ว่าในช่วงสถานการณ์โควิดเราเองที่เป็นผู้ปกครองในตอนนี้ก็ต้อง หยุดทำงานประจำและหันมาทำไร่ทำนา และรับจ้างเสริมทั่วไปในตอนนี้ลูกเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง ตัวเราเองและพบปัญหาว่าเราไม่สามารถสอนหรืออธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาในห้องเรียนในการเรียนออนไลน์ให้ลูกเราฟังได้ พอมีการเสริมแรงเรียนตรงนี้เข้ามาก็ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้เยอะ ในเรื่องของการช่วยลูก ตรงจุดบ้านเรานี้เราก็เปิดพื้นที่ให้เด็กคนอื่นที่ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนมานั่งเรียนกับลูกของเรา ดีใจมากที่จะทำให้ ลูกของเรา ไม่ท้อแล้วอยากเรียนต่อ ซึ่งเป้าหมายของลูกชายคือการไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ และมีโอกาสในการทำงานที่ดี มากกว่าอยู่ที่บ้าน

มองไปข้างหน้า… ตั้งแต่การเริ่มเรียนทางไกลเรียนออนไลน์ ออนแฮนด์ ในยุคโรคระบาดนั้นทำให้เราเห็นภาพความจริงของความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาที่ชัดขึ้น

ภารกิจของครูอาสาสมัคร “สอน เสริม แรง”​ อาจเป็นโมเดลหนึ่งของการเข้ามาสนับสนุน ให้เด็กกลุ่มเปราะบางได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด อาสากลุ่มนี้ทำหน้าที่ประสานกลุ่มนักพัฒนาที่ทำงานกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล ปัญหาในแต่ละชุมชน แต่ละแคมป์งาน  ต่อมาก็สำรวจความต้องการ ความรู้ที่ต้องการให้ครูอาสาสอนเสริม เช่น วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เนื่องจาก ครูอาสา อยู่ที่เชียงใหม่ การสอนเสริมจึงต้องใช้ระบบออนไลน์เป็นหลัก ทีมนี้ก็สำรวจความต้องการและเสริด้านอินเทอร์เน็ต ให้กับน้อง ๆ ให้สามารถเข้าถึง ในทุกอาทิตย์เหล่าคุณครูอาสาก็จะมาสรุปบทเรียนกันว่าการเรียนการสอนแบบไหนที่เหมาะสมกับน้อง ๆ

นี่อาจเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการเข้าไปช่วยให้เด็กกลุ่มเปราะบาง กันไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา และการเรียนรู้ ในช่วงวิกฤติ ที่หากปล่อยไว้จะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามีมาก่อนหน้าสถานการณ์นี้ และทีมอาสากำลังทำเพิ่มอีกพื้นที่ คือในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งน่าสนใจว่ามีชุมชนแรงงานหลายชุมชนที่อยากให้มีทีมอาสาเข้าไปช่วยสอนด้วย

อ้างอิง : https://www.eef.or.th

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ