ในปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ทุกสถานศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนจากออนไซต์มาเป็นออนไลน์ เราจึงได้มีการสัมภาษณ์อาจารย์และนักศึกษาในคณะที่ต้องมีการปฏิบัติอย่างคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไรจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ทำให้ต้องเรียนออนไลน์ในยุคโควิด 19
คลิปสัมภาษณ์ เรื่องการปรับตัวจากปัญหาใน สถานการณ์ที่ทำให้ต้องเรียนออนไลน์ในยุคโควิด 19
มุมมองของอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ทั้ง 2 คน ในช่วงสถานการณ์โควิตมีอุปสรรคในการสอนหรือไม่อย่างไร
รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ บุฐอาจ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า สถานการณ์โรคระบาด ทำให้การเรียนการสอนต้องปรับเปลี่ยนไปตลอด ถ้าในบางช่วงสถานการณ์ covid ดีขึ้น ก็สามารถสอน On-site แต่เมื่อสถานการณ์มีการติดโรคระบาดเพิ่มขึ้นมากขึ้น ต้องมีการปรับไปสอน On-line แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ปรับไปตามสถานการณ์ อาจารย์ได้มีการวางแผนการสอนทั้ง 14 สัปดาห์ ตลอดทั้งเทอม ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ สัปดาห์ต่อสัปดาห์
มีวิธีการแก้ไขหรือมีการปรับตัวอย่าง สำหรับการสอนที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด แบบนี้
อาจารย์ได้มีการนำเสนอหัวข้อ teaching during covid-19 หรือว่าการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด ในงาน KM ของมหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ได้มีการนำเสนอและระบุถึงบันได 10 ขั้น ในการจัดการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของการสอน ไม่ใช่ยกทุกอย่างที่เป็น on site ให้ไปอยู่ใน on-line เทคนิคต่างๆมีการปรับเปลี่ยน การที่เอาใจเขามาใส่ใจเราก็เป็นเรื่องที่สำคัญ บางทีทางอาจารย์ไม่รู้เลยว่านักศึกษามีปัญหาอะไรบ้าง และเด็กก็ไม่ได้เรียนวิชาอาจารย์เพียงวิชาเดียว และบางทีอาจารย์อาจจะสั่งงานพร้อมกัน ดังนั้นปริมาณงานก็จะมากขึ้น บันได 10 ขั้นก็จะมีหลายประเด็นมาก ทั้งในเรื่องของ technology, support, integration, communication การสื่อสารก็มีความสำคัญด้วย ในการสอนออนไลน์จะต้องมีเทคนิคในการเร้าอารมณ์ มีการจูงใจให้ผู้เรียนอยู่กับเรา ดังนั้นจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างในการจัดการเรียนการสอนเพื่อดึงความสนใจของนักศึกษาให้ได้
ในอนาคตถ้าสถานการณ์โควิตยังคงเป็นแบบนี้อยู่ อาจารย์มองว่าระบบการศึกษาปริญญาตรี 4 ปีจบ ยังควรมีอยู่หรือไม่เพราะอะไร
อาจารย์คิดว่า หลักสูตรระยะสั้นเป็นสิ่งที่ควรนำมาพิจารณา ประกาศนียบัตรหรือวิชาชีพที่สามารถใช้แล้วเด็กสร้างรายได้ สร้างอาชีพได้เลย มันต้องมีหลักสูตรดังกล่าวรองรับมากขึ้น ถ้านักศึกษาสามารถใช้วิกฤตตรงนี้ให้เป็นโอกาส การเรียน 4 ปีก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นความสำคัญที่ได้ในแง่ของสังคม เรื่องการปรับตัว เรื่องของการที่เราเข้ามาเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชั้นเรียน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการมีปฏิสัมพันธ์กัน และถือเป็นโอกาสที่เด็กๆจะได้ทักษะในการเข้าสังคม เรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้นอาจารย์มองเป็น 2 ทาง ในเรื่องของหลักสูตรระยะสั้นก็ต้องมี แต่ลึกๆก็หวังว่าการเรียน 4 ปียังมีความจำเป็นอยู่
ในช่วงสถานการณ์โควิตมีอุปสรรคในการสอนหรือไม่อย่างไร
อาจารย์ ธีร์ อันมัย คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ปกติอาจารย์สอนแต่ในห้อง วิชาที่อาจารย์สอนเป็นวิชาที่ลงมือปฏิบัติ พอไม่เจอนักศึกษาในห้องเรียน ทำให้ประสิทธิผลของการเรียนลดลง จากที่ฟังนักศึกษา 2-3 เทอมที่ผ่านมา อาจารย์รู้สึกว่านักศึกษาแทบไม่ได้อะไรจากการเรียนเลย
มีวิธีการแก้ไขหรือมีการปรับตัวอย่าง สำหรับการสอนที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ในสถานการณ์ covid แบบนี้
อาจารย์กล่าวว่า หลักๆคืออาจารย์ต้องปรับตัววิธีการสอนใหม่ ปรับเนื้อหาในเอกสารประกอบการสอนใหม่ ปกติถ้าสอนในห้องเรียนก็จะใช้เอกสาร powerpoint มีการพูดกับนักศึกษาตลอดเวลา เป็นการดึงศักยภาพของนักศึกษากับอาจารย์มาร่วมสนุกในชั้นเรียนได้ แต่สิ่งที่อาจารย์เจอในการเรียนออนไลน์ปัจจุบันคือการพูดคนเดียว นักศึกษาปิดกล้อง ไม่มีปฏิสัมพันธ์เป็น แต่ถ้าอาจารย์จี้ถามเป็นรายบุคคล การถามทำให้การสอนช้าลง อาจารย์จะต้องปรับเนื้อหาการสอนให้ละเอียดมากขึ้น ครอบคลุมเนื้อหาที่สอน นักศึกษาสามารถเอาไปใช้อ่านย้อนหลังได้ การเก็บคะแนนก็ต้องมีการปรับตามสถานการณ์ อาจารย์จะทยอยให้งาน เพราะรู้ว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษามีปัญหาจากสถานการณ์โควิด
ในอนาคตถ้าสถานการณ์โควิตยังคงเป็นแบบนี้อยู่ อาจารย์มองว่าระบบการศึกษาปริญญาตรี 4 ปีจบ ยังควรมีอยู่หรือไม่เพราะอะไร
อาจารย์กล่าวว่า ถ้ามหาวิทยาลัยมีทางเลือกไม่จำเป็นต้องเรียน 4 ปีได้ อาจารย์คิดว่านักศึกษาบางส่วนน่าจะเลือกแบบนี้ สมมุติว่าเรียนจบ 2 ปีได้ใบอนุปริญญาเพื่อสามารถไปทำงานได้หรือถือใบนี้ไปเรียนต่อที่อื่นได้ อาจารย์คิดว่ามันเป็นการสร้างทางเลือกให้นักศึกษา และคิดว่านักศึกษาน่าจะเลือก ถ้ามหาวิทยาลัยคิดแบบนั้นได้ อาจารย์มองว่านี่จะเป็นจุดขายในยุคสมัยที่เราถูกโรคระบาดเล่นงาน และรัฐบาลจัดการไม่ได้ ประเด็นนี้น่าสนใจ
มุมมองของนักศึกษานิเทศก์ศาสตร์ทั้ง 3 คน ในช่วงสถานการณ์โควิตมีอุปสรรคในการเรียนหรือไม่อย่างไร
นายพงษ์เพชร ลีลา นักศึกษาปี 2 กล่าวว่า เรียนออนไลน์เกรดไม่ค่อยดี เพราะใช้เน็ตหอ เน็ตไม่ค่อยเสถียรทำให้ตะกุกตะกัก ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
มีวิธีการแก้ไขหรือมีวิธีการปรับตัวอย่าง สำหรับการเรียนที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิดแบบนี้
นายพงศกร จันหอม นักศึกษาปี 2 กล่าวว่าต้องโฟกัสให้มากขึ้น การที่เรียนออนไลน์จะต้องอยู่ในห้อง ซึ่งห้องที่ใช้เรียนเป็นห้องนอนมันเหมาะกับการนอน เวลาเรียนเราจะต้องปรับเปลี่ยนโฟกัสไปที่การเรียนโดยเฉพาะ
คุณคิดว่าการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนตอบโจทย์หรือไม่และคิดว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมแล้วหรือยัง
นายวราวุฒิ นาดี นักศึกษาปี4 กล่าวว่า โควิดเป็นโรคใหม่ เราทุกคนต้องปรับปรุงตัว อาจารย์ก็เพิ่งมาเจอสถานการณ์โควิด ทั้งอาจารย์และนักศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์โควิดแก้ไขได้ดี แต่ไม่ตอบโจทย์นักศึกษาเพราะว่านักศึกษาทุกคนอยากมาเรียนในมหาวิทยาลัย อยากเข้ามาเรียนในห้องเรียนไม่ใช่ออนไลน์ เพราะรู้สึกว่ามันไม่ค่อยคุ้มกับค่าเทอมที่ต้องเสียไป
และนี่คือความคิดเห็นบางส่วนจากอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์
covid 19