“Vibe Mai” สร้างบรรยากาศใหม่ ให้คนดนตรีไปต่อ

“Vibe Mai” สร้างบรรยากาศใหม่ ให้คนดนตรีไปต่อ

ผ่อนคลายล็อกดาวน์ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่กลุ่มศิลปิน คนดนตรี ก็ยังคงต้องรอคอยกันต่อไป ไม่สามารถกลับไปร้องเพลงหรือเล่นคอนเสิร์ตแบบเดิมได้ เพราะเรายังคงอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมโรค ร้านอาหารก็ยังไม่อนุญาตให้เล่นดนตรีในร้าน….

ชีวิตคนในแวววงดนตรีต้องติดล็อก กลายเป็นกลุ่มอาชีพ​เสี่ยงที่โดนปิดก่อนแต่เปิดทีหลัง แต่พวกเขาเองก็พยายามหาทางออกนะคะ อย่างกลุ่มนักร้อง-นักดนตรี ใน จ.เชียงใหม่ ที่พยายามรวมตัวกัน โดยร่วมกับกลุ่มนักแสดง และคนทำงานศิลปะ ในชื่อว่า Vibemai เพื่อหาช่องทางให้ศิลปินเชียงใหม่ได้ไปต่อ

ประชาชนไปต่อ : ก้าวต่อของคนดนตรี สำหรับวันนี้ 3 กันยายน หากเป็นช่วงเวลาปกติ ศิลปิน-นักร้อง-นักดนตรี ทางภาคเหนือจะจัดงานคอนเสิร์ตรำลึกถึงจรัล มโนเพ็ชร เจ้าของตำนาน “โฟล์คซองคำเมือง” ซึ่งได้จากไปครบ 20 ปี ในปีนี้ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ต้องงดการรวมตัว จะจัดงานคอนเสิร์ตแบบเดิมคงไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่ต้องควบคุมโรคระบาด

20 ปี คือระยะเวลาที่ศิลปินผู้ทรงคุณค่าแห่งล้านนาได้ล่วงเลยจาก ผู้ที่นำพาความเป็นล้านนาสู่สังคมเมืองใหญ่ ผ่านศิลปะ ภาพยนตร์ ดนตรี และอีกมากมาย เขาผู้นั้นนามว่า จรัล มโนเพ็ชร 

จรัล มโนเพ็ชร เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของ สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ข้าราชการแขวงการทาง กับ ต่อมคำ มโนเพ็ชร เชื้อสายของราชตระกูล ณ เชียงใหม่ และท่านได้เสียชีวิตกะทันหันอย่างสงบในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ที่บ้านดวงดอกไม้ จังหวัดลำพูน

ทีม The North องศาเหนือ มีโอกาสพูดคุยสัมภาษณ์ถึงกิจกรรมรำลึกที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กันยายน 2564 นี้ กับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมครั้งนี้

บฤงคพ วรอุไร  สมาคมนักดนตรี นักร้อง นักแสดงเชียงใหม่ (CMSAA)  กล่าวถึงบทบาทสำคัญของจรัล มโนเพ็ชร ต่อสังคมล้านนาว่า สังคมล้านนา วัฒนธรรมล้านนาเข้มแข็งขึ้นเยอะ ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณพี่จรัล มโนเพ็ชร ที่สร้างงานและทำให้เป็นที่รวมของคนล้านนาหลาย ๆ ฝ่าย เพราะจรัล มโนเพ็ชร ไม่ได้ทำแต่เพลงอย่างเดียว ยังทำเรื่องอื่นด้วย เรื่องภาพยนต์ และได้ซ่อนแนวคิดหรือความเป็นล้านนาอยู่ในผลงาน 20 ปี ที่ผ่านมาเราพูดถึงพี่จรัล มาตลอด แต่ 20 ปีต่อจากนี้ ศิลปินรุ่นใหม่ก็จะพูดถึงเพลงของ จรัล มโนเพ็ชร ซึ่งทุกวันนี้นักดนตรีล้านนาหลาย ๆ คนที่ทำเพลงออกมา ผมรู้สึกได้ว่าคนเหล่านี้ได้รับอิทธิพลการส่งผลบางอย่างจากจรัล มโนเพ็ชร

แต่ไม่ใช่การเลียนแบบ ไม่ได้แต่งเพลงแบบจรัล แต่มีเนื้อหาบางอย่างที่สืบเนื่องกัน การไปต่อสำหรับวันนี้คือศิลปินเชียงใหม่ ที่กำลังหาทางไปต่อพร้อมกับคนรุ่นเดิมและให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก

3 กันยายน 2564 คือวันครบรอบการจากไปของจรัล และทุก ๆ ปีจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกของจรัล มโนเพ็ชร ด้วยกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ และปีนี้เช่นเคยมีการจัดกิจกรรมรำลึก แต่ที่พิเศษและท้าทายในปีนี้คือ การจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ ซึ่งมีการชักชวนกลุ่มศิลปินในจังหวัดเชียงใหม่มาร่วมกันทำ

สุพิชา เทศดรุณ ศิลปิน คณะสุเทพฯ และผู้ชักชวนศิลปิน เล่าถึงที่มาของการรวมกลุ่มศิลปินว่า มาจากการชักชวนโดยการแชทหาเพื่อน และทั้งหมด 20 วงเชียงใหม่ที่มีเพลงเป็นของตัวเอง ชักชวนมาลองทำ

ตรงนี้เป็นไอเดียที่คิดไว้นานแล้วแต่ไม่เราในเวลาปกติศิลปิน นักร้อง นักดนตรีแทบจะไม่มีเวลามารวมตัวกันทำอะไรแบบนี้ มองว่าตอนนี้เป็นโอกาสหนึ่ง ในการพลิกทำให้ทุกคนมีโอกาสมาทำร่วมกัน โดยตั้งต้นจากทีม Vibemai

“การรวม 20 ศิลปิน แต่จะมีเพลงพิเศษเป็นเพลงที่  21 คือเป็นการครบรอบ 20 ปี การจากไป แต่มาครบรอบในปีที่ ค.ศ. 2021 พอดี เราเลยทำ 20 ศิลปิน 21  เพลงครับ จะมีเพลงสุดท้ายเป็นเพลงพิเศษ คือ เพลงรางวัลแด่คนช่างฝัน เชิญศิลปินเชียงใหม่จากหลากหลายวงมาร่วมกันทำ”

นำนักดนตีมาแสดงความเป็น identity ของยุคสมัย การนำเพลง ของจรัญมา Re-Arrange (ตีความและเรียบเรียงใหม่) ผ่าน “21 บทเพลง คนช่างฝัน” ของ “จรัล มโนเพ็ชร” รวบรวมศิลปินเชียงใหม่ กว่า 20 ชีวิต มาร่วมกันทำเพลง ทำสารคดีสั้นผ่านเพจออนไลน์ และจัดงาน Live-Session Concert ในวันที่ 3 กันยายน เวลา 19:00 น. ทาง Facebook & Youtube : VibeMai ผ่านช่องทางออนไลน์​ ถ้าคนไม่เคยฟังฟังจากศิลปินที่เค้าชอบ แล้วไปฟังตัวต้นฉบับ ตัวศิลปินเองได้สืบทอดและส้รางพื้นที่ใหม่ มอวงว่าเป็นแนวทางไปต่อของศิลปินการโยงใยของศิลปินกลุ่มเชียงใหม่

ในครั้งนี้เป็นการนำเพลงมาสร้างคำร้อง ทำนองใหม่ตามสไตล์แนวดนตรีของแต่ละวง แต่ยังคงเนื้อหาเดิม เราเคารพนับถือในความสามารถ การประพันธ์ คำร้อง ทำนอง เราหยิบงานเขามาเพื่อมาตีความในแบบของวงเรา เพื่อส่งต่อให้กับแฟนเพลงของวงเรา ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เคยฟังเพลงนี้ของรัล เมื่อเขารู้จัก เขาอาจจะไปฟังต้นฉบับ ฟังเพลงอื่น ๆ ของจรัล ในอัลบั้มนี้หลากหลายมาก Blues, Jazz,  Rock and Roll, Post-Rock หรือ Dream pop เยอะมาก สุพิชา กล่าว

ทีม The North องศาเหนือ มีโอกาสได้คุยกับ ตัวแทนศิลปินรุ่นใหม่ ถึงความรู้สึกต่อบทเพลงที่ตัวเองได้รับเลือกมาร่วมร้องในครั้งนี้

https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000019732#news_slideshow

สาโรจน์ ยอดยิ่ง ศิลปิน เขียนไขและวานิช และเรืองฤทธิ์ บุญรอด ศิลปินเชียงใหม่ สองศิลปินผู้ได้ร่วมร้องเพลงด้วยกันในกิจกรรมนี้เล่าว่า จริง ๆ จะทำแยกกัน แต่บังเอิญเลือกเพลง “ให้ฉันฝันต่อ” เหมือนกัน พี่ชา (สุพิชา เทศดรุณ) ก็เลยจับมาอยู่ด้วยกัน ของเราไม่ค่อยเปลี่ยนเยอะ ยังเกาะกลิ่นเดิม เพราะเราก็เป็นศิลปินโฟล์คมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ก็เลยสลับกันร้องดีกว่า ที่นี้ผมร้อง ท่อนนี้พี่ฤทธิ์ร้อง เลยดูมีอะไรแปลกใหม่ขึ้นจากเพลงที่เขาร้องคนเดียว และช้ากว่านี้ เราขยับให้เพลงดื้นมานิดนึงประมาณนี้

อีกหนึ่งวงดนตรี คือ วงคูเมือง เรามีโอกาสได้คุยกับ กวีพันธ์ สิทธิ์สน นักร้องจากวงคูเมือง (Crew Murng) เขาได้เล่าถึงบทเพลงที่วงเลือกนำมาร้องว่า มือกีต้าร์เป็นคนเลือกมา ผมก็ไม่เคยฟังเพลงนี้ เพลงชื่อว่า “ไล่เหล่า” เป็นเวอร์ชันที่คุณอาจรัลเล่นแล้วพูดไปด้วย เหมือนเพลงเล่าเรื่อง พอมามองมันก็เข้ากับวงของเราที่เราต้องการนำเสนอความเป็น อยากให้คนรู้สึกมีความสุขแบบนี้

นับเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ทั้งการรวมกลุ่มของศิลปินรุ่นใหม่ การทำแนวดนตรีเพลงใหม่ เพื่อให้อยู่ร่วมสมัย พี่เชื่อเสมอว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่เสียชีวิตไปแล้ว ถ้าตราบใดที่ผลงานยังรับใช้สังคม รับใช้โลกอยู่ เขาก็เป็นอมตะ พี่ สุพิชา กล่าวเสริม

ห้วงเวลา 20 ปี จากจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนาในวันนั้น ถึงศิลปินในเชียงใหม่วันนี้ บริบทสังคมที่เปลี่ยนไป การเติบโต เปลี่ยนแปลง จึงเป็นไปตามกัน และในวันนี้ศิลปินเชียงใหม่เองยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 งานแสดงต่าง ๆ หดหาย รายได้ลดลง บางคนต้องปรับตัวหาอาชีพเสริม และในวาระครบ 20 ปีนี้

กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้เชื่อว่า Vibe Mai  ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้จัดกิจกรรมนี้ Vibe Mai มาจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนหลากหลายอาชีพ ทั้งนักดนตรี ศิลปิน คนจัดเวทีงานคอนเสิร์ต Event และคนในสายงานสร้างสรรค์

ได้มองไปถึงอนาคตอย่างไร ชวนคุยกับ พลอยไพลิน เกษมสุข ซึ่งเขาเป็นผู้ประสานงาน VibeMai ได้สร้างแพลตฟอร์ออนไลน์เป็นพื้นที่กลาง facebook : Vibe Mai  ศิลปินเป็นคนที่สร้างสรรค์ผลงาน แต่ในเชิงการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่มีทั้งข้อมูล ไม่มีการดูแล ทั้งจากภาครัฐและเอกชน จะเป็นไปได้ไหมถ้ากลุ่มเรา กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่อ VibeMai มาสร้างแพลตฟอร์มกลาง เหมือนเป็นพื้นที่เชื่อม ทั้งคนทำงานเองหรือคนที่อยากได้งานจากสายนี้ให้มาเจอกัน ซึ่งปลายทางระยะไกล อยากมองเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงดนตรีไปได้ด้วย พลอยไพลินกล่าว            

งานนี้เป็นงานแรกที่รวมคนรุ่นใหม่ มารวมและฮอมความสามารถ ปีนี้ต่อให้เราไม่ได้เจอหน้ากัน ถ้าเราทำออนไลน์เราสามารถทำอะไรได้บ้าง โควิดด้วย ความสนใจตรงกันด้วย เลยได้รวมกลุ่มคนรุ่นใหม่รุ่นเก่า สิ่งไหนที่จะพัฒนาเมืองไปด้วยได้

เชียงใหม่เองมีทรัพยากรมีคนดนตรียังไม่มีการจัดการ แต่ละที่เขามีสถิติว่าพื้นที่ไหนไปเล่นได้ กลุ่มเรากลุ่มคนรุ่นใหม่ vibemai มาสร้างแพลตฟอร์มกลาง เป็นคนเชื่อมให้คนที่อยากได้งานและคนทำงานเองมาเชื่อมกัน

เราเป็นกลุ่มเราตอนนี้ยังเป็นกลุ่มอาสา เราตั้งหมุดหมายของเมืองดนตรี การที่เราจะขับเคลื่อนเมือง ต้องอาศัยทั้งภาคประชาชนและการสนับสนุนของภาครัฐ หวังว่าฝันที่กลุ่มเราฝันก็อยากให้เกิดขึ้นจริง และเราจะสามารถยกระดับคนดนตรีและอาชีพนี้ผ่านสิ่งสร้างสรรค์เหล่านี้ได้

ครั้งนี้เหมือนเป็นการตั้งต้น เปิดตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ บวกด้วยแพลตฟอร์มใหม่ ที่ชื่อว่า  “Vibe Mai” kick off งานนี้ เป็น การเชื่อมแวดววงดนตรี เมืองเชียงใหม่ คีย์สำคัญ คือ ปลายทางการทำให้เชียงใหม่เป็น ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดนตรี เมืองดนตรี เมืองศิลปะ  การส่งเสริมเรื่องนี้มองว่าการเริ่มต้นที่เกาะกลุ่มให้คนเห็นภาพในการไปต่อ เพื่อทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งศิลปะ ท่องเที่ยวทางดนตรี และเป็นการเก็บข้อมูลของกลุ่มคนดนตรี ศิลปิน เพื่อในอนาคตจะเปิดพื้นที่กว้างกว่านี้

มาจากคำว่า ไวบ์ ที่แปลว่าบรรยากาศ อธิบายถึงการสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ หวังให้กิจกรรมครั้งนี้ไม่ใช่แค่งานรำลึก แต่คือก้าวต่อไปของคนดนตรีท่ามกลางวิกฤติจากพิษโควิด

Vibe Mai เป็นกุญแจสำคัญสู่ปลายทาง คือการทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดนตรีและศิลปะ เริ่มต้นที่การเกาะเกี่ยวกันกลุ่มก้อนเก็บข้อมูลทั้งศิลปินและระบบนิเวศน์ ต่อด้วยการออกแบบการทำงานและกิจกรรมต่อไป

ส่วนการทำงานของกลุ่ม Vibe Mai นี้ พวกเขาทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลาง ในการเชื่อมต่อ ศิลปิน กับ ภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ผู้ฟังผู้ชม ภาครัฐ หรือผู้ประกอบการ ในการจัดงาน กิจกรรม หรือการจัดคอนเสิร์ต เพิ่มช่องทางให้ตัวศิลปิน / มีคอร์สส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ หากศิลปินอยากพัฒนาตัวเอง เช่น การนำผลงานขึ้นไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ และทักษะอื่น ๆ

นี่อาจเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยต่อลมหายใจให้พวกเขาได้สร้างสรรค์ผลงานดนตรี และสร้างราย ในขณะที่พวกเขายังไม่สามารถกลับขึ้นเวทีในรูปแบบที่คุ้นเคย และข้อเสนอขอให้ผ่อนปรนเยียวยา ยังไร้เสียงตอบรับ เช่นเดียวกับเสียงดนตรีที่ขาดหายไป ศิลปินเชียงใหม่วันนี้เองก็เผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว และกลุ่มเล็ก ๆ ที่กำลังก่อนตัวที่ชื่อ Vibe Mai นี้อาจจะกลายเป็นความหวังสำคัญในการสร้างพื้นที่ดูแลกัน อย่างไรก็ตามการหนุนเสริมจากภาครัฐและเอกชนเองยังมีเป็นกำลังที่ขาดไม่ได้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ