วิไล นาไพวรรณ์ ชาวนา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เธอทำนา15 ไร่ เมื่อรอบการทำนาครั้งที่แล้ว และเก็บไว้เพื่อบริโภคเองส่วนหนึ่ง ที่เหลือจำนำไว้กับโรงสีที่เข้าร่วมโครงการการรับจำนำข้าวของรัฐบาล จากวันนี้ถึงวันนี้ เธอยังรอเงินประมาณ 80,000 บาท จากการจำนำข้าวเหมือนชาวนาคนอื่นๆ ทั่วประเทศ
ผมมีโอกาสได้สนทนากับเธอเพื่อถามไถ่ ว่าสถานการณ์การตอนนี้ เป็นอย่างไร เธอและเพื่อนชาวนาในพื้นที่จะทำอย่างไรกันต่อ
วิไล นาไพวรรณ์ เล่าว่า “ ไม่แน่ใจเรื่องนโยบาย หรือเหตุการณ์ แต่ว่าในส่วนของชาวนารับผลกระทบโดยกระตรง เรื่องร้อนๆ ตอนนี้คือ หนี้สิน ที่ชาวนากู้มาลงทุน เช่นค่าไถ ค่าปักดำ ค่าเกี่ยวข้าว พอไม่ได้เงินตามกำหนด ที่ผ่านมาการประกันราคา หรือ จำนำ เราได้เงินภายในหนึ่งเดือน ไม่เกินเดือนครึ่ง แต่ตอนนี้ เริ่มเกี่ยวพฤศจิกายน สิ้น พฤศจิกายน ก็เกี่ยวหมดแล้ว อย่างช้าสุด ก็ธันวาคม มกราคม ที่สุด ก็ยังไม่มีวี่แวว อย่างที่ อ.เวียงชัย จังหวัดเชียงราย ธกส. ก็เรียกประชุม ทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวนา ตามข่าวที่ได้ยินว่าจะได้เงินเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ทั่วประเทศก็น่าจะรับรู้ แต่ ธกส.มาให้ข้อมูลที่เวียงชัย ที่เอาใบประทวนมาขึ้น 528 ล้าน และได้มีการทยอยจ่ายไปในช่วงข้าวระยะสั้นตั้งแต่เดือนตุลาคมมา บางส่วน ในช่วงของข้าวระยะสั้น ที่เริ่มเกี่ยวตั้งแต่เดือนตุลาคม มา บางส่วน แต่พอรัฐบาลประกาศจะจ่ายวันที่ 15 มกราคม ชาวนาก็ดีใจกัน แต่พอไปฟังคำชี้แจ้ง เขาจะสามรถจ่ายได้อีกประมาร 278 ล้านบาท โดยประมาณ สำหรับ ชาวนาที่มีใบประทวนไปขึ้นก่อน 25 พฤศจิกายน 2556 หมายความว่า หลังวันที่ 25 พฤศจิกายน คือวันที่ 26 มาจนถึงเดือนธันวาคม ใครที่เอาใบประทวนไปขึ้นที่หลัง ไม่ได้ พอไม่ได้ปุบ เขาให้เหตุผลว่า ขอให้ชาวนาใจเย็นๆ รับบาลกำลังไปกู้เงินมาให้
ก็ยังมีความหวัง ว่าฉันจะต้องได้เงินของฉัน ในวงที่มีการพูดคุยในหมู่บ้าน เขาก็บอกว่า แทนที่เราจะรวมตัวกันไล่รัฐบาลน่าจะไปไล่ กปปส. เพราะว่า ถ้าชุมนุมกันหลังจากนี้ ชาวนาน่าจะได้เงิน ก็ได้ อันนี้เป็นความรู้สึกสึกชาวนา ที่สะท้อนออกมา อย่างบางคนก็บอกว่า ป้ากินยาแก้ปวดหลายซองแล้ว ชาวนาก็เริ่มเครียดกันเรื่องปัญหานี้สิน เพราะว่า ตอนนี้เราจะต้องปั่นนา ไถนา ลงนารอบใหม่ในช่วงของนาปรัง …หนี้เก่าไม่ได้จ่าย เงินไม่เห็นสักบาท แล้วเราต้องลงทุนเพิ่มอีก ในฤดูการใหม่ ซึ่งพี่น้องชาวนา ก็บอกว่า ให้ไปรับจ้าง ก็ไม่มีความรู้ ให้ไปทำอย่างอื่นก็ไม่มีความรู้ มีความรู้อย่างเดียวคือ ทำนา วิธีการของ ธกส.ที่ผ่อนหนักให้เป็นเบา ก็แนะนำให้พี่น้องชาวนา เอาบัตรเครดิตเกษตรกรไปรูด รูดค่าปุ๋ย แต่ว่าค่าปุ๋ย เมื่อท่านรูดแล้วจะต้องเอาเงินไปชำระ แล้วท่านจะสามารถรูดได้อีก แต่พี่น้องชาวนาไม่เคยใช้บัตร รูดแล้วก็ปล่อยไว้เลย หนี้ก็ ต้นก็ไม่ได้จ่าย ดอกเบี้ยก็สูงกว่าการกู้เงินปกติ อันที่สอง คือเอบัตรเครดิตไปรุดเอาปุ๋ยมาใช้นาปัง แต่ว่าคนที่ไม่มีบัตรเครดิต ก็จะให้รวมกลุ่มกัน สามารถทำสัญญาเงินกู้ อันนี้การแก้ขั้นที่หนึ่ง แต่ในมุมของเรา มันคือหนี้เพิ่ม แทนที่จะได้ใช้เงินของตัวเอง แต่กลับไปได้หนี้เพิ่มและมีดอกเพิ่ม อันที่สอง เขาให้เอาใบสำเนาใบประทวนที่ไปทำขึ้นเงินไว้แล้ว สามารถไปยื่นกู้กับ ธกส. ได้ในวงเงินของราคาข้าวที่เราจะได้ 20 เปอร์เซ็น เพื่อเอามาจ่ายค่า เกี่ยวข้าว ค่ารถดูดข้าว ค่าลงนารอบใหม่ เป็นการผ่อนหนักเป็นเบา อันนี้ในมุมของเขา แต่ในมุมของชาวนา คือมันจะฆ่าตัวตายไปเลื่อยๆแล้ว …ในส่วนของสหกรณ์ ใครที่ขายข้าวแล้วยังไม่ได้เงิน ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนไว้ว่า เราขายข้าวแล้ว แต่ยังไม่ได้เงิน อันนี้ในเรื่องของมาตรการยังไม่รู้ว่าจะเป็นแบบไหน แต่ในการชี้แจ้งในวันนั้น เขาบอกว่า ทั้งดอกทั้งต้น ภายใน 31 มีนาคม 2557 ต้องจ่ายทั้งหมด อันนี้ทั้ง ธกส.และสหกรณ์ อันนี้ปัญหาหลัก และเราก็ยังเครียดกันอยู่…ล่าสุด ก็มีพี่น้องสภาเกษตรกร ได้ประสานพี่น้องชาวนาทั่วประเทศจะรวมตัวกันเพื่อทวงเงินค่าข้าว ในวันที่ 20 มกราคม 2557 แต่ยังมีแผนไม่ชัดเจน
ในพื้นที่มีการออกมาประท้วงไหม?
ณ วันนี้ ยัง แต่ที่ผ่านมา ประท้วงมาแล้ว 2 ครั้ง เหตุผลครั้งแรก คือรัฐบาลลดจำนวนการรับจำนำ จาก500,000 เหลือไม่เดิน 350,000 อันนี้ ชาวนาที่มีนา 15-20 ไร่ขึ้นไป เดือดร้อน ครั้งสอง คือ ใบรับรอง ที่ผ่านมาใบรับรองการรับจำนำ ไม่มีอายุ แต่ปีนี้มีอายุ ไม่เกิน 30 วัน คือ มีอายุ30วันนับจากวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วนำไปขายโรงสีต้องออกใบประทวนให้ภายใน 30 วัน แต่ที่มีปัญหาหนักคือ โรงสีไม่สามารถออกใบประทวนให้ทัน ภายใน30วัน ตามใบประทวนที่เราได้ ปัญหา คือ จุดรับซื้อมีน้อย ไม่กระจาย อันที่สอง อาจจะเป็นความผิดพลาดของการขึ้นทะเบียน หรือความไม่รู้ของชาวนา เช่น เราคาดว่าจะเก็บเกี่ยววันนี้โดยที่เขาให้กรอกตั้งแต่วันขึ้นทะเบียน บางครั้งเราคำนวณอายุข้าวไม่เป็น อย่าง 110 วัน เช่น เราปลูก 1 มิถุนายน มันจะต้องนับไปอีก 110 วัน แต่จริงๆ แล้วเราไม่ได้ปลูก 1 มิถุนายน บางครั้งเราปลูกหลังก็มี ปลูกก่อนก็มี เวลาไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรบางคนไม่มีความรู้เรื่องเอกสาร ก็ทำให้วันที่ คลาดเคลื่อน ทำให้จำนวนวัน 30 วันหมดก่อน แต่ว่าหมด แล้ว ชาวนาจะต้องวิ่งไปที่สำนักเกษตรอำเภอ เพื่อรวบรวมรายชื่อส่งจังหวัด ส่งกรม กรมตรวจสอบรายชื่อ แล้วมีคำสั่งออกมาให้ออกใบรับรองใหม่ และขั้นตอนนี้ลองคิดดูว่าใช้เวลากี่วัน พอได้ใบรับรอง เกษตรกรต้องเอาใบรับรองไปปิดใบประทวนที่โรงสี เพื่อให้โรงสีออกใบประทวนใหม่ อันนี้คือความทุกของชาวนา แต่ถ้าไม่เอาแบบจำนำ ชาวนาสามารถเอาไปขายให้โรงสีได้ กิโลกรัมละ 6-7 บาท ซึ่งราคาจำนำอยู่ที่ 15 บาท…
ไม่ใช่ชาวนาไม่คิดนะ ชาวนาก็มาวิเคราะห์ ว่าในส่วนของรอบนาปรัง ก็คิดว่ารัฐบาลอาจจะไม่มีเงิน ในการรับจำนำข้าว ทั้งส่วนของรับบาลรักษาการ และสถานการณ์การชุมนุม จริงๆ ชาวนาไม่ได้หวังระยะหน้านะว่าจะเป็นอย่างไร แต่หวังในระยะต้นว่าจะต้องได้เงินของตัวเอง สองคือ จัดการหนี้สิ้นตัวเอง อันที่สาม ชาวนาส่วนใหญ่ก็ยังคงทำนา เพราะไม่รู้จะทำอาชีพอะไร แต่บางคนก็คิดว่าราคาจะตกต่ำ 5-6 บาท แต่เขาก็ยังคงจะทำกัน อันนี้ส่วนใหญ่ แต่ว่าการปรับตัวของชาวนากลุ่มเล็ก อย่างพี่ใช้สภาองค์กรชุมชน ตำบล เป็นเวทีพุดคุยกัน ก็ลองวิเคราะห์ว่า ชาวนาจะอยู่รอดได้อย่างไร ตอนนี้เราได้ข้อมูลใหม่ ก็คือว่า พันธุ์ข้าวทั้งประเทศ ต้องการพันธุ์ข้าวน่าจะ 6 แสนตัน ทุกวันนี้กลุ่มคนที่ผลิตพันธุ์ข้าว อย่างเช่นศูนย์วิจัยข่าว ศูนย์พันธุ์ข้าว ผลิตพันธุ์ข้าวป้อนเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ มีเพียงครึ่งเดียว เราเลยคิดกันไหมที่แทนที่จะขายข้าวให้กับรัฐบาล หรือขายให้กับนายทุนแบบถูกๆ ก็ปรับมาทำเกษตรอินทรี ปลอดสารเคมี ผลิตพันธ์ข้าวพันธุ์ดี พันธุ์ข้าวท้องถิ่น หรือข้าวที่เขาปลูกกัน การที่ขายข้าวแล้วได้เงินก้อนโตๆ ก็ปรับมาผลิตแล้วขายให้ผู้บริโภคโดยตรง มีการลงมือทำ และเริ่มตั้งแต่รอบทำนาปังเป็นต้นไป อันนี้คือของพี่น้อง อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
ทำไมรัฐถึงจ่ายเงินที่ประกันราคาข้าวไว้ให้ไม่ได้?
เพราะว่าเงินที่รัฐบาลเอามาจ่ายให้กับประกันราคาข้าว อันนี้ถ้าเราไปศึกษาข้อมูลจากอดีต มองว่ามีการเรียกร้องมาโดยตลอด เพราะสินค้าทางการเกษตร ที่ไม่ได้ประกันราคา เกษตรกรก็จะเดือดร้อน แต่พอประกันราคา มันก็จะเป็นผลหนึ่งที่จะทำให้ชาวบ้านแห่กันปลูก พืชผลก็จะออกมาเยอะ ราคาก็จะตกต่ำตากลไกลการตลาด แต่เราได้ขายราคาดี ถามว่านโยบายรับแบบประชานิยม ถามว่าชาวบ้านชอบไหม ชอบนะ เพราะว่า ชาวบ้านได้เข้าถึงงบประมาณ ในการพัฒนาชุมชน พัฒนาพื้นที่ แต่ถ้าผ่านกลไกลรัฐเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ถ้าแบบประชานิยม มันเข้าถึงทุกพื้นที่ สัมผัสได้จริง จับต้องได้จริงๆ แต่มันก็อย่างไรเรารู้ กันอยู่คือ เอาเงินอนาคตมาใช้ และนโยบาย ไม่สอดคลองกับการคลัง แต่ชาวนาไม่รู้ว่าเงินมาจากไหน รู้แค่เพียงว่า เป็นเงินภาษีที่เอามาช่วยพี่น้องชาวนา เอามาช่วยสนับสนุนเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศ อันนี้คือความเชื่อของชาวนาที่มีอยู่ อันนี้ในมุมของเราที่เข้าใจ
ในระยะอันใกล้ เราจะทำอย่างไรกันต่อ?
ในระยะต้น เราก็ต้องรวมตัวกันกดดันเพื่อติดตามเงินให้ได้เงินของเรา จริงๆคือเดือดร้อน เพราะ ข้าวก็อยู่ในมือเขาไปแล้ว ที่เรามีแค่กระดาษหลักฐานสำเนาใบประทวนแผ่นเดียว