จับต้นน้ำชนปลายน้ำ : วิถีปกากะญอผู้อยู่กับป่าต้นธาร

จับต้นน้ำชนปลายน้ำ : วิถีปกากะญอผู้อยู่กับป่าต้นธาร

17 ตุลาคม 2557, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ได้มีกิจกรรมนำเสนอผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลที่นักเรียนได้ลงไปศึกษาและทำงานวิจัย ภายใต้หัวข้อ “เวทีเสวนาจับต้นน้ำ ชนปลายน้ำ”  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมที่หลากหลายทั้งภาครัฐและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง  โดยงานวิจัยของนักเรียนโรงเรียนรุ่งอรุณ ได้พูดถึงการดูแลรักษาป่าของชาวปกากะญอ ในขณะที่งานวิจัยได้พูดถึงภูมิปัญญาการดูแลจัดการป่า การรักษาป่าต้นน้ำของชาวปกากะญอไว้อย่างน่าสนใจ

“แม้ว่าพวกเขาจะมีพื้นที่ป่ามาก แต่ก็เลือกใช้เพียงแค่ส่วนหนึ่ง มีเยอะแต่ใช้น้อย นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชาวปกากะญอสามารถรักษาป่าของพวกเขาให้มีความอุดมสมบูรณ์ได้จนถึงปัจจุบัน”

“พวกเขามีความเชื่อเรื่องผีน้ำซึ่งเป็นผีที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีหน้าที่ดูแลสายน้ำ ความเชื่อนี้หากชาวบ้านทำอะไรไม่ดีกับน้ำ เช่น ขับถ่ายอุจจาระ ซักผ้าในที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต ทิ้งขยะ ล้างเท้า ก็จะถูกผีน้ำลงโทษ”

“ชาวบ้านบอกว่า พวกเขาไม่เคยจอกับสถานการณ์น้ำไม่พอใช้ พวกเขาปลูกข้าว ทำไร่ปีละ 1 ครั้ง ปลูกเพื่อกิน เหลือค่อยขาย คนที่อยู่ข้างล่างจะได้มีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอ” เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักเรียนโรงเรียนรุ่งอรุณพบจากการศึกษาวิจัย

จากงานศึกษาของกลุ่มนักเรียนโรงเรียนรุ่งอรุณ ยังพบอีกว่า ชาวบ้านมีระบบจัดการดูแลป่าผ่านวิถีชีวิตของคนชาวปกากะญอที่อยู่ในเขต อ.สะเมิง และอ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ รวมถึงพี่น้องปกากะญอในเขตพื้นที่อื่นๆ ป่าต้นน้ำเหล่านี้ ไหลลงสู่แม่น้ำแม่แจ่ม และไหลไปรวมกันที่แม่น้ำปิงจนไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นได้ว่าคนต้นน้ำรักษาน้ำ ดูแลป่าไม่เฉพาะพวกเขาเองเท่านั้นหากแต่ยังรวมถึงกลุ่มอื่นๆที่ใช้น้ำร่วมกัน

20142110101648.jpg20142110101652.jpg20142110101656.jpg

นอกจากเวทีเสวนาแล้ว ที่บ้านหนองหอย ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ กลุ่มชาวบ้านปกากะญอ ได้มีพิธีการปลูกป่า หรือที่เรียกกันว่าพิธีอวยพรป่า ชาวบ้านเชื่อว่า การปลูกป่าถือว่าเป็นการดูแลรักษาป่า อีกทั้งยังอวยพรให้ป่าดูแลรักษา คุ้มครองชาวปกากะญอด้วย เพราะป่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการดำรงชีวิตของชุมชนชาวกะเหรี่ยง  ชาวบ้านในพื้นที่ต่างก็มีกฏกติการ่วมกันเพื่อช่วยกันดูแลป่าซึ่งยังเป็นป่าต้นน้ำอีกด้วย

20142110101809.jpg

เมาะสะแง พระโพธิวิทยา ชาวบ้าน บ้านสุขอ ต.แม่นาจาร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ บอกว่า เรื่องการรักษาป่าต้นน้ำนั้นพวกเขาคิดไว้นานแล้ว แต่โดยภาพรวมแล้วคนยังไม่พร้อมนัก ก็คิดว่ากันว่าเมื่ออยู่กับป่าแล้วจะทำอย่างไรดีให้ป่าต้นน้ำอุดมสมบูรณ์เพื่อที่สิ่งต่างๆ จะได้ดีขึ้นตามมา

“คิดกันนานแล้ว เพราะเรามีสวนป่าเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2543 เราก็พยายามทำให้ได้ แต่ว่าหมู่บ้านรวมทั้งเครือข่ายแต่ละแห่งยังไม่พร้อม พอได้ยินข่าวคราวเรื่องการสร้างเขื่อนเท่านั้นแหละ เราก็พร้อมกันทั้งหมดทันทีเลย หมู่บ้านไหนพร้อมก็ทำได้เลย ไม่ว่าจะเป็นปลูกป่าต้นน้ำ ฟื้นป่าในพื้นที่ให้ดีขึ้นมา” ชายชาวปกากะญอเล่าให้ฟัง

วันนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากมายเรื่องเขื่อนที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งที่ อ.แม่แจ่ม และ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เนื่องจากมีการมองกันจากหลายกลุ่มว่า เขื่อนสามารถที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือแก้ปัญหาน้ำแล้งได้ อย่างไรก็ตาม เขื่อนอาจเป็นเพียงทางออกหนึ่งแต่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ แต่การหัน ดูแลรักษาสิ่งที่มีอยู่ให้ดำรงคงอยู่ อย่างเช่นที่ชาวปะกากะญอทำคือดูแลจัดการต้นน้ำให้อุดมบูรณ์ ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่รัฐต้องทบทวนและกลับมาพิจารณาอย่างรอบด้านอีกครั้ง

เรื่องและภาพโดย คำปิ่น อักษร นักข่าวพลเมือง

20142110101728.jpg20142110101730.jpg20142110101732.jpg20142110101735.jpg20142110102303.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ