แลต๊ะแลใต้ คือ แบรนด์สื่อออนไลน์ ที่สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส พัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ผลิตสื่อและเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนประเด็นในภาคใต้ เพื่อสะท้อนสถานการณ์ และแสวงหาทิศทางพัฒนาที่เหมาะสมกับความต้องการของคนพื้นที่ภาคใต้
1.“แลต๊ะ-แลใต้” มีที่มาจากคำว่า “แล-ต๊ะ-ใต้” คำว่า “แล” ในภาษาถิ่นใต้สามารถให้ความหมายได้ 2 ลักษณะ คือหมายถึงการดูหรือการมอง และหมายถึงการดูแลเอาใจใส่ หรือหันกลับมาทบทวนบ้านเกิดของเราท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา เราเจอความปั่นป่วนของโควิด พลังของดิจิตอลเทคโนโลยี และสถานการณ์ทางสังคม แลต๊ะแลใต้ จึงชวนมองภาพความเป็นไปและสะท้อนแง่มุมความเปลี่ยนแปลงของภาคใต้ ไปพร้อมๆ กับมองหาทางเลือก การปรับตัว และการกำหนดทิศทางของคนใต้ในการใช้ชีวิตอย่างคุณภาพและพึ่งพาตัวเองได้บนฐานทรัพยาการที่สอดคล้อง เพื่อหวังสร้างความเข้าใจและส่งต่อแรงบันดาลใจได้ “รู้ รัก ปกป้อง และพึ่งตนเองได้”
รู้ (จัก) ภาคใต้ บ้านเกิด
รัก รัก หวงแหน ตระหนัก
ปกป้อง กลับมาปกป้องดูแล พึ่งพาตัวเองได้
ภายใต้มุมมอง 4 กรอบสำคัญ คือ
1.ทรัพยากร 2.วัฒนธรรม 3.วิถีชีวิตผู้คน 4. สถานการณ์ความเป็นไปในภาคใต้
2.วิธีการทำงาน
แลต๊ะแลใต้ มีวิธีการทำงานร่วมกับระหว่างทีมผลิตสื่อ กับทีมงานของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส และเครือข่ายภาคประชาสังคมภาคใต้ เพื่อกำหนดประเด็นและออกแบบสื่อสารในหลากหลายแพลทฟอร์ม โดยมี ผลผลิตสื่อเป็นชุดแบบ Transmedia ประกอบด้วย
- สื่อ Online ลักษณะ Clip CL สารคดีข่าว เผยแพร่ทางเพจ แลต๊ะแลใต้
- อินโฟกราฟิก แบนเนอร์ หรือชุดภาพ เผยแพร่ทางเพจ แลต๊ะแลใต้
- บทความ เรื่องเล่า บทสัมภาษณ์ พร้อมภาพประกอบ เผยแพร่ทางเว็บ The Citizen Plus
- ปักหมุดพิกัดพร้อมภาพและเรื่องเล่า ในประเด็นที่นำเสนอทาง C-Site Report
- On Ground ขับเคลื่อนประเด็นร่วมกับเครือข่ายฯ ตามแผนงาน เช่น จัดเวทีในพื้นที่ FB LIVE ขยายบางประเด็น
- อื่นๆ
3.กลุ่มเป้าหมาย : เป้าหมายว่า อายุ 22 – 45 ปี เป็นคนต่างจังหวัดที่สนใจและติดตามสถานการณ์สังคมและท้องถิ่น ชอบการปรับตัวและหาทางเลือกใหม่ๆ อยู่เสมอ
4.วาระเพื่อการสื่อสาร 2564 : ภายใต้ 3 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่คือ โลกไร้พรมแดน โควิดและความปั่นป่วนของเทคโนโลยี นำเสนอแง่มุมให้คนดูทำให้รู้จักภาคใต้ มองเห็นความเปลี่ยนแปลง ความพยายามปรับตัวและทางเลือก คอนเซ็ปท์เนื้อหา ไม่ใช่แค่เพียงการบอกเล่าถึง “ปัญหา” หรือ “ปรากฏการณ์” แต่นำเสนอให้เห็นถึง Solution หรือแนวทางที่เราจะรอดไปด้วยกัน ผ่านปฏิบัติการหรือรูปธรรมจริงของคนในพื้นที่
กรอบเนื้อหาเพื่อการผลิตใน ไตรมาส 1-2 /2564
1. Southern GO Green สะท้อนแง่มุมให้เห็นทางเลือกของคนใต้ ในมิติต่างๆ เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ Innovation การปรับตัว Green tourism ,Green Food , Green energy , Zero wast , zero carbon ให้เห็นการปกป้องพื้นที่แหล่งผลิตอาหารจากภัยคุกคาม ว่ามีทางเลือกไหน ? เหมาะกับทิศทางการพัฒนาภาคใต้
2. ท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ โจทย์ตอนนี้ “หากวิกฤตโควิดจะอยู่กับเราไปอีกหนึ่งถึงสองปี เราจะอยู่รอดยังไง” หาจุดแข็งและโมเดลการพึ่งพาระบบเศรษฐกิจภายใน เศรษฐกิจเชิงบวกบนต้นทุนฐานทรัพยากร รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป การปรับตัวของผู้ประกอบการและการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงแนวคิดการออกแบบพื้นที่และเมือง ให้รองรับสถานการณ์นี้
3.สถานการณ์ความเป็นไปในท้องถิ่นใต้ โครงการพัฒนาภาคใต้ที่กระทบต่อวิถีชีวิต สถานการณ์สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ภัยพิบัติ การศึกษา
4. เศรษฐกิจชุมชน กับวิถีชาวใต้กับทางเลือกทางรอดยุคโควิด การปรับตัวของธุรกิจท้องถิ่นที่ทำให้อยู่รอด, ไอเดียแนวคิดคนรุ่นใหม่หนุนเสริมชุมชนทางเลือกและนวัตกรรมใหม่ ทักษะและความรู้ใหม่ที่จำเป็นต้องมีในโลกอนาคน
5. วิถีชีวิตวัฒนธรรม ความหลากหลาย และภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า วิถีวัฒนธรรมที่มีสืบทอดและต่อยอดให้ร่วมสมัย
5. การรับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์และส่งใบสมัคร
5.1 ผู้สนใจเข้ารับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์ แลต๊ะแลใต้ในวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา13.30 – 16.30 น.ให้แจ้งความประสงค์มาที่ อีเมล์ laetalaetai@gmail.com ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 6 มีนาคม 2564 ภายในเวลา 20.00 น. เพื่อการจัดส่งรหัส Zoom เข้ารับฟัง
5.2 หลังการรับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์ ผู้สนใจฯ ต้องจัดส่งเอกสารสมัครเป็นทีมเพื่อร่วมผลิตสื่อกับแลต๊ะแลใต้ โดยส่งเอกสารแสดง Profile ประวัติส่วนตัว ประสบการณ์ผลิตงาน และข้อมูลยืนยันการเคยเข้าฝึกอบรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อกับสำนักฯ หรือหน่วยงานอื่นของไทยพีบีเอส
6.คุณสมบัติผู้ยื่นเสนอเป็นทีมร่วมผลิตและขับเคลื่อนประเด็นภาคใต้
6.1 เป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อกับสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ หรือหน่วยงานอื่นของไทยพีบีเอส
6.2 มีทักษะและประสบการณ์ผลิตสื่อวีดิโอ และออกแบบสื่อสารอื่นได้หลายลักษณะ เช่น งานวีดิโอ คลิป CL อินโฟกราฟิก งานเขียน หรือการสื่อสารรูปแบบอื่นที่หลากหลาย มีทักษะการติดตามสถานการณ์ทางสังคม สามารถหาข้อมูลและเคสที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ถ่ายภาพ ตัดต่อ เล่าเรื่องได้
6.3 มีประเด็นหรือไอเดียเนื้อหาเกี่ยวกับ “ภาคใต้” ที่อยากนำเสนอ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเข้าใจคอนเซ็ปต์รายการ รูปแบบ วิธีการนำเสนอ และ Mood&tone ของ “เเลต๊ะเเลใต้” อย่างชัดเจน
6.4 แสดงถึงความพร้อมของทีมงานและอุปกรณ์ผลิตงานสื่อ เช่น กล้องระบบ HD คอมพิวเตอร์ โปรแกรมตัดต่อหรือโปรแกรมออกแบบที่เกี่ยวข้อง และ Sound หรือ ดนตรีประกอบที่ได้รับลิขสิทธิ์เผยแพร่ถูกต้อง
6.5 มีความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนประเด็นร่วมกับหน่วยงาน เครือข่าย และองค์กรต่าง ๆ โดยสามารถเข้าร่วมประชุมออกแบบการทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ทีมสำนักฯ และลงพื้นที่ผลิตงานตามแผนงานที่ตกลงกัน
7. เงื่อนไขการพิจารณา
7.1 ผู้ยื่นเสนอเป็นทีมร่วมผลิตและขับเคลื่อนประเด็นภาคใต้เข้ารับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์ ประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อน และแนวทางการทำงานของเเลต๊ะเเลใต้ ในวันจันทร์ ที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา13.30 – 16.30 น. เพื่อรับทราบเป้าหมายและกรอบประเด็นที่จะนำเสนอ
7.2 การคัดเลือกทีมพิจารณาจากความเข้าใจในคอนเซ็ปต์ ข้อมูลประเด็นที่เสนอ และการแสดงความพร้อมในการร่วมปฏิบัติงาน โดยขอสงวนสิทธิ์การตัดสินของทีมสำนักฯ และที่ปรึกษา ถือเป็นที่สิ้นสุด โดยแจ้งผลการพิจารณา วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 ทางเพจ แลต๊ะแลใต้
7.3 ผู้ผลิตสื่อฯ ที่ผ่านการคัดเลือก สามารถทำสัญญาได้เพียง 1 สัญญาในแต่ละรอบเท่านั้น ไม่สามารถทำสัญญาซ้ำซ้อนในแพลทฟอร์มอื่นของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะได้
พร้อมกับ ส่งแบบเสนอประเด็นพร้อมข้อมูลที่สอดคล้องกับคอบเซ็ปต์รายการ โดยจะเสนอ 1 ตอน หรือเป็นชุดเนื้อหา ส่งมาที่ laetalaetai@gmail.com ภายในวันศุกร์ ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 17.00 น.
สอบถามเพิ่มเติม : 02-790-2624 หรือ 087-574-0505 (นูฮา) 063-081-0842(กาย)
กิจกรรม | วัน /เดือน /ปี |
ประกาศรับผู้สนใจร่วมโครงการ | วันจันทร์ ที่ 1 มีนาคม 2563 |
กำหนดวันเข้ามาฟังทาง Zoom | วันจันทร์ ที่ 8 มีนาคม 2564 |
ส่ง Profile พร้อมแบบเสนอประเด็นและข้อมูล | ภายในวันศุกร์ ที่ 12 มีนาคม 2564 ส่งมาที่ laetalaetai@gmail.com |
แจ้งผลพิจารณาทีมร่วมผลิต | วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 ทางเพจ แลต๊ะแลใต้ |
ประชุมทีมเริ่มแผนผลิต | วันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม 2564 |