ความมั่นคงทางอาหารเกี่ยวอะไรกับเรา ?

ความมั่นคงทางอาหารเกี่ยวอะไรกับเรา ?

“ความมั่นคงทางอาหาร” เป็นสถานการณ์ที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบวิกฤตความมั่นคงทางอาหารไม่ใช่เพียงแค่การมีอาหารกินเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับมิติด้านสิทธิ การเข้าถึงอาหาร ความปลอดภัย ความพอเพียง และความยั่งยืน  

เมื่อ วันที่ 21 มกราคม 2559 ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง  สำนักเครือข่ายสื่อสารธารณะ ไทยพีบีเอส ได้จัดวงพูดคุย “ความมั่นคงทางอาหาร” ระหว่างเครือข่ายผู้ทำงานความมั่นคงทางอาหารกับเครือข่ายผู้ผลิตสื่ออิสระ  ณ สำนักงาน Thai pbs ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพ  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาด้านสื่อสารเรื่องความมั่นคงทางอาหารในอนาคต  จึงขอนำรายละเอียดการพูดคุยมาเผยแพร่เพื่อการทำความเข้าใจถึงมิติที่หลากหลายของความมั่นคงทางอาหาร  

นายสมศักดิ์ สุขวงศ์ ที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มองเพียงแค่การมีอะไรกิน แต่ต้องมองให้เห็นว่าผู้ผลิตอยู่ตรงไหน ผู้บริโภคอยู่ตรงไหน ของ กระบวนการในระบบอาหาร ซึ่งจะต้องคำถึงความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีเกษตรกรรายย่อย เป็น ผู้ที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ปัจจุบันกำลังลดลงเรื่อยๆ

ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ สุขวงศ์ ได้กล่าวอีกว่า ในเริ่มการทำงานภูมิทัศน์กับความมั่นคงทางอาหารเริ่มจากการทำงานเรื่องป่า จนชุมชนขยายความสำคัญจากเพียงแค่ป่า ไปสูการจัดการระบบนิเวศรอบตัว รักษาแหล่งอาหาร แม่น้ำ คู คลอง รอบตัว นำไปสู่เข้าใจภูมิทัศน์ที่กว้างขึ้น และจะต้องมองข้ามมายาคติ ที่ว่า ความยากจน เป็นสาเหตุการทำลายป่า แต่แท้จริงแล้ว การทำลายป่า นำไปสู่ความยากจน จากการศึกษาของสถาบันวิจัยระหว่างประเทศอินโดนีเชีย พบว่า ผลผลิตกาแฟลดลง เมื่อพื้นที่ไกลป่ามากขึ้น

20162601173347.jpg

นายสุพจน์ หลี่จา เลขานุการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ผู้ทำงานด้านความมั่นคงทางอาหารกลุ่มชาติพันธุ์  กล่าวถึงสถานการณ์ของชนเผ่าที่วิกฤตอาหาร เป็นผลพวงจากการพัฒนา จึงเกิดการพูดคุย สืบค้น นำเสนอ สื่อความเป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมิติของชาติพันธ์มากขึ้น โดยใช้อาหารเป็นสื่อกลางให้สังคมส่วนใหญ่เข้าใจชนเผ่ามากขึ้น ผ่านวิธีการค้นคว้า หาภูมิปัญญาของชนเผ่า สืบค้นรื้อฟื้นกลับมา เนื่องจากอาหารเป็นบ่อเกิดวิถีชีวิตวัฒนธรรมของพี่น้องชนเผ่า ทั้งการปลูก การกิน จะเป็นตัวกำหนด วิถีชีวิตชาติพันธุ์ การดำรงอยู่จะสืบทอดความสัมพันธ์ ดิน น้ำ ป่า คนสัตว์ ที่เชื่อมโยงกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้

กิจกรรมข้าวดอย น้ำพริกชนเผ่า ของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งทุกมื้อต้องมีน้ำพริก กินคู่กับผัก และข้าวดอย เป็นการรักษาอาหารที่หลากหลายเอาไว้ ภายใต้สถานการณ์ที่ชุมชนมีสารเคมีที่เข้มข้นขึ้น กับข้าวโพดเชิงเดี่ยวที่ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้หนุ่มสาวต้องเข้ามารับจ้างที่กทม. เพื่อไปใช้หนี้ค่ายา ค่าปุ๋ย เป็นตัวการทายความมั่นคงทางอาหาร และความสัมพันธ์ของคนในชุมชนโดยสิ้นเชิง สุพจน์ หลี่จา กล่าว

20162601173357.jpg

นายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ได้กล่าวว่า ประเด็นความมั่นคงทางอาหารที่น่าห่วงใยตอนนี้ คือ เรื่องความปลอดภัย พื้นที่ผลิตอาหารหลักมีการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น ทั่วโลกมีการควบคุมสารเคมีตั้งแต่ตนทางการผลิต มีการห้ามใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร แต่ในประเทศไทยการควบคุมสารเคมียังไม่เป็นเอกภาพขึ้นอยู่กับหน่วยงานภาครัฐหลายภาคส่วน

สอง การผูกขาดควบคุมระบบอาหารของสังคมโดยบรรษัท ซึ่งจะทำลายระบบสายพานอาหารขนาดเล็กของชุมชน สิ่งที่บ้านเราขาด คือ วิสัยทัศน์ทางสังคม ระบบอาหาร คือ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม จะให้คนเพียงไม่กี่คนมากำหนดระบบ จะทำให้ความหลากหลายหายไป

20162601173633.jpg

นางสาวแก้วตา ธัมอิน ข่ายกินเปลี่ยนโลกผู้ทำงานรณรงค์ด้านอาหารกับผู้บริโภค กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า คนกินอยู่ในสถานการณ์ที่มองอาหารเพียงในแง่ความศิวิไลซ์ กินผ่านระบบโฆษณาในสื่อ มีซองบรรจุที่สะอาด และมาพร้อมกับความสะดวกสบาย   คนไม่รู้จักอาหารที่ตนเองกิน

20162601173705.jpg

นางสาววรางคณา นิ้มหัตถา โครงการสวนผักคนเมือง กล่าวถึงวิกฤตอาหาร วิกฤตการขยายตัว และวิกฤตสิ่งแวดล้อม คนเมืองจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในการพึ่งตนเอง จากการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีและการพึ่งตนเองด้านอื่นๆในเมือง เกิดพื้นที่อาหารปลอดภัยในเมืองเพิ่มมากขึ้น 5 ปีของการเติบโตของสวนผักคนเมือง พื้นที่รูปธรรมการทำเกษตรในเมืองในองค์กร โรงเรียน โรงพยาบาล การอบรมปลูกผัก ผู้สนใจร่วมกิจกรรมต่างๆของ  สวนผักคนเมือง เพิ่มขึ้นทุกปี  เกิดการสื่อสาร บนสังคมออนไลน์ และขยายพื้นที่ไปสู่เมืองเชียงใหม่ สงขลา ระยอง ขอนแก่น เอาเรื่องนี้ไปขับเคลื่อนต่อ

สวนผักคนเมืองสามารถสร้างพื้นที่อาหารและพื้นที่สีเขียวในเมืองจำนวน 43 แห่ง ขนาดพื้นที่  5,721  ตร.ม เกิดกลุ่มคนปลูกผัก 660 คน และอีก 1,800 คน ได้บริโภคผักมีการปลูกผักพื้นบ้านสูงถึง 102 ชนิด และผักกินใบ(ผักจีน) 43 ชนิด รวมพันธุกรรมมีความหลากหลายถึง 145 ชนิด  และช่วยจัดการขยะอินทรีย์ 4,267 กก. ขยะย่อยสลายยาก 918 กก.ในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปลูกผัก วรางคณากล่าว

20162601173718.jpg

คุณอนุกูล ทรายเพชร  ผู้ก่อตั้ง Folk rice กล่าวว่า การเชื่อมโยงอาการระหว่างผู้ผลิตกับคนเมือง ผ่านสื่อออนไลน์สามารถทำให้ผู้บริโภคได้เจอกัน การจัดกิจกรรมทำให้คนเกิดการแลกเปลี่ยน ใช้เงิน ให้ความรู้ มิตรภาพ แต่ยังมีคำถามว่าทำไมเกษตรกรอยู่รอดไม่ได้ ยังมีความท้าทายเกิดจาก จำนวนลูกค้าไม่พอ ไม่ต่อเนื่อง พบว่า ตัวเลขที่เหมาะสม คือ เกษตรกร 1 ครอบครัว ต่อผู้บริโภค 20  ราย ต่อเดือน การสื่อสารเป็นเรื่องจำเป็น เพราะปัจจุบันคนมักจะ ถามหาคุณค่าเทียม มากกว่าคุณค่าแท้ ถามหาความจริงที่ตนเองไม่รู้จริง  ผู้ผลิตพยายามสื่อสารในมุมผู้ผลิต เรื่องความท้าทาย แต่ผู้บริโภคไม่อยากฟัง  ต้องการรู้เพียงแค่สินค้าดีกับตัวเองอย่างไร เป็นการสื่อสารเป็นคนละแบบ การสื่อสารถึงผู้บริโภคจะต้องย่อยข้อมูล ทำให้เห็นได้ง่าย ตอนนี้จึงได้พัฒนา Application เกษตรกรต้องไปลงทะเบียน เป็นเกษตรแฟร์ 24 ชม. ออนไลน์ 

20162601173742.jpg

คุณมงคล ด้วงเขียว  กลุ่มทำเป็น ทำเกษตร กล่าวว่า การทำงานกับคนรุ่นใหม่ที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืน พยายามสื่อสาร ผ่านแนวคิด วิธีการผลิต ที่สามารถออกแบบชีวิตตนเองได้ สามารถอยู่กับครอบครัว และสามารถสร้างรายได้ ได้มีการนำเสนอเรื่องราวของคนเหล่านี้ผ่านวิดีโอ บทความ ข่าว ด้านแนวคิด และระบบการปลูกพืชที่หลากหลายและเก็บเมล็ดพันธุ์ของตนเอง

20162601173757.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ