วันนี้ที่มหาชัย : โรคระบาดที่มองไม่เห็น เช่นเดียวกับอนาคตที่ต้องสู้ต่อ

วันนี้ที่มหาชัย : โรคระบาดที่มองไม่เห็น เช่นเดียวกับอนาคตที่ต้องสู้ต่อ

“ค่าคลอดยังต้องผ่อนเลย ตอนนี้เพิ่งจ่ายไป 2,000 จากราคาเต็ม 7,000 คลอดหมอตำแย และตอนนี้สามีต้องทำงานคนเดียว และตัวเองเลี้ยงลูกอยู่ที่ห้องอีกสี่คน”

นี่คือส่วนที่เราได้เข้าไปสังเกตและพูดคุยกับแรงงานเพื่อนบ้านตามจุดต่าง ๆ ในสมุทรสาคร

ประเทศไทย กลายเป็นจุดหมายแห่งความหวังของแรงงานเพื่อนบ้าน ทั้งลาว กัมพูชา และพม่า พวกเขาเดินทางมาทำงานที่นี่ เพียงหวังคุณภาพชีวิตดีขึ้น

แต่ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการระบาดของโควิด-19 ในตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานเพื่อนบ้าน อยู่รวมกันอย่างแออัด ตลาดกลางกุ้งหรือที่ทางการเรียกว่า “พื้นที่ไข่แดง” ของการระบาด มีการการดำเนินการ ควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด คือ บริเวณหอพักของแรงงาน เพื่อกันกลุ่มแรงงานออกจากประชากรกลุ่มอื่น แต่ว่าสภาพบริเวณของหอพักแรงงานที่เป็นตึก มีความทรุดโทรม แออัดและสภาพแวดล้อมไม่ดี ซึ่งนั่นทำให้ยากต่อการเว้นระยะเพื่อป้องกันโรค

ความเป็นอยู่และการบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นที่เราเห็นกันชินตาในทุกภาวะวิกฤตที่เราคนไทยทุกส่วนร่วมกันช่วย คือ การแจกถุงยังชีพ เช่นเดียวกับสมุทรสาครเนื่องจากการระบาดรอบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มรายงานพื้นบ้าน จากการลงพื้นที่ของเราตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน หลายแห่งที่นำเอาสิ่งของยังชีพไปแจกจ่ายเพื่อบรรเทาให้แรงงานเพื่อนบ้านสามารถยืดระยะในการดำรงชีพ ออกไปได้ ทำให้เราได้พูดคุยกับแรงงาน

“สมหมาย” แรงงานในเเพกุ้ง ตลาดกลางกุ้ง พื้นที่แรกของการระบาด เขาถูกกักตัวในหอพัก ตั้งแต่มีคำสั่งปิดพื้นที่การระบาดในช่วงวัน 20 เดือนธันวาคม เขาบอกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ภายในก็กินอิ่ม ได้นอนเนื่องจากภาครัฐ และหน่วยงานส่งอาหาร และสิ่งจำเป็นให้ตลอด แต่ก็อดเป็นกังวลไม่ได้ที่นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ ไม่รู้ว่างานที่ทำงานนายจ้างจะจ้างอยู่ไหม?หยุดนานกว่าหนึ่งเดือนรายจ่ายเกิดขึ้นแน่ ๆ คือ ค่าใช้จ่ายในเรื่องของที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งพวกเขาที่อยู่ภายในกว่าสองพันชีวิตไม่มีรายได้กันเลย บางห้องเจ้าของห้องเช่าสั่งให้ล็อคห้องเนื่องจากค้างค่าเช่าห้อง

มีเพียงแต่ในตลาดกลางกุ้งเท่านั้นที่เป็นพื้นที่ควบคุมยังมีพื้นที่การระบาดกระจายอยู่ หลายจุดอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงพื้นที่ข้างเคียง จนทำให้มีคำสั่งจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดให้จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษห้ามมีการเดินทางเข้าและออกพื้นที่ของแรงงานเพื่อนบ้าน

แรงงานเพื่อนบ้านหลายคนตกงานและบางคนได้ทำงานลดน้อยลงเนื่องจากไม่สามารถเดินทางข้ามจังหวัดไปรับจ้างอย่างพื้นที่ข้างเคียงได้ พื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว เป็นมีการทำการเกษตรหลายลักษณะ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่แรงงานเพื่อนบ้านมาทำงานภายในสวนอยู่ที่นี่จำนวนไม่น้อย

แม้ว่าตัวอำเภอบ้านแพ้วจะไม่ได้ถูกควบคุมพิเศษเหมือนภายในตลาดกลางกุ้ง แต่ “คันดาอู” ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้ เนื่องจากว่าพืชสวนขายไม่ได้ ทำให้นายจ้าง จ้างงานน้อยลง ปกติจะทำงานทุกวันสัปดาห์ละหกถึงเจ็ดวัน ที่จะต้องออกไปรับจ้างตามสวน เช่นเก็บใบพลู ห่อผลฝรั่ง แต่ตอนนี้รับจ้าง บ้างสัปดาห์ได้แค่สี่วันหรือบางสัปดาห์ไม่มีใครจ้างงานเลย

เช่นเดียวกัน “คิมมันเว” พื้นที่ที่เธออยู่ คือ ชุมชนบางกระเจ้า แม้ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ระบบสาธารณสุขเข้าถึง แต่ด้วยความที่เธอไม่กล้าและไม่รู้หนังสือทำให้เธอไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ วันนี้เธอต้องเลี้ยงลูกอยู่ที่ห้องพัก สี่คน คนล่าสุดอายุเพียงสองเดือน เธอเลิกการคลอดลูก โดยหมอตำแย ซึ่งค่าคลอดลูก ราคา 7,000 เธอขอผ่อนกับหมอตอนนี้จ่ายไปแล้ว 2,000 บาท เนื่องจากว่าเธอไม่มีเงินก้อนเพราะตอนนี้เธอต้องเลี้ยงลูกถึงสี่คนอยู่ที่บ้านมีเตียงสามีคนเดียวที่ออกรับจ้างทำงาน ซึ่งรายได้อยู่ที่วันละ 300 ถึง 400 บาท ด้วยสถานการณ์แบบนี้บางวันมีคนจ้างงานบางวันไม่มีคนจ้างงานทำให้ครอบครัว เธอตัดสินใจกู้ยืมเงินนอกระบบ มาเป็นค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มเติมจากค่าจ้างที่ได้รับเรายังไม่รู้หนทางที่จะหาเงินที่ไหนมาใช้หนี้ หากเป็นไปได้สถานการณ์ผ่อนคลาย เธอจะรีบส่งรูปกลับไปไว้ที่บ้านและรีบช่วยสามีทำงานแรง

เมื่อโชคชะตาไม่เข้าข้าง การเดินทางมาไม่เป็นดังหวัง การสู้แบบรายวันกับทางไปที่ยังมองไม่ออก โรคระบาดก็มองไม่เห็น แต่พวกเขาก็กังวลเพราะมันเป็นเหมือนเช่นเดียวกับอนาคตของพวกเขา และนี่คือสิ่งที่พวกเขาได้สะท้อนพูดคุยกับเรา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ